โครงการ Peer Supporter กับโรคทางจิตเวช

ความรู้สำหรับบุคลากร
เพื่อให้บริการตามแนวทางการคืนสู่สุขภาวะ
(Recovery Oriented Service)
จัดทำโดย
ฝ่ายพัฒนาหน่วยบริการให้มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง
โรงพยาบาลศรีธัญญา การให้บริการตามแนวทางการคืนสู่สุขภาวะ
ความเชื่อพื้นฐาน 2 ประการ
1) การคืนสู่สุขภาวะเป็นประสบการณ์ของผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคจิตเวช มีผลโดยตรงต่อบุคคลนั้นเอง มิใช่สิ่งที่
สามารถกระทำให้ได้ การช่วยเหลือของบุคลากรคือการสนับสนุนการเดินทางคืนสู่สุขภาวะของพวกเขา
2) การเดินทางคืนสู่สุขภาวะเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล วิธีที่ดีที่สุดในการสนับสนุนการคืนสู่สุขภาวะของแต่ละ
บุคคลจึงแตกต่างกัน
เนื่องจากไม่มีการให้บริการที่สมบูรณ์แบบ หรือ ‘ถูกต้อง’ ที่สุด จึงไม่สามารถเสนอแนวทางการ
สนับสนุนส าหรับบุคลากรที่เป็นขั้นตอนทีละขั้นเพื่อท าให้เกิด การคืนสู่สุขภาวะได้แต่ผู้เขียนได้เสนอ กรอบ
ความคิด เรียกว่า‘กรอบแนวคิดการคืนสู่สุขภาวะส่วนบุคคล’(The personal Recovery Framework)
เพื่อเป็นแนวทางเพื่อแปรงให้เป็นการปฏิบัติต่อไป
 
 
ภารกิจการคืนสู่สุขภาวะส่วนบุคคล
ภารกิจที่1: พัฒนาอัตลักษณ์ด้านบวก
พัฒนาอัตลักษณ์ด้านบวกที่นอกเหนือจากการเป็นผู้ป่วยจิตเวช ส่วนประกอบของอัตลักษณ์ที่สำคัญ
อย่างมากต่อบุคคลหนึ่ง อาจมีความสำคัญน้อยกว่าของอีกบุคคลหนึ่ง เน้นว่า มีเฉพาะบุคคลนั้นเพียงผู้เดียวที่
ตัดสินได้ว่า อัตลักษณ์ที่มีคุณค่าเฉพาะตัวสำหรับเขาประกอบด้วยอะไร
ภารกิจที่ 2: จำกัดกรอบ ‘โรคจิตเวช’
ภารกิจนี้เกี่ยวกับการพัฒนาความหมายอันพึงพอใจส่วนบุคคลเพื่อจำกัดกรอบประสบการณ์ที่เรียกว่า
โรคจิตเวชเกี่ยวกับการรับรู้ประสบการณ์ ดังนั้นจึงสามารถสร้างขอบเขตให้ประสบการณ์นั้นได้คือจำกัดให้เป็น
ส่วนหนึ่งของบุคคลแต่ไม่ใช่เป็นทั้งหมดของบุคคล หมายถึง อาจแสดงเป็นการวินิจฉัยโรค อาการตาม
หลักเกณฑ์ หรืออาจไม่ใช่โรคเลยก็ได้ เช่น เกี่ยวกับจิตวิญญาณ วัฒนธรรม หรือภาวะวิกฤติในการดำรงชีวิต
ของมนุษย์
ภารกิจที่3: การจัดการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคจิตเวช
การจำกัดกรอบให้กับประสบการณ์กับโรคจิตเวชก่อให้เกิดบริบทที่มีความท้าทายในชีวิต พัฒนา
ความสามารถในการจัดการดูแลตนเองขึ้นมา การเปลี่ยนถ่ายจากการถูกบริหารจัดการทางคลินิก ไปสู่ความ
รับผิดชอบส่วนบุคคลโดยการจัดการดูแลตนเอง ไม่ได้หมายความว่าทำทุกอย่างด้วยตัวเอง แต่หมายถึงการ
รับผิดชอบต่อความอยู่ดีมีสุขของตนเอง รวมทั้งการขอความช่วยเหลือและสนับสนุนจากผู้อื่นเมื่อจำเป็น
ภารกิจที่ 4: พัฒนาบทบาททางสังคมที่มีคุณค่า
ภารกิจสุดท้ายเกี่ยวข้องกับการเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือมีบทบาททางสังคมที่มีคุณค่าขึ้นใหม่ มักเป็น
บทบาททางสังคมที่ไม่เกี่ยวกับโรคจิตเวช บทบาททางสังคมที่มีคุณค่าจะเป็นแกนหลักของการปรากฏอัต
ลักษณ์ของบุคคลที่กำลังคืนสู่สุขภาวะ การทำงานกับคนในบริบทสังคมของเขาเป็นเรื่องสำคัญยิ่งโดยเฉพาะ
ในช่วงภาวะวิกฤติซึ่งอาจตึงเครียดมากที่สุด มักต้องการการสนับสนุนจากเพื่อนๆ ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน.
ติดตามได้ใน thaifamilylink.org หรือ APPEER ใน PLAY STORE
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่