เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงควรมีรถไฟความเร็วสูง มาดูข้อดีข้อเสียของรถไฟความเร็วสูงกัน

เพื่อเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของรถไฟความเร็วสูง 

เริ่มกันเลย!!

ข้อดีของการสร้างรถไฟความเร็วสูง

1. รถไฟความเร็วสูงตอบสนองอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ดีกว่าเครื่องบิน
     - การโหลดสัมภาระ  การไปเที่ยวแบบ BACKPACK   รถไฟความเร็วสูงจะไม่มีข้อจำกัดแบบเครื่องบิน นักท่องเที่ยวแบบ Back Pack ซึ่งเข้าประเทศปีหนึ่งเป็นจำนวนมาก จะประหยัดเงินในการโหลดสัมภาระ (เงินที่เหลือ เขาก็ไว้ใช้จ่ายในการท่องเที่ยวมากขึ้น ผู้รับผลประโยชน์ก็คือ คนไทยในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว)

2. ความง่ายในการเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวและตัวเมืองนั้น 
     - เพราะสถานีรถไฟจะสร้างไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก การเข้าเมือง ออกเมืองจะทำได้สะดวก แตกต่างจากเครื่องบินที่สนามบินจะอยู่ห่างจากตัวเมืองไปมาก การเข้า-ออกตัวเมืองจะทำได้ยากกว่า

3. มีราคาคงที่และแน่นอน
     - การเดินทางกระทันหัน สามารถทำได้ในอัตราราคาเดิม ไม่ว่าจะช่วงเทศกาล Hi Season หรือ Low Season ราคาก็จะเท่าเดิม  ส่วนเครื่องบิน การจองตั๋วล่วงหน้านานๆจะทำให้ได้ราคาถูก แต่ถ้าจองกระทันหันราคาอาจจะพุ่งสูงมาก และที่สำคัญ การเดินทางด้วยเครื่องบินช่วงเทศกาลจะมีค่าโดยสารที่แพงกว่าปกติอีกด้วย

4. เวลาในการเดินทางที่แทบจะไม่แตกต่างกันระหว่างรถไฟความเร็วสูงและเครื่องบิน(ในประเทศไทย)
     - ระยะทางที่เหมาะสมของรถไฟความเร็วสูงคือประมาณ 150 - 800 กิโลเมตร (ด้วยรถที่วิ่ง max speed ที่250km/h  min speed 160 km/h) เฉลี่ยความเร็วในการวิ่งน่าจะราวๆ 220 - 230 km/h นั่นจะทำให้ใช้เวลา 35นาที ถึง 3ชั่วโมงครึ่ง ตามลำดับ  (ถ้าระยะทางต่ำกว่านี้ รถยนต์ส่วนตัวจะสะดวกกว่า แต่ถ้าระยะมากกว่า800กิโลเมตรขึ้นไป เครื่องบินก็จะตอบโจทย์มากกว่า) 
     - แต่สำหรับประเทศไทย ต้องบอกว่าเป็นความโชคดีที่เมืองหลวงของประเทศคือกรุงเทพ อยู่ตรงกลางของประทศพอดี ระยะ800กิโลเมตร ขึ้นเหนือสุดก็เกือบๆเชียงราย  ใต้สุดก็เกือบๆหาดใหญ่ เพราะฉะนั้นเวลา3ชั่วโมงครึ่งถึง4ชั่วโมง จึงถือว่าอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมที่ไม่ต่างจากเครื่องบินมากนัก ที่จะต้องไปรอขึ้นเครื่องและรอลงเครื่อง 

5. การสร้างรายได้ให้คนท้องถิ่น 
     - เมื่อมีสถานีรถไฟความเร็วสูง สิ่งที่จะมีตามมาคือ การให้เช่าพื้นที่ การค้าขายและการบริการจะมีขึ้นมา เป็นการเพิ่มรายได้ให้คนในท้องถิ่น และค่าเช่าพื้นที่ของสถานีรถไฟก้จะไม่แพงมากแบบสนามบิน เพราะสถานีรถไฟคือสถานีเล็กๆ ไม่ได้ใหญ่แบบสนามบิน ถ้าราคาค่าเช่าแพงมาก ประชาชนก็เลือกเปิดร้านต่างๆตามรายทางข้างนอกสถานีแทน

6. เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกทางการคมนาคมให้กับประชาชน
     - ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน สำคัญต่อชีวิตของประชาชนในชาติ  เพราะฉะนั้นตรงนี้ไม่ต้องอธิบายอะไรมากมาย ทุกคนคงเข้าใจกันได้ดีแล้วว่า รถไฟความเร็วสูงมันคืออีกหนึ่งทางเลือกในการคมนาคมของคนในประเทศ

มาที่ข้อเสียกันบ้าง  ข้อเสียของการสร้างรถไฟความเร็วสูง

1. เงินลงทุน
    - นี่คือเรื่องที่สำคัญมากในการสร้างรถไฟความเร็วสูง  เม็ดเงินในการก่อสร้างที่แพงมหาศาลแล้ว  เม็ดเงินที่ใช้ในการดูแลระบบในแต่ละปีก็มหาศาลไม่ต่างกัน การกู้ การลงทุน ทำให้รัฐบาลและประเทศเป็นหนี้ไปหลายสิบปี (โชคดีที่การกู้ในครั้งนี้ กว่าร้อยละ90 คือกู้สถาบันการเงินในประเทศ)

2. มีโอกาสขาดทุน
     - การลงทุนในด้านรถไฟความเร็วสูง ต้องยอมรับตามตรงว่า มีโอกาสขาดทุนสูงมาก และมีโอกาสขาดทุนในทุกๆเส้นทางเลยก็ว่าได้ ค่าตั๋วโดยสาร ค่าให้เช่าพื้นที่ ไม่มีทางพอกับเงินที่ลงทุนไป เอาแค่ให้พอกับค่าซ่อมบำรุงในแต่ละปีได้ ก็ถือว่าเยี่ยมแล้ว 

3. จะต้องมีแผนงานมารองรับในระยะยาว 
     - จากข้อ2 ในเม่อเรารู้ว่าขาดทุนแน่ๆ ในด้านทางตรง ดังนั้น รายได้ทางอ้อม เงินในมือประชาชน มูลค่าเพิ่มของที่ดิน สิ่งต่างๆเหล่านี้ บริษัทหรือรัฐบาลจะต้องมีแผนรองรับ ว่าจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพื้นที่และมูลค่าอ้อมของตัวรถไฟความเร็วสูงเหล่านี้ได้อย่างไร (ถ้าดำเนินการในรูปแบบบริษัท ผมไม่ห่วง แต่ถ้ารถไฟความเร็วสูงเป็นของรัฐบาลเต็มตัว อันนี้ต่างหากที่น่ากังวลว่า จะมีแผนใดๆมารองรับในการเพิ่มมูลค่าของตัวรถไฟ

** จะเห็นได้ว่า เพียงแค่รถไฟความเร็วสูงมา ประโยชน์และสิ่งต่างๆก็จะตามมามากมายมหาศาล ประโยชน์ทางตรงว่าสำคัญแล้ว  ประโยชน์ทางอ้อมสำคัญยิ่งกว่า เป็นการกระจายรายได้ออกสู่ท้องถิ่นมากขึ้น รวมถึงเป็นการติดจรวดให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ไทยเป็นอันดับ Top ของโลกอยู่แล้ว ให้น่าดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นไปอีก 
    แต่มีข้อดี ก็ย่อมจะมีข้อเสียตามมา ซึ่งทั้งข้อดีและข้อเสีย มันเห็นชัดกันทั้งคู่ด้วย มันจึงขึ้นอยู่ที่การบริหารจัดการเพียวๆเลย ว่ารัฐจะจัดการกับโครงการรถไฟความเร็วสูงอย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด **

ป.ล. การเกษตรกรรมของไทย คือ สินค้าขึ้นชื่อมาตั้งแต่อดีต แต่ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ เริ่มที่จะบูมมากขึ้นและมากขึ้นในอนาคต รถไฟความเร็วสูง จะทำหน้าที่เป็นปีก ให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ติดปีกบินให้สูงกว่าเดิม ผมเชื่อว่า รถไฟความเร็วสูง ยังไงประเทศไทยก็ต้องสร้างในสักวันนึง สมัยรัชกาลที่5 ระบบรถไฟไทยใช้งบ 5 ล้านบาท(สมัยนั้น จากข้อมูลที่ผมอ่านมา ถ้าจำไม่ผิดนะครับ)ในการสร้างรถไฟ  รถไฟความเร็วสูงในปัจจุบัน ใช้งบ 300,000 - 400,000 ล้านบาท ต่อเส้นทาง  ถ้าเราไม่สร้างในวันนี้ ในอนาคตที่เราจำเป็นต้องสร้าง งบประมาณ 3ล้านล้านบาท อาจจะสร้างได้แค่เส้นทางเดียวก็เป็นได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่