มติที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ได้หารือการปรับแผนการดำเนินงานของ ทีโอที ให้รองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการใช้บริการของ ทีโอที ในช่วงโควิด-19 โดย คณะกรรมการ บมจ.ทีโอที เห็นว่า โครงการเน็ตประชารัฐ สามารถนำมาขยายผลเพื่อให้ บริการประชาชนในช่วงเวลานี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของโครงการ อีกทั้งยังสามารถรองรับวิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นหลัก
นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ประธานคณะกรรมการ ทีโอที กล่าวว่า โครงการเน็ตประชารัฐ 24,700 หมู่บ้าน ซึ่งดำเนินการเมื่อปี 2559 โดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) มอบหมายให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินโครงการ ทำให้คนไทยทุกระดับสามารถใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงได้ที่ความเร็วจากเดิม 30 Mbps/10 Mbps ปรับเพิ่มเป็น 100 Mbps/50 Mbps โดยในช่วงที่ผ่านมา มีปริมาณการรับส่งข้อมูลผ่าน Internet Gateway สูงขึ้นถึง 24% ส่วนการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในจุด Free WiFi ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ประชาชนใช้ได้ในรัศมี 20-30 เมตรได้ฟรีอีกด้วย โดย ทีโอที ได้จัดตั้งศูนย์ Network Operation Center (NOC) ศูนย์บริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยโครงข่ายเน็ตประชารัฐ (Security Management Center : SMC) และศูนย์ข้อมูลรับแจ้งเหตุขัดข้องผ่านศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐประชาชน GCC 1111 กด 88 เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสภาพการให้บริการแบบ Real Time 24 ชั่วโมง
นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ประธานคณะกรรมการ ทีโอที กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการเน็ตประชารัฐ เป็นโครงการที่ ทีโอที ดำเนินงานด้วยความโปร่งใส โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ รวมถึงเรื่องการดำเนินงานจัดซื้อ จัดจ้างในโครงการ จะมีส่วนงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น กรมบัญชีกลาง สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ร่วมสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด และยังได้มีการทำสัตยาบรรณกับคณะผู้สังเกตการณ์คุณธรรมในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภายในโครงการกว่า 11 สัญญา ซึ่งงบประมาณที่ ทีโอที ได้รับจำนวน 13,000 ล้านบาท แต่ใช้งบดำเนินการเพียง 9,848 ล้านบาท คิดโดยเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการวางโครงข่ายประมาณ 300,000 บาทต่อหมู่บ้าน ประกอบด้วยค่าติดตั้งโครงข่ายและอุปกรณ์ ค่าบริการอินเทอร์เน็ตและซ่อมบำรุง และอบรมประชาชนกว่า 1 ล้านคน เพื่อเป็นเน็ตอาสาประชารัฐในการสื่อสารทำความเข้าใจการใช้โครงข่าย
โครงข่ายเน็ตประชารัฐ เป็นโครงข่ายแบบ Open Access ซึ่งสามารถเปิดให้ผู้ให้บริการทุกรายเข้ามาใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการประชาชนได้ ไม่มีการผูกขาดเฉพาะเพียง ทีโอที เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันทุกโอเปอร์เรเตอร์ก็ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงดีอีเอส มาใช้โครงข่ายเน็ตประชารัฐ เพื่อให้บริการประชาชน ซึ่งค่าบริการนี้จะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่ละราย สำหรับ ทีโอที มีโปรโมชั่นพิเศษให้ประชาชนเลือกใช้งาน อัตราค่าบริการตามความเร็วที่ลูกค้าเลือกใช้ตามความต้องการ ส่วนการเป็นลูกค้าหากใช้บริการอินเทอร์เน็ตของ ทีโอที อย่างยาวนานก็จะได้รับสิทธิพิเศษมากมาย อาทิ ยกเว้นค่าติดตั้ง ค่าเดินสายภายใน ค่าอุปกรณ์เป็นต้น
ซึ่งปัจจุบันจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ให้ ทีโอที จัดทำโปรโมชั่นช่วยเหลือประชาชนในช่วงโรคระบาดโควิด-19 ที่อัตราความเร็ว 100 Mbps/50 Mbps เพียงเดือนละ 390 บาท โดยให้ใช้ฟรี 3 เดือนแรก ซึ่งปัจจุบันมี ผู้ลงทะเบียนใช้งานโครงข่ายเน็ตประชารัฐแล้วกว่า 8.4 ล้านราย ทั่วประเทศ มีผู้ใช้บริการแล้วกว่า 250,000 ครัวเรือน
บอร์ด ทีโอที ปรับแผนรองรับสังคม ยุค New Normal
นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ประธานคณะกรรมการ ทีโอที กล่าวว่า โครงการเน็ตประชารัฐ 24,700 หมู่บ้าน ซึ่งดำเนินการเมื่อปี 2559 โดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) มอบหมายให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินโครงการ ทำให้คนไทยทุกระดับสามารถใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงได้ที่ความเร็วจากเดิม 30 Mbps/10 Mbps ปรับเพิ่มเป็น 100 Mbps/50 Mbps โดยในช่วงที่ผ่านมา มีปริมาณการรับส่งข้อมูลผ่าน Internet Gateway สูงขึ้นถึง 24% ส่วนการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในจุด Free WiFi ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ประชาชนใช้ได้ในรัศมี 20-30 เมตรได้ฟรีอีกด้วย โดย ทีโอที ได้จัดตั้งศูนย์ Network Operation Center (NOC) ศูนย์บริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยโครงข่ายเน็ตประชารัฐ (Security Management Center : SMC) และศูนย์ข้อมูลรับแจ้งเหตุขัดข้องผ่านศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐประชาชน GCC 1111 กด 88 เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสภาพการให้บริการแบบ Real Time 24 ชั่วโมง
นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ประธานคณะกรรมการ ทีโอที กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการเน็ตประชารัฐ เป็นโครงการที่ ทีโอที ดำเนินงานด้วยความโปร่งใส โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ รวมถึงเรื่องการดำเนินงานจัดซื้อ จัดจ้างในโครงการ จะมีส่วนงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น กรมบัญชีกลาง สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ร่วมสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด และยังได้มีการทำสัตยาบรรณกับคณะผู้สังเกตการณ์คุณธรรมในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภายในโครงการกว่า 11 สัญญา ซึ่งงบประมาณที่ ทีโอที ได้รับจำนวน 13,000 ล้านบาท แต่ใช้งบดำเนินการเพียง 9,848 ล้านบาท คิดโดยเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการวางโครงข่ายประมาณ 300,000 บาทต่อหมู่บ้าน ประกอบด้วยค่าติดตั้งโครงข่ายและอุปกรณ์ ค่าบริการอินเทอร์เน็ตและซ่อมบำรุง และอบรมประชาชนกว่า 1 ล้านคน เพื่อเป็นเน็ตอาสาประชารัฐในการสื่อสารทำความเข้าใจการใช้โครงข่าย
โครงข่ายเน็ตประชารัฐ เป็นโครงข่ายแบบ Open Access ซึ่งสามารถเปิดให้ผู้ให้บริการทุกรายเข้ามาใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการประชาชนได้ ไม่มีการผูกขาดเฉพาะเพียง ทีโอที เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันทุกโอเปอร์เรเตอร์ก็ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงดีอีเอส มาใช้โครงข่ายเน็ตประชารัฐ เพื่อให้บริการประชาชน ซึ่งค่าบริการนี้จะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่ละราย สำหรับ ทีโอที มีโปรโมชั่นพิเศษให้ประชาชนเลือกใช้งาน อัตราค่าบริการตามความเร็วที่ลูกค้าเลือกใช้ตามความต้องการ ส่วนการเป็นลูกค้าหากใช้บริการอินเทอร์เน็ตของ ทีโอที อย่างยาวนานก็จะได้รับสิทธิพิเศษมากมาย อาทิ ยกเว้นค่าติดตั้ง ค่าเดินสายภายใน ค่าอุปกรณ์เป็นต้น
ซึ่งปัจจุบันจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ให้ ทีโอที จัดทำโปรโมชั่นช่วยเหลือประชาชนในช่วงโรคระบาดโควิด-19 ที่อัตราความเร็ว 100 Mbps/50 Mbps เพียงเดือนละ 390 บาท โดยให้ใช้ฟรี 3 เดือนแรก ซึ่งปัจจุบันมี ผู้ลงทะเบียนใช้งานโครงข่ายเน็ตประชารัฐแล้วกว่า 8.4 ล้านราย ทั่วประเทศ มีผู้ใช้บริการแล้วกว่า 250,000 ครัวเรือน