ดาวหางแอตลาส (C/2019 Y4 ATLAS)
(เครดิต: Rolando Ligustri)
ดาวหางดวงใหม่ล่าสุดที่เพิ่งค้นพบด้วยระบบตรวจจับดาวเคราะห์น้อย Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System หรือ ATLAS ในฮาวาย มีความสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นดาวหางที่น่าสนใจที่สุดในช่วงครึ่งปีแรกในปี 2563 นี้
ดาวหางดวงนี้มีชื่อตามระบบการเรียกดาวหางว่า C/2019 Y4 และใช้ชื่อตามธรรมเนียมของหอดูดาวที่ค้นพบว่า ATLAS ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2562 และล่าสุดหลังกลางเดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา
ดาวหางได้เพิ่มความสว่างขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อมันกำลังข้ามวงโคจรดาวอังคารเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ล่าสุดความสว่างของดาวหางดวงนี้อยู่ที แมกนิจูด 8 แล้ว ซึ่งแน่นอนว่ายังไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า (ตามนุษย์มองเห็นดาวได้สว่างสุดที่แมกนิจูด 6.5) ความสว่างของมันกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่า ดาวหาง “แอตลาส” จะเพิ่มความสว่างขึ้นจนสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องส่องทางไกลแบบสองตา และหากมันยังไม่หยุดเพิ่มความสว่าง อาจโชคดีที่จะมองเห็นมันได้ในพื้นที่มืดตามชนบทไร้แสงเมืองด้วยตาเปล่า
ดาวหาง C/2019 Y4 “แอตลาส” จะเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ ที่ระยะ 116,855,706 กิโลเมตร จากนั้นจะมุ่งสู่ดวงอาทิตย์ โดยจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ( perihelion) ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ที่ระยะ 37,848,261 กิโลเมตร นั่นคือเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ยิ่งกว่าวงโคจรของดาวพุธ
อักษร C ที่นำหน้าชื่อดาวหาง หมายถึงวงโคจรของดาวหางดวงนั้นอยู่ในระดับที่เรียกว่าไม่โคจรมาซ้ำรอบในช่วงชีวิตมนุษย์ เพราะโดยการคำนวนเบื้องต้น ดาวหาง C/2019 Y4 “แอตลาส” จะมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์นานถึง 6,025 ปี
Cr.ภาพประกอบบทความด้านบนสุดโดย Efrain Morales จาก Aguadilla, Puerto Rico.
เรียบเรียงโดย @MrVop
ดาวหางแอตลาสเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563
ตำแหน่งของดาวหางแอตลาสช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮม ในอังกฤษ เผยว่า ดาวหางแอตลาสจะโคจรเข้าใกล้โลกมากขึ้นและสว่างขึ้น และยังคาดการณ์ในแง่ดีว่าช่วงเดือน เม.ย. ไปจนถึงกลาง เดือน พ.ค. ผู้คนอาจมองเห็นดาวหางแอตลาสได้ด้วยตาเปล่า
โดยแนะนำวิธีการมองดาวหางนี้ด้วยเทคนิค Averted vision เป็นการชมวัตถุที่ไม่คมชัดโดยไม่มองวัตถุโดยตรง แต่มองออกไปด้านข้างเล็กน้อย ทั้งนี้ หลังจากเดือน พ.ค. ดาวหางแอตลาส จะเดินทางต่อไปยังศูนย์กลางของระบบสุริยะใกล้กับดวงอาทิตย์ ถึงตอนนั้นก็จะทำให้มองเห็นได้ยากขึ้น แต่คาดว่าจะกลับมาอีกรอบในเดือน มิ.ย. ซึ่งอาจมองเห็นได้อีกครั้ง.
นักดาราศาสตร์พบว่าวงโคจรของดาวหางแอตลาสใกล้เคียงกับดาวหาง C/1844 Y1 ซึ่งเป็นดาวหางสว่างดวงหนึ่ง วงโคจรที่ใกล้เคียงกันมาก และมีคาบการโคจรนานหลายพันปี แสดงว่าดาวหางแอตลาสเป็นคนละดวงกับดาวหางที่มาปรากฏเมื่อ ค.ศ. 1844-1845 คาดว่าอาจเป็นชิ้นส่วนของดาวหางดวงเดียวกัน ก่อนจะแตกออกจากกันเมื่อนานมาแล้ว
ความเคลื่อนไหวล่าสุดเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2563
(จาก NASA, ESA, STScI and D. Jewitt (UCLA))
ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อวันที่ 20 และ 23 เมษายน 2563 แสดงให้เห็นชิ้นส่วนจำนวนมากของดาวหางแอตลาสที่แตกออกจากกัน การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของดาวหางทำให้ไม่สามารถระบุชิ้นส่วนที่ตรงกันระหว่างสองภาพได้
การแตกออกของดาวหางเป็นเหตุการณ์ที่พบได้ค่อนข้างบ่อย และดูเหมือนจะเป็นเหตุการณ์ทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้กับดาวหางหลายดวง กลไกหนึ่งที่คาดว่าอาจมีส่วนอันเป็นสาเหตุของการแตกคือการระเหิดของน้ำแข็งทำให้แก๊สที่พ่นออกมาจากส่วนต่าง ๆ บนผิวของดาวหางไม่สม่ำเสมอกัน ก่อให้เกิดการหมุนของนิวเคลียสในรูปแบบที่ไม่แน่นอน
รายงานความสว่างล่าสุดแสดงให้เห็นว่าแม้ดาวหางกำลังใกล้โลกและดวงอาทิตย์มากขึ้น แต่ดาวหางแอตลาสกำลังมีความสว่างลดลง เป็นที่ชัดเจนว่าจะไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า จากตำแหน่งและวงโคจรของดาวหาง คำนวณได้ว่าดาวหางจะปรากฏในภาพถ่ายจากยานสเตอริโอ-เอ (STEREO-A) ซึ่งเป็นยานสำรวจดวงอาทิตย์ในช่วงวันที่ 25 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน 2563 แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าดาวหางจะยังคงอยู่ถึงวันนั้นหรือสว่างพอจะปรากฏในภาพหรือไม่
(เมื่อถึงกลางเดือนพฤษภาคม ขณะที่ดาวหางยังคงสว่างขึ้นตามระยะห่างที่ใกล้โลกและดวงอาทิตย์มากขึ้น ดาวหางจะเริ่มเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนทำให้มีมุมเงยสูงจากขอบฟ้าไม่มากนักในเวลาพลบค่ำ และมีเวลาสังเกตได้ไม่นานก่อนจะตกลับขอบฟ้า นอกจากนี้ อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งคือสภาพท้องฟ้าในเดือนพฤษภาคม เมฆมากอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้โอกาสเห็นดาวหางลดลงได้)
Cr.สมาคมดาราศาสตร์ไทย - thaiastro.nectec.or.th
'ดาวหาง C/2020 A2 (Iwamoto)'
ดาวหาง C/2020 A2 (Iwamoto) คือดาวหางดวงล่าสุดที่มีการค้นพบและยืนยันอย่างเป็นทางการ ผู้ค้นพบคือนักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวญี่ปุ่น มาซายูกิ อิวาโมโตะ (Masayuki Iwamoto) จากจังหวัดโตคุชิมา เขารายงานการค้นพบดาวหางดวงใหม่ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2563 เมื่อหอดูดาวอื่น ๆ ยืนยันตำแหน่งดาวหางนี้ ในที่สุด สหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ (IAU) ก็ได้ประกาศให้ 'ดาวหาง C/2020 A2 (Iwamoto)' เป็นดาวหางดวงใหม่ในวันที่ 14 มกราคม 2563
การค้นพบวัตถุท้องฟ้าใหม่นั้น ต้องได้รับการยืนยันจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และต้องใช้ข้อมูลจากหอดูดาวทั่วโลกเพื่อคำนวณวงโคจรให้แม่นยำมากที่สุด
มาซายูกิค้นพบดาวหางนี้ครั้งแรกด้วยกล้องถ่ายภาพและเลนส์เทเลโฟโต จากนั้นจึงรายงานการค้นพบไปยังหอดูดาวแห่งชาติญี่ปุ่น (NAOJ) และศูนย์ดาวเคราะห์น้อย (Minor Planet Center: MPC) ดาวหางจึงได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “C/2020 A2 (Iwamoto)” ถือเป็นดาวหางดวงที่ 4 ที่มาซายูกิค้นพบ และเป็นดาวหางดวงแรกของปีที่ได้รับการยืนยันและประกาศอย่างเป็นทางการ
เรียบเรียง : สิทธิพร เดือนตะคุ - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ สดร.
อ้างอิง :
https://www.nao.ac.jp/…/ne…/topics/2020/20200114-comet.html…
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตินำมา)
ดาวหางดวงใหม่ในครึ่งปีแรกของ 2020
ดาวหางดวงนี้มีชื่อตามระบบการเรียกดาวหางว่า C/2019 Y4 และใช้ชื่อตามธรรมเนียมของหอดูดาวที่ค้นพบว่า ATLAS ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2562 และล่าสุดหลังกลางเดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา
ดาวหางได้เพิ่มความสว่างขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อมันกำลังข้ามวงโคจรดาวอังคารเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ล่าสุดความสว่างของดาวหางดวงนี้อยู่ที แมกนิจูด 8 แล้ว ซึ่งแน่นอนว่ายังไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า (ตามนุษย์มองเห็นดาวได้สว่างสุดที่แมกนิจูด 6.5) ความสว่างของมันกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดาวหาง C/2019 Y4 “แอตลาส” จะเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ ที่ระยะ 116,855,706 กิโลเมตร จากนั้นจะมุ่งสู่ดวงอาทิตย์ โดยจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ( perihelion) ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ที่ระยะ 37,848,261 กิโลเมตร นั่นคือเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ยิ่งกว่าวงโคจรของดาวพุธ
อักษร C ที่นำหน้าชื่อดาวหาง หมายถึงวงโคจรของดาวหางดวงนั้นอยู่ในระดับที่เรียกว่าไม่โคจรมาซ้ำรอบในช่วงชีวิตมนุษย์ เพราะโดยการคำนวนเบื้องต้น ดาวหาง C/2019 Y4 “แอตลาส” จะมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์นานถึง 6,025 ปี
Cr.ภาพประกอบบทความด้านบนสุดโดย Efrain Morales จาก Aguadilla, Puerto Rico.
เรียบเรียงโดย @MrVop
การค้นพบวัตถุท้องฟ้าใหม่นั้น ต้องได้รับการยืนยันจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และต้องใช้ข้อมูลจากหอดูดาวทั่วโลกเพื่อคำนวณวงโคจรให้แม่นยำมากที่สุด
มาซายูกิค้นพบดาวหางนี้ครั้งแรกด้วยกล้องถ่ายภาพและเลนส์เทเลโฟโต จากนั้นจึงรายงานการค้นพบไปยังหอดูดาวแห่งชาติญี่ปุ่น (NAOJ) และศูนย์ดาวเคราะห์น้อย (Minor Planet Center: MPC) ดาวหางจึงได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “C/2020 A2 (Iwamoto)” ถือเป็นดาวหางดวงที่ 4 ที่มาซายูกิค้นพบ และเป็นดาวหางดวงแรกของปีที่ได้รับการยืนยันและประกาศอย่างเป็นทางการ
อ้างอิง : https://www.nao.ac.jp/…/ne…/topics/2020/20200114-comet.html…