ทำเอาประชาชนคนไทยเสียฟิลลิ่งไปตามๆกัน กับโครงการ “เน็ตประชารัฐ” รัฐบาลคสช.ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายมั่นปั้นมือเป็นของขวัญคนไทยในปีใหม่ หวังให้ประชาชนเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตในทุกตำบลทั่วประเทศในราคาถูก กรุยทางสู่นโยบาย ”ไทยแลนด์ 4.0”
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เองก็ติดตั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไวไฟแล้วเสร็จไปกว่า 12,000 หมู่บ้าน/ชุมชน เริ่มเปิดทดลองให้บริการฟรีไวไฟกับประชาชนนำร่องไปแล้ว แต่ ณ วันนี้ผู้คนก็ยังไม่สามารถจะเชื่อมต่อเน็ตประชารัฐเข้าไปยังครัวเรือนได้ จะใช้แต่ละครั้งก็ต้องนั่งมอเตอร์ไซด์วิ่งควานหาจุดบริการ
จึงได้แต่หาวเรอรอเมื่อไหร่หนอ “เน็ตประชารัฐ”ของนายกฯตู่จะมาเสียที
จนหลายคนอดสงสัยไม่ได้ ติดตั้งเสร็จไปตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว แต่คำตอบที่ได้รับจากกระทรวงดีอีว่า “รอไปก่อน...หรือขอเวลาอีกไม่นาน รอให้บริษัททีโอทีและกระทรวงดีอีเคาะราคาเน็ตประชารัฐในชั้นสุดท้าย”
ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล (คตป.) กระทรวงดีอีออกมายอมรับเองว่า ลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าโครงการเน็ตประชารัฐและถูกชาวบ้านร้านรวงถามไถ่เมื่อไหร่จะต่อเชื่อมเน็ตประชารัฐเข้าครัวเรือนตามนโยบายรัฐได้เสียที
เจอคำถามอย่างนี้ คตป.ก็ได้แต่อ้ำๆอึ้งๆ ให้คำตอบที่ชัดเจนอะไรไม่ได้ ข่าวว่านายกฯตู่ถึงกับออกอาการฟิวส์ขาด สั่งให้กระทรวงดีอีเร่งรัดกำหนดราคาเน็ตประชารัฐและให้บริการประชาชนก่อนที่ผลงานชิ้นโบว์แดง จะงานเข้ากลายเป็นเรื่องอื้อฉาวขึ้นมาแทน!
นัยว่าเบื้องหน้าเบื้องหลังที่ทำให้เน็ตประชารัฐเกิดอาการสำลักสะดุดตอ ทำท่าจะต่อไม่ติดนั้น ...เพราะรายการงัดข้อระหว่างกระทรวงดีอี-และ กสทช. แถมยังมีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มั่วตุ้มลงมาคลุกฝุ่นเอาด้วยอีก
หากย้อนหลังตามมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม2559 ที่มอบหมายให้ดีอี ดำเนินการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุม 24,700 หมู่บ้านใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2559 และมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการในหมู่บ้านที่เหลือเพิ่มเติมอีก15,723 หมู่บ้าน โดยใช้งบประมาณจากกองทุน USO ขณะเดียวกันยังมอบหมายให้ทีโอทีเร่งขยายโครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น
ที่มาของมติ ครม.ข้างต้น ก็เพราะในส่วนของบริษัททีโอทีนั้นได้ชี้แจงต่อที่ประชุมร่วมเองว่า มีศักยภาพและขีดความสามารถที่จะดำเนินโครงการนี้เพียงแค่นี้ กระทรวงดีอีได้มอบหมายให้ บริษัททีโอทีดำเนินการติดตั้งโครงการเน็ตประชารัฐที่ว่าให้ทั้งหมดภายใต้วงเงิน 15,000 ล้านบาท
แต่เมื่อ กสทช.สำรวจพื้นที่ชายขอบ ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่อยู่นอกเหนือพื้นที่ให้บริการของดีอีและทีโอทีแล้วพบว่า ยังีจุดบอดอันเป็นพื้นที่ในโซน C+ อีกกว่า 3,920 หมู่บ้าน กสทช.จึงผลักดันโครงการเน็ตชายขอบออกมาดำเนินการก่อนโครงการเน็ตประชารัฐ โดยได้จัดประมูลไปตั้งต้นเดือน สิงหาคมที่ผ่านมา
ผลการประมูลที่ได้นั้นทำเอาทุกฝ่ายได้อึ้งกิมกี่ เพราะบริษัททีโอทีที่บอกงานล้นมือ ไม่สามารถจะดำเนินโครงการเน็ตประชารัฐไปได้มากกว่าที่ได้รับการประเคนมาจากดีอีนั้น กลับกระโจนเข้าร่วมประมูลเน็ตชายขอบของกสทช.ด้วย แถมยังคว้าสัญญาได้ถึง 3 โซนจาก 8 โซนที่ประมูล ในราคาที่ต่ำกว่าที่บริษัทเอกชนเสนอซะอีก
แวดวงโทรคมนาคมได้แต่หงายเงิบ และมีคำถามว่า ทีโอทีมีประสิทธิภาพในการติดตั้งขั้นเทพขนาดนี้เชียวหรือ?
ถ้าทำได้ซะขนาดนี้แล้วเหตุใดถึงบอกปัดการดำเนินโครงการนี้ตั้งแต่แรกแล้วดอดมาตลบหลังประมูลติดตั้งเองด้วยทำไม
ก่อนทุกฝ่ายจะมาถึงบางอ้อเน็ตชายขอบของ กสทช.ที่เปิดประมูล 3,920 หมู่บ้านภายใต้วงเงิน 13,600 ล้านบาทเศษที่มีใครต่อใครตีโพยตีพายว่าแพงระเบิดระเบ้อถึงหมู่บ้านละ 3.3 ล้านบาทนั้น กลับสามารถกำหนดราคาให้บริการแก่ประชาชนในราคาต่ำติดดินเพียง 100-150-200 บาท
ขณะที่เน็ตประชารัฐที่ดีอีและทีโอที ตีปี๊บว่ามีต้นทุนติดตั้งดำเนินการต่ำกว่า กสทช.เป็นเท่าตัว เพราะดำเนินโครงการติดตั้งมากถึง 24,700 หมู่บ้านภายใต้วงเงินดำเนินการแค่ 15,000 ล้านบาทเศษ แต่สนนราคาค่าบริการกลับพุ่งปรี้ดไปถึง 399-599 บาท ทำเอากระทรวงดีอีและทีโอทีไปไม่เป็น ไม่รู้จะบากหน้าไปอรรถาธิบายต่อ “บิ๊กตู่”ได้ยังไง
วันดีคืนดี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ยังมีหนังสือมายัง กสทช.กระตุกเบรกโครงการเน็ตชายขอบโครงการนี้ที่กำลังดีเดย์เตรียมจะให้บริการในเดือนตุลาคม-พฤศิจกายนนี้หัวทิ่ม ด้วยข้อหาที่ว่าดำเนินการขัดมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) อาทิ มีการประเคนโครงข่ายหลัก Backbone Networkไปให้เอกชนให้บริการและบริหารแทนที่รัฐจะดำเนินการเอง…… และต้องการให้ กสทช.โอนโครงการติดตั้งเน็ตประชารัฐที่จะดำเนินการอีก 15,700 หมู่บ้านไปให้ดีอีและทีโอทีดำเนินการแทน
ก็ไม่รู้ สตง.เคยลงไปตรวจสอบดูไหมเหตุไฉนโครงการติดตั้งเน็ตประชารัฐของทีโอทีและดีอี มันถึงได้เสกได้รวดเร็วปานนั้น ทั้งที่เป็นการดำเนินการในชนบทห่างไกลหรือพื้นที่โซน C แท้ๆ แต่ละพื้นที่อยู่ห่างไกลกันคนละโยชน์ไกลยิ่งกว่าหนังมหาภารตะอินตะระเดียที่วิ่งข้ามเขากันเป็นลูกๆ เหตุไฉนถึงสร้างได้รวดเร็วเป็นกามนิจ แถมโครงข่ายฟรีไวไฟที่แล้วเสร็จ จนป่านนี้กระทรวงดีอียังไม่ตั้งคณะกรรมการตรวจรับแต่อย่างใด และถึงตั้งก็ไม่รู้จะมีขรก.ดีอีคนไหนหาญกล้าแบกรับของร้อนๆไว้บนบ่า
มันจะเป็นไปได้อย่างไร ค่าติดตั้งโครงข่ายอินเทอร็เน็ตไวไฟที่ดีอี ทีโอทีลงทุนเฉพาะโครงข่ายปลายสายอะไรที่ว่า แถมมีต้นทุนที่ถูกกว่าเพราะต้นทุนแฝงที่เป็น Backbone Network นั้นรัฐและดีอีได้ลงทุนไปหมดแล้ว แต่ราคาเน็ตประชารัฐเจ้ากรรมแทนที่มันจะต่ำติดดิน ราคาที่เตรียมเคาะกันมากลับพุ่งปรี้ดสูงกว่าที่ กสทช.กำหนดไว้เสียอีก
อะไรมันจะกลับตาลปัตรได้ซะขนาดนั้นท่าน รมต.พิเชษฐ ดุรงคเวโรจน์ที่เคารพ!!! และ ท่านพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าฯสตง. ไม่คิดจะล้วงลูกลงไปตรวจสอบว่ามีใครแอบอมส่วนต่างค่าบริการเน็ตประชารัฐจนราคาแพงหูฉี่ที่ว่านี้บ้างหรือ?
ลับ ลวง พราง เน็ตประชารัฐ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เองก็ติดตั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไวไฟแล้วเสร็จไปกว่า 12,000 หมู่บ้าน/ชุมชน เริ่มเปิดทดลองให้บริการฟรีไวไฟกับประชาชนนำร่องไปแล้ว แต่ ณ วันนี้ผู้คนก็ยังไม่สามารถจะเชื่อมต่อเน็ตประชารัฐเข้าไปยังครัวเรือนได้ จะใช้แต่ละครั้งก็ต้องนั่งมอเตอร์ไซด์วิ่งควานหาจุดบริการ
จึงได้แต่หาวเรอรอเมื่อไหร่หนอ “เน็ตประชารัฐ”ของนายกฯตู่จะมาเสียที
จนหลายคนอดสงสัยไม่ได้ ติดตั้งเสร็จไปตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว แต่คำตอบที่ได้รับจากกระทรวงดีอีว่า “รอไปก่อน...หรือขอเวลาอีกไม่นาน รอให้บริษัททีโอทีและกระทรวงดีอีเคาะราคาเน็ตประชารัฐในชั้นสุดท้าย”
ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล (คตป.) กระทรวงดีอีออกมายอมรับเองว่า ลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าโครงการเน็ตประชารัฐและถูกชาวบ้านร้านรวงถามไถ่เมื่อไหร่จะต่อเชื่อมเน็ตประชารัฐเข้าครัวเรือนตามนโยบายรัฐได้เสียที
เจอคำถามอย่างนี้ คตป.ก็ได้แต่อ้ำๆอึ้งๆ ให้คำตอบที่ชัดเจนอะไรไม่ได้ ข่าวว่านายกฯตู่ถึงกับออกอาการฟิวส์ขาด สั่งให้กระทรวงดีอีเร่งรัดกำหนดราคาเน็ตประชารัฐและให้บริการประชาชนก่อนที่ผลงานชิ้นโบว์แดง จะงานเข้ากลายเป็นเรื่องอื้อฉาวขึ้นมาแทน!
นัยว่าเบื้องหน้าเบื้องหลังที่ทำให้เน็ตประชารัฐเกิดอาการสำลักสะดุดตอ ทำท่าจะต่อไม่ติดนั้น ...เพราะรายการงัดข้อระหว่างกระทรวงดีอี-และ กสทช. แถมยังมีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มั่วตุ้มลงมาคลุกฝุ่นเอาด้วยอีก
หากย้อนหลังตามมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม2559 ที่มอบหมายให้ดีอี ดำเนินการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุม 24,700 หมู่บ้านใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2559 และมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการในหมู่บ้านที่เหลือเพิ่มเติมอีก15,723 หมู่บ้าน โดยใช้งบประมาณจากกองทุน USO ขณะเดียวกันยังมอบหมายให้ทีโอทีเร่งขยายโครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น
ที่มาของมติ ครม.ข้างต้น ก็เพราะในส่วนของบริษัททีโอทีนั้นได้ชี้แจงต่อที่ประชุมร่วมเองว่า มีศักยภาพและขีดความสามารถที่จะดำเนินโครงการนี้เพียงแค่นี้ กระทรวงดีอีได้มอบหมายให้ บริษัททีโอทีดำเนินการติดตั้งโครงการเน็ตประชารัฐที่ว่าให้ทั้งหมดภายใต้วงเงิน 15,000 ล้านบาท
แต่เมื่อ กสทช.สำรวจพื้นที่ชายขอบ ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่อยู่นอกเหนือพื้นที่ให้บริการของดีอีและทีโอทีแล้วพบว่า ยังีจุดบอดอันเป็นพื้นที่ในโซน C+ อีกกว่า 3,920 หมู่บ้าน กสทช.จึงผลักดันโครงการเน็ตชายขอบออกมาดำเนินการก่อนโครงการเน็ตประชารัฐ โดยได้จัดประมูลไปตั้งต้นเดือน สิงหาคมที่ผ่านมา
ผลการประมูลที่ได้นั้นทำเอาทุกฝ่ายได้อึ้งกิมกี่ เพราะบริษัททีโอทีที่บอกงานล้นมือ ไม่สามารถจะดำเนินโครงการเน็ตประชารัฐไปได้มากกว่าที่ได้รับการประเคนมาจากดีอีนั้น กลับกระโจนเข้าร่วมประมูลเน็ตชายขอบของกสทช.ด้วย แถมยังคว้าสัญญาได้ถึง 3 โซนจาก 8 โซนที่ประมูล ในราคาที่ต่ำกว่าที่บริษัทเอกชนเสนอซะอีก
แวดวงโทรคมนาคมได้แต่หงายเงิบ และมีคำถามว่า ทีโอทีมีประสิทธิภาพในการติดตั้งขั้นเทพขนาดนี้เชียวหรือ?
ถ้าทำได้ซะขนาดนี้แล้วเหตุใดถึงบอกปัดการดำเนินโครงการนี้ตั้งแต่แรกแล้วดอดมาตลบหลังประมูลติดตั้งเองด้วยทำไม
ก่อนทุกฝ่ายจะมาถึงบางอ้อเน็ตชายขอบของ กสทช.ที่เปิดประมูล 3,920 หมู่บ้านภายใต้วงเงิน 13,600 ล้านบาทเศษที่มีใครต่อใครตีโพยตีพายว่าแพงระเบิดระเบ้อถึงหมู่บ้านละ 3.3 ล้านบาทนั้น กลับสามารถกำหนดราคาให้บริการแก่ประชาชนในราคาต่ำติดดินเพียง 100-150-200 บาท
ขณะที่เน็ตประชารัฐที่ดีอีและทีโอที ตีปี๊บว่ามีต้นทุนติดตั้งดำเนินการต่ำกว่า กสทช.เป็นเท่าตัว เพราะดำเนินโครงการติดตั้งมากถึง 24,700 หมู่บ้านภายใต้วงเงินดำเนินการแค่ 15,000 ล้านบาทเศษ แต่สนนราคาค่าบริการกลับพุ่งปรี้ดไปถึง 399-599 บาท ทำเอากระทรวงดีอีและทีโอทีไปไม่เป็น ไม่รู้จะบากหน้าไปอรรถาธิบายต่อ “บิ๊กตู่”ได้ยังไง
วันดีคืนดี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ยังมีหนังสือมายัง กสทช.กระตุกเบรกโครงการเน็ตชายขอบโครงการนี้ที่กำลังดีเดย์เตรียมจะให้บริการในเดือนตุลาคม-พฤศิจกายนนี้หัวทิ่ม ด้วยข้อหาที่ว่าดำเนินการขัดมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) อาทิ มีการประเคนโครงข่ายหลัก Backbone Networkไปให้เอกชนให้บริการและบริหารแทนที่รัฐจะดำเนินการเอง…… และต้องการให้ กสทช.โอนโครงการติดตั้งเน็ตประชารัฐที่จะดำเนินการอีก 15,700 หมู่บ้านไปให้ดีอีและทีโอทีดำเนินการแทน
ก็ไม่รู้ สตง.เคยลงไปตรวจสอบดูไหมเหตุไฉนโครงการติดตั้งเน็ตประชารัฐของทีโอทีและดีอี มันถึงได้เสกได้รวดเร็วปานนั้น ทั้งที่เป็นการดำเนินการในชนบทห่างไกลหรือพื้นที่โซน C แท้ๆ แต่ละพื้นที่อยู่ห่างไกลกันคนละโยชน์ไกลยิ่งกว่าหนังมหาภารตะอินตะระเดียที่วิ่งข้ามเขากันเป็นลูกๆ เหตุไฉนถึงสร้างได้รวดเร็วเป็นกามนิจ แถมโครงข่ายฟรีไวไฟที่แล้วเสร็จ จนป่านนี้กระทรวงดีอียังไม่ตั้งคณะกรรมการตรวจรับแต่อย่างใด และถึงตั้งก็ไม่รู้จะมีขรก.ดีอีคนไหนหาญกล้าแบกรับของร้อนๆไว้บนบ่า
มันจะเป็นไปได้อย่างไร ค่าติดตั้งโครงข่ายอินเทอร็เน็ตไวไฟที่ดีอี ทีโอทีลงทุนเฉพาะโครงข่ายปลายสายอะไรที่ว่า แถมมีต้นทุนที่ถูกกว่าเพราะต้นทุนแฝงที่เป็น Backbone Network นั้นรัฐและดีอีได้ลงทุนไปหมดแล้ว แต่ราคาเน็ตประชารัฐเจ้ากรรมแทนที่มันจะต่ำติดดิน ราคาที่เตรียมเคาะกันมากลับพุ่งปรี้ดสูงกว่าที่ กสทช.กำหนดไว้เสียอีก
อะไรมันจะกลับตาลปัตรได้ซะขนาดนั้นท่าน รมต.พิเชษฐ ดุรงคเวโรจน์ที่เคารพ!!! และ ท่านพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าฯสตง. ไม่คิดจะล้วงลูกลงไปตรวจสอบว่ามีใครแอบอมส่วนต่างค่าบริการเน็ตประชารัฐจนราคาแพงหูฉี่ที่ว่านี้บ้างหรือ?