นายกรัฐมนตรีประกาศสนับสนุนกลุ่มประเทศ ACMECS เป็นฐานการผลิตเดียว และเร่งการเชื่อมโยงเพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน
ภายหลังพิธีเปิดการประชุมผู้นำ ACMECS นายกรัฐมนตรีได้ร่วมการประชุม (Closed Session) กับผู้นำจากประเทศสมาชิก ได้แก่ ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม และ เลขาธิการอาซียน เพื่อทบทวนความร่วมมือในกรอบ ACMECS และทิศทางความร่วมมือในอนาคต ซึ่ง นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยถึงการหารือ โดยเฉพาะข้อเสนอและการยืนยันในบทบาทของไทยในกรอบความร่วมมือดังกล่าว ของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ดังนี้
ประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มกรอบความร่วมมือ ACMECS เมือปี 2546 โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาและสร้างรายได้แก่ประเทศสมาชิกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดช่องว่างของรายได้ และเสริมสร้างการไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีผลงานที่เห็นเป็นรูปธรรมที่ไทยให้การสนับสนุน เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งเส้นทางสาย R48 R67 ที่กัมพูชา สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 และ 4 ที่ลาว รวมทั้ง สะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 และเส้นทางแม่สอด-เมียวดี-เชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ก ที่เมียนมาร์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การตั้งนิคมอุสาหกรรมชายแดน การท่องเที่ยว การเกษตร และสาธารณสุข
ในการหารือ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ได้ยืนยันความสำคัญของ ACMECS ว่าเป็นกรอบความร่วมมือกับประเทศลุ่มน้ำโขงที่ไทยให้ความสำคัญลำดับแรก เพราะ ACMECS คือ การรวมกลุ่มของประเทศในอนุภูมิภาคที่มีแผนงานและกิจกรรมที่เกื้อกูลกัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน จับมือเดินไปด้วยกันบนเส้นทางของการเป็นครอบครัวเดียวกันคือ การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
การประชุมครั้งนี้ยังให้ความเห็นชอบต่อแผนปฎิบัติการ ACMECS ปี ค.ศ. 2013-2015 ซึ่งสะท้อนแนวทางการดำเนินการที่สอดคล้องกับกรอบความร่วมมืออาเซียน โดยปีที่สิ้นสุดของแผนปฏิบัติการจะเป็นปีที่เริ่มต้นของการเป็นประชาคมอาเซียน จึงต้องคิดถึง “ความเป็นหนึ่งเดียวกัน” และผลประโยชน์ ที่มีร่วมกัน ทั้งนี้ภายใต้สนับสนุนแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ได้เน้นให้ประเทศสมาชิก ACMECS เป็น “ฐานการผลิตเดียว” ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกประเทศต่างเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิต ทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของโลก และเพื่อให้แนวคิดการเป็นฐานการผลิตเดียวเป็นจริง สมาชิกประเทศจะร่วมกันผลักดันให้เกิดความคล่องตัวในการทำการค้า การลงทุน การคมนาคมขนส่ง และการผ่านแดนให้มากที่สุด
ประเทศไทยจึงสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นเส้นทางที่มีศักยภาพในการเปิดประตูการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวที่ไม่ได้จำกัดเพียง ๒ ประเทศ แต่สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคได้
ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ด้านโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ไทยได้สนับสนุนโครงการต่างๆ เช่น สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ ๓ (นครพนม- คำม่วน) ระหว่างไทย-สปป. ลาว ที่ก่อสร้างภายใต้กรอบความร่วมมือ ACMECS ทำให้การขนส่งจากไทยไปเวียดนามและไปเมืองกวางสีของสาธารณรัฐประชาชนจีนใช้ระยะทางสั้นกว่าการใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ ๒ (มุกดาหาร-สะหวันเขต) ขณะเดียวกัน การสร้างเส้นทางเมียวดีไปยังกอกะเร็ก ซึ่งไม่เฉพาะเชื่อมไทยกับเมียนมาร์ แต่ยังทำให้แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกเสร็จสมบูรณ์ และเป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงตามโครงการถนน ๓ ฝ่ายไทย-เมียนมาร์-อินเดียอีกด้วย
รัฐบาลไทยยังเห็นชอบสนับสนุนการก่อสร้างถนนบ้านฮวก-เมืองคอบ-เชียงฮ่อน และหงสา-เชียงแมน ซึ่งสามารถเชื่อมภาคเหนือตอนบนกับหลวงพระบางและจีน ในขณะเดียวกัน ก็จะเริ่มสร้างทางรถไฟระยะทาง ๖ กิโลเมตรจากอรัญประเทศไปปอยเปตในปีนี้ ซึ่งจะทำให้เส้นทางรถไฟภายใต้แผนแม่บทอาเซียนใกล้เสร็จสมบูรณ์ และเป็นไปตามแนวทางที่จะผลักดันให้มีการขนส่งหลายรูปแบบเมื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต้องควบคู่ไปกับการอำนวยความสะดวกข้ามพรมแดน และการผ่านแดน รวมทั้งการยกระดับจุดผ่านแดน ทั้งในการตรวจปล่อยสินค้าและการผ่านแดนของบุคคล เพื่อให้ผู้คนตามพื้นที่ชายแดนไปมาหาสู่สะดวกขึ้น โดยประเทศสมาชิกต้องให้การสนับสนุน เพราะหากจุดผ่านแดนที่ขอยกระดับมีการพัฒนาเส้นทางถนนรองรับบริเวณดังกล่าวอยู่แล้ว ก็สมควรได้รับการผลักดันให้ยกระดับเป็นจุดผ่านแดนถาวร เพราะเมื่อก่อสร้างเส้นทางรองรับแล้วเสร็จ จะได้ใช้ประโยชน์ได้ทันที
.
นายกรัฐมนตรีประกาศสนับสนุนกลุ่มประเทศ ACMECS เป็นฐานการผลิตเดียว และเร่งการเชื่อมโยงเพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน
ภายหลังพิธีเปิดการประชุมผู้นำ ACMECS นายกรัฐมนตรีได้ร่วมการประชุม (Closed Session) กับผู้นำจากประเทศสมาชิก ได้แก่ ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม และ เลขาธิการอาซียน เพื่อทบทวนความร่วมมือในกรอบ ACMECS และทิศทางความร่วมมือในอนาคต ซึ่ง นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยถึงการหารือ โดยเฉพาะข้อเสนอและการยืนยันในบทบาทของไทยในกรอบความร่วมมือดังกล่าว ของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ดังนี้
ประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มกรอบความร่วมมือ ACMECS เมือปี 2546 โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาและสร้างรายได้แก่ประเทศสมาชิกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดช่องว่างของรายได้ และเสริมสร้างการไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีผลงานที่เห็นเป็นรูปธรรมที่ไทยให้การสนับสนุน เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งเส้นทางสาย R48 R67 ที่กัมพูชา สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 และ 4 ที่ลาว รวมทั้ง สะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 และเส้นทางแม่สอด-เมียวดี-เชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ก ที่เมียนมาร์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การตั้งนิคมอุสาหกรรมชายแดน การท่องเที่ยว การเกษตร และสาธารณสุข
ในการหารือ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ได้ยืนยันความสำคัญของ ACMECS ว่าเป็นกรอบความร่วมมือกับประเทศลุ่มน้ำโขงที่ไทยให้ความสำคัญลำดับแรก เพราะ ACMECS คือ การรวมกลุ่มของประเทศในอนุภูมิภาคที่มีแผนงานและกิจกรรมที่เกื้อกูลกัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน จับมือเดินไปด้วยกันบนเส้นทางของการเป็นครอบครัวเดียวกันคือ การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
การประชุมครั้งนี้ยังให้ความเห็นชอบต่อแผนปฎิบัติการ ACMECS ปี ค.ศ. 2013-2015 ซึ่งสะท้อนแนวทางการดำเนินการที่สอดคล้องกับกรอบความร่วมมืออาเซียน โดยปีที่สิ้นสุดของแผนปฏิบัติการจะเป็นปีที่เริ่มต้นของการเป็นประชาคมอาเซียน จึงต้องคิดถึง “ความเป็นหนึ่งเดียวกัน” และผลประโยชน์ ที่มีร่วมกัน ทั้งนี้ภายใต้สนับสนุนแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ได้เน้นให้ประเทศสมาชิก ACMECS เป็น “ฐานการผลิตเดียว” ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกประเทศต่างเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิต ทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของโลก และเพื่อให้แนวคิดการเป็นฐานการผลิตเดียวเป็นจริง สมาชิกประเทศจะร่วมกันผลักดันให้เกิดความคล่องตัวในการทำการค้า การลงทุน การคมนาคมขนส่ง และการผ่านแดนให้มากที่สุด
ประเทศไทยจึงสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นเส้นทางที่มีศักยภาพในการเปิดประตูการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวที่ไม่ได้จำกัดเพียง ๒ ประเทศ แต่สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคได้
ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ด้านโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ไทยได้สนับสนุนโครงการต่างๆ เช่น สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ ๓ (นครพนม- คำม่วน) ระหว่างไทย-สปป. ลาว ที่ก่อสร้างภายใต้กรอบความร่วมมือ ACMECS ทำให้การขนส่งจากไทยไปเวียดนามและไปเมืองกวางสีของสาธารณรัฐประชาชนจีนใช้ระยะทางสั้นกว่าการใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ ๒ (มุกดาหาร-สะหวันเขต) ขณะเดียวกัน การสร้างเส้นทางเมียวดีไปยังกอกะเร็ก ซึ่งไม่เฉพาะเชื่อมไทยกับเมียนมาร์ แต่ยังทำให้แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกเสร็จสมบูรณ์ และเป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงตามโครงการถนน ๓ ฝ่ายไทย-เมียนมาร์-อินเดียอีกด้วย
รัฐบาลไทยยังเห็นชอบสนับสนุนการก่อสร้างถนนบ้านฮวก-เมืองคอบ-เชียงฮ่อน และหงสา-เชียงแมน ซึ่งสามารถเชื่อมภาคเหนือตอนบนกับหลวงพระบางและจีน ในขณะเดียวกัน ก็จะเริ่มสร้างทางรถไฟระยะทาง ๖ กิโลเมตรจากอรัญประเทศไปปอยเปตในปีนี้ ซึ่งจะทำให้เส้นทางรถไฟภายใต้แผนแม่บทอาเซียนใกล้เสร็จสมบูรณ์ และเป็นไปตามแนวทางที่จะผลักดันให้มีการขนส่งหลายรูปแบบเมื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต้องควบคู่ไปกับการอำนวยความสะดวกข้ามพรมแดน และการผ่านแดน รวมทั้งการยกระดับจุดผ่านแดน ทั้งในการตรวจปล่อยสินค้าและการผ่านแดนของบุคคล เพื่อให้ผู้คนตามพื้นที่ชายแดนไปมาหาสู่สะดวกขึ้น โดยประเทศสมาชิกต้องให้การสนับสนุน เพราะหากจุดผ่านแดนที่ขอยกระดับมีการพัฒนาเส้นทางถนนรองรับบริเวณดังกล่าวอยู่แล้ว ก็สมควรได้รับการผลักดันให้ยกระดับเป็นจุดผ่านแดนถาวร เพราะเมื่อก่อสร้างเส้นทางรองรับแล้วเสร็จ จะได้ใช้ประโยชน์ได้ทันที
.