วิกฤตไทย 2563 ! ข้อสังเกต 10 ประการ โดย สุรชาติ บำรุงสุข
https://www.matichon.co.th/columnists/news_2134208
ผู้เขียน สุรชาติ บำรุงสุข
ประเทศไทยไม่แตกต่างจากหลายประเทศทั่วโลกที่วันนี้ตกอยู่ภายใต้วิกฤตการณ์ชุดใหญ่ อันเป็นผลจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมโลกครั้งใหญ่เช่นไร สังคมไทยก็กำลังถูกความเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้นไม่แตกต่างกันด้วย หรือดังที่นักสังเกตการณ์ทั้งหลายมีความเห็นในระดับโลกร่วมกันก็คือ โลกหลังยุคก่อนโควิดจะไม่หวนกลับมาหาเราอีก เช่นที่โลกยุคหลังโควิดก็จะแตกต่างออกไปจากยุคก่อนอย่างมาก และจะเป็นความเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ครั้งใหญ่อย่างคาดไม่ถึงด้วย
ดังนั้นหากทดลองคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงของไทยในอนาคตแล้ว เราอาจจะเห็นประเด็นต่างๆ ที่จะมีความสำคัญต่อทิศทางการพลิกฟื้นประเทศหลังจากการสิ้นสุดของโรคระบาดชุดนี้ ได้แก่
1) วิกฤตซ้อนวิกฤต: การเมืองไทยจะยังคงตกอยู่ในภาวะวิกฤต ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนการระบาดนั้น ไม่ได้หายไปไหน เป็นแต่เพียงจะถูกทับซ้อนจากสถานการณ์ใหม่ อันเป็นผลจากความอ่อนแอของรัฐบาลในการบริหารจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น อันอาจจะส่งผลให้วิกฤตที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว กลายเป็นวิกฤตที่มีความรุนแรงมากขึ้น และจะส่งผลต่อสถานะทางการเมืองของรัฐบาล โดยเฉพาะต่อตัวผู้นำรัฐบาลโดยตรง และจะเป็นวิกฤตที่มีนัยต่อความอยู่รอดของรัฐบาลอีกด้วย หรืออาจคาดได้ว่า การเมืองหลังจากการระบาดสิ้นสุดลงจะมีความเข้มข้นมากขึ้นอย่างแน่นอน และจะมีผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองด้วย
2) เศรษฐกิจพังทลาย: วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2563 จะมีความรุนแรงและหนักหน่วงมากกว่าวิกฤตในปี 2540 อย่างแน่นอน และความคาดหวังว่าวิกฤตเศรษฐกิจ 2563 จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเช่นในปี 2540 อาจจะเป็นการคาดคะเนที่ง่ายเกินไป การพังทลายของเศรษฐกิจไทยกำลังเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วน จนวันนี้กล่าวได้ชัดเจนว่า ไม่มีภาคส่วนใดที่ไม่ได้รับผลกระทบ และผลที่เกิดขึ้นกำลังพาเศรษฐกิจไทยสู่ “การ ถดถอย” ครั้งใหญ่ (economic recession) และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะอยู่ในภาวะ “ติดลบ” อย่างแน่นอน โดยมีการปิดตัวลงของภาคการผลิตและภาคบริการเป็นพยานสำคัญ ตัวอย่างเช่น ภาคการส่งออกและภาคท่องเที่ยวที่เคยเป็น “หัวรถจักรเศรษฐกิจ” ล้วนอยู่ในภาวะที่ขับเคลื่อนไม่ออกทั้งสิ้น และขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกก็จะอยู่ในภาวะถดถอย อันมีผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีความลำบากโดยตรง ฉะนั้นผู้นำในอนาคตจะต้องตระหนักเสมอว่า การสร้างความเชื่อมั่นเพื่อนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างมากในอนาคต
3) ว่างงานและยากจน: การปิดตัวของภาคการผลิตและภาคบริการก่อให้เกิดการตกงานครั้งใหญ่ในสังคมไทย และจะมีจำนวนผู้ตกงานเป็นจำนวนราว 7 ล้านคน (จะเป็นการตกงานครั้งใหญ่ที่เกิดอย่างรวดเร็วในแบบที่สังคมไทยไม่เคยเห็นมาก่อน) ผลที่ตามมาอย่างชัดเจนคือ การขยายปริมาณจำนวนคนจนในประเทศ และคนในส่วนนี้ยังจำเป็นต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากภาครัฐ ดังนั้นการจัดการปัญหาความยากจน และการเรียกร้องในประเด็นเรื่อง “สวัสดิการแห่งรัฐ” จะเป็นเรื่องสำคัญในอนาคต ผู้นำทางการเมืองจะต้องตระหนักในเรื่องเหล่านี้ และแปรออกมาเป็นนโยบายที่เป็นรูปธรรมในการพลิกฟื้นชีวิตของผู้คนในสังคมไทยให้ได้
4) เชื้อโรคไม่เคยหมด: การระบาดของเชื้อโควิด-19 ไม่ใช่ครั้งแรกที่สังคมโลกและสังคมไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากโรคระบาด หากแต่การระบาดครั้งนี้เกิดในขอบเขตระดับโลก และการรับมือกับการระบาดครั้งนี้จะเป็นบทเรียนสำคัญทั้งกับภาครัฐและภาคสังคม ดังนั้นการจัดทำ “แผนบริหารจัดการวิกฤต” (crisis management plan) ให้มีประสิทธิภาพสำหรับการรับมือในอนาคตจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งอาจจะมีนัยถึงการรับมือกับการระบาดครั้งใหม่ หรือเป็นแผนเผชิญเหตุที่ใช้กับเรื่องอื่นๆก็ตาม
5) เสริมสร้างสุขภาพไทย: การเผชิญกับโควิด-19 เป็นคำตอบที่ชัดเจนในมิติด้านความมั่นคงว่า โรคระบาดเป็นภัยคุกคามที่สำคัญ หรือโดยนัยของเรื่องนี้คือ ปัญหาความมั่นคงด้านสาธารณสุข (health security) เป็นประเด็นสำคัญที่รัฐควรให้ความสำคัญ มิใช่จะเน้นอยู่กับความมั่นคงในเรื่องของการซื้ออาวุธเพื่อเสริมสร้างอำนาจทางทหารเท่านั้น และขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาณถึงผู้นำไทยให้ต้องคิดกว้างไกลมากกว่าการยึดติดอยู่กับความมั่นคงทางทหาร ที่สงครามใหญ่ไม่ใช่ภัยคุกคามหลักโดยตรงของประเทศ
6) มหันตภัยฝุ่นพิษ: ในขณะที่รัฐบาลและสังคมโดยรวมเน้นอยู่กับการต่อสู้กับโรคระบาดนั้น คงต้องตระหนักถึงปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่เป็นวิกฤตอีกชุดที่สังคมไทยต้องเผชิญ และกำลังทวีความรุนแรงในภาคเหนือของประเทศ จนถึงกับมีเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าต้องเสียชีวิตในการปฎิบัติหน้าที่แล้ว ฉะนั้นการออกแบบ “แผนบริหารจัดการวิกฤต” จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในระยะเวลาหนึ่งๆ นั้น ผู้นำรัฐบาลต้องตระหนักว่า ประเทศอาจจะต้องเผชิญกับวิกฤตมากกว่าหนึ่งเรื่อง
7) ร้อนจัดและแล้งหนัก: วิกฤตอีกชุดที่กำลังเกิดในชนบทไม่ว่าจะเป็นในภาคกลาง ภาคเหนือ หรือภาคอีสาน ก็คือ ปัญหาภัยแล้งที่ขยายตัวในเชิงพื้นที่เป็นวงกว้างมากขึ้น และเป็นปัญหาที่ส่งผบกระทบต่อชีวิตของเกษตรกรในชนบทอย่างมาก จนวิกฤตภัยแล้วกำลังเป็นภาพคู่ขนานอีกส่วน และเป็นปัญหาสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า ภาคเกษตรอาจจะไม่ใช่ “พื้นที่กันชน” ที่จะคอยแบกรับปัญหาการตกงานของคนในเมืองได้เช่นวิกฤตในปี 2540 แต่อย่างใด และจะต้องตระหนักว่า วิกฤตในชนบทครั้งนี้จะเป็นตัวถ่วงสำคัญกับการเติบโตของภาคเกษตรไทยในอนาคต และจะมีผลอย่างมากกับชีวิตของผู้คนในชนบทอีกด้วย ฉะนั้นการฟื้นตัวของสังคมไทยจะต้องคิดทั้งในมิติของภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการควบคู่กันไป
8) ความยากลำบากในการเป็นรัฐบาล: ผลจากวิกฤตที่เกิดขึ้นส่งผลในทางลบกับสถานะของประเทศในด้านต่างๆ อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศ การว่างงาน ความยากจน สมทบด้วยปัญหาภัยแล้ง และฝุ่นพิษ สภาวะเช่นนี้จะทำให้รัฐบาลในอนาคตต้องแบกภาระที่เกิดจากวิกฤตทางสังคมและเศรษฐกิจชุดใหญ่ ซึ่วเท่ากับเป็นคำตอบในตัวเองว่า ใครมาเป็นรัฐบาลในอนาคตจะประสบความยุ่งยากมากขึ้นในการบริหารจัดการภาครัฐจากปัญหาต่างๆ ดังที่กล่าวแล้ว หรืออาจจะต้องกล่าวว่า การเป็นรัฐบาลในยุคหลังโควิดเป็น “ทุกขลาภ” มากกว่าจะเป็น “ลาภอันประเสริฐ” (แม้จะมีกลุ่มคนบางส่วนยังคงต้องการเป็นรัฐบาลเสมอ ด้วยเหตุแห่งผลประโยชน์ส่วนตน)
9) ได้เวลาทบทวนตัวเองแล้ว: หากวิกฤตโควิดจะมีผลในทางบวกบ้างแล้ว ก็หวังว่าวิกฤตนี้จะนำไปสู่การทบทวนตัวเองในเชิงนโยบายหรือการบริหารในระดับมหภาคอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในทางการเมืองและเศรษฐกิจ เช่น รัฐบาลไทยอาจจะต้องลดการลงทุนทางทหารอย่างที่ผู้นำทหารต้องการ ไทยอาจจะต้องลดการพึ่งพาแหล่งรายได้ของภาคบริการจากแหล่งเดียว หรือรัฐบาลควรปรับโครงการขนาดใหญ่ที่ไม่มีผลตอบแทนแก่สังคมอย่างชัดเจน เช่นโครงการอีอีซี ในภาคตะวันออกไทย รวมถึงเห็นได้ชัดว่าในโลกยุคปัจจุบัน สังคมไทยต้องการผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการมองปัญหา และมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา และยังพิสูจน์ชัดอีกด้วยว่า ผู้นำทางการเมืองส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะผู้นำทหารไทย “ล้าหลัง” เกินไปในโลกสมัยใหม่ ซึ่งมีนัยว่า หลังยุคโควิดแล้ว การทบทวนประเทศในทางการเมืองเป็นประเด็นสำคัญอีกประการ
10) ไทยอ่อนแอ: ไทยในยุคหลังโควิดจะเป็นประเทศที่อ่อนแอ กำลังอาวุธที่ผู้นำทหารซื้อด้วยมูลค่างบประมาณของประเทศเป็นจำนวนมหาศาล เช่น เรือดำน้ำ หรือรถถัง อาจจะไม่มีค่ามากในเชิงพลังอำนาจแห่งชาติ เพราะภาพรวมของดัชนีพลังอำนาจของประเทศอยู่ในภาวะที่อ่อนแอทั้งหมด โดยเฉพาะความอ่อนแอของประเทศที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย และความยากจนของคนในประเทศ ที่ทำให้ “ปัญหาความมั่นคงของมนุษย์” จะเป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญของนโยบายรัฐในอนาคต ดังนั้นผู้นำไทยในยุคหลังโควิดจะต้องตระหนักว่า ความอ่อนแอในเชิงพลังอำนาจแห่งชาติจะอยู่กับประเทศไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าเราจะสามารถพลิกฟื้นสถานะของประเทศได้อย่างแท้จริง และพลังอำนาจทางทหารของไทยที่มีเพียงการซื้ออาวุธเป็นเรื่องหลักนั้น อาจจะเป็นดัง “เสือกระดาษ” ที่ไม่มีคุณค่าอะไรมากนัก เมื่อสถานะของปัจจัยอื่นถดถอยทั้งหมด อีกทั้งสถานะของไทยในระบบระหว่างประเทศก็จะอ่อนแอลงเช่นกันด้วย
อนาคตที่ไม่สดใส!
การนำเสนอประเด็นทั้ง 10 เรื่องในข้างต้น ก็เพื่อสร้างความตระหนักร่วมกันว่า วิกฤตโควิดไม่ได้จบลงด้วยการสิ้นสุดการระบาดของเชื้อโรค หากแต่หลังจากผ่านวิกฤตโรคระบาดแล้ว ไทยยังจะยังคงมีปัญหาและวิกฤตที่เป็นผลสืบเนื่องตามมาในประเด็นอื่นๆ ด้วย และเป็นประเด็นที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญในเชิงนโยบาย และมาตรการต่างๆ
อย่างไรก็ตาม บทความนี้ไม่ได้ต้องการที่จะมองแต่ด้านลบของอนาคต หากเราคงจะต้องยอมรับความจริงว่า อนาคตของไทยหลังยุคโควิดไม่สดใส … เรายังจะต้องฝ่าฟันความยากลำบากนี้ต่อไป และยังต้องต่อสู้เพื่ออนาคตที่ดีกว่าร่วมกันต่อไป!
พีเอ็ม 2.5 ภาคเหนือ ยังเกินมาตรฐาน 10 สถานี ใน 5 จังหวัด
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2134185
คพ.เผยค่าฝุ่นPM2.5 เกินมาตรฐาน 10 สถานี ในพื้นที่ 5 จังหวัด
คพ.เผยค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ลดปริมาณลง แต่ยังคงพบ 9 สถานีเริ่มส่งผลกระทบต่อร่างกาย (พื้นที่สีส้ม) และอีก 1 สถานี ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ(พื้นที่สีแดง) คือ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
สถานการณ์ฝุ่นหมอกควันภาคเหนือ เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 11 เมษายน กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือตรวจวัดค่าฝุ่นรวม 25 สถานี พบค่าฝุ่นระหว่าง 27 – 141 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร(มคก./ลบ.ม.) ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 50 มคก./ลบ.ม. คุณภาพอากาศดีถึงมีผลกระทบกับสุขภาพ ซึ่งพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีแดง) มี 1 สถานี คือ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 141 มคก./ลบ.ม.
ส่วนพื้นที่ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีส้ม) มี สถานี 9 คือต.เวียง อ.เมือง, ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย, ต.ช้างเผือก อ.เมือง, ต.ศรีภูมิ อ.เมือง, ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม, ประตูท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่, ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน, ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน และต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก
ขณะที่ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตรวจพบค่าระหว่าง 49 – 110 มคก./ลบ.ม. ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 120 มคก./ลบ.ม.ไม่พบสถานีใดเกินค่ามาตรฐาน
JJNY : วิกฤตไทย 2563!/พีเอ็ม2.5ภาคเหนือ ยังเกินมาตรฐาน/เทพไทจี้รัฐช่วยคนชนบท/ติดเชื้อโควิดเพิ่ม 45 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2
https://www.matichon.co.th/columnists/news_2134208
ผู้เขียน สุรชาติ บำรุงสุข
ประเทศไทยไม่แตกต่างจากหลายประเทศทั่วโลกที่วันนี้ตกอยู่ภายใต้วิกฤตการณ์ชุดใหญ่ อันเป็นผลจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมโลกครั้งใหญ่เช่นไร สังคมไทยก็กำลังถูกความเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้นไม่แตกต่างกันด้วย หรือดังที่นักสังเกตการณ์ทั้งหลายมีความเห็นในระดับโลกร่วมกันก็คือ โลกหลังยุคก่อนโควิดจะไม่หวนกลับมาหาเราอีก เช่นที่โลกยุคหลังโควิดก็จะแตกต่างออกไปจากยุคก่อนอย่างมาก และจะเป็นความเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ครั้งใหญ่อย่างคาดไม่ถึงด้วย
ดังนั้นหากทดลองคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงของไทยในอนาคตแล้ว เราอาจจะเห็นประเด็นต่างๆ ที่จะมีความสำคัญต่อทิศทางการพลิกฟื้นประเทศหลังจากการสิ้นสุดของโรคระบาดชุดนี้ ได้แก่
1) วิกฤตซ้อนวิกฤต: การเมืองไทยจะยังคงตกอยู่ในภาวะวิกฤต ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนการระบาดนั้น ไม่ได้หายไปไหน เป็นแต่เพียงจะถูกทับซ้อนจากสถานการณ์ใหม่ อันเป็นผลจากความอ่อนแอของรัฐบาลในการบริหารจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น อันอาจจะส่งผลให้วิกฤตที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว กลายเป็นวิกฤตที่มีความรุนแรงมากขึ้น และจะส่งผลต่อสถานะทางการเมืองของรัฐบาล โดยเฉพาะต่อตัวผู้นำรัฐบาลโดยตรง และจะเป็นวิกฤตที่มีนัยต่อความอยู่รอดของรัฐบาลอีกด้วย หรืออาจคาดได้ว่า การเมืองหลังจากการระบาดสิ้นสุดลงจะมีความเข้มข้นมากขึ้นอย่างแน่นอน และจะมีผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองด้วย
2) เศรษฐกิจพังทลาย: วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2563 จะมีความรุนแรงและหนักหน่วงมากกว่าวิกฤตในปี 2540 อย่างแน่นอน และความคาดหวังว่าวิกฤตเศรษฐกิจ 2563 จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเช่นในปี 2540 อาจจะเป็นการคาดคะเนที่ง่ายเกินไป การพังทลายของเศรษฐกิจไทยกำลังเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วน จนวันนี้กล่าวได้ชัดเจนว่า ไม่มีภาคส่วนใดที่ไม่ได้รับผลกระทบ และผลที่เกิดขึ้นกำลังพาเศรษฐกิจไทยสู่ “การ ถดถอย” ครั้งใหญ่ (economic recession) และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะอยู่ในภาวะ “ติดลบ” อย่างแน่นอน โดยมีการปิดตัวลงของภาคการผลิตและภาคบริการเป็นพยานสำคัญ ตัวอย่างเช่น ภาคการส่งออกและภาคท่องเที่ยวที่เคยเป็น “หัวรถจักรเศรษฐกิจ” ล้วนอยู่ในภาวะที่ขับเคลื่อนไม่ออกทั้งสิ้น และขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกก็จะอยู่ในภาวะถดถอย อันมีผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีความลำบากโดยตรง ฉะนั้นผู้นำในอนาคตจะต้องตระหนักเสมอว่า การสร้างความเชื่อมั่นเพื่อนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างมากในอนาคต
3) ว่างงานและยากจน: การปิดตัวของภาคการผลิตและภาคบริการก่อให้เกิดการตกงานครั้งใหญ่ในสังคมไทย และจะมีจำนวนผู้ตกงานเป็นจำนวนราว 7 ล้านคน (จะเป็นการตกงานครั้งใหญ่ที่เกิดอย่างรวดเร็วในแบบที่สังคมไทยไม่เคยเห็นมาก่อน) ผลที่ตามมาอย่างชัดเจนคือ การขยายปริมาณจำนวนคนจนในประเทศ และคนในส่วนนี้ยังจำเป็นต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากภาครัฐ ดังนั้นการจัดการปัญหาความยากจน และการเรียกร้องในประเด็นเรื่อง “สวัสดิการแห่งรัฐ” จะเป็นเรื่องสำคัญในอนาคต ผู้นำทางการเมืองจะต้องตระหนักในเรื่องเหล่านี้ และแปรออกมาเป็นนโยบายที่เป็นรูปธรรมในการพลิกฟื้นชีวิตของผู้คนในสังคมไทยให้ได้
4) เชื้อโรคไม่เคยหมด: การระบาดของเชื้อโควิด-19 ไม่ใช่ครั้งแรกที่สังคมโลกและสังคมไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากโรคระบาด หากแต่การระบาดครั้งนี้เกิดในขอบเขตระดับโลก และการรับมือกับการระบาดครั้งนี้จะเป็นบทเรียนสำคัญทั้งกับภาครัฐและภาคสังคม ดังนั้นการจัดทำ “แผนบริหารจัดการวิกฤต” (crisis management plan) ให้มีประสิทธิภาพสำหรับการรับมือในอนาคตจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งอาจจะมีนัยถึงการรับมือกับการระบาดครั้งใหม่ หรือเป็นแผนเผชิญเหตุที่ใช้กับเรื่องอื่นๆก็ตาม
5) เสริมสร้างสุขภาพไทย: การเผชิญกับโควิด-19 เป็นคำตอบที่ชัดเจนในมิติด้านความมั่นคงว่า โรคระบาดเป็นภัยคุกคามที่สำคัญ หรือโดยนัยของเรื่องนี้คือ ปัญหาความมั่นคงด้านสาธารณสุข (health security) เป็นประเด็นสำคัญที่รัฐควรให้ความสำคัญ มิใช่จะเน้นอยู่กับความมั่นคงในเรื่องของการซื้ออาวุธเพื่อเสริมสร้างอำนาจทางทหารเท่านั้น และขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาณถึงผู้นำไทยให้ต้องคิดกว้างไกลมากกว่าการยึดติดอยู่กับความมั่นคงทางทหาร ที่สงครามใหญ่ไม่ใช่ภัยคุกคามหลักโดยตรงของประเทศ
6) มหันตภัยฝุ่นพิษ: ในขณะที่รัฐบาลและสังคมโดยรวมเน้นอยู่กับการต่อสู้กับโรคระบาดนั้น คงต้องตระหนักถึงปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่เป็นวิกฤตอีกชุดที่สังคมไทยต้องเผชิญ และกำลังทวีความรุนแรงในภาคเหนือของประเทศ จนถึงกับมีเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าต้องเสียชีวิตในการปฎิบัติหน้าที่แล้ว ฉะนั้นการออกแบบ “แผนบริหารจัดการวิกฤต” จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในระยะเวลาหนึ่งๆ นั้น ผู้นำรัฐบาลต้องตระหนักว่า ประเทศอาจจะต้องเผชิญกับวิกฤตมากกว่าหนึ่งเรื่อง
7) ร้อนจัดและแล้งหนัก: วิกฤตอีกชุดที่กำลังเกิดในชนบทไม่ว่าจะเป็นในภาคกลาง ภาคเหนือ หรือภาคอีสาน ก็คือ ปัญหาภัยแล้งที่ขยายตัวในเชิงพื้นที่เป็นวงกว้างมากขึ้น และเป็นปัญหาที่ส่งผบกระทบต่อชีวิตของเกษตรกรในชนบทอย่างมาก จนวิกฤตภัยแล้วกำลังเป็นภาพคู่ขนานอีกส่วน และเป็นปัญหาสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า ภาคเกษตรอาจจะไม่ใช่ “พื้นที่กันชน” ที่จะคอยแบกรับปัญหาการตกงานของคนในเมืองได้เช่นวิกฤตในปี 2540 แต่อย่างใด และจะต้องตระหนักว่า วิกฤตในชนบทครั้งนี้จะเป็นตัวถ่วงสำคัญกับการเติบโตของภาคเกษตรไทยในอนาคต และจะมีผลอย่างมากกับชีวิตของผู้คนในชนบทอีกด้วย ฉะนั้นการฟื้นตัวของสังคมไทยจะต้องคิดทั้งในมิติของภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการควบคู่กันไป
8) ความยากลำบากในการเป็นรัฐบาล: ผลจากวิกฤตที่เกิดขึ้นส่งผลในทางลบกับสถานะของประเทศในด้านต่างๆ อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศ การว่างงาน ความยากจน สมทบด้วยปัญหาภัยแล้ง และฝุ่นพิษ สภาวะเช่นนี้จะทำให้รัฐบาลในอนาคตต้องแบกภาระที่เกิดจากวิกฤตทางสังคมและเศรษฐกิจชุดใหญ่ ซึ่วเท่ากับเป็นคำตอบในตัวเองว่า ใครมาเป็นรัฐบาลในอนาคตจะประสบความยุ่งยากมากขึ้นในการบริหารจัดการภาครัฐจากปัญหาต่างๆ ดังที่กล่าวแล้ว หรืออาจจะต้องกล่าวว่า การเป็นรัฐบาลในยุคหลังโควิดเป็น “ทุกขลาภ” มากกว่าจะเป็น “ลาภอันประเสริฐ” (แม้จะมีกลุ่มคนบางส่วนยังคงต้องการเป็นรัฐบาลเสมอ ด้วยเหตุแห่งผลประโยชน์ส่วนตน)
9) ได้เวลาทบทวนตัวเองแล้ว: หากวิกฤตโควิดจะมีผลในทางบวกบ้างแล้ว ก็หวังว่าวิกฤตนี้จะนำไปสู่การทบทวนตัวเองในเชิงนโยบายหรือการบริหารในระดับมหภาคอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในทางการเมืองและเศรษฐกิจ เช่น รัฐบาลไทยอาจจะต้องลดการลงทุนทางทหารอย่างที่ผู้นำทหารต้องการ ไทยอาจจะต้องลดการพึ่งพาแหล่งรายได้ของภาคบริการจากแหล่งเดียว หรือรัฐบาลควรปรับโครงการขนาดใหญ่ที่ไม่มีผลตอบแทนแก่สังคมอย่างชัดเจน เช่นโครงการอีอีซี ในภาคตะวันออกไทย รวมถึงเห็นได้ชัดว่าในโลกยุคปัจจุบัน สังคมไทยต้องการผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการมองปัญหา และมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา และยังพิสูจน์ชัดอีกด้วยว่า ผู้นำทางการเมืองส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะผู้นำทหารไทย “ล้าหลัง” เกินไปในโลกสมัยใหม่ ซึ่งมีนัยว่า หลังยุคโควิดแล้ว การทบทวนประเทศในทางการเมืองเป็นประเด็นสำคัญอีกประการ
10) ไทยอ่อนแอ: ไทยในยุคหลังโควิดจะเป็นประเทศที่อ่อนแอ กำลังอาวุธที่ผู้นำทหารซื้อด้วยมูลค่างบประมาณของประเทศเป็นจำนวนมหาศาล เช่น เรือดำน้ำ หรือรถถัง อาจจะไม่มีค่ามากในเชิงพลังอำนาจแห่งชาติ เพราะภาพรวมของดัชนีพลังอำนาจของประเทศอยู่ในภาวะที่อ่อนแอทั้งหมด โดยเฉพาะความอ่อนแอของประเทศที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย และความยากจนของคนในประเทศ ที่ทำให้ “ปัญหาความมั่นคงของมนุษย์” จะเป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญของนโยบายรัฐในอนาคต ดังนั้นผู้นำไทยในยุคหลังโควิดจะต้องตระหนักว่า ความอ่อนแอในเชิงพลังอำนาจแห่งชาติจะอยู่กับประเทศไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าเราจะสามารถพลิกฟื้นสถานะของประเทศได้อย่างแท้จริง และพลังอำนาจทางทหารของไทยที่มีเพียงการซื้ออาวุธเป็นเรื่องหลักนั้น อาจจะเป็นดัง “เสือกระดาษ” ที่ไม่มีคุณค่าอะไรมากนัก เมื่อสถานะของปัจจัยอื่นถดถอยทั้งหมด อีกทั้งสถานะของไทยในระบบระหว่างประเทศก็จะอ่อนแอลงเช่นกันด้วย
อนาคตที่ไม่สดใส!
การนำเสนอประเด็นทั้ง 10 เรื่องในข้างต้น ก็เพื่อสร้างความตระหนักร่วมกันว่า วิกฤตโควิดไม่ได้จบลงด้วยการสิ้นสุดการระบาดของเชื้อโรค หากแต่หลังจากผ่านวิกฤตโรคระบาดแล้ว ไทยยังจะยังคงมีปัญหาและวิกฤตที่เป็นผลสืบเนื่องตามมาในประเด็นอื่นๆ ด้วย และเป็นประเด็นที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญในเชิงนโยบาย และมาตรการต่างๆ
อย่างไรก็ตาม บทความนี้ไม่ได้ต้องการที่จะมองแต่ด้านลบของอนาคต หากเราคงจะต้องยอมรับความจริงว่า อนาคตของไทยหลังยุคโควิดไม่สดใส … เรายังจะต้องฝ่าฟันความยากลำบากนี้ต่อไป และยังต้องต่อสู้เพื่ออนาคตที่ดีกว่าร่วมกันต่อไป!
พีเอ็ม 2.5 ภาคเหนือ ยังเกินมาตรฐาน 10 สถานี ใน 5 จังหวัด
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2134185
คพ.เผยค่าฝุ่นPM2.5 เกินมาตรฐาน 10 สถานี ในพื้นที่ 5 จังหวัด
คพ.เผยค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ลดปริมาณลง แต่ยังคงพบ 9 สถานีเริ่มส่งผลกระทบต่อร่างกาย (พื้นที่สีส้ม) และอีก 1 สถานี ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ(พื้นที่สีแดง) คือ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
สถานการณ์ฝุ่นหมอกควันภาคเหนือ เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 11 เมษายน กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือตรวจวัดค่าฝุ่นรวม 25 สถานี พบค่าฝุ่นระหว่าง 27 – 141 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร(มคก./ลบ.ม.) ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 50 มคก./ลบ.ม. คุณภาพอากาศดีถึงมีผลกระทบกับสุขภาพ ซึ่งพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีแดง) มี 1 สถานี คือ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 141 มคก./ลบ.ม.
ส่วนพื้นที่ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีส้ม) มี สถานี 9 คือต.เวียง อ.เมือง, ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย, ต.ช้างเผือก อ.เมือง, ต.ศรีภูมิ อ.เมือง, ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม, ประตูท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่, ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน, ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน และต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก
ขณะที่ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตรวจพบค่าระหว่าง 49 – 110 มคก./ลบ.ม. ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 120 มคก./ลบ.ม.ไม่พบสถานีใดเกินค่ามาตรฐาน