พล.ท.ภราดร จี้ กองทัพ อย่าเอาอย่างผู้นำ ทำตัวไร้ราคา เร่งกู้ศรัทธา บรรเทาทุกข์ช่วยประชาชน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2177712
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พล.ท.
ภราดร พัฒนถาบุตร เลขานุการคณะกรรมการกิจการพิเศษ พรรคเพื่อไทย อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) กล่าวถึงบทบาทของกองทัพในฐานะร่วมแก้ไขวิกฤติโควิด-19 ว่า ถือว่าหมดราคา เหตุเพราะผู้นำสืบทอดอำนาจไม่มีวิสัยทัศน์ที่จะนำกองทัพมาร่วมแก้ไขปัญหากับภัยโรคระบาดหรือโรคอุบัติใหม่ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่อีกทั้งตัวผู้นำเหล่าทัพเองก็ไม่อาสาเสนอตัวเข้ามาร่วมจัดการปัญหาให้กับรัฐบาล ผลจึงทำให้เสียเครดิตในสายตาประชาชนไปทั้งคู่ ทั้งๆกองทัพมีทรัพยากรที่เกื้อกูลต่อการแก้วิกฤติครั้งนี้ไม่ว่าด้านกำลังพลต่างๆ อาทิ แพทย์ พยาบาล ทหารเสนารักษ์ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เจ้าหน้าที่กิจการพลเรือน ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมอาชีพ รักษาความปลอดภัย ด้านสิ่งอุปกรณ์ก็มี อุปกรณ์ทางการแพทย์ ยานพาหนะรถโดยสาร รถตู้ รถพยาบาล เรือยนต์ ด้านสถานที่ก็มี อาคารรับรอง โรงพยาบาล สถานที่พักฟื้น โรงนอน โรงอาหารโรงครัว เป็นต้น ดังนั้น วันนี้ผู้นำเหล่าทัพต้องเสนอตัวต่อรัฐบาลขอนำทรัพยากรที่ตนเองมี มาเสริมการปฏิบัติแก้ไขสถานการณ์โควิดโดยประสานงานตรงกับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เลย ไม่ต้องรอให้รัฐบาลสั่งการก่อน แสดงภาวะผู้นำเป็นทหารอาชีพที่ยืนเคียงข้างประชาชน ให้ข้อเสนอแนะและพร้อมปฏิบัติทันทีเมื่อรัฐบาลมอบหมายภารกิจ
“อีกประการที่สำคัญคือกองทัพต้องยินดีปรับลด ปรับเกลี่ยงบประมาณของตนมาใช้รับมือวิกฤติโควิดอย่างเปิดเผย ถ้ารัฐบาลใช้สติปัญญา รู้จักใช้กำลังพล สิ่งอำนวยความสะดวก ยานพาหนะ และสถานที่ของกองทัพมาบริการประชาชนผู้เดือดร้อนอย่างเต็มที่ตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุดแล้ว เราก็ไม่ต้องมาเห็นภาพที่ประชาชนมาเบียดเข้าคิวแน่น รอลงทะเบียนทวงเงินเยียวยา มาเข้าคิวรอรับอาหาร ไม่มีรถโดยสารเดินทาง มาออรวมกันแบบทุลักทุเลเหมือนมาคอยรับส่วนบุญจากรัฐบาล ถึงเวลานี้เคอร์ฟิวพ.ร.ก.ฉุกเฉินต้องเลิกได้แล้ว เพราะประชาชนเขามองว่ามีไว้ใช้เพื่อกันม็อบมาไล่รัฐบาลมากกว่า ถ้าเป็นรัฐบาลที่มีเอกภาพและฝีไม้ลายมือจริงต้องมาใช้อำนาจตามพ.ร.บ.โรคติดต่อก็เพียงพอต่อการควบคุมสถานการณ์โควิดได้แล้ว” พล.ท.
ภราดร กล่าว
‘อดีต รมว.คลัง’ แนะ หากมีบัตรประชาชนไทย ควรได้เงินชดเชยเท่ากัน ขจัดปัญหาลักลั่น-ไม่เท่าเทียม
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2177796
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม นาย
สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง แสดงความเห็นถึงวิธีการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ว่า วิธีที่เหมาะสมและรวดเร็ว คือ หากมีบัตรประชาชนไทย ควรได้เงินชดเชยเท่ากันทุกคน
1. รัฐบาลไทยใช้เงินจำนวนมากถึง 1.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น 11.4% ของจีดีพี เพื่อแก้วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 โดยเป็นเงินกู้ถึง 1 ล้านล้านบาท ประชาชนไทยทุกคน จะร่วมกันเป็นหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องเก็บภาษีในอนาคตมาใช้คืน
2. รัฐบาลมีเป้าหมายกู้เงิน เพื่อมาชดเชยเยียวยาประชาชน 600,000 ล้านบาท และฟื้นฟูเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท
3. วิธีการเยียวยาของรัฐบาล มีเงื่อนไขยุ่งยากมาก ชดเชยประชาชนแต่ละคนไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน เช่น การให้ประชาชนที่ค้าขายทำงานเอง และแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม คนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน มีประชาชนลงทะเบียนกว่า 28 ล้านคน เดิมรัฐบาลจะให้ 9 ล้านคน แต่หลังๆ มานี้ รัฐบาลได้เพิ่มผู้มีสิทธิเป็น 14 ล้านคน แล้วก็เพิ่มเป็น 16 ล้านคน เนื่องจากเงื่อนไขมาก จึงเกิดความล่าช้าไม่ทันกาล ในขณะที่ประชาชนไม่มีรายได้ไม่มีกิน
นาย
สุชาติกล่าวว่า 4. การชดเชยแรงงาน ในระบบประกันสังคมก็ยิ่งยุ่งยาก ล่าช้าและไม่เท่าเทียม
5. การชดเชยเกษตรกร กลับชดเชยให้เป็นต่อครอบครัว ซึ่งลักลั่นกับกรณีเยียวยา
และ 6. กรณีนี้ เหตุเกิดจากวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ทั่วโลก ประชาชนไทยทุกคนได้รับผลกระทบ รัฐบาลจึงควรชดเชยทุกคน เท่ากัน ทันที ไม่ยุ่งยาก ไม่ล่าช้า ไม่มีเงื่อนไขมาก การให้เงินชดเชยไม่เท่ากันไม่เป็นธรรม
JJNY : ภราดรจี้อย่าเอาอย่างผู้นำ/อดีตรมว.คลังแนะชดเชยเท่ากัน/ป่าไม้ชี้2.6พันไร่เป็นสวนป่า/สหภาพบินไทยเปิดปูมก่อนลบทิ้ง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2177712
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขานุการคณะกรรมการกิจการพิเศษ พรรคเพื่อไทย อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) กล่าวถึงบทบาทของกองทัพในฐานะร่วมแก้ไขวิกฤติโควิด-19 ว่า ถือว่าหมดราคา เหตุเพราะผู้นำสืบทอดอำนาจไม่มีวิสัยทัศน์ที่จะนำกองทัพมาร่วมแก้ไขปัญหากับภัยโรคระบาดหรือโรคอุบัติใหม่ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่อีกทั้งตัวผู้นำเหล่าทัพเองก็ไม่อาสาเสนอตัวเข้ามาร่วมจัดการปัญหาให้กับรัฐบาล ผลจึงทำให้เสียเครดิตในสายตาประชาชนไปทั้งคู่ ทั้งๆกองทัพมีทรัพยากรที่เกื้อกูลต่อการแก้วิกฤติครั้งนี้ไม่ว่าด้านกำลังพลต่างๆ อาทิ แพทย์ พยาบาล ทหารเสนารักษ์ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เจ้าหน้าที่กิจการพลเรือน ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมอาชีพ รักษาความปลอดภัย ด้านสิ่งอุปกรณ์ก็มี อุปกรณ์ทางการแพทย์ ยานพาหนะรถโดยสาร รถตู้ รถพยาบาล เรือยนต์ ด้านสถานที่ก็มี อาคารรับรอง โรงพยาบาล สถานที่พักฟื้น โรงนอน โรงอาหารโรงครัว เป็นต้น ดังนั้น วันนี้ผู้นำเหล่าทัพต้องเสนอตัวต่อรัฐบาลขอนำทรัพยากรที่ตนเองมี มาเสริมการปฏิบัติแก้ไขสถานการณ์โควิดโดยประสานงานตรงกับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เลย ไม่ต้องรอให้รัฐบาลสั่งการก่อน แสดงภาวะผู้นำเป็นทหารอาชีพที่ยืนเคียงข้างประชาชน ให้ข้อเสนอแนะและพร้อมปฏิบัติทันทีเมื่อรัฐบาลมอบหมายภารกิจ
“อีกประการที่สำคัญคือกองทัพต้องยินดีปรับลด ปรับเกลี่ยงบประมาณของตนมาใช้รับมือวิกฤติโควิดอย่างเปิดเผย ถ้ารัฐบาลใช้สติปัญญา รู้จักใช้กำลังพล สิ่งอำนวยความสะดวก ยานพาหนะ และสถานที่ของกองทัพมาบริการประชาชนผู้เดือดร้อนอย่างเต็มที่ตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุดแล้ว เราก็ไม่ต้องมาเห็นภาพที่ประชาชนมาเบียดเข้าคิวแน่น รอลงทะเบียนทวงเงินเยียวยา มาเข้าคิวรอรับอาหาร ไม่มีรถโดยสารเดินทาง มาออรวมกันแบบทุลักทุเลเหมือนมาคอยรับส่วนบุญจากรัฐบาล ถึงเวลานี้เคอร์ฟิวพ.ร.ก.ฉุกเฉินต้องเลิกได้แล้ว เพราะประชาชนเขามองว่ามีไว้ใช้เพื่อกันม็อบมาไล่รัฐบาลมากกว่า ถ้าเป็นรัฐบาลที่มีเอกภาพและฝีไม้ลายมือจริงต้องมาใช้อำนาจตามพ.ร.บ.โรคติดต่อก็เพียงพอต่อการควบคุมสถานการณ์โควิดได้แล้ว” พล.ท.ภราดร กล่าว
‘อดีต รมว.คลัง’ แนะ หากมีบัตรประชาชนไทย ควรได้เงินชดเชยเท่ากัน ขจัดปัญหาลักลั่น-ไม่เท่าเทียม
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2177796
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง แสดงความเห็นถึงวิธีการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ว่า วิธีที่เหมาะสมและรวดเร็ว คือ หากมีบัตรประชาชนไทย ควรได้เงินชดเชยเท่ากันทุกคน
1. รัฐบาลไทยใช้เงินจำนวนมากถึง 1.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น 11.4% ของจีดีพี เพื่อแก้วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 โดยเป็นเงินกู้ถึง 1 ล้านล้านบาท ประชาชนไทยทุกคน จะร่วมกันเป็นหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องเก็บภาษีในอนาคตมาใช้คืน
2. รัฐบาลมีเป้าหมายกู้เงิน เพื่อมาชดเชยเยียวยาประชาชน 600,000 ล้านบาท และฟื้นฟูเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท
3. วิธีการเยียวยาของรัฐบาล มีเงื่อนไขยุ่งยากมาก ชดเชยประชาชนแต่ละคนไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน เช่น การให้ประชาชนที่ค้าขายทำงานเอง และแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม คนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน มีประชาชนลงทะเบียนกว่า 28 ล้านคน เดิมรัฐบาลจะให้ 9 ล้านคน แต่หลังๆ มานี้ รัฐบาลได้เพิ่มผู้มีสิทธิเป็น 14 ล้านคน แล้วก็เพิ่มเป็น 16 ล้านคน เนื่องจากเงื่อนไขมาก จึงเกิดความล่าช้าไม่ทันกาล ในขณะที่ประชาชนไม่มีรายได้ไม่มีกิน
นายสุชาติกล่าวว่า 4. การชดเชยแรงงาน ในระบบประกันสังคมก็ยิ่งยุ่งยาก ล่าช้าและไม่เท่าเทียม
5. การชดเชยเกษตรกร กลับชดเชยให้เป็นต่อครอบครัว ซึ่งลักลั่นกับกรณีเยียวยา
และ 6. กรณีนี้ เหตุเกิดจากวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ทั่วโลก ประชาชนไทยทุกคนได้รับผลกระทบ รัฐบาลจึงควรชดเชยทุกคน เท่ากัน ทันที ไม่ยุ่งยาก ไม่ล่าช้า ไม่มีเงื่อนไขมาก การให้เงินชดเชยไม่เท่ากันไม่เป็นธรรม