การบอกอ้างว่าไม่ยอมรับอรรถกถา แต่ก็ยังแอบอิงอาศัยคำแปลของอรรถกถา นั่นคือเป็นคนแบบไหน?

โกหก หรือไม่รู้เดียงสา?

การเป็นคนโกหก ดี หรือไม่ดี หรือไม่เป็นไรเลย?

การอธิบายของอรรถกถาบาลีนั้น ควรทำความเข้าใจว่า เป็นการอธิบายขยายความ

ผู้ที่ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้ามากพอ ย่อมรู้ว่า พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด อธิบายขยายความธรรมที่พระองค์ได้สอนไว้ดูจากตัวอย่าง อลคัททูปมสูตร เป็นต้น เมื่อมีภิกษุเข้าใจความหมายธรรมผิด พระพุทธเจ้าท่านก็บอกสอนให้เข้าไปถามภิกษุผู้ฉลาด

เมื่อเข้าไปถาม ก็ย่อมได้รับคำอธิบาย ขยายความหมาย

อรรถกถาในอรรถกถาบาลีก็มีพระพุทธพจน์บาลีปะปนอยู่มาก บางคราวพระพุทธเจ้าท่านอธิบายขยายความด้วยพระองค์เอง

ความเห็นผมคือ ไม่ควรปฏิเสธอรรถกถา คนที่ปฏิเสธ ไม่ยอมรับอรรถกถา ทั้งหมดไม่ควรอ่านพระไตรปิฎกแปล ควรอ่านพระไตรปิฎกต้นทาง เช่น พระบาลีแล้วก็แปลด้วยตนเอง

อมยิ้ม33

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันสองรูป ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในโลกนี้ สัตว์พวกที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมสัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี แม้เราก็จักกระทำ โดยที่ให้พระนครพันธุมดีเป็นสถานที่อันเธอทั้งหลายพึงกลับมาแสดงพระปาติโมกข์โดยหกปีๆ   ล่วงไป    ดังนี้ฯ”   👉พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒  ทีฆนิกาย มหาวรรค

แม้แต่พระพุทธองค์เองทรงเคารพในธรรม ก็ยังทรงฟังการแสดงธรรมของพระสาวก  “ดูกรนันทกะธรรมบรรยายของเธอนี่ยาวมาก แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ เรายืนรอฟังจนจบกถาอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกย่อมเมื่อยหลัง ฯ” 👉พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕  อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

อมยิ้ม04
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่