พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ทีฆนิกาย มหาวรรค
ที่มา
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=1&fbclid=IwAR3jMu5QkAw8j-aDjE-ZRCz8Y9hiHabQjh2G3x8XvH7Y1AXKTIwlwAJ_6Rk
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงแสดงปาติโมกข์๑- ในที่ประชุมสงฆ์
ที่กรุงพันธุมดีราชธานีนั้นดังนี้
‘ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่ทำบาป๒- ทั้งปวง
การทำกุศล๓- ให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
@เชิงอรรถ :
@๑ ปาติโมกข์ ในที่นี้มิได้หมายถึงอาณาปาติโมกข์ (ประมวลพุทธบัญญัติที่ทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่
@อาทิพรหมจริยกสิกขา ที่มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน) แต่หมายถึงโอวาทปาติโมกข์
@ซึ่งประกอบด้วยคาถา ๓ คาถามี ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา เป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงแสดงเอง
@(ที.ม.อ. ๙๐/๗๖, วิ.อ. ๑/๑๙/๑๙๐-๑๙๒)
@๒ บาป หมายถึงกรรมที่มีโทษซึ่งสหรคตด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวง (ที.ม.ฏีกา ๙๐/๙๒)
@๓ กุศล หมายถึงกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๔ (ที.ม.อ. ๙๐/๗๖, ที.ม.ฏีกา ๙๐/๙๒)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๐}
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น
การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ความสำรวมในปาติโมกข์
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด
การประกอบความเพียรในอธิจิต
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย’๑-
โอวาทปาฏิโมกข์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทีฆนิกาย มหาวรรค
ที่มา https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=1&fbclid=IwAR3jMu5QkAw8j-aDjE-ZRCz8Y9hiHabQjh2G3x8XvH7Y1AXKTIwlwAJ_6Rk
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงแสดงปาติโมกข์๑- ในที่ประชุมสงฆ์
ที่กรุงพันธุมดีราชธานีนั้นดังนี้
‘ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่ทำบาป๒- ทั้งปวง
การทำกุศล๓- ให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
@เชิงอรรถ :
@๑ ปาติโมกข์ ในที่นี้มิได้หมายถึงอาณาปาติโมกข์ (ประมวลพุทธบัญญัติที่ทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่
@อาทิพรหมจริยกสิกขา ที่มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน) แต่หมายถึงโอวาทปาติโมกข์
@ซึ่งประกอบด้วยคาถา ๓ คาถามี ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา เป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงแสดงเอง
@(ที.ม.อ. ๙๐/๗๖, วิ.อ. ๑/๑๙/๑๙๐-๑๙๒)
@๒ บาป หมายถึงกรรมที่มีโทษซึ่งสหรคตด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวง (ที.ม.ฏีกา ๙๐/๙๒)
@๓ กุศล หมายถึงกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๔ (ที.ม.อ. ๙๐/๗๖, ที.ม.ฏีกา ๙๐/๙๒)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๐}
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น
การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ความสำรวมในปาติโมกข์
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด
การประกอบความเพียรในอธิจิต
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย’๑-