ว่าด้วยซีรีส์ - วรรณกรรม - ประวัติศาสตร์
"สามก๊ก" คือวรรณกรรม ลักษณะเป็นกึ่งนิยายอิงประวัติศาสตร์ โดย
"หลัวกวั้นจง" นักเขียนโคตรเทพที่หนังสือของเขากลายเป็นตำราพิชัยสงครามเล่มนึง ซึ่งมีคนอ่านและศึกษาตั้งแต่ยุคนั้นมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะบรรดานักปกครอง
โดยโครงเรื่องนั้นเอามาจากจารึกบันทึกประวัติศาสตร์และชีวประวัติบุคคล ของ
"เฉินโซว่" นักวิชาการที่โคตรเทพอีกคนซึ่งมีข้อมูลเต็มหัว ซึ่งเริ่มเรื่องราวตั้งแต่ปลายราชวงศ์ฮั่น ยาวไปจนถึงยุค 3 อาณาจักร และจบที่การสถาปนาราชวงศ์จิ้น เรียกว่าเป็นบันทึกทรงคุณค่าที่มีข้อมูลละเอียดยิบ (ส่วนความคลาดเคลื่อนไปจากประวัติศาสตร์แหล่งอื่นก็อาจมีบ้างเพราะเป็นบันทึกจดหมายเหตุจากคนๆเดียว)
จากวรรณกรรมของหลัวกวั้นจง ก็มีการดัดแปลงปรับแต่งเนื้อหาไปอีกหลายเล่มหลายเวอร์ชั่น จนในยุคใหม่ที่มีการถ่ายทำภาพยนตร์นี่ก็มีการแต่งเนื้อหาออกมาหลายเวอร์ชั่นไปหมด เรียกว่าแล้วแต่คนสร้างหนังสร้างซีรีส์เลย
สามก๊กของหลัวกวั้นจงที่ทั่วไปกล่าวถึงกันนั้น เป็นวรรณกรรมที่สอนเรื่องพิชัยสงคราม และสอนกลยุทธในการใช้ชีวิตและการบริหารสิ่งรอบตัว ไม่ใช่ตำราสอนคุณธรรม ไม่ใช่ตำราธรรมะ แล้วก็ไม่ใช่งิ้วไม่ใช่ละครที่จะต้องมีดราม่าว่าใครเป็นคนดี ใครเป็นตัวร้าย
ฉะนั้นใครอ่านสามก๊กแล้วถกกันเรื่องใครดีใครชั่ว อันนี้ค่อนข้างหลงประเด็น บางคนพาลไปเกลียดเล่าปี่อีกว่ามีความทะเยอทะยานเหมือนกันแต่ดันถูกให้บทเป็นคนดี ซึ่งแฟนๆส่วนนี้เข้าใจผิดกันไปเองหรืออาจจะไปเริ่มต้นดูจากซีรีส์ก่อน แล้วเอามโนในซีรีส์มาสวมใส่ในหนังสือ เพราะจริงๆมันไม่มีเลยครับ
ในหนังสือนั้นเขาสื่อว่าในยุคที่ราชวงศ์อ่อนแอ ขุนศึกชิงกันเป็นใหญ่ แต่ละคนเล่นการเมืองวิธีไหน เคลมอะไร สร้างตัวเองด้วยอะไร
เล่าปี่ก็แค่เล่นการเมืองแบบที่อาจเรียกว่าคล้ายๆประชาธิปไตยเยอะกว่าคนอื่นหน่อย ใช้ประชานิยม สร้างภาพลักษณ์แล้วให้คนมาชอบเอง แต่ขุนศึกบางคนก็ใช้วิธีทางการทหาร วางแผนยึดเมือง หรือวางแผนฆ่าซะส่วนใหญ่ แล้วก็ใช้ประชานิยมบ้างบางครั้ง
แม้ในซีรีส์ 2010 อาจให้เล่าปี่ได้บทเป็นคนดีมีคุณธรรม (ซึ่งย้อนแย้งกับเนื้อเรื่องมาก) นั่นก็เพราะมันคือละครทีวีไงครับ แต่ในเวอร์ชั่น 1994 ก็จะสื่อต่างออกไป คือทำให้คนดูมองได้หลายมุม แต่ที่เด่นชัดคือความแหลของแต่ละฝ่าย นักแสดงสมัยนั้นก็ออกแนวหนังอินเดีย คือสื่อหน้าตาสื่ออารมณ์ชัดมาก กลัวคนดูไม่เข้าใจ อย่างเล่าปี่ก็ให้บุคลิกแตกต่างจากในวรรณกรรมโดยสิ้นเชิง ในละครกลายเป็นว่าเล่าปี่ได้บทแหลเจ้าน้ำตา แต่จะว่ามีคนเดียวก็ไม่ใช่ ขุนนางแทบจะทุกคนเลยครับตั้งแต่ยุค 10 ขันทียันแกนนำก๊กทั้ง 3 มันจะต้องมีซีนบีบน้ำตา มีแหลเพื่อลวงคนอะไรแบบนี้ตลอด โจโฉก็มีบทแบบนี้
แต่สำหรับตัวละครที่เทพที่สุดนั้น ถ้าให้วิเคราะห์ว่าหลัวกวั้นจงเลือกยกย่องใครเป็นพิเศษ หรือให้ใครเป็นตัวเอก ? ก็มองว่าเขายก "ขงเบ้ง" แต่ไม่ใช่ยกว่าเป็นคนดีมีคุณธรรมนะ เขายกว่าเป็นคนปราดเปรื่องที่สุดเหนือมนุษย์ อะไรทำนองนั้น แต่นั่นก็สิทธิ์ของเขาไงครับ เขาเป็นคนเขียนบทประพันธ์ ถ้าใครไม่ชอบใจคุณก็ไปเขียนเล่มใหม่แต่งใหม่ซะเองถ้ามีความสามารถนะ ไม่มีใครห้าม
สมัยโบราณไม่มีการถ่ายหนัง ไม่มีละคร ฉะนั้นพวกนิทาน นิยายต่างๆมันก็คือสิ่งบันเทิงในสมัยก่อน แต่บางคนก็ติงต๊อง ไปด่าหลัวกวั้นจงว่าบิดเบือนเขียนเนื้อหาและชีวประวัติไม่ตรงกับจดหมายเหตุ เอ้า ! ก็มันบทประพันธ์หนิครับ ก็เหมือน "บุปเพสันนิวาส" เขาจะเอา "ขุนศรีวิสารวาจา" เป็นตัวเอกมันก็เรื่องของเขา ตัวจริงอาจแทบไม่มีบทบาทอะไรเลยก็ได้นอกจากไปฝรั่งเศส
คือชาวฮั่นจำนวนมากเขาก็จะยกย่องขงเบ้ง บูชากวนอูอะไรแบบนั้น ขงเบ้งเป็นปราชญ์ที่หลัวกวั้นจงเขานับถือ เขาก็เลยอวยเล่าปี่ อวยจ๊กก๊ก มันก็เรื่องของเขา แต่ที่แน่ๆ
เขาสื่อออกมาได้มีเสน่ห์อย่างนึง คือพยามทำให้ทั้ง 3 ฝ่ายมันสมดุล คานอำนาจกัน แล้วนำเสนอความโดดเด่นของแต่ละฝ่ายที่ต่างกันไป เรียกว่าคนอ่านสามารถที่จะฝักใฝ่ฝ่ายไหนได้ตามใจชอบเลย เพราะทุกฝ่ายล้วนมีสตอรี่น่าสนใจ มีขุนนางเจ๋งๆ มีกุนซือเก่งๆและโดดเด่น แฟนๆจำนวนมากชอบโจโฉ แล้วก็มีเยอะที่ชอบจิวยี่กับง่อก๊ก แต่ถ้าให้ดีที่สุดและสามารถตกผลึกจากสามก๊กที่สุดคือต้องมองแบบเข้าใจทุกฝ่าย เรียนรู้ทุกกลยุทธ นั่นแหละครับที่เป้าหมายของพิชัยสงครามต้องการ
* ถึงได้มีคำพูดว่า "อ่านสามก๊ก 3 จบคบไม่ได้" เพราะมันเป็นกลยุทธวางแผนกำจัดคู่แข่ง แต่ถ้าคนดีๆก็จะเรียนรู้ไว้เพื่อรู้ทันเหลี่ยมคน *
มองจริงๆตามประวัติศาสตร์ ทั้ง 3 ฝ่ายมันก็เจ๋งพอๆกัน แต่ถ้าในซีรีส์พยามดันจ๊กก๊กเป็นตัวเอก มันก็ไม่น่าเกลียดนะ ในมุมนึงที่ผมมองคือ ตามประวัติศาสตร์แล้วจ๊กก๊กเป็นก๊กเล็ก ขุนนางก็น้อยกว่าเทียบจำนวนกันไม่ติด แต่ในยุคขงเบ้งเนี่ย วุยก๊กทำอะไรเขาไม่ได้ มีทั้งสุมาอี้และแม่ทัพเจ๋งๆมากมายแต่ก็ปราบไม่สำเร็จ มันก็พอเข้าใจได้ว่าขงเบ้งก็ไม่ธรรมดาจริงๆนั่นแหละ ถึงจะไม่ใช่เทวดาหยั่งรู้ฟ้าดินแบบในเรื่องแต่ง
ในซีรีส์ 1994 เขาก็ปูเรื่องให้ทั้ง 3 ก๊กมีความโดดเด่นและมีเสน่ห์ต่างกันไป เผื่อว่าคนดูจะชอบฝ่ายไหน พรรคไหน อย่างของปี 1994 มันเริ่มต้นแบ่งซีนโปรโมทออกเป็น 3 ฝ่ายชัดเจน เริ่มจากซีนของฝ่ายเล่าปี่หรือสามพี่น้องจ๊กก๊ก ต่อมาก็เป็นซีนของวุยก๊ก ซึ่งก็ปูบทบาทของโจโฉในการต้านตั๋งโต๊ะ เรียกว่าโจโฉเด่นมาแต่แรกเลย ส่วนอีกซีนนึงของฝ่ายง่อก๊ก เริ่มปูจากซุนเซ็กมากกว่า เกริ่นเรื่องซุนเกี๋ยนน้อยมาก แต่ไปเน้นซีนประทับใจของซุนเซ็กกับจิวยี่ช่วงนั้น
แต่ในเวอร์ชั่น 2010 ไม่ได้แบ่งซีนเป็น 3 ฝ่ายแบบสมดุล แต่จะเน้นไปที่โจโฉกับเล่าปี่ ให้ 2 คนนี้ดูเด่นมาก แล้วในซีรีส์ทั้ง 2 ยุคเหมือนกันตรงที่จะให้บทดราม่าเล่าปี่ไปทางว่าเป็นผู้จงรักภักดีกับฮ่องเต้และราชวงศ์ฮั่น ส่วนโจโฉเป็นผู้ยึดอำนาจราชวงศ์ไว้ในมือ และหวังรวมแผ่นดินกำราบทุกแคว้นทุกเมือง
นั่นก็เพราะมันเป็นดราม่า เป็นละครทีวีมันก็ต้องมีความเป็นงิ้วอยู่ คือต้องมีเรื่องของความรัก มีความสัมพันธ์ มีความภักดี มีเศร้ามีล้มเหลว
แต่ในวรรณกรรมสื่ออะไร ?
หนังสือสามก๊กนั้นเพียงนำเสนอกลยุทธของฝ่ายต่างๆ พล็อตเรื่องหลักๆมันก็คือเป็นไปตามประวัติศาสตร์ คือราชวงศ์ฮั่นเริ่มเสื่อม ขัดแย้งกันภายในไม่เห็นแก่บ้านเมือง ปล่อยให้ขุนนางเป็นใหญ่ ขุนนางก็ข่มเหงประชาชน จนมีกบฏออกมาต่อสู้จะล้มราชวงศ์ พวกขุนศึกก็ออกมาปราบกบฏสำเร็จ ขุนศึกทุกคนก็ต่างแสวงหาลาภยศและอำนาจ
ตั๋งโต๊ะ, ลิฉุย-กุยกี, ลิโป้, ม้าเท้ง, อ้วนสุด, อ้วนเสี้ยว มีอำนาจมีฐานกำลังเยอะ แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้หมดอำนาจล้มตายเพราะไม่ฉลาดพอ เหลือ 3 ฝ่ายคือ
1.) โจโฉ สร้างอำนาจโดยอาศัยความใกล้ชิดราชวงศ์ ใช้เป็นเครื่องมือในการไต่เต้าขยายอำนาจ เป็นฝ่ายวังหลวงมีแม่ทัพและกุนซือมากมายให้เลือกใช้
2.) เล่าปี่ สร้างอำนาจโดยเล่นการเมืองให้ถูกจังหวะจะโคน การเฟ้นหาบุคลากรเก่งๆ ด้านบุ๋นและบู๊ ไม่ได้มีจำนวนเยอะแต่ทำงานสำเร็จเป็นพอ เคลมแซ่เล่าและเชื้อพระวงศ์ของตน
3.) ซุนกวน ใช้สิ่งที่พ่อและพี่ชายสร้างไว้ให้ สานต่อและใช้ความฉลาดปกครองบ้านเมืองของตัวเอง
ทั้ง 3 คนนี้เก่งทุกคน ฉลาดมีเหลี่ยมทุกคนไม่งั้นอยู่ไม่รอด แล้วทุกฝ่ายก็ไม่ได้พิทักษ์รักษาราชวงศ์อะไรหรอกครับ ใครๆก็รู้สถานการณ์ว่า ต้าฮั่นไปต่อไม่ไหวละ แล้วทั้ง 3 ก็ไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจใคร ต่างหาวิธีสถาปนาตัวเองทั้งนั้นแล้วแต่ช่องทาง
ขุนศึกหรือแกนนำแต่ละฝ่าย ต่างเป็นคนที่ไม่อยากก้มหัวให้ใคร อยากเป็นใหญ่เอง โดยต่างคนก็ต่างรู้ดีว่าขุนนาง-แม่ทัพคนไหนบ้างที่ยอมสวามิภักดิ์รับใช้คนอื่น และใครบ้างเป็นหัวโจกที่อยากเป็นใหญ่ พวกเขาก็ต้องวางแผนกำจัดซึ่งกันและกัน ต้องมีการรวมหัวกับฝ่ายนึงเพื่อกำจัดฝ่ายนึง เพื่อที่สุดท้ายจะได้เหลือฝ่ายตนผู้เดียว
โจโฉใช้วิธีการปูทางให้ลูกหลาน ทีแรกก็ให้ลูกสาวเป็นมเหสี หวังให้หลานเป็นฮ่องเต้ พอไม่สำเร็จต่อมาก็ปูทางให้ลูกชายสถาปนาราชวงศ์ใหม่
เล่าปี่ก็หวังอาศัยเชื้อพระวงศ์ปลายแถวของตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ แค่ต้องรอจังหวะ จะสถาปนาฮั่นซ้อนฮั่นไม่ได้ พอฮั่นถูกโค่นคราวนี้จึงเคลมตั้งฮั่นขึ้นมาใหม่ได้
ซุนกวนก็มีดินแดนตัวเองที่กว้างใหญ่ไพศาล มีขุนนางมากพอที่สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ โดยอาศัยจังหวะฮั่นถูกโค่น
นั่นคือประวัติศาสตร์ที่ถูกเอาพล็อตตรงนี้มาใส่ในวรรณกรรม เพียงแต่พอมันเป็นนิยายเขาเลยใส่สีสันความสนุกไปด้วยเช่น มีเรื่องราวอภินิหาร มีไสยศาสตร์ มีผี และมีชิงรักหักสวาท มีนางเตียวเสี้ยนขึ้นมาเป็นตัวละครเพิ่มเติม นี่แหละครับมันคือเป็นสื่อบันเทิงของยุคโบราณ ก็เหมือนที่ฝรั่งมีนิทานกริมส์อะไรแบบนั้น
มีปรับแต่งตัวละครให้ตัวนั้นตัวนี้ดูโง่ลง (เช่นอ้วนเสี้ยวและฮ่องเต้ ถูกทำให้ด้อยความสามารถลงกว่าความเป็นจริง) แล้วบางตัวก็ปั้นให้เก่งเว่อร์เกินไป
เรื่องเหตุการณ์ใครรบกับใคร ใครฆ่าใคร ก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นสีสัน บางสงครามไม่หวือหวามากก็มาทำเป็นเรื่องใหญ่ มีวางแผนการซับซ้อนขึ้นอลังการขึ้น นี่ก็เป็นสีสันดราม่าที่หลัวกวั้นจงใส่เข้าไป
ในการรวมพรรครวมพลก็มาแต่งเรื่องให้เป็นละครขึ้นมา อย่างสามพี่น้องเล่าปี่ก็ใส่เรื่องสาบานที่สวนท้อเข้าไป ให้มันดูเป็นนิยายหน่อย แต่เรื่องจริงไม่มีครับ คนสมัยก่อนถ้าถูกชะตากันชอบพอกัน เขาก็รักเพื่อนเหมือนเป็นพี่น้อง ก็เหมือนกับที่ฝ่ายซุนเซ็ก-ซุนกวน ก็มีจิวยี่เป็นพี่น้องอะไรทำนองนั้น
คนที่เป็นขุนศึกฝีมือเก่งๆ ก็จะมีคนเคารพอยากเป็นลูกน้อง ใครเคยดูหนังเจ้าพ่อหรือยากูซ่ามันก็จะประมาณนั้นแหละครับ นี่ก็คือสาเหตุนึงซึ่งในชีวิตจริงทุกวันนี้ผู้มีอิทธิพลก็มีเยอะแยะมากมาย
ตั๋งโต๊ะ, ลิโป้, อ้วนสุด, อ้วนเสี้ยว ฯลฯ มีขุนนางมีบริวารกองทัพติดตามมากมาย เอามาจากไหน ? ไม่ใช่แค่จ้างมาก็พอ แต่คนจะเป็นผู้นำได้ มีลูกน้องจำนวนมากยอมสู้ถวายหัว ไม่ใช่เรื่องง่าย
ยกตัวอย่างทุกวันนี้คนเรายอมไปอยู่พรรคเดียวกันคือ ต้องมีผลประโยชน์ร่วมกัน มีแนวคิดอุดมการณ์เดียวกัน คุยถูกคอกัน เลือกชอบผู้นำพรรคเพราะว่าดูมีรัศมี มีออร่า มีอิทธิพลต่อสังคมวงกว้าง มีเป้าหมายโดนใจตัวเอง และกว่าที่แต่ละคนจะเป็นใหญ่มีกองทัพที่ติดตามเลื่อมใส ไม่ใช่ว่าสร้างได้ภายในไม่กี่วัน
(อย่างการเมืองไทยก็มีฝ่ายทักษิณ มีฝ่ายไม่เอาทักษิณ มีฝ่ายอนุรักษ์ มีฝ่ายเสรี มีฝ่ายลุงตู่ มีฝ่ายธนาธร อันนี้แวะแถมเป็นตัวอย่าง --หรือมีอีกแบบคือ มองการเมืองแบบอยู่เหนือการเมือง นำตำราสามก๊กมาใช้ นี่ก็พวกนึง --จะอยู่แบบรู้จังหวะเหมือนกาเซี่ยง หรือจะไม่ยุ่งเกี่ยวอย่างสุมาเต็กโชก็มีอีก)
คนเราบางคนมีนิสัยอยากติดตามนายดีๆ ต้องศึกษาดูคนให้เป็น และบางคนที่มีนิสัยไม่ชอบเป็นลูกน้องใคร คุณอาจชอบเป็นนักวิชาการอิสระ เป็นบัณฑิตอิสระ หรือเป็นชาวบ้านที่เอาตัวรอดได้ ไม่ตกเป็นเหยื่อของการเมือง แต่ถ้าไม่ชอบเป็นลูกน้องใครเพราะอยากเป็นใหญ่ ก็ต้องศึกษาวิธีการขึ้นครองอำนาจ จะไต่เต้าวิธีไหน ในการอ่านการดูมันใช้เวลาไม่นาน แต่ของจริงคือต้องใช้เวลาทั้งชีวิต เดินให้ถูกจังหวะ ถ้าผิดจังหวะคือคุณแพ้
การเมืองสมัยก่อน คนเป็นใหญ่เป็นโต มีสิทธิ์จะเผชิญอยู่ 2 ทาง คือสุขสบายมีอำนาจ และอีกทางคือเสี่ยงที่จะต้องถูกเชือด โดยพาครอบครัวจบชีวิตไปด้วย
ทั้งหมดนั่นก็คือแง่คิดจากเนื้อหา รวมถึงที่มาและความแตกต่างของประวัติศาสตร์จากจดหมายเหตุ มาสู่วรรณกรรมสามก๊ก
ส่วนถ้าเป็นในหนังและซีรีส์ หลังๆนี่มีอีกหลายเรื่องหลายเวอร์ชั่นเลย กลายเป็นหนังกำลังภายในและหนังรักไปก็มี ไม่ใช่เรื่องวางแผนกลยุทธละ ผมตามดูหมดทุกเวอร์ชั่นที่ออกมาน่ะแหละ ไว้จะมารีวิวในแต่ละเวอร์ชั่นครับ
<จะแปะลิงค์ไว้ด้านล่าง รวมทั้งลิงค์เรื่องการเมือง>
สามก๊ก สื่อให้เราเข้าใจอะไร ? (ว่าด้วยซีรีส์ - วรรณกรรม - ประวัติศาสตร์)
"สามก๊ก" คือวรรณกรรม ลักษณะเป็นกึ่งนิยายอิงประวัติศาสตร์ โดย "หลัวกวั้นจง" นักเขียนโคตรเทพที่หนังสือของเขากลายเป็นตำราพิชัยสงครามเล่มนึง ซึ่งมีคนอ่านและศึกษาตั้งแต่ยุคนั้นมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะบรรดานักปกครอง
โดยโครงเรื่องนั้นเอามาจากจารึกบันทึกประวัติศาสตร์และชีวประวัติบุคคล ของ "เฉินโซว่" นักวิชาการที่โคตรเทพอีกคนซึ่งมีข้อมูลเต็มหัว ซึ่งเริ่มเรื่องราวตั้งแต่ปลายราชวงศ์ฮั่น ยาวไปจนถึงยุค 3 อาณาจักร และจบที่การสถาปนาราชวงศ์จิ้น เรียกว่าเป็นบันทึกทรงคุณค่าที่มีข้อมูลละเอียดยิบ (ส่วนความคลาดเคลื่อนไปจากประวัติศาสตร์แหล่งอื่นก็อาจมีบ้างเพราะเป็นบันทึกจดหมายเหตุจากคนๆเดียว)
จากวรรณกรรมของหลัวกวั้นจง ก็มีการดัดแปลงปรับแต่งเนื้อหาไปอีกหลายเล่มหลายเวอร์ชั่น จนในยุคใหม่ที่มีการถ่ายทำภาพยนตร์นี่ก็มีการแต่งเนื้อหาออกมาหลายเวอร์ชั่นไปหมด เรียกว่าแล้วแต่คนสร้างหนังสร้างซีรีส์เลย
สามก๊กของหลัวกวั้นจงที่ทั่วไปกล่าวถึงกันนั้น เป็นวรรณกรรมที่สอนเรื่องพิชัยสงคราม และสอนกลยุทธในการใช้ชีวิตและการบริหารสิ่งรอบตัว ไม่ใช่ตำราสอนคุณธรรม ไม่ใช่ตำราธรรมะ แล้วก็ไม่ใช่งิ้วไม่ใช่ละครที่จะต้องมีดราม่าว่าใครเป็นคนดี ใครเป็นตัวร้าย
ฉะนั้นใครอ่านสามก๊กแล้วถกกันเรื่องใครดีใครชั่ว อันนี้ค่อนข้างหลงประเด็น บางคนพาลไปเกลียดเล่าปี่อีกว่ามีความทะเยอทะยานเหมือนกันแต่ดันถูกให้บทเป็นคนดี ซึ่งแฟนๆส่วนนี้เข้าใจผิดกันไปเองหรืออาจจะไปเริ่มต้นดูจากซีรีส์ก่อน แล้วเอามโนในซีรีส์มาสวมใส่ในหนังสือ เพราะจริงๆมันไม่มีเลยครับ ในหนังสือนั้นเขาสื่อว่าในยุคที่ราชวงศ์อ่อนแอ ขุนศึกชิงกันเป็นใหญ่ แต่ละคนเล่นการเมืองวิธีไหน เคลมอะไร สร้างตัวเองด้วยอะไร
เล่าปี่ก็แค่เล่นการเมืองแบบที่อาจเรียกว่าคล้ายๆประชาธิปไตยเยอะกว่าคนอื่นหน่อย ใช้ประชานิยม สร้างภาพลักษณ์แล้วให้คนมาชอบเอง แต่ขุนศึกบางคนก็ใช้วิธีทางการทหาร วางแผนยึดเมือง หรือวางแผนฆ่าซะส่วนใหญ่ แล้วก็ใช้ประชานิยมบ้างบางครั้ง
แม้ในซีรีส์ 2010 อาจให้เล่าปี่ได้บทเป็นคนดีมีคุณธรรม (ซึ่งย้อนแย้งกับเนื้อเรื่องมาก) นั่นก็เพราะมันคือละครทีวีไงครับ แต่ในเวอร์ชั่น 1994 ก็จะสื่อต่างออกไป คือทำให้คนดูมองได้หลายมุม แต่ที่เด่นชัดคือความแหลของแต่ละฝ่าย นักแสดงสมัยนั้นก็ออกแนวหนังอินเดีย คือสื่อหน้าตาสื่ออารมณ์ชัดมาก กลัวคนดูไม่เข้าใจ อย่างเล่าปี่ก็ให้บุคลิกแตกต่างจากในวรรณกรรมโดยสิ้นเชิง ในละครกลายเป็นว่าเล่าปี่ได้บทแหลเจ้าน้ำตา แต่จะว่ามีคนเดียวก็ไม่ใช่ ขุนนางแทบจะทุกคนเลยครับตั้งแต่ยุค 10 ขันทียันแกนนำก๊กทั้ง 3 มันจะต้องมีซีนบีบน้ำตา มีแหลเพื่อลวงคนอะไรแบบนี้ตลอด โจโฉก็มีบทแบบนี้
แต่สำหรับตัวละครที่เทพที่สุดนั้น ถ้าให้วิเคราะห์ว่าหลัวกวั้นจงเลือกยกย่องใครเป็นพิเศษ หรือให้ใครเป็นตัวเอก ? ก็มองว่าเขายก "ขงเบ้ง" แต่ไม่ใช่ยกว่าเป็นคนดีมีคุณธรรมนะ เขายกว่าเป็นคนปราดเปรื่องที่สุดเหนือมนุษย์ อะไรทำนองนั้น แต่นั่นก็สิทธิ์ของเขาไงครับ เขาเป็นคนเขียนบทประพันธ์ ถ้าใครไม่ชอบใจคุณก็ไปเขียนเล่มใหม่แต่งใหม่ซะเองถ้ามีความสามารถนะ ไม่มีใครห้าม
สมัยโบราณไม่มีการถ่ายหนัง ไม่มีละคร ฉะนั้นพวกนิทาน นิยายต่างๆมันก็คือสิ่งบันเทิงในสมัยก่อน แต่บางคนก็ติงต๊อง ไปด่าหลัวกวั้นจงว่าบิดเบือนเขียนเนื้อหาและชีวประวัติไม่ตรงกับจดหมายเหตุ เอ้า ! ก็มันบทประพันธ์หนิครับ ก็เหมือน "บุปเพสันนิวาส" เขาจะเอา "ขุนศรีวิสารวาจา" เป็นตัวเอกมันก็เรื่องของเขา ตัวจริงอาจแทบไม่มีบทบาทอะไรเลยก็ได้นอกจากไปฝรั่งเศส
คือชาวฮั่นจำนวนมากเขาก็จะยกย่องขงเบ้ง บูชากวนอูอะไรแบบนั้น ขงเบ้งเป็นปราชญ์ที่หลัวกวั้นจงเขานับถือ เขาก็เลยอวยเล่าปี่ อวยจ๊กก๊ก มันก็เรื่องของเขา แต่ที่แน่ๆ เขาสื่อออกมาได้มีเสน่ห์อย่างนึง คือพยามทำให้ทั้ง 3 ฝ่ายมันสมดุล คานอำนาจกัน แล้วนำเสนอความโดดเด่นของแต่ละฝ่ายที่ต่างกันไป เรียกว่าคนอ่านสามารถที่จะฝักใฝ่ฝ่ายไหนได้ตามใจชอบเลย เพราะทุกฝ่ายล้วนมีสตอรี่น่าสนใจ มีขุนนางเจ๋งๆ มีกุนซือเก่งๆและโดดเด่น แฟนๆจำนวนมากชอบโจโฉ แล้วก็มีเยอะที่ชอบจิวยี่กับง่อก๊ก แต่ถ้าให้ดีที่สุดและสามารถตกผลึกจากสามก๊กที่สุดคือต้องมองแบบเข้าใจทุกฝ่าย เรียนรู้ทุกกลยุทธ นั่นแหละครับที่เป้าหมายของพิชัยสงครามต้องการ
* ถึงได้มีคำพูดว่า "อ่านสามก๊ก 3 จบคบไม่ได้" เพราะมันเป็นกลยุทธวางแผนกำจัดคู่แข่ง แต่ถ้าคนดีๆก็จะเรียนรู้ไว้เพื่อรู้ทันเหลี่ยมคน *
มองจริงๆตามประวัติศาสตร์ ทั้ง 3 ฝ่ายมันก็เจ๋งพอๆกัน แต่ถ้าในซีรีส์พยามดันจ๊กก๊กเป็นตัวเอก มันก็ไม่น่าเกลียดนะ ในมุมนึงที่ผมมองคือ ตามประวัติศาสตร์แล้วจ๊กก๊กเป็นก๊กเล็ก ขุนนางก็น้อยกว่าเทียบจำนวนกันไม่ติด แต่ในยุคขงเบ้งเนี่ย วุยก๊กทำอะไรเขาไม่ได้ มีทั้งสุมาอี้และแม่ทัพเจ๋งๆมากมายแต่ก็ปราบไม่สำเร็จ มันก็พอเข้าใจได้ว่าขงเบ้งก็ไม่ธรรมดาจริงๆนั่นแหละ ถึงจะไม่ใช่เทวดาหยั่งรู้ฟ้าดินแบบในเรื่องแต่ง
ในซีรีส์ 1994 เขาก็ปูเรื่องให้ทั้ง 3 ก๊กมีความโดดเด่นและมีเสน่ห์ต่างกันไป เผื่อว่าคนดูจะชอบฝ่ายไหน พรรคไหน อย่างของปี 1994 มันเริ่มต้นแบ่งซีนโปรโมทออกเป็น 3 ฝ่ายชัดเจน เริ่มจากซีนของฝ่ายเล่าปี่หรือสามพี่น้องจ๊กก๊ก ต่อมาก็เป็นซีนของวุยก๊ก ซึ่งก็ปูบทบาทของโจโฉในการต้านตั๋งโต๊ะ เรียกว่าโจโฉเด่นมาแต่แรกเลย ส่วนอีกซีนนึงของฝ่ายง่อก๊ก เริ่มปูจากซุนเซ็กมากกว่า เกริ่นเรื่องซุนเกี๋ยนน้อยมาก แต่ไปเน้นซีนประทับใจของซุนเซ็กกับจิวยี่ช่วงนั้น
แต่ในเวอร์ชั่น 2010 ไม่ได้แบ่งซีนเป็น 3 ฝ่ายแบบสมดุล แต่จะเน้นไปที่โจโฉกับเล่าปี่ ให้ 2 คนนี้ดูเด่นมาก แล้วในซีรีส์ทั้ง 2 ยุคเหมือนกันตรงที่จะให้บทดราม่าเล่าปี่ไปทางว่าเป็นผู้จงรักภักดีกับฮ่องเต้และราชวงศ์ฮั่น ส่วนโจโฉเป็นผู้ยึดอำนาจราชวงศ์ไว้ในมือ และหวังรวมแผ่นดินกำราบทุกแคว้นทุกเมือง
นั่นก็เพราะมันเป็นดราม่า เป็นละครทีวีมันก็ต้องมีความเป็นงิ้วอยู่ คือต้องมีเรื่องของความรัก มีความสัมพันธ์ มีความภักดี มีเศร้ามีล้มเหลว
แต่ในวรรณกรรมสื่ออะไร ?
หนังสือสามก๊กนั้นเพียงนำเสนอกลยุทธของฝ่ายต่างๆ พล็อตเรื่องหลักๆมันก็คือเป็นไปตามประวัติศาสตร์ คือราชวงศ์ฮั่นเริ่มเสื่อม ขัดแย้งกันภายในไม่เห็นแก่บ้านเมือง ปล่อยให้ขุนนางเป็นใหญ่ ขุนนางก็ข่มเหงประชาชน จนมีกบฏออกมาต่อสู้จะล้มราชวงศ์ พวกขุนศึกก็ออกมาปราบกบฏสำเร็จ ขุนศึกทุกคนก็ต่างแสวงหาลาภยศและอำนาจ
ตั๋งโต๊ะ, ลิฉุย-กุยกี, ลิโป้, ม้าเท้ง, อ้วนสุด, อ้วนเสี้ยว มีอำนาจมีฐานกำลังเยอะ แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้หมดอำนาจล้มตายเพราะไม่ฉลาดพอ เหลือ 3 ฝ่ายคือ
1.) โจโฉ สร้างอำนาจโดยอาศัยความใกล้ชิดราชวงศ์ ใช้เป็นเครื่องมือในการไต่เต้าขยายอำนาจ เป็นฝ่ายวังหลวงมีแม่ทัพและกุนซือมากมายให้เลือกใช้
2.) เล่าปี่ สร้างอำนาจโดยเล่นการเมืองให้ถูกจังหวะจะโคน การเฟ้นหาบุคลากรเก่งๆ ด้านบุ๋นและบู๊ ไม่ได้มีจำนวนเยอะแต่ทำงานสำเร็จเป็นพอ เคลมแซ่เล่าและเชื้อพระวงศ์ของตน
3.) ซุนกวน ใช้สิ่งที่พ่อและพี่ชายสร้างไว้ให้ สานต่อและใช้ความฉลาดปกครองบ้านเมืองของตัวเอง
ทั้ง 3 คนนี้เก่งทุกคน ฉลาดมีเหลี่ยมทุกคนไม่งั้นอยู่ไม่รอด แล้วทุกฝ่ายก็ไม่ได้พิทักษ์รักษาราชวงศ์อะไรหรอกครับ ใครๆก็รู้สถานการณ์ว่า ต้าฮั่นไปต่อไม่ไหวละ แล้วทั้ง 3 ก็ไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจใคร ต่างหาวิธีสถาปนาตัวเองทั้งนั้นแล้วแต่ช่องทาง
ขุนศึกหรือแกนนำแต่ละฝ่าย ต่างเป็นคนที่ไม่อยากก้มหัวให้ใคร อยากเป็นใหญ่เอง โดยต่างคนก็ต่างรู้ดีว่าขุนนาง-แม่ทัพคนไหนบ้างที่ยอมสวามิภักดิ์รับใช้คนอื่น และใครบ้างเป็นหัวโจกที่อยากเป็นใหญ่ พวกเขาก็ต้องวางแผนกำจัดซึ่งกันและกัน ต้องมีการรวมหัวกับฝ่ายนึงเพื่อกำจัดฝ่ายนึง เพื่อที่สุดท้ายจะได้เหลือฝ่ายตนผู้เดียว
โจโฉใช้วิธีการปูทางให้ลูกหลาน ทีแรกก็ให้ลูกสาวเป็นมเหสี หวังให้หลานเป็นฮ่องเต้ พอไม่สำเร็จต่อมาก็ปูทางให้ลูกชายสถาปนาราชวงศ์ใหม่
เล่าปี่ก็หวังอาศัยเชื้อพระวงศ์ปลายแถวของตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ แค่ต้องรอจังหวะ จะสถาปนาฮั่นซ้อนฮั่นไม่ได้ พอฮั่นถูกโค่นคราวนี้จึงเคลมตั้งฮั่นขึ้นมาใหม่ได้
ซุนกวนก็มีดินแดนตัวเองที่กว้างใหญ่ไพศาล มีขุนนางมากพอที่สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ โดยอาศัยจังหวะฮั่นถูกโค่น
นั่นคือประวัติศาสตร์ที่ถูกเอาพล็อตตรงนี้มาใส่ในวรรณกรรม เพียงแต่พอมันเป็นนิยายเขาเลยใส่สีสันความสนุกไปด้วยเช่น มีเรื่องราวอภินิหาร มีไสยศาสตร์ มีผี และมีชิงรักหักสวาท มีนางเตียวเสี้ยนขึ้นมาเป็นตัวละครเพิ่มเติม นี่แหละครับมันคือเป็นสื่อบันเทิงของยุคโบราณ ก็เหมือนที่ฝรั่งมีนิทานกริมส์อะไรแบบนั้น
มีปรับแต่งตัวละครให้ตัวนั้นตัวนี้ดูโง่ลง (เช่นอ้วนเสี้ยวและฮ่องเต้ ถูกทำให้ด้อยความสามารถลงกว่าความเป็นจริง) แล้วบางตัวก็ปั้นให้เก่งเว่อร์เกินไป
เรื่องเหตุการณ์ใครรบกับใคร ใครฆ่าใคร ก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นสีสัน บางสงครามไม่หวือหวามากก็มาทำเป็นเรื่องใหญ่ มีวางแผนการซับซ้อนขึ้นอลังการขึ้น นี่ก็เป็นสีสันดราม่าที่หลัวกวั้นจงใส่เข้าไป
ในการรวมพรรครวมพลก็มาแต่งเรื่องให้เป็นละครขึ้นมา อย่างสามพี่น้องเล่าปี่ก็ใส่เรื่องสาบานที่สวนท้อเข้าไป ให้มันดูเป็นนิยายหน่อย แต่เรื่องจริงไม่มีครับ คนสมัยก่อนถ้าถูกชะตากันชอบพอกัน เขาก็รักเพื่อนเหมือนเป็นพี่น้อง ก็เหมือนกับที่ฝ่ายซุนเซ็ก-ซุนกวน ก็มีจิวยี่เป็นพี่น้องอะไรทำนองนั้น
คนที่เป็นขุนศึกฝีมือเก่งๆ ก็จะมีคนเคารพอยากเป็นลูกน้อง ใครเคยดูหนังเจ้าพ่อหรือยากูซ่ามันก็จะประมาณนั้นแหละครับ นี่ก็คือสาเหตุนึงซึ่งในชีวิตจริงทุกวันนี้ผู้มีอิทธิพลก็มีเยอะแยะมากมาย
ตั๋งโต๊ะ, ลิโป้, อ้วนสุด, อ้วนเสี้ยว ฯลฯ มีขุนนางมีบริวารกองทัพติดตามมากมาย เอามาจากไหน ? ไม่ใช่แค่จ้างมาก็พอ แต่คนจะเป็นผู้นำได้ มีลูกน้องจำนวนมากยอมสู้ถวายหัว ไม่ใช่เรื่องง่าย
ยกตัวอย่างทุกวันนี้คนเรายอมไปอยู่พรรคเดียวกันคือ ต้องมีผลประโยชน์ร่วมกัน มีแนวคิดอุดมการณ์เดียวกัน คุยถูกคอกัน เลือกชอบผู้นำพรรคเพราะว่าดูมีรัศมี มีออร่า มีอิทธิพลต่อสังคมวงกว้าง มีเป้าหมายโดนใจตัวเอง และกว่าที่แต่ละคนจะเป็นใหญ่มีกองทัพที่ติดตามเลื่อมใส ไม่ใช่ว่าสร้างได้ภายในไม่กี่วัน
(อย่างการเมืองไทยก็มีฝ่ายทักษิณ มีฝ่ายไม่เอาทักษิณ มีฝ่ายอนุรักษ์ มีฝ่ายเสรี มีฝ่ายลุงตู่ มีฝ่ายธนาธร อันนี้แวะแถมเป็นตัวอย่าง --หรือมีอีกแบบคือ มองการเมืองแบบอยู่เหนือการเมือง นำตำราสามก๊กมาใช้ นี่ก็พวกนึง --จะอยู่แบบรู้จังหวะเหมือนกาเซี่ยง หรือจะไม่ยุ่งเกี่ยวอย่างสุมาเต็กโชก็มีอีก)
คนเราบางคนมีนิสัยอยากติดตามนายดีๆ ต้องศึกษาดูคนให้เป็น และบางคนที่มีนิสัยไม่ชอบเป็นลูกน้องใคร คุณอาจชอบเป็นนักวิชาการอิสระ เป็นบัณฑิตอิสระ หรือเป็นชาวบ้านที่เอาตัวรอดได้ ไม่ตกเป็นเหยื่อของการเมือง แต่ถ้าไม่ชอบเป็นลูกน้องใครเพราะอยากเป็นใหญ่ ก็ต้องศึกษาวิธีการขึ้นครองอำนาจ จะไต่เต้าวิธีไหน ในการอ่านการดูมันใช้เวลาไม่นาน แต่ของจริงคือต้องใช้เวลาทั้งชีวิต เดินให้ถูกจังหวะ ถ้าผิดจังหวะคือคุณแพ้
การเมืองสมัยก่อน คนเป็นใหญ่เป็นโต มีสิทธิ์จะเผชิญอยู่ 2 ทาง คือสุขสบายมีอำนาจ และอีกทางคือเสี่ยงที่จะต้องถูกเชือด โดยพาครอบครัวจบชีวิตไปด้วย
ทั้งหมดนั่นก็คือแง่คิดจากเนื้อหา รวมถึงที่มาและความแตกต่างของประวัติศาสตร์จากจดหมายเหตุ มาสู่วรรณกรรมสามก๊ก
ส่วนถ้าเป็นในหนังและซีรีส์ หลังๆนี่มีอีกหลายเรื่องหลายเวอร์ชั่นเลย กลายเป็นหนังกำลังภายในและหนังรักไปก็มี ไม่ใช่เรื่องวางแผนกลยุทธละ ผมตามดูหมดทุกเวอร์ชั่นที่ออกมาน่ะแหละ ไว้จะมารีวิวในแต่ละเวอร์ชั่นครับ
<จะแปะลิงค์ไว้ด้านล่าง รวมทั้งลิงค์เรื่องการเมือง>