กำลังเป็นประเด็นร้อนฉ่าในบ้านเรา ที่พุ่งขึ้นมาเคียงคู่โควิด-19 กับคำว่า CPTPP ซึ่งคนจำนวนไม่น้อย ยังไม่รู้ว่าคืออะไร และอีกจำนวนหนึ่งเข้าใจหรือสงสัยว่า เกี่ยวอะไรกับกลุ่มธุรกิจซีพี เป็นสินค้าใหม่หรือบริษัทใหม่ในเครือซีพีหรือเปล่า
ตอบให้หายสงสัยได้ทันทีเลยว่า “ไม่เกี่ยว” เพราะว่า “ซีพี หรือ CP” ย่อมาจาก “เจริญโภคภัณฑ์ หรือ Charoen Pokphand” แค่ตัวย่อคล้ายกันเฉย ๆ แล้วก็ดันไปคล้ายกับตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษของกลุ่มปตท. อีกด้วย ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับปตท. อีกเช่นกัน เพราะอันนั้น PTT สลับหน้าหลังกันนิดนึง
แล้ว CPTPP ที่กำลังฮอตฮิตอยู่ตอนนี้คืออะไร สำคัญยังไง ทำไมต้องเป็นประเด็นร้อนแรง …คำตอบน่าจะยาว ซับซ้อน และรายละเอียดเยอะ แต่เอาแค่ง่าย ๆ เบา ๆ พอให้คุยกับเขารู้เรื่องละกันนะ เพราะถ้าเยอะไปเราก็งงเหมือนกัน…
CPTPP มีชื่อเต็มว่า
Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership เขาแปลเป็นไทยให้ว่า “
ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้า สำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก”
ซึ่งเป็นความตกลงด้านการค้าเสรี ที่มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง
การค้า การบริการ และ
การลงทุน ให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎระเบียบเดียวกัน ในประเด็นของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ
CPTPP มีรากฐานมาจาก TPP (Trans-Pacific Partnership) หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก เริ่มในปี 2549 ที่ต้องการเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชีย อเมริกาใต้ และแปซิฟิก เข้าด้วยกันจนมีสมาชิกทั้งหมด 12 ประเทศ แต่เมื่อปี 2560 สหรัฐอเมริกาได้ถอนตัวออกไป ประเทศสมาชิกที่เหลือตัดสินใจเดินหน้าความตกลงต่อ โดยใช้ชื่อใหม่ว่า CPTPP ปัจจุบันมีสมาชิก 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม
ที่เป็นประเด็นร้อนแรงตอนนี้ ก็เพราะรัฐบาล โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ พยายามผลักดันให้ไทยเข้าร่วมข้อตกลงทางการค้าฉบับนี้ โดยมีเหตุผลสนับสนุนเป็นต้นว่า
- จะช่วยให้จีดีพีของประเทศขยายตัวขึ้นร้อยละ 0.12 คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 13,300 ล้านบาท
- หากไม่เข้าร่วมจะเสียโอกาสและกระทบต่อจีดีพีที่หดตัวร้อยละ 0.25 หรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 26,600 ล้านบาท
- เพิ่มโอกาสการส่งออกของไทยไปยังประเทศสมาชิก CPTPP
- ดึงดูดการลงทุนที่ต้องการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิก CPTPP
- เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย จากการปรับปรุงกฎระเบียบภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ CPTPP ที่ได้ชื่อว่าเป็นความตกลงทางการค้าคุณภาพสูง
ขณะเดียวกันก็มีเสียงคัดค้านจำนวนมาก เพราะข้อตกลงนี้มีประเด็นที่อ่อนไหวหลายอย่าง อาทิ ในจำนวนสมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศ มีเพียง 7 ประเทศที่ให้สัตยาบันเข้าร่วม ได้แก่ เม็กซิโก ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย และเวียดนาม หากความตกลงนี้ช่วยเพิ่มเม็ดเงินทางเศรษฐกิจจริง แล้วทำไมประเทศสมาชิกที่เหลือจึงไม่ลงนามร่วมสัตยาบัน และการที่สหรัฐฯ ถอนตัวออกไปนั้น ก็น่าจะมีผลทำให้ประเทศสมาชิกที่เหลือลังเลที่จะร่วมให้สัตยาบัน
นอกจากนี้ หากไทยเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP ก็จะต้องแก้กฎหมายบางฉบับ ซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อภาคการเกษตร ระบบสาธารณสุข
- โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับสิทธิในเมล็ดพันธุ์พืชที่ได้รับการคุ้มครองผูกขาด เกษตรกรจะไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์นำไปปลูกในฤดูกาลถัดไปได้ จะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกครั้ง
- หรือการคุ้มครองสิทธิบัตรยา ที่ไทยจะไม่สามารถใช้สิทธิคุ้มครอง (ซีแอล) นำเข้ายาจำเป็นหลายอย่าง เช่น ยาต้านไวรัสเอชไอวี และยารักษามะเร็ง มาใช้ดูแลรักษาประชาชนได้
- รวมถึงการคุ้มครองการลงทุนให้ต่างชาติ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของชาติที่ได้ไม่คุ้มเสีย
ล่าสุด นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ถอนการเสนอเรื่อง CPTPP เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 28 เม.ย. 2563 แล้ว โดยให้เหตุผลว่า ยังมีความเห็นแย้งกันอยู่ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ และจะไม่เสนอเรื่องนี้อีก ตราบใดที่ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมยังมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังไม่จบ แค่ระงับชั่วคราว แต่เหรียญมีสองด้าน ทุกอย่างในโลกล้วนมีข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น หากจำเป็นต้องเลือก ก็ต้องนำข้อมูลทั้งสองด้าน มาชั่งน้ำหนักกันดูว่า สมควรเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุด หรือจะเลือกสิ่งที่จะเสียประโยชน์น้อยที่สุด บนพื้นฐานของความโปร่งใส ไม่มีคำว่าหมกเม็ด
--------------------
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ, BBC Thai, ไทยรัฐ
เบา ๆ ให้พอเข้าใจ กับ CPTPP ที่ไม่เกี่ยวอะไรกับเครือซีพี
ตอบให้หายสงสัยได้ทันทีเลยว่า “ไม่เกี่ยว” เพราะว่า “ซีพี หรือ CP” ย่อมาจาก “เจริญโภคภัณฑ์ หรือ Charoen Pokphand” แค่ตัวย่อคล้ายกันเฉย ๆ แล้วก็ดันไปคล้ายกับตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษของกลุ่มปตท. อีกด้วย ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับปตท. อีกเช่นกัน เพราะอันนั้น PTT สลับหน้าหลังกันนิดนึง
แล้ว CPTPP ที่กำลังฮอตฮิตอยู่ตอนนี้คืออะไร สำคัญยังไง ทำไมต้องเป็นประเด็นร้อนแรง …คำตอบน่าจะยาว ซับซ้อน และรายละเอียดเยอะ แต่เอาแค่ง่าย ๆ เบา ๆ พอให้คุยกับเขารู้เรื่องละกันนะ เพราะถ้าเยอะไปเราก็งงเหมือนกัน…
CPTPP มีชื่อเต็มว่า Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership เขาแปลเป็นไทยให้ว่า “ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้า สำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก”
ซึ่งเป็นความตกลงด้านการค้าเสรี ที่มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง การค้า การบริการ และการลงทุน ให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎระเบียบเดียวกัน ในประเด็นของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ
CPTPP มีรากฐานมาจาก TPP (Trans-Pacific Partnership) หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก เริ่มในปี 2549 ที่ต้องการเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชีย อเมริกาใต้ และแปซิฟิก เข้าด้วยกันจนมีสมาชิกทั้งหมด 12 ประเทศ แต่เมื่อปี 2560 สหรัฐอเมริกาได้ถอนตัวออกไป ประเทศสมาชิกที่เหลือตัดสินใจเดินหน้าความตกลงต่อ โดยใช้ชื่อใหม่ว่า CPTPP ปัจจุบันมีสมาชิก 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม
ที่เป็นประเด็นร้อนแรงตอนนี้ ก็เพราะรัฐบาล โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ พยายามผลักดันให้ไทยเข้าร่วมข้อตกลงทางการค้าฉบับนี้ โดยมีเหตุผลสนับสนุนเป็นต้นว่า
- จะช่วยให้จีดีพีของประเทศขยายตัวขึ้นร้อยละ 0.12 คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 13,300 ล้านบาท
- หากไม่เข้าร่วมจะเสียโอกาสและกระทบต่อจีดีพีที่หดตัวร้อยละ 0.25 หรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 26,600 ล้านบาท
- เพิ่มโอกาสการส่งออกของไทยไปยังประเทศสมาชิก CPTPP
- ดึงดูดการลงทุนที่ต้องการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิก CPTPP
- เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย จากการปรับปรุงกฎระเบียบภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ CPTPP ที่ได้ชื่อว่าเป็นความตกลงทางการค้าคุณภาพสูง
ขณะเดียวกันก็มีเสียงคัดค้านจำนวนมาก เพราะข้อตกลงนี้มีประเด็นที่อ่อนไหวหลายอย่าง อาทิ ในจำนวนสมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศ มีเพียง 7 ประเทศที่ให้สัตยาบันเข้าร่วม ได้แก่ เม็กซิโก ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย และเวียดนาม หากความตกลงนี้ช่วยเพิ่มเม็ดเงินทางเศรษฐกิจจริง แล้วทำไมประเทศสมาชิกที่เหลือจึงไม่ลงนามร่วมสัตยาบัน และการที่สหรัฐฯ ถอนตัวออกไปนั้น ก็น่าจะมีผลทำให้ประเทศสมาชิกที่เหลือลังเลที่จะร่วมให้สัตยาบัน
นอกจากนี้ หากไทยเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP ก็จะต้องแก้กฎหมายบางฉบับ ซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อภาคการเกษตร ระบบสาธารณสุข
- โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับสิทธิในเมล็ดพันธุ์พืชที่ได้รับการคุ้มครองผูกขาด เกษตรกรจะไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์นำไปปลูกในฤดูกาลถัดไปได้ จะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกครั้ง
- หรือการคุ้มครองสิทธิบัตรยา ที่ไทยจะไม่สามารถใช้สิทธิคุ้มครอง (ซีแอล) นำเข้ายาจำเป็นหลายอย่าง เช่น ยาต้านไวรัสเอชไอวี และยารักษามะเร็ง มาใช้ดูแลรักษาประชาชนได้
- รวมถึงการคุ้มครองการลงทุนให้ต่างชาติ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของชาติที่ได้ไม่คุ้มเสีย
ล่าสุด นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ถอนการเสนอเรื่อง CPTPP เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 28 เม.ย. 2563 แล้ว โดยให้เหตุผลว่า ยังมีความเห็นแย้งกันอยู่ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ และจะไม่เสนอเรื่องนี้อีก ตราบใดที่ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมยังมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังไม่จบ แค่ระงับชั่วคราว แต่เหรียญมีสองด้าน ทุกอย่างในโลกล้วนมีข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น หากจำเป็นต้องเลือก ก็ต้องนำข้อมูลทั้งสองด้าน มาชั่งน้ำหนักกันดูว่า สมควรเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุด หรือจะเลือกสิ่งที่จะเสียประโยชน์น้อยที่สุด บนพื้นฐานของความโปร่งใส ไม่มีคำว่าหมกเม็ด
--------------------
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้