พระศาสดาทรงอนุญาตคำสาวก
ไม่มีใครแม้สักคนที่จะปฏิเสธคำสอนของพระศาสดา แต่สิ่งที่เราปฏิเสธวัดนาป่าพงคือคำสอนของวัดนาป่าพงที่สอนประชาชนห้ามฟังคำสาวก
วัดนาป่าพงโดยพระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เป็นบุคคลแรกที่เผยแพร่แนวคิด “ห้ามฟังคำสาวก” โดยยกพระสูตรเพียงพระสูตรเดียว ซึ่งเกิดจากการตีความพระบาลีผิดด้วยตนเองไม่ได้ศึกษาภาษาบาลี ขาดองค์ความรู้ด้านภาษาบาลี สั่งสอนประชาชนว่า ให้ฟังแต่คำพระพุทธเจ้าเท่านั้น ห้ามฟังคำสาวกแม้แต่คำสาวกระดับพระอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาอย่างพระสารีบุตรก็ห้ามฟัง เป็นเหตุให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎก ขาดความรู้ด้านภาษาบาลีหลงเชื่อและพากันเผยแพร่แนวคิดนี้ออกไปอย่างกว้างขวาง ความจริงแล้ว พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสว่าห้ามฟังคำสาวกเลยแม้พระสูตรเดียว โดยเฉพาะสาวกผู้เป็นพระอรหันต์ซึ่งพระองค์ทรงรับรองความเป็นพระอรหันต์และแต่งตั้งให้เป็นผู้เลิศในด้านต่างๆ ด้วยพระองค์
วัดนาป่าพงได้นำเอา “อาณิสูตร” ความว่า “สุตตันตะเหล่าใดมีนักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสรวย มีพยัญชนะอันวิจิตรเป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่,เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป. ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตาจักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.” โดยนำเอาคำว่า “สาวกภาษิต (คำกล่าวของสาวก)” มาตีความว่า หมายถึง “คำสาวกในพระพุทธศาสนาไม่เว้นแม้แต่คำพระอรหันตสาวกเช่นพระสารีบุตร” มีผู้รู้บาลีหลายท่านในประเทศไทย ต่างแสดงความเห็นว่า การตีความเช่นนี้ เป็นการตีความที่ผิด เพราะภาษาบาลีของพระสูตรนี้ มีกำกับไว้ชัดเจนแล้วด้วยศัพท์บาลีว่า “พาหิรกา” ซึ่งแปลว่า “มีในภายนอก” เมื่อนำมาแปลรวมกับศัพท์ว่า “สาวกภาสิตา” จึงต้องแปลว่า “คำสาวกที่มีมาในภายนอก” ซึ่งหมายถึง ภายนอกพระพุทธศาสนา ก็คือ ลัทธิอื่น ศาสนาอื่น นั่นเอง
และมิใช่เพียงนัยทางภาษาบาลีเท่านั้น ยังมีอีกหลายพระสูตรในพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าตรัสให้ฟังคำสาวกของพระองค์ ในขณะที่พระคึกฤทธิ์ฯ สอนว่า คำสาวกแม้แต่พระอรหันตสาวกผู้เลิศทางปัญญา (ซึ่งหมายถึงพระสารีบุตร) ก็ฟังไม่ได้ แต่พระพุทธเจ้าตรัสสอนสาวกทั้งหลายของพระองค์ให้เสพคบ ให้ฟังคำพระสารีบุตรซึ่งพระสูตรนี้พระคึกฤทธิ์ไม่เคยนำมาสอนประชาชนเลย โดยพระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเสพ จงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด ทั้งสองรูปนี้เป็นบัณฑิตภิกษุ ผู้อนุเคราะห์ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ สารีบุตรเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนผู้บำรุงเลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะ ย่อมแนะนำในผลชั้นสูง สารีบุตรพอที่จะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ได้โดยพิสดาร” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ข้อ ๖๙๙
และมิใช่มีเพียงพระสูตรเดียวเท่านั้น ยังมีอีกหลายพระสูตรนับเป็นสิบ นับเป็นร้อย ที่พระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ฟังคำสาวกของพระองค์ได้
พระพุทธเจ้าทรงกำชับว่า หากไม่เข้าใจคำสอนของพระองค์ให้เข้าไปไต่ถามภิกษุสาวกของพระองค์ได้ เพราะสาวกของพระองค์นั้น สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอเข้าไปหาภิกษุ ผู้เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัยทรงมาติกา ตามเวลา แล้วไต่ถาม สอบสวนว่า ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้อย่างไร ความแห่งพระพุทธพจน์นี้อย่างไร ท่านเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยธรรมที่ยังไม่เปิดเผย ย่อมทำธรรมที่ยังมิได้ทำให้ตื้นแล้วให้ตื้น และย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมิใช่น้อยแก่ภิกษุนั้น” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต ข้อ ๔๕๙
พระพุทธเจ้าตรัสย้ำว่า สาวกของพระองค์สามารถสอนให้ปุถุชนบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับพระองค์ “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ข้อ ๓๐๑
การศรัทธาหยั่งลงมั่นในพระตถาคตโดยส่วนเดียว ตามที่วัดนาป่าพงเข้าใจว่าหมายถึงให้ฟังคำพระตถาคตเพียงผู้เดียว ข้อนั้นจึงเป็นความเข้าใจที่ผิด โดยพระคาถาว่า ตถาคเต เอกนฺตคโต อภิปฺปสนฺโน (ตะ ถา คะ เต เอ กัน ตะ คะ โต อะ ภิป ปะ สัน โน) เลื่อมใสอย่างยิ่ง ในส่วนเดียวต่อพระตถาคต มิได้มีความหมายว่า ให้เลื่อมใสพระตถาคตเพียงคนเดียว แต่หมายถึงการไม่เลื่อมใสในศาสดาของลัทธิอื่น ศาสนาอื่น ซึ่งหากตีความอย่างที่วัดนาป่าพงตีความ เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าตรัสให้เลื่อมใสพระองค์คนเดียวก็จะขัดแย้งกับคำสอนของพระองค์ซึ่งให้เลื่อมใสสาวกของพระองค์ด้วย “ดูกรภิกษุทั้งหลายส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน” อ้างแล้วในวรรคก่อน
ต่อมาหลังจากที่พระคึกฤทธิ์ฯ วัดนาป่าพง ได้รับทราบว่ามีพระสูตรเหล่านี้ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกจึงกล่าวแก้ว่า คำสาวกที่พระพุทธเจ้าให้ฟังได้ต้องได้รับการรับรองจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น คำกล่าวแก้นี้ไม่เป็นความจริงเพราะในพระไตรปิฎกมีคำสอนของพระอรหันต์มากมายที่พระพุทธเจ้าไม่ได้รับรองหากแต่เป็นคำสอนที่คล้อยตามพระพุทธเจ้า อยู่ในแนวทางคำสอนของพระพุทธศาสนาก็สามารถรับฟังได้ พระพุทธเจ้าคงไม่สามารถตามไปรับรองคำสอนของพระสาวกได้ทุกรูป นอกจากมีผู้นำคำสอนของพระสาวกมาทูลถามพระพุทธเจ้าให้พระองค์รับรอง พระองค์จึงทรงรับรอง การรับรองคำสาวกจึงไม่ใช่หลักการทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าต้องรับรองทุกราย แต่ทรงประทานหลักมหาปเทสสี่และหลักตัดสินธรรมวินัยไว้ให้ผู้ฟังได้ใช้ในการพิจารณาด้วยตนเอง
การที่พระคึกฤทธิ์ฯ ดำริแนวการสอนของตนว่า ห้ามฟังคำสาวกทั้งสิ้น เว้นแต่คำสาวกนั้นต้องเป็นคำสาวกที่พระพุทธเจ้ารับรอง จึงเป็นการตัดตอนหลักมหาปเทสสี่และหลักตัดสินธรรมวินัยแปดไม่ให้มีที่ใช้เสียทีเดียว ด้วยความคิดว่า “ไม่ต้องไปฟังทั้งสิ้นเลย” ถ้าหากเป็นเช่นนั้น คำสาวกนอกพุทธกาลอย่างหลวงปู่ หลวงตา รวมถึงคำสอนของพระคึกฤทธิ์ที่อธิบายว่า “นิพพานคือช่องว่างในที่คับแคบ” ก็ไม่ควรจะฟังเลย และไม่ควรจะต้องใช้หลักมหาปเทสสี่และหลักตัดสินพระธรรมวินัยเลยเช่นนั้นหรือ
การที่พระพุทธศาสนายั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน ผ่านกาลเวลามาเป็นเวลาสองพันกว่าปีนั้น เป็นไปด้วยพระดำรัสของพระศาสดาที่สั่งสาวกว่า ให้นำคำสอนของพระองค์ไปประกาศ และทรงมีพุทธานุญาตให้อธิบายคำสอนได้ด้วยในกรณีที่ผู้ฟังไม่เข้าใจ ดังพระดำรัสที่ผู้เขียนได้ยกมาในเบื้องต้นแล้ว “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าไปทางเดียวกันสองรูป พวกเธอจงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แม้เราก็จักไปยังอุรุเวลเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อ ๔๒๘
กล่าวโดยสรุป พระพุทธเจ้าทรงจำแนกเรื่องคำสาวกในอนาคตกาล ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังศาสดาของแต่ละลัทธิ แต่ละศาสนาสิ้นไป นี้ไว้เป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๑. คำสาวกนอกพระพุทธศาสนา ไม่เงี่ยโสตลงฟังเลย
๒. คำพระอรหันตสาวกที่พระองค์ทรงรับรองความเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏอยู่ในพระ
ไตรปิฎก ให้ฟังได้ ให้ปฏิบัติตาม
๓. คำสาวกในพระพุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพพาน ให้ใช้หลักมหาปเทสสี่และหลักตัดสินพ
ธรรมวินัย ตัดสินเอาด้วยปัญญาของผู้ฟังเอง
แหล่งข้อมูล :
http://watnaprapong.blogspot.com/2015/07/blog-post_19.html?m=1
พุทธวจนะ พระคึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง : พระศาสดาทรงอนุญาตคำสาวก
ไม่มีใครแม้สักคนที่จะปฏิเสธคำสอนของพระศาสดา แต่สิ่งที่เราปฏิเสธวัดนาป่าพงคือคำสอนของวัดนาป่าพงที่สอนประชาชนห้ามฟังคำสาวก
วัดนาป่าพงโดยพระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เป็นบุคคลแรกที่เผยแพร่แนวคิด “ห้ามฟังคำสาวก” โดยยกพระสูตรเพียงพระสูตรเดียว ซึ่งเกิดจากการตีความพระบาลีผิดด้วยตนเองไม่ได้ศึกษาภาษาบาลี ขาดองค์ความรู้ด้านภาษาบาลี สั่งสอนประชาชนว่า ให้ฟังแต่คำพระพุทธเจ้าเท่านั้น ห้ามฟังคำสาวกแม้แต่คำสาวกระดับพระอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาอย่างพระสารีบุตรก็ห้ามฟัง เป็นเหตุให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎก ขาดความรู้ด้านภาษาบาลีหลงเชื่อและพากันเผยแพร่แนวคิดนี้ออกไปอย่างกว้างขวาง ความจริงแล้ว พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสว่าห้ามฟังคำสาวกเลยแม้พระสูตรเดียว โดยเฉพาะสาวกผู้เป็นพระอรหันต์ซึ่งพระองค์ทรงรับรองความเป็นพระอรหันต์และแต่งตั้งให้เป็นผู้เลิศในด้านต่างๆ ด้วยพระองค์
วัดนาป่าพงได้นำเอา “อาณิสูตร” ความว่า “สุตตันตะเหล่าใดมีนักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสรวย มีพยัญชนะอันวิจิตรเป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่,เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป. ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตาจักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.” โดยนำเอาคำว่า “สาวกภาษิต (คำกล่าวของสาวก)” มาตีความว่า หมายถึง “คำสาวกในพระพุทธศาสนาไม่เว้นแม้แต่คำพระอรหันตสาวกเช่นพระสารีบุตร” มีผู้รู้บาลีหลายท่านในประเทศไทย ต่างแสดงความเห็นว่า การตีความเช่นนี้ เป็นการตีความที่ผิด เพราะภาษาบาลีของพระสูตรนี้ มีกำกับไว้ชัดเจนแล้วด้วยศัพท์บาลีว่า “พาหิรกา” ซึ่งแปลว่า “มีในภายนอก” เมื่อนำมาแปลรวมกับศัพท์ว่า “สาวกภาสิตา” จึงต้องแปลว่า “คำสาวกที่มีมาในภายนอก” ซึ่งหมายถึง ภายนอกพระพุทธศาสนา ก็คือ ลัทธิอื่น ศาสนาอื่น นั่นเอง
และมิใช่เพียงนัยทางภาษาบาลีเท่านั้น ยังมีอีกหลายพระสูตรในพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าตรัสให้ฟังคำสาวกของพระองค์ ในขณะที่พระคึกฤทธิ์ฯ สอนว่า คำสาวกแม้แต่พระอรหันตสาวกผู้เลิศทางปัญญา (ซึ่งหมายถึงพระสารีบุตร) ก็ฟังไม่ได้ แต่พระพุทธเจ้าตรัสสอนสาวกทั้งหลายของพระองค์ให้เสพคบ ให้ฟังคำพระสารีบุตรซึ่งพระสูตรนี้พระคึกฤทธิ์ไม่เคยนำมาสอนประชาชนเลย โดยพระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเสพ จงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด ทั้งสองรูปนี้เป็นบัณฑิตภิกษุ ผู้อนุเคราะห์ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ สารีบุตรเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนผู้บำรุงเลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะ ย่อมแนะนำในผลชั้นสูง สารีบุตรพอที่จะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ได้โดยพิสดาร” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ข้อ ๖๙๙
และมิใช่มีเพียงพระสูตรเดียวเท่านั้น ยังมีอีกหลายพระสูตรนับเป็นสิบ นับเป็นร้อย ที่พระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ฟังคำสาวกของพระองค์ได้
พระพุทธเจ้าทรงกำชับว่า หากไม่เข้าใจคำสอนของพระองค์ให้เข้าไปไต่ถามภิกษุสาวกของพระองค์ได้ เพราะสาวกของพระองค์นั้น สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอเข้าไปหาภิกษุ ผู้เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัยทรงมาติกา ตามเวลา แล้วไต่ถาม สอบสวนว่า ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้อย่างไร ความแห่งพระพุทธพจน์นี้อย่างไร ท่านเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยธรรมที่ยังไม่เปิดเผย ย่อมทำธรรมที่ยังมิได้ทำให้ตื้นแล้วให้ตื้น และย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมิใช่น้อยแก่ภิกษุนั้น” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต ข้อ ๔๕๙
พระพุทธเจ้าตรัสย้ำว่า สาวกของพระองค์สามารถสอนให้ปุถุชนบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับพระองค์ “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ข้อ ๓๐๑
การศรัทธาหยั่งลงมั่นในพระตถาคตโดยส่วนเดียว ตามที่วัดนาป่าพงเข้าใจว่าหมายถึงให้ฟังคำพระตถาคตเพียงผู้เดียว ข้อนั้นจึงเป็นความเข้าใจที่ผิด โดยพระคาถาว่า ตถาคเต เอกนฺตคโต อภิปฺปสนฺโน (ตะ ถา คะ เต เอ กัน ตะ คะ โต อะ ภิป ปะ สัน โน) เลื่อมใสอย่างยิ่ง ในส่วนเดียวต่อพระตถาคต มิได้มีความหมายว่า ให้เลื่อมใสพระตถาคตเพียงคนเดียว แต่หมายถึงการไม่เลื่อมใสในศาสดาของลัทธิอื่น ศาสนาอื่น ซึ่งหากตีความอย่างที่วัดนาป่าพงตีความ เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าตรัสให้เลื่อมใสพระองค์คนเดียวก็จะขัดแย้งกับคำสอนของพระองค์ซึ่งให้เลื่อมใสสาวกของพระองค์ด้วย “ดูกรภิกษุทั้งหลายส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน” อ้างแล้วในวรรคก่อน
ต่อมาหลังจากที่พระคึกฤทธิ์ฯ วัดนาป่าพง ได้รับทราบว่ามีพระสูตรเหล่านี้ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกจึงกล่าวแก้ว่า คำสาวกที่พระพุทธเจ้าให้ฟังได้ต้องได้รับการรับรองจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น คำกล่าวแก้นี้ไม่เป็นความจริงเพราะในพระไตรปิฎกมีคำสอนของพระอรหันต์มากมายที่พระพุทธเจ้าไม่ได้รับรองหากแต่เป็นคำสอนที่คล้อยตามพระพุทธเจ้า อยู่ในแนวทางคำสอนของพระพุทธศาสนาก็สามารถรับฟังได้ พระพุทธเจ้าคงไม่สามารถตามไปรับรองคำสอนของพระสาวกได้ทุกรูป นอกจากมีผู้นำคำสอนของพระสาวกมาทูลถามพระพุทธเจ้าให้พระองค์รับรอง พระองค์จึงทรงรับรอง การรับรองคำสาวกจึงไม่ใช่หลักการทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าต้องรับรองทุกราย แต่ทรงประทานหลักมหาปเทสสี่และหลักตัดสินธรรมวินัยไว้ให้ผู้ฟังได้ใช้ในการพิจารณาด้วยตนเอง
การที่พระคึกฤทธิ์ฯ ดำริแนวการสอนของตนว่า ห้ามฟังคำสาวกทั้งสิ้น เว้นแต่คำสาวกนั้นต้องเป็นคำสาวกที่พระพุทธเจ้ารับรอง จึงเป็นการตัดตอนหลักมหาปเทสสี่และหลักตัดสินธรรมวินัยแปดไม่ให้มีที่ใช้เสียทีเดียว ด้วยความคิดว่า “ไม่ต้องไปฟังทั้งสิ้นเลย” ถ้าหากเป็นเช่นนั้น คำสาวกนอกพุทธกาลอย่างหลวงปู่ หลวงตา รวมถึงคำสอนของพระคึกฤทธิ์ที่อธิบายว่า “นิพพานคือช่องว่างในที่คับแคบ” ก็ไม่ควรจะฟังเลย และไม่ควรจะต้องใช้หลักมหาปเทสสี่และหลักตัดสินพระธรรมวินัยเลยเช่นนั้นหรือ
การที่พระพุทธศาสนายั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน ผ่านกาลเวลามาเป็นเวลาสองพันกว่าปีนั้น เป็นไปด้วยพระดำรัสของพระศาสดาที่สั่งสาวกว่า ให้นำคำสอนของพระองค์ไปประกาศ และทรงมีพุทธานุญาตให้อธิบายคำสอนได้ด้วยในกรณีที่ผู้ฟังไม่เข้าใจ ดังพระดำรัสที่ผู้เขียนได้ยกมาในเบื้องต้นแล้ว “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าไปทางเดียวกันสองรูป พวกเธอจงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แม้เราก็จักไปยังอุรุเวลเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อ ๔๒๘
กล่าวโดยสรุป พระพุทธเจ้าทรงจำแนกเรื่องคำสาวกในอนาคตกาล ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังศาสดาของแต่ละลัทธิ แต่ละศาสนาสิ้นไป นี้ไว้เป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๑. คำสาวกนอกพระพุทธศาสนา ไม่เงี่ยโสตลงฟังเลย
๒. คำพระอรหันตสาวกที่พระองค์ทรงรับรองความเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏอยู่ในพระ
ไตรปิฎก ให้ฟังได้ ให้ปฏิบัติตาม
๓. คำสาวกในพระพุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพพาน ให้ใช้หลักมหาปเทสสี่และหลักตัดสินพ
ธรรมวินัย ตัดสินเอาด้วยปัญญาของผู้ฟังเอง
แหล่งข้อมูล : http://watnaprapong.blogspot.com/2015/07/blog-post_19.html?m=1