ภาพจำลองการก่อตัวของดาวในระบบสุริยะของเรา ซึ่งเต็มไปด้วยการชนปะทะรุนแรง
ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติ ค้นพบตำแหน่งที่ตั้งของระบบดาวเคราะห์ 6 ดวง ที่โคจรวนรอบดาวฤกษ์ศูนย์กลางคล้ายดวงอาทิตย์ ซึ่งอยู่ห่างจากโลกของเราเพียง 100 ปีแสง โดยลักษณะพิเศษของมันทำให้นักดาราศาสตร์เรียกมันว่า “ระบบสุริยะสมบูรณ์แบบ” (The Perfect Solar System)
ระบบสุริยะที่ค้นพบใหม่ดังกล่าว ประกอบด้วยดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกันทั้งหมด ซึ่งพวกมันแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย นับตั้งแต่ก่อตัวขึ้นเมื่อ 12,000 ล้านปีที่แล้ว ทำให้เหมาะต่อการนำมาเป็นต้นแบบ เพื่อศึกษาขั้นตอนการก่อตัวโดยทั่วไปของดาวเคราะห์ในจักรวาล ทั้งยังเป็นสถานที่เหมาะสมต่อการค้นหาสิ่งมีชีวิตต่างดาวด้วย
ในรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงวารสาร Nature ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติระบุว่าได้ค้นพบระบบสุริยะใหม่ดังกล่าว ด้วยดาวเทียมสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในปรากฏการณ์ทรานซิต (TESS) ขององค์การนาซา และดาวเทียมบ่งชี้คุณสมบัติของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (CHEOPS) ขององค์การอวกาศยุโรป
ระบบดาวนี้มีชื่อเป็นรหัสทางดาราศาสตร์ว่า HD110067 มีกำเนิดและความเป็นมาแตกต่างจากระบบสุริยะของเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากกระบวนการที่ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง ก่อตัวขึ้นโดยรอบดวงอาทิตย์ของเรานั้น เต็มไปด้วยการชนปะทะกันอย่างรุนแรงจนมีการเปลี่ยนแปลงวงโคจร และเกิดดาวเคราะห์ยักษ์อย่างดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์มาอยู่ร่วมกับดาวเคราะห์ขนาดเล็กอย่างโลกของเรา
ภาพจำลองการก่อตัวของดาวในระบบสุริยะของเรา ซึ่งเต็มไปด้วยการชนปะทะรุนแรง
แต่ทว่าดาวเคราะห์ 6 ดวง ในระบบ HD 110067 นั้น นอกจากจะมีขนาดใกล้เคียงจนเกือบจะเท่ากันทั้งหมดแล้ว ยังมีการโคจรในคาบเวลาที่ประสานสอดคล้องกันเป็นอย่างดีอีกด้วย เพราะเมื่อดาวเคราะห์ดวงในสุดโคจรวนรอบดาวฤกษ์ศูนย์กลางได้ครบ 3 รอบ ดาวเคราะห์ดวงถัดไปจะโคจรรอบดาวฤกษ์ได้ครบ 2 รอบพอดี และอัตราเร็วในการโคจรจะคงอยู่ในสัดส่วนนี้ (3:2) ไปจนถึงดาวเคราะห์ดวงที่ 4 จากนั้นสัดส่วนดังกล่าวจะเปลี่ยนเป็น 4:3 สำหรับดาวเคราะห์รอบนอกดวงที่ 5 และ 6
ดร.ราฟาเอล ลูเก ผู้นำทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโกของสหรัฐฯ บอกว่า HD110067 คือระบบสุริยะที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง โดยเหมาะสำหรับเป็นต้นแบบในการศึกษาว่า ดาวเคราะห์ทั่วไปในจักรวาลถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งปัจจุบันเราไม่อาจตอบคำถามนี้ได้ด้วยการศึกษาระบบสุริยะของเราเอง เพราะมันเต็มไปด้วยความปั่นป่วนวุ่นวายในตอนที่ถือกำเนิดขึ้น ทั้งยังเปลี่ยนแปลงไปมากตลอดระยะเวลาหลายพันล้านปีที่ผ่านมา
ดร.มารินา ลาฟาร์กา-มาโก หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอร์ริกของสหราชอาณาจักร บอกกับผู้สื่อข่าวบีบีซีว่าระบบสุริยะที่ค้นพบใหม่นี้ “ช่างงดงามและมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร...มันน่าตื่นเต้นจริง ๆ ที่ได้เจอสิ่งที่ไม่มีใครเคยพบเห็นมาก่อน”
ตลอดช่วงเวลาราว 3 ทศวรรษที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบระบบดาวใหม่ ๆ หลายพันแห่ง แต่ไม่มีแห่งใดเลยที่เหมาะสมกับการเป็นต้นแบบเพื่อศึกษาขั้นตอนการก่อตัวของดาวเคราะห์เช่นนี้ เพราะขนาดของดาวบริวารที่ใกล้เคียงกันและการที่ไร้เหตุรบกวนมาทำให้วงโคจรเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้นักดาราศาสตร์สามารถเปรียบเทียบและวิเคราะห์ถึงความเป็นมาของพวกมันได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ ดาวฤกษ์ศูนย์กลางของระบบยังมีความสว่างเพียงพอ ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์แสงเพื่อดูแร่ธาตุองค์ประกอบในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์บริวารได้ เมื่อพวกมันเคลื่อนผ่านตัดหน้าดาวฤกษ์ในปรากฏการณ์ทรานซิต (transit) ซึ่งจะช่วยบ่งชี้ได้ว่ามีก๊าซที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตปะปนอยู่ด้วยหรือไม่
ดาวเนปจูนน้อยชื่อว่า K2-12-b มีก๊าซที่อาจเป็นผลผลิตของสิ่งมีชีวิตปะปนในชั้นบรรยากาศ
ดาวเคราะห์ทั้ง 6 ของระบบ HD110067 นั้นมีขนาดปานกลางในระดับที่เรียกว่า “ดาวเนปจูนน้อย” (sub-Neptune) หมายถึงมีขนาดใหญ่กว่าโลก 2-3 เท่า แต่ก็ยังเล็กกว่าดาวเนปจูนซึ่งมีความกว้างมากกว่าโลก 4 เท่า
คาดว่าดาวชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปในกาแล็กซีทางช้างเผือก แต่การที่ระบบสุริยะของเราไม่มีดาวเนปจูนน้อยอยู่เลยแม้แต่ดวงเดียว ทำให้นักดาราศาสตร์ขาดโอกาสที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับดาวชนิดดังกล่าว
ภาพจำลองดาวเทียม TESS ขององค์การนาซา ที่ค้นพบระบบสุริยะใหม่ในครั้งนี้
ปัจจุบันความสนใจใคร่รู้ในเรื่องดาวเนปจูนน้อยยิ่งมีมากขึ้น เมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ K2-18b ในระบบดาวอีกแห่งหนึ่งเมื่อเดือนก.ย. ที่ผ่านมา โดยนักดาราศาสตร์พบว่าในบรรยากาศของดาวมีก๊าซที่สิ่งมีชีวิตบนโลกผลิตขึ้นปะปนอยู่ด้วย ซึ่งเท่ากับว่าเราได้เจอ “ลายเซ็นชีวภาพ” (biosignature) ที่อาจเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตต่างดาว
ดร.ลูเก บอกว่าการค้นพบระบบดาว HD110067 ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทีมของเขาจะได้ศึกษาและตอบคำถามที่ยังเป็นปริศนาเกี่ยวกับดาวเนปจูนน้อย ว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่ของมันเป็นหินแข็ง ก๊าซ หรือน้ำ และมีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตหรือไม่ด้วย โดยคาดว่าจะสามารถให้ความกระจ่างได้โดยเร็ว ภายในเวลาไม่ถึงสิบปีข้างหน้านี้
ค้นพบ “ระบบสุริยะสมบูรณ์แบบ” ลุ้นเจอสิ่งมีชีวิตต่างดาว
ภาพจำลองการก่อตัวของดาวในระบบสุริยะของเรา ซึ่งเต็มไปด้วยการชนปะทะรุนแรง
ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติ ค้นพบตำแหน่งที่ตั้งของระบบดาวเคราะห์ 6 ดวง ที่โคจรวนรอบดาวฤกษ์ศูนย์กลางคล้ายดวงอาทิตย์ ซึ่งอยู่ห่างจากโลกของเราเพียง 100 ปีแสง โดยลักษณะพิเศษของมันทำให้นักดาราศาสตร์เรียกมันว่า “ระบบสุริยะสมบูรณ์แบบ” (The Perfect Solar System)
ระบบสุริยะที่ค้นพบใหม่ดังกล่าว ประกอบด้วยดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกันทั้งหมด ซึ่งพวกมันแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย นับตั้งแต่ก่อตัวขึ้นเมื่อ 12,000 ล้านปีที่แล้ว ทำให้เหมาะต่อการนำมาเป็นต้นแบบ เพื่อศึกษาขั้นตอนการก่อตัวโดยทั่วไปของดาวเคราะห์ในจักรวาล ทั้งยังเป็นสถานที่เหมาะสมต่อการค้นหาสิ่งมีชีวิตต่างดาวด้วย
ในรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงวารสาร Nature ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติระบุว่าได้ค้นพบระบบสุริยะใหม่ดังกล่าว ด้วยดาวเทียมสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในปรากฏการณ์ทรานซิต (TESS) ขององค์การนาซา และดาวเทียมบ่งชี้คุณสมบัติของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (CHEOPS) ขององค์การอวกาศยุโรป
ระบบดาวนี้มีชื่อเป็นรหัสทางดาราศาสตร์ว่า HD110067 มีกำเนิดและความเป็นมาแตกต่างจากระบบสุริยะของเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากกระบวนการที่ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง ก่อตัวขึ้นโดยรอบดวงอาทิตย์ของเรานั้น เต็มไปด้วยการชนปะทะกันอย่างรุนแรงจนมีการเปลี่ยนแปลงวงโคจร และเกิดดาวเคราะห์ยักษ์อย่างดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์มาอยู่ร่วมกับดาวเคราะห์ขนาดเล็กอย่างโลกของเรา
ภาพจำลองการก่อตัวของดาวในระบบสุริยะของเรา ซึ่งเต็มไปด้วยการชนปะทะรุนแรง
แต่ทว่าดาวเคราะห์ 6 ดวง ในระบบ HD 110067 นั้น นอกจากจะมีขนาดใกล้เคียงจนเกือบจะเท่ากันทั้งหมดแล้ว ยังมีการโคจรในคาบเวลาที่ประสานสอดคล้องกันเป็นอย่างดีอีกด้วย เพราะเมื่อดาวเคราะห์ดวงในสุดโคจรวนรอบดาวฤกษ์ศูนย์กลางได้ครบ 3 รอบ ดาวเคราะห์ดวงถัดไปจะโคจรรอบดาวฤกษ์ได้ครบ 2 รอบพอดี และอัตราเร็วในการโคจรจะคงอยู่ในสัดส่วนนี้ (3:2) ไปจนถึงดาวเคราะห์ดวงที่ 4 จากนั้นสัดส่วนดังกล่าวจะเปลี่ยนเป็น 4:3 สำหรับดาวเคราะห์รอบนอกดวงที่ 5 และ 6
ดร.ราฟาเอล ลูเก ผู้นำทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโกของสหรัฐฯ บอกว่า HD110067 คือระบบสุริยะที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง โดยเหมาะสำหรับเป็นต้นแบบในการศึกษาว่า ดาวเคราะห์ทั่วไปในจักรวาลถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งปัจจุบันเราไม่อาจตอบคำถามนี้ได้ด้วยการศึกษาระบบสุริยะของเราเอง เพราะมันเต็มไปด้วยความปั่นป่วนวุ่นวายในตอนที่ถือกำเนิดขึ้น ทั้งยังเปลี่ยนแปลงไปมากตลอดระยะเวลาหลายพันล้านปีที่ผ่านมา
ดร.มารินา ลาฟาร์กา-มาโก หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอร์ริกของสหราชอาณาจักร บอกกับผู้สื่อข่าวบีบีซีว่าระบบสุริยะที่ค้นพบใหม่นี้ “ช่างงดงามและมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร...มันน่าตื่นเต้นจริง ๆ ที่ได้เจอสิ่งที่ไม่มีใครเคยพบเห็นมาก่อน”
ตลอดช่วงเวลาราว 3 ทศวรรษที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบระบบดาวใหม่ ๆ หลายพันแห่ง แต่ไม่มีแห่งใดเลยที่เหมาะสมกับการเป็นต้นแบบเพื่อศึกษาขั้นตอนการก่อตัวของดาวเคราะห์เช่นนี้ เพราะขนาดของดาวบริวารที่ใกล้เคียงกันและการที่ไร้เหตุรบกวนมาทำให้วงโคจรเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้นักดาราศาสตร์สามารถเปรียบเทียบและวิเคราะห์ถึงความเป็นมาของพวกมันได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ ดาวฤกษ์ศูนย์กลางของระบบยังมีความสว่างเพียงพอ ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์แสงเพื่อดูแร่ธาตุองค์ประกอบในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์บริวารได้ เมื่อพวกมันเคลื่อนผ่านตัดหน้าดาวฤกษ์ในปรากฏการณ์ทรานซิต (transit) ซึ่งจะช่วยบ่งชี้ได้ว่ามีก๊าซที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตปะปนอยู่ด้วยหรือไม่
คาดว่าดาวชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปในกาแล็กซีทางช้างเผือก แต่การที่ระบบสุริยะของเราไม่มีดาวเนปจูนน้อยอยู่เลยแม้แต่ดวงเดียว ทำให้นักดาราศาสตร์ขาดโอกาสที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับดาวชนิดดังกล่าว
ดร.ลูเก บอกว่าการค้นพบระบบดาว HD110067 ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทีมของเขาจะได้ศึกษาและตอบคำถามที่ยังเป็นปริศนาเกี่ยวกับดาวเนปจูนน้อย ว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่ของมันเป็นหินแข็ง ก๊าซ หรือน้ำ และมีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตหรือไม่ด้วย โดยคาดว่าจะสามารถให้ความกระจ่างได้โดยเร็ว ภายในเวลาไม่ถึงสิบปีข้างหน้านี้