กล่าวคือ เป็นวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้น 4 ประการในวันเดียวกัน คือ
1.พระสงฆ์ จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมเพรียงกันยังวัดเวฬุวัน ซึ่งเป็นที่พำนักของพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย
2.พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ การอุปสมบทให้ด้วยพระวาจา
3.พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา
4.วันที่พระสงฆ์ทั้งหมดมาชุมนุมกันนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
ในโอกาสนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงพระธรรมเทศนา ที่เรียกว่า โอวาทปาติโมกข์ เป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์
เป็นหลักคำสอนสำคัญ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแก่ที่ประชุมพระสงฆ์เหล่านั้น เพื่อวางจุดหมาย หลักการ และวิธีการ ในการเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันต์สาวกและพุทธบริษัททั้งหลาย พระพุทธองค์จึงทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์เป็นพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง ท่ามกลางมหาสังฆสันนิบาตนั้น มีใจความดังนี้
-พระพุทธพจน์คาถาแรก ทรงกล่าวถึง พระนิพพาน ว่า เป็นจุดมุ่งหมายหรืออุดมการณ์อันสูงสุดของบรรพชิตและพุทธบริษัท อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น
-พระพุทธพจน์คาถาที่สอง ทรงกล่าวถึง "วิธีการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี และการทำจิตของตนให้ผ่องใสเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง ส่วนนี้เองของโอวาทปาติโมกข์ที่พุทธศาสนิกชนมักท่องจำกันไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งคาถาในสามคาถากึ่งของโอวาทปาติโมกข์เท่านั้น
-พระพุทธพจน์คาถาสุดท้าย ทรงกล่าวถึงหลักการปฏิบัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พระศาสนา 6 ประการ คือ การไม่กล่าวร้ายใคร การไม่ทำร้ายใคร การมีความสำรวมในปาติโมกข์ทั้งหลาย การเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร การรู้จักที่นั่งนอนอันสงัด และบำเพ็ญเพียรในอธิจิต
มาฆบูชา นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา
1.พระสงฆ์ จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมเพรียงกันยังวัดเวฬุวัน ซึ่งเป็นที่พำนักของพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย
2.พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ การอุปสมบทให้ด้วยพระวาจา
3.พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา
4.วันที่พระสงฆ์ทั้งหมดมาชุมนุมกันนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
ในโอกาสนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงพระธรรมเทศนา ที่เรียกว่า โอวาทปาติโมกข์ เป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์
เป็นหลักคำสอนสำคัญ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแก่ที่ประชุมพระสงฆ์เหล่านั้น เพื่อวางจุดหมาย หลักการ และวิธีการ ในการเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันต์สาวกและพุทธบริษัททั้งหลาย พระพุทธองค์จึงทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์เป็นพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง ท่ามกลางมหาสังฆสันนิบาตนั้น มีใจความดังนี้
-พระพุทธพจน์คาถาแรก ทรงกล่าวถึง พระนิพพาน ว่า เป็นจุดมุ่งหมายหรืออุดมการณ์อันสูงสุดของบรรพชิตและพุทธบริษัท อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น
-พระพุทธพจน์คาถาที่สอง ทรงกล่าวถึง "วิธีการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี และการทำจิตของตนให้ผ่องใสเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง ส่วนนี้เองของโอวาทปาติโมกข์ที่พุทธศาสนิกชนมักท่องจำกันไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งคาถาในสามคาถากึ่งของโอวาทปาติโมกข์เท่านั้น
-พระพุทธพจน์คาถาสุดท้าย ทรงกล่าวถึงหลักการปฏิบัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พระศาสนา 6 ประการ คือ การไม่กล่าวร้ายใคร การไม่ทำร้ายใคร การมีความสำรวมในปาติโมกข์ทั้งหลาย การเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร การรู้จักที่นั่งนอนอันสงัด และบำเพ็ญเพียรในอธิจิต