ในช่วงระยะเวลา 15 กว่าวันที่ผ่านมา มีประเด็นเกี่ยวกับเวียดนามผ่านมาบ่อยๆ ไปบรรยายก็ยกตัวอย่างเวียดนามเป็นกรณีศึกษาแบบไม่รู้ตัว เมื่ออ่านข่าวก็เจอเศรษฐกิจของเวียดนามว่าเติบโตเร็วและมีการลงทุนจากต่างประเทศสูงอย่างต่อเนื่อง ข้อตกลงการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างสหภาพยุโรปและ เวียดนาม และการจัดการโรคโควิดของเวียดนามที่มีประสิทธิ ภาพสูง และแปลกใจที่สุดคือ สำนักข่าวบีบีซีได้เขียนมาขอสัมภาษณ์ เวียดนามจะเรียนรู้จากประสบการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยและมาเลเซียได้อย่างไร
เวียดนามเป็นประเทศที่น่าศึกษา รัฐบาลที่มีความมั่นคงสูง มีเสาหลักที่เป็นวีรบุรุษของชาติ คือ ลุงโฮ ที่ทุกคนให้ความเคารพ มีความสามารถทางการทหารทำให้รอดเงื้อมือชาติมหาอำนาจตั้งแต่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และจีน มีแนวนโยบายฝ่าฟันความยากจนทางเศรษฐกิจ จนปัจจุบันกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ผมเคยไปยืนเวียดนามอยู่หลายครั้งทั้งเหนือและใต้ ที่พบคือ ประชาชนส่วนใหญ่มีอายุน้อย (จากข้อมูลทางสถิติพบว่าประชากรมีอายุน้อยกว่า 35 ปี เป็นส่วนใหญ่) ขยันหมั่นเพียร ใฝ่ที่จะเรียนรู้ระบบการศึกษาเน้นในเรื่องของ STEM มีการแข่งขันสูง เพื่อที่ จะยกระดับฐานะของตัวเอง
ในปี 2529 รัฐบาลเวียดนามได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจที่คล้ายกับจีนปี 2521 คือใช้กลไกตลาดผสมสังคมนิยม เพื่อบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ นโยบายดังกล่าวเรียกว่า ดอยมอย (Doi Moi) ซึ่งหากแปลตรงตัวหมายถึง การนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง นโยบายนี้สนับสนุนให้เกิดธุรกิจของภาคเอกชนเป็นหัวหอกในการพัฒนาเศรษฐกิจ การยกเลิกการควบคุมราคาสินค้า การสนับสนุนให้เกษตรกรมีที่ทำกินเป็นของตัวเอง การผ่อนปรนกฎระเบียบเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ การยกเลิกการผูกขาดของภาครัฐ
และไม่นานมานี้ เวียดนามได้มีการยกเลิกอุปสรรคที่เกิดจากกฎระเบียบของภาคราชการ ผ่าน เครื่องมือที่เรียกว่า Regulatory Guillotine โดยมีการทบทวนกฎระเบียบของพระราชการ 5,421 รายการ และผลของการทบทวนดังกล่าวทำให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบให้อำนวยความ สะดวกขึ้น ร้อยละ 77 ของทุกรายการรวม และมีการยกเลิกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค ต่อภาคธุรกิจและประชาชนอีกร้อยละ 8.8 อีกทั้งยังมีนโยบายการ กระจายอำนาจไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุน และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศที่รวมถึบชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศ
ที่ผ่านมา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน เป็นชาติที่มีลงทุนในเวียดนามสูง ดังนั้นเราจะเห็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือของเกาหลีที่ผลิตในเวียดนาม ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ป้อนกลับให้ตลาดเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน จีนเองก็มีความสนใจที่จะลงทุนในเวียดนาม มากยิ่งขึ้น หลังจากที่มีปัญหาสงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกา โดยหวังว่าจะย้ายฐานการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อให้เวียดนามเป็นฐานการผลิตและส่งออก ทำให้เวียดนามเป็นข้อต่อที่สำคัญของห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาค
ที่น่าแปลกใจคือ แม้ว่าจะมีสถานการณ์ ของโรคระบาดโควิด รัฐบาลเวียดนามได้มีการจัดการอย่างรวดเร็วเริ่มตั้งแต่ปิดพรมแดนกันระหว่างจีน และปิดประเทศ ทำให้อัตราการติดเชื้อของโรคระบาดน้อยมากและไม่มีผู้เสียชีวิต ในขณะที่นานาประเทศทั่วโลกประสบปัญหากับเศรษฐกิจที่ตกตํ่าลงจนทำให้อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ในแดนติดลบ แต่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในปีนี้ ยังสามารถเติบโตอยู่ได้ประมาณร้อยละ 2-3 เพราะนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเข้มข้นของภาครัฐ ทั้งกระตุ้นการใช้จ่ายและการลดดอกเบี้ย คาดว่าเติบโตจะกลับไปอยู่ที่ร้อยละ 7 ในปีหน้า ซึ่งเป็นอัตราเจริญเติบโตแบบปกติในรอบหลายปีที่ผ่านมา
เวียดนามยังมีความกระตือ รือร้นในการเปิดเขตการค้าเสรีในทุกกรอบไม่ว่าจะเป็น RCEP หรือ CPTPP แต่ในเดือนมิถุนายนนี้ เวียดนามได้ให้สัตยาบันในการที่จะดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับลดภาษีศุลกากรในเดือนกรกฎาคม สหภาพยุโรปจะมีการลดภาษีศุลกากรเหลือศูนย์ ของร้อยละ 85.6 ของจำนวนประเภทสินค้านำเข้าจากเวียดนามในทันที และอีก 7 ปี จะมีรายการสินค้าที่อัตราภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ครอบคลุมถึงร้อยละ 99.2 ในขณะที่เวียดนามจะขจัดภาษีศุลกากรร้อยละ 48.5 ของจำนวนประเภทสินค้าทั้งหมดในทันที และร้อยละ 91.8 และ 98.3 ของจำนวนสินค้าทั้งหมดในอีก 7 และ 10 ปีหน้า
ทั้งนี้เวียดนามจะได้รับประโยชน์จากการส่งออก รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม สินค้าเกษตร อาหารทะเล ในขณะเดียวกันสหภาพยุโรปจะได้รับประโยชน์จากอุปกรณ์การ ขนส่ง ผลิตภัณฑ์เคมี ยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น ถ้าพิจารณาเป็นรายประเทศของสหภาพยุโรป สินค้าที่มีศักยภาพจากประเทศต่างๆ คือ ผ้าพื้นจากอิตาลี นมผงจากโปแลนด์ ยารักษาโรคจากฝรั่งเศส สินค้าเกษตรจากเนเธอร์แลนด์ ช็อกโกแลตจากเบลเยียม เป็นต้น ขณะเดียวกันบางสินค้ายังถูกจัดสรรด้วยระบบของโคตรต้า เช่น ข้าว ปลาทูน่า นํ้าตาล มันสำปะหลัง กระเทียม และเห็ด
ในขณะที่นักวิจารณบางคนได้ยกประเด็นว่าสหภาพยุโรปอาจจะใช้มาตรการมิไม่ใช่ภาษีต่อสินค้าเกษตรของเวียดนาม เพื่อรักษามาตรฐาน ด้านความสะอาดแก่ผู้บริโภค ทำให้เจาะตลาดสหภาพยุโรปยาก
ผู้ประกอบการและรัฐบาลเวียดนามกลับให้ข้อคิดในทางตรงกันข้ามว่าเป็นโอกาส ในการยกระดับสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปของเวียดนามให้สูงขึ้น หากสามารถเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรปได้ ก็สามารถเข้าสู่ตลาดอื่นๆ ได้ในโลก
เป็นแนวคิดมุมมองความท้าทายที่ผู้ประกอบการเวียดนามไม่เกรงกลัว และมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างโอกาสการแข่งขันในอนาคต
ที่มา:
https://www.thansettakij.com/content/columnist/439487
คอลัมน์เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,586 หน้า 5 วันที่ 25 - 27 มิถุนายน 2563
(ข่าว) "จับตามองเวียดนาม" จาก คอลัมน์ เศรษฐเสวนา จุฬาฯ ทัศนะ โดย รศ.ดร.ชโยดม สรรพศรี
เวียดนามเป็นประเทศที่น่าศึกษา รัฐบาลที่มีความมั่นคงสูง มีเสาหลักที่เป็นวีรบุรุษของชาติ คือ ลุงโฮ ที่ทุกคนให้ความเคารพ มีความสามารถทางการทหารทำให้รอดเงื้อมือชาติมหาอำนาจตั้งแต่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และจีน มีแนวนโยบายฝ่าฟันความยากจนทางเศรษฐกิจ จนปัจจุบันกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ผมเคยไปยืนเวียดนามอยู่หลายครั้งทั้งเหนือและใต้ ที่พบคือ ประชาชนส่วนใหญ่มีอายุน้อย (จากข้อมูลทางสถิติพบว่าประชากรมีอายุน้อยกว่า 35 ปี เป็นส่วนใหญ่) ขยันหมั่นเพียร ใฝ่ที่จะเรียนรู้ระบบการศึกษาเน้นในเรื่องของ STEM มีการแข่งขันสูง เพื่อที่ จะยกระดับฐานะของตัวเอง
ในปี 2529 รัฐบาลเวียดนามได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจที่คล้ายกับจีนปี 2521 คือใช้กลไกตลาดผสมสังคมนิยม เพื่อบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ นโยบายดังกล่าวเรียกว่า ดอยมอย (Doi Moi) ซึ่งหากแปลตรงตัวหมายถึง การนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง นโยบายนี้สนับสนุนให้เกิดธุรกิจของภาคเอกชนเป็นหัวหอกในการพัฒนาเศรษฐกิจ การยกเลิกการควบคุมราคาสินค้า การสนับสนุนให้เกษตรกรมีที่ทำกินเป็นของตัวเอง การผ่อนปรนกฎระเบียบเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ การยกเลิกการผูกขาดของภาครัฐ
และไม่นานมานี้ เวียดนามได้มีการยกเลิกอุปสรรคที่เกิดจากกฎระเบียบของภาคราชการ ผ่าน เครื่องมือที่เรียกว่า Regulatory Guillotine โดยมีการทบทวนกฎระเบียบของพระราชการ 5,421 รายการ และผลของการทบทวนดังกล่าวทำให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบให้อำนวยความ สะดวกขึ้น ร้อยละ 77 ของทุกรายการรวม และมีการยกเลิกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค ต่อภาคธุรกิจและประชาชนอีกร้อยละ 8.8 อีกทั้งยังมีนโยบายการ กระจายอำนาจไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุน และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศที่รวมถึบชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศ
ที่ผ่านมา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน เป็นชาติที่มีลงทุนในเวียดนามสูง ดังนั้นเราจะเห็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือของเกาหลีที่ผลิตในเวียดนาม ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ป้อนกลับให้ตลาดเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน จีนเองก็มีความสนใจที่จะลงทุนในเวียดนาม มากยิ่งขึ้น หลังจากที่มีปัญหาสงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกา โดยหวังว่าจะย้ายฐานการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อให้เวียดนามเป็นฐานการผลิตและส่งออก ทำให้เวียดนามเป็นข้อต่อที่สำคัญของห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาค
ที่น่าแปลกใจคือ แม้ว่าจะมีสถานการณ์ ของโรคระบาดโควิด รัฐบาลเวียดนามได้มีการจัดการอย่างรวดเร็วเริ่มตั้งแต่ปิดพรมแดนกันระหว่างจีน และปิดประเทศ ทำให้อัตราการติดเชื้อของโรคระบาดน้อยมากและไม่มีผู้เสียชีวิต ในขณะที่นานาประเทศทั่วโลกประสบปัญหากับเศรษฐกิจที่ตกตํ่าลงจนทำให้อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ในแดนติดลบ แต่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในปีนี้ ยังสามารถเติบโตอยู่ได้ประมาณร้อยละ 2-3 เพราะนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเข้มข้นของภาครัฐ ทั้งกระตุ้นการใช้จ่ายและการลดดอกเบี้ย คาดว่าเติบโตจะกลับไปอยู่ที่ร้อยละ 7 ในปีหน้า ซึ่งเป็นอัตราเจริญเติบโตแบบปกติในรอบหลายปีที่ผ่านมา
เวียดนามยังมีความกระตือ รือร้นในการเปิดเขตการค้าเสรีในทุกกรอบไม่ว่าจะเป็น RCEP หรือ CPTPP แต่ในเดือนมิถุนายนนี้ เวียดนามได้ให้สัตยาบันในการที่จะดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับลดภาษีศุลกากรในเดือนกรกฎาคม สหภาพยุโรปจะมีการลดภาษีศุลกากรเหลือศูนย์ ของร้อยละ 85.6 ของจำนวนประเภทสินค้านำเข้าจากเวียดนามในทันที และอีก 7 ปี จะมีรายการสินค้าที่อัตราภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ครอบคลุมถึงร้อยละ 99.2 ในขณะที่เวียดนามจะขจัดภาษีศุลกากรร้อยละ 48.5 ของจำนวนประเภทสินค้าทั้งหมดในทันที และร้อยละ 91.8 และ 98.3 ของจำนวนสินค้าทั้งหมดในอีก 7 และ 10 ปีหน้า
ทั้งนี้เวียดนามจะได้รับประโยชน์จากการส่งออก รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม สินค้าเกษตร อาหารทะเล ในขณะเดียวกันสหภาพยุโรปจะได้รับประโยชน์จากอุปกรณ์การ ขนส่ง ผลิตภัณฑ์เคมี ยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น ถ้าพิจารณาเป็นรายประเทศของสหภาพยุโรป สินค้าที่มีศักยภาพจากประเทศต่างๆ คือ ผ้าพื้นจากอิตาลี นมผงจากโปแลนด์ ยารักษาโรคจากฝรั่งเศส สินค้าเกษตรจากเนเธอร์แลนด์ ช็อกโกแลตจากเบลเยียม เป็นต้น ขณะเดียวกันบางสินค้ายังถูกจัดสรรด้วยระบบของโคตรต้า เช่น ข้าว ปลาทูน่า นํ้าตาล มันสำปะหลัง กระเทียม และเห็ด
ในขณะที่นักวิจารณบางคนได้ยกประเด็นว่าสหภาพยุโรปอาจจะใช้มาตรการมิไม่ใช่ภาษีต่อสินค้าเกษตรของเวียดนาม เพื่อรักษามาตรฐาน ด้านความสะอาดแก่ผู้บริโภค ทำให้เจาะตลาดสหภาพยุโรปยาก
ผู้ประกอบการและรัฐบาลเวียดนามกลับให้ข้อคิดในทางตรงกันข้ามว่าเป็นโอกาส ในการยกระดับสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปของเวียดนามให้สูงขึ้น หากสามารถเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรปได้ ก็สามารถเข้าสู่ตลาดอื่นๆ ได้ในโลก
เป็นแนวคิดมุมมองความท้าทายที่ผู้ประกอบการเวียดนามไม่เกรงกลัว และมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างโอกาสการแข่งขันในอนาคต
ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/columnist/439487
คอลัมน์เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,586 หน้า 5 วันที่ 25 - 27 มิถุนายน 2563