10 ปี 10 เมษา : คปอ. ร้องตั้ง กก.อิสระสอบความจริงอีกครั้ง ดำเนินคดีกับผู้ก่ออาชญากรรมทุกคดี
https://prachatai.com/journal/2020/04/87149
คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ ออกแถลงการณ์ 10 ปี 10 เมษา ตามหาความจริงและความยุติธรรม ยุติสองมาตรฐาน ตั้ง กก.อิสระสอบความจริงอีกครั้ง ดำเนินคดีกับผู้ก่ออาชญากรรมทุกคดี เรียกร้องยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ชวนสาธารณชนผลักดันร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ให้อำนาจเป็นของประชาชนโดยแท้จริง
10 เม.ย.2563 เนื่องในวาระครบรอบ 10 ปี การสลายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ คนเสื้อแดง ที่ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาล
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ขณะนั้น ยุบสภาแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยการสลายการชุมนุมดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาทเจ็บทั้งประชาชน ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่จำนวนมากนั้น
วันนี้ คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.) ออกแถลงการณ์ ในชื่อ 10 ปี 10 เมษา ตามหาความจริงและความยุติธรรม ยุติสองมาตรฐาน เรียกร้องยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ชวนสาธารณชนผลักดันร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ให้อำนาจเป็นของประชาชนโดยแท้จริง โดยมีข้อเรียกร้อง 4 ข้อประกอบด้วย
1. ขอเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาตรวจสอบและค้นหาความจริงการสลายการชุมนุมในปี 2553 อีกครั้ง โดยจะต้องมีอำนาจเรียกบุคคลเข้าให้ปากคำและเข้าถึงเอกสารลับทางราชการด้วย
2. ขอเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับผู้ก่ออาชญากรรมทุกคดีและทุกฝ่ายอย่างเที่ยงตรงและเป็นธรรม ไม่สองมาตรฐาน ต้องให้โอกาสผู้ต้องหาและจำเลยได้ประกันตัว ต้องสอบสวนเรื่องการจับแพะ การสอบสวนโดยไม่ชอบ และการซ้อมทรมาน ต้องลงโทษผู้กระทำผิด เยียวยาผู้เสียหายและผู้ที่ศาลพิพากษายกฟ้อง
3. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยลงนามยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) เพื่อให้ศาลอาญาระหว่างประเทศสามารถตัดสินเอาผิดเจ้าหน้ารัฐที่สังหารประชาชนในไทยได้หากระบบยุติธรรมไทยไม่ทำหน้าที่ เพื่อกำจัดวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดในสังคมไทยและป้องปรามไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นอีก
4. ขอสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) และการทำประชามติอย่างเสรีและเป็นธรรม และขอเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขยายสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค รับประกันความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ให้อำนาจอธิปไตยทั้งสามและหน่วยงานของรัฐรวมทั้งกองทัพและตำรวจยึดโยงกับประชาชน อยู่ใต้การบังคับบัญชาของประชาชน เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ให้อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
โดยมีรายละเอียดดังนี้
แถลงการณ์ คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.) เรื่อง 10 ปี 10 เมษา ตามหาความจริงและความยุติธรรม ยุติสองมาตรฐาน เรียกร้องยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ชวนสาธารณชนผลักดันร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ให้อำนาจเป็นของประชาชนโดยแท้จริง
การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในปี 2553 มีจุดเริ่มต้นมาจากการยุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอีก 2 พรรคในปี 2551 จนรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ต้องล้มลง ซ้ำยังมีพรรคร่วมรัฐบาลและอดีต ส.ส. พรรคพลังประชาชนส่วนหนึ่งในนาม “กลุ่มเพื่อนเนวิน” ย้ายขั้วไปสนับสนุนให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ภายใต้ข่าวลือหนาหูว่าถูก “อำนาจพิเศษ” บีบบังคับ และมีการ “ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร” ทำให้ในเดือนมีนาคม – เมษายนปี 2552 นปช. จัดชุมนุมประท้วงใหญ่ในกรุงเทพฯ และที่เมืองพัทยาเพื่อ “โค่นอำมาตย์” โดยเรียกร้องให้อภิสิทธิ์และองคมนตรีอีก 3 คนลาออก แต่การชุมนุมที่พัทยากลับถูก “กลุ่มคนเสื้อน้ำเงิน” เข้าทำร้าย จนนำไปสู่การบุกล้มการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ส่วนการชุมนุมในกรุงเทพฯ ก็ถูกรัฐบาลส่งทหารเข้าสลายด้วยกระสุนจริงจนมีผู้บาดเจ็บนับร้อยคน และมีการ์ด นปช. 2 คนถูกอุ้มไปซ้อมทรมานและมัดมือฆ่าถ่วงแม่น้ำเจ้าพระยาโดยหาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้
ในเดือนมีนาคมปี 2553 นปช. ชุมนุมอีกครั้งเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาเลือกตั้งใหม่ การชุมนุมในเดือนแรกเป็นไปอย่างสันติ แต่เมื่อการเจรจาเพื่อกำหนดกรอบเวลายุบสภาล้มเหลวก็เกิดการยกระดับการชุมนุมขึ้น เกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ชุมนุม จนรัฐบาลส่งทหารเข้าสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายนมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคนทั้งทหารและประชาชน ถือเป็นการปิดประตูตายการเจรจา และนำไปสู่การนองเลือดอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมจนมีผู้เสียชีวิตเกือบร้อยคนและผู้บาดเจ็บกว่าพันคนในที่สุด
ข้ออ้างของรัฐบาลว่าต้องใช้ทหารสลายการชุมนุมด้วยกระสุนจริงเพราะมีกองกำลังติดอาวุธที่เรียกกันว่า “ชายชุดดำ” แฝงอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นเป็นเรื่องโกหก เพราะจากรายงานของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) พบว่าผู้ชุมนุมถูกยิงด้วยกระสุนจริงจากฝั่งทหารจนเสียชีวิตตั้งแต่ช่วงบ่ายและช่วงค่ำก่อนที่ “ชายชุดดำ” จะปรากฏตัว และผู้เสียชีวิตทุกคนก็ไม่มีอาวุธปืนในมือ ข้ออ้างว่าสลายการชุมนุมเพราะเกิดการ “เผาบ้านเผาเมือง” ก็เช่นกัน เพราะการเผาอาคารสถานที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากทหารเข้าสลายการชุมนุมแล้ว เช่นเดียวกับเรื่อง “ผังล้มเจ้า” ซึ่งอดีตโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ยอมรับกลางศาลว่าเป็นแค่ “ผังความสัมพันธ์” เท่านั้น
ภายหลังการสลายการชุมนุมรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เพื่อค้นหาความจริงที่เกิดขึ้น แต่เนื่องจาก คอป. ไม่มีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ข้อมูล และไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลลับที่อ่อนไหวได้ ความจริงจำนวนมากจึงยังเป็นปริศนาต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นรายงานของ คอป. ยังเน้นนำเสนอความรุนแรงจากฝ่าย นปช. หลีกเลี่ยงความรุนแรงจากทหารและคอยแก้ต่างให้ รายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่ออกมาในภายหลังก็เป็นเช่นเดียวกัน
แม้อาจกล่าวได้ว่าทุกฝ่ายมีส่วนต้องรับผิดชอบกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น แต่กลับมีแต่ฝ่าย นปช. ที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ในหลายคดีมีการจับแพะ สอบสวนโดยไม่ชอบ บิดเบือนพยานหลักฐาน ข่มขู่ หลอกลวง ซ้อมทรมานผู้ต้องหา หลายคนไม่ได้รับการประกันตัว บางคนพ้นผิดแต่ต้องติดคุกฟรีหลายปี บางคนถูกลงโทษเพียงเพราะอยู่ในที่เกิดเหตุ หลังรัฐประหารปี 2557 ผู้ต้องหาบางคนถูกควบคุมตัวในค่ายทหาร บางคนถูกเพิ่มโทษจากเบาเป็นหนัก ในทางตรงข้าม ผู้ที่ก่อเหตุทำร้ายหรือฆ่าผู้ชุมนุมตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมากลับไม่มีใครถูกลงโทษเลย ซ้ำร้ายหลังการรัฐประหารคดีต่าง ๆ ก็หยุดชะงักลง มีความพยายามยุติการไต่สวนความตายหลังผลปรากฏว่ามีคนตายด้วยกระสุนจากฝั่งทหาร 17 คน ส่วนอดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และตำรวจอีก 3 คน ที่ทำคดีสลายการชุมนุมก็ถูกศาลพิพากษาจำคุกฐานกลั่นแกล้งอีกด้วย
การสลายการชุมนุม นปช. ในวันที่ 10 เมษายน 2553 ผ่านมาครบรอบ 10 ปีแล้ว แต่ปัญหาทางการเมืองต่าง ๆ กลับไม่เปลี่ยนไปเลย มีแต่จะเลวร้ายลง รัฐธรรมนูญ 2560 ที่ใช้อยู่ลดอำนาจประชาชน เพิ่มอำนาจรัฐราชการและกองทัพ พรรคการเมืองยังคงถูกยุบ ยังคงมีการบีบบังคับ ส.ส. ให้ย้ายขั้วโดยแลกกับเรื่องคดีความ ในโอกาสนี้คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.) ขอแสดงจุดยืนและข้อเรียกร้องของเราดังนี้
1. ขอเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาตรวจสอบและค้นหาความจริงการสลายการชุมนุมในปี 2553 อีกครั้ง โดยจะต้องมีอำนาจเรียกบุคคลเข้าให้ปากคำและเข้าถึงเอกสารลับทางราชการด้วย
2. ขอเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับผู้ก่ออาชญากรรมทุกคดีและทุกฝ่ายอย่างเที่ยงตรงและเป็นธรรม ไม่สองมาตรฐาน ต้องให้โอกาสผู้ต้องหาและจำเลยได้ประกันตัว ต้องสอบสวนเรื่องการจับแพะ การสอบสวนโดยไม่ชอบ และการซ้อมทรมาน ต้องลงโทษผู้กระทำผิด เยียวยาผู้เสียหายและผู้ที่ศาลพิพากษายกฟ้อง
3. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยลงนามยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) เพื่อให้ศาลอาญาระหว่างประเทศสามารถตัดสินเอาผิดเจ้าหน้ารัฐที่สังหารประชาชนในไทยได้หากระบบยุติธรรมไทยไม่ทำหน้าที่ เพื่อกำจัดวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดในสังคมไทยและป้องปรามไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นอีก
4. ขอสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) และการทำประชามติอย่างเสรีและเป็นธรรม และขอเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขยายสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค รับประกันความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ให้อำนาจอธิปไตยทั้งสามและหน่วยงานของรัฐรวมทั้งกองทัพและตำรวจยึดโยงกับประชาชน อยู่ใต้การบังคับบัญชาของประชาชน เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ให้อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
จึงเรียนมาเพื่อเชิญชวนให้สาธารณชนร่วมกันพิจารณาและร่วมกันผลักดันต่อไป
คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.)
10 เมษายน 2563
#10ปี10เมษา
https://www.facebook.com/PeoplesPartyTH2016/posts/2986962351393772
https://www.facebook.com/PeoplesPartyTH2016/posts/2986962351393772
“อนุดิษฐ์”จี้รัฐแจงเกณฑ์พิจารณาจ่ายเงินเยียวยาให้ชัดเจน
https://www.innnews.co.th/politics/news_643696/
น.อ.
อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงมาตรการเงินเยียวยา 5,000 บาท ในโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ขาดรายได้จากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิดของรัฐบาลว่า ตนเองและ ส.ส.พรรคเพื่อไทยได้รับการร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวเป็นจำนวนมาก จึงได้สะท้อนปัญหาต่างๆผ่านพรรคเพื่อไทยขึ้นมาเพื่อแจ้งให้รัฐบาลได้รับทราบ จากการประมวลข้อมูลจากผู้ร้องเรียนพบว่า ผู้เดือดร้อนไม่ทราบว่ารัฐบาลได้ใช้หลักเกณฑ์อย่างไรในการคัดกรอง และส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการชดเชยทั้งที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง จึงอยากให้รัฐบาลประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือให้ชัดเจนมากกว่านี้
ทั้งนี้ มาตรการของรัฐยังช่วยผู้เดือดร้อนได้ไม่ทั่วถึงและไม่ทันเวลา เช่น ร้านตัดผมหรือร้านเสริมสวยซึ่งปิดตัวลงตามคำสั่งของรัฐ ผู้ประกอบการและลูกจ้างจะมีรายได้ “
ศูนย์บาท” ในทันที หากรัฐบาลไม่รีบชดเชยรายได้ คนเหล่านี้จะดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างไร เหตุการณ์แบบนี้กำลังเกิดขึ้นทั่วประเทศ และไม่ใช่แค่อาชีพเสริมสวย แต่ยังมีอีกหลายอาชีพที่ไม่มีรายรับเลย เรื่องนี้ตนเองสนับสนุนมาตรการชดเชยรายได้ของรัฐบาลอย่างเต็มที่ แต่ขอเรียกร้องรัฐบาลต้องรีบดำเนินการให้ทันเวลาด้วย ก่อนที่ประชาชนจะเดือดร้อนมากกว่านี้
นอกจากนี้ ยังมีประชาชนจำนวนมากร้องเรียนมาว่าตนเองไม่ผ่านเกณฑ์ขอเงินชดเชยในรอบแรก ทั้งๆที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ทุกอย่าง กรณีแบบนี้ผู้เดือดร้อนจะขออุทธรณ์สิทธิ์เพื่อให้รัฐบาลพิจารณาใหม่ได้อย่างไร พร้อมขอให้รัฐบาลเปิดวงเงินกู้ส่วนบุคคล ปลอดดอกเบี้ย ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกลดรายได้ เพื่อให้กู้เงินมาดำรงชีวิตจนกว่าจะพ้นวิกฤติ ข้อเรียกร้องเหล่านี้ตนอยากให้รัฐบาลรับไปพิจารณาและกำหนดมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนด้วย
JJNY : 4in1 10ปี10เมษา:คปอ.ร้องตั้งกก.อิสระ/อนุดิษฐ์จี้แจงเกณฑ์เยียวยาให้ชัด/ส.ส.ก้าวไกลเผยปชช.ท้อ/สธ.เตือนอย่าเพิ่งดีใจ
https://prachatai.com/journal/2020/04/87149
คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ ออกแถลงการณ์ 10 ปี 10 เมษา ตามหาความจริงและความยุติธรรม ยุติสองมาตรฐาน ตั้ง กก.อิสระสอบความจริงอีกครั้ง ดำเนินคดีกับผู้ก่ออาชญากรรมทุกคดี เรียกร้องยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ชวนสาธารณชนผลักดันร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ให้อำนาจเป็นของประชาชนโดยแท้จริง
10 เม.ย.2563 เนื่องในวาระครบรอบ 10 ปี การสลายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ คนเสื้อแดง ที่ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ขณะนั้น ยุบสภาแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยการสลายการชุมนุมดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาทเจ็บทั้งประชาชน ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่จำนวนมากนั้น
วันนี้ คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.) ออกแถลงการณ์ ในชื่อ 10 ปี 10 เมษา ตามหาความจริงและความยุติธรรม ยุติสองมาตรฐาน เรียกร้องยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ชวนสาธารณชนผลักดันร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ให้อำนาจเป็นของประชาชนโดยแท้จริง โดยมีข้อเรียกร้อง 4 ข้อประกอบด้วย
1. ขอเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาตรวจสอบและค้นหาความจริงการสลายการชุมนุมในปี 2553 อีกครั้ง โดยจะต้องมีอำนาจเรียกบุคคลเข้าให้ปากคำและเข้าถึงเอกสารลับทางราชการด้วย
2. ขอเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับผู้ก่ออาชญากรรมทุกคดีและทุกฝ่ายอย่างเที่ยงตรงและเป็นธรรม ไม่สองมาตรฐาน ต้องให้โอกาสผู้ต้องหาและจำเลยได้ประกันตัว ต้องสอบสวนเรื่องการจับแพะ การสอบสวนโดยไม่ชอบ และการซ้อมทรมาน ต้องลงโทษผู้กระทำผิด เยียวยาผู้เสียหายและผู้ที่ศาลพิพากษายกฟ้อง
3. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยลงนามยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) เพื่อให้ศาลอาญาระหว่างประเทศสามารถตัดสินเอาผิดเจ้าหน้ารัฐที่สังหารประชาชนในไทยได้หากระบบยุติธรรมไทยไม่ทำหน้าที่ เพื่อกำจัดวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดในสังคมไทยและป้องปรามไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นอีก
4. ขอสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) และการทำประชามติอย่างเสรีและเป็นธรรม และขอเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขยายสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค รับประกันความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ให้อำนาจอธิปไตยทั้งสามและหน่วยงานของรัฐรวมทั้งกองทัพและตำรวจยึดโยงกับประชาชน อยู่ใต้การบังคับบัญชาของประชาชน เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ให้อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
โดยมีรายละเอียดดังนี้
การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในปี 2553 มีจุดเริ่มต้นมาจากการยุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอีก 2 พรรคในปี 2551 จนรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ต้องล้มลง ซ้ำยังมีพรรคร่วมรัฐบาลและอดีต ส.ส. พรรคพลังประชาชนส่วนหนึ่งในนาม “กลุ่มเพื่อนเนวิน” ย้ายขั้วไปสนับสนุนให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ภายใต้ข่าวลือหนาหูว่าถูก “อำนาจพิเศษ” บีบบังคับ และมีการ “ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร” ทำให้ในเดือนมีนาคม – เมษายนปี 2552 นปช. จัดชุมนุมประท้วงใหญ่ในกรุงเทพฯ และที่เมืองพัทยาเพื่อ “โค่นอำมาตย์” โดยเรียกร้องให้อภิสิทธิ์และองคมนตรีอีก 3 คนลาออก แต่การชุมนุมที่พัทยากลับถูก “กลุ่มคนเสื้อน้ำเงิน” เข้าทำร้าย จนนำไปสู่การบุกล้มการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ส่วนการชุมนุมในกรุงเทพฯ ก็ถูกรัฐบาลส่งทหารเข้าสลายด้วยกระสุนจริงจนมีผู้บาดเจ็บนับร้อยคน และมีการ์ด นปช. 2 คนถูกอุ้มไปซ้อมทรมานและมัดมือฆ่าถ่วงแม่น้ำเจ้าพระยาโดยหาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้
ในเดือนมีนาคมปี 2553 นปช. ชุมนุมอีกครั้งเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาเลือกตั้งใหม่ การชุมนุมในเดือนแรกเป็นไปอย่างสันติ แต่เมื่อการเจรจาเพื่อกำหนดกรอบเวลายุบสภาล้มเหลวก็เกิดการยกระดับการชุมนุมขึ้น เกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ชุมนุม จนรัฐบาลส่งทหารเข้าสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายนมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคนทั้งทหารและประชาชน ถือเป็นการปิดประตูตายการเจรจา และนำไปสู่การนองเลือดอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมจนมีผู้เสียชีวิตเกือบร้อยคนและผู้บาดเจ็บกว่าพันคนในที่สุด
ข้ออ้างของรัฐบาลว่าต้องใช้ทหารสลายการชุมนุมด้วยกระสุนจริงเพราะมีกองกำลังติดอาวุธที่เรียกกันว่า “ชายชุดดำ” แฝงอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นเป็นเรื่องโกหก เพราะจากรายงานของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) พบว่าผู้ชุมนุมถูกยิงด้วยกระสุนจริงจากฝั่งทหารจนเสียชีวิตตั้งแต่ช่วงบ่ายและช่วงค่ำก่อนที่ “ชายชุดดำ” จะปรากฏตัว และผู้เสียชีวิตทุกคนก็ไม่มีอาวุธปืนในมือ ข้ออ้างว่าสลายการชุมนุมเพราะเกิดการ “เผาบ้านเผาเมือง” ก็เช่นกัน เพราะการเผาอาคารสถานที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากทหารเข้าสลายการชุมนุมแล้ว เช่นเดียวกับเรื่อง “ผังล้มเจ้า” ซึ่งอดีตโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ยอมรับกลางศาลว่าเป็นแค่ “ผังความสัมพันธ์” เท่านั้น
ภายหลังการสลายการชุมนุมรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เพื่อค้นหาความจริงที่เกิดขึ้น แต่เนื่องจาก คอป. ไม่มีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ข้อมูล และไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลลับที่อ่อนไหวได้ ความจริงจำนวนมากจึงยังเป็นปริศนาต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นรายงานของ คอป. ยังเน้นนำเสนอความรุนแรงจากฝ่าย นปช. หลีกเลี่ยงความรุนแรงจากทหารและคอยแก้ต่างให้ รายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่ออกมาในภายหลังก็เป็นเช่นเดียวกัน
แม้อาจกล่าวได้ว่าทุกฝ่ายมีส่วนต้องรับผิดชอบกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น แต่กลับมีแต่ฝ่าย นปช. ที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ในหลายคดีมีการจับแพะ สอบสวนโดยไม่ชอบ บิดเบือนพยานหลักฐาน ข่มขู่ หลอกลวง ซ้อมทรมานผู้ต้องหา หลายคนไม่ได้รับการประกันตัว บางคนพ้นผิดแต่ต้องติดคุกฟรีหลายปี บางคนถูกลงโทษเพียงเพราะอยู่ในที่เกิดเหตุ หลังรัฐประหารปี 2557 ผู้ต้องหาบางคนถูกควบคุมตัวในค่ายทหาร บางคนถูกเพิ่มโทษจากเบาเป็นหนัก ในทางตรงข้าม ผู้ที่ก่อเหตุทำร้ายหรือฆ่าผู้ชุมนุมตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมากลับไม่มีใครถูกลงโทษเลย ซ้ำร้ายหลังการรัฐประหารคดีต่าง ๆ ก็หยุดชะงักลง มีความพยายามยุติการไต่สวนความตายหลังผลปรากฏว่ามีคนตายด้วยกระสุนจากฝั่งทหาร 17 คน ส่วนอดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และตำรวจอีก 3 คน ที่ทำคดีสลายการชุมนุมก็ถูกศาลพิพากษาจำคุกฐานกลั่นแกล้งอีกด้วย
การสลายการชุมนุม นปช. ในวันที่ 10 เมษายน 2553 ผ่านมาครบรอบ 10 ปีแล้ว แต่ปัญหาทางการเมืองต่าง ๆ กลับไม่เปลี่ยนไปเลย มีแต่จะเลวร้ายลง รัฐธรรมนูญ 2560 ที่ใช้อยู่ลดอำนาจประชาชน เพิ่มอำนาจรัฐราชการและกองทัพ พรรคการเมืองยังคงถูกยุบ ยังคงมีการบีบบังคับ ส.ส. ให้ย้ายขั้วโดยแลกกับเรื่องคดีความ ในโอกาสนี้คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.) ขอแสดงจุดยืนและข้อเรียกร้องของเราดังนี้
1. ขอเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาตรวจสอบและค้นหาความจริงการสลายการชุมนุมในปี 2553 อีกครั้ง โดยจะต้องมีอำนาจเรียกบุคคลเข้าให้ปากคำและเข้าถึงเอกสารลับทางราชการด้วย
2. ขอเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับผู้ก่ออาชญากรรมทุกคดีและทุกฝ่ายอย่างเที่ยงตรงและเป็นธรรม ไม่สองมาตรฐาน ต้องให้โอกาสผู้ต้องหาและจำเลยได้ประกันตัว ต้องสอบสวนเรื่องการจับแพะ การสอบสวนโดยไม่ชอบ และการซ้อมทรมาน ต้องลงโทษผู้กระทำผิด เยียวยาผู้เสียหายและผู้ที่ศาลพิพากษายกฟ้อง
3. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยลงนามยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) เพื่อให้ศาลอาญาระหว่างประเทศสามารถตัดสินเอาผิดเจ้าหน้ารัฐที่สังหารประชาชนในไทยได้หากระบบยุติธรรมไทยไม่ทำหน้าที่ เพื่อกำจัดวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดในสังคมไทยและป้องปรามไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นอีก
4. ขอสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) และการทำประชามติอย่างเสรีและเป็นธรรม และขอเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขยายสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค รับประกันความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ให้อำนาจอธิปไตยทั้งสามและหน่วยงานของรัฐรวมทั้งกองทัพและตำรวจยึดโยงกับประชาชน อยู่ใต้การบังคับบัญชาของประชาชน เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ให้อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
จึงเรียนมาเพื่อเชิญชวนให้สาธารณชนร่วมกันพิจารณาและร่วมกันผลักดันต่อไป
คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.)
10 เมษายน 2563
#10ปี10เมษา
https://www.facebook.com/PeoplesPartyTH2016/posts/2986962351393772
https://www.facebook.com/PeoplesPartyTH2016/posts/2986962351393772
“อนุดิษฐ์”จี้รัฐแจงเกณฑ์พิจารณาจ่ายเงินเยียวยาให้ชัดเจน
https://www.innnews.co.th/politics/news_643696/
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงมาตรการเงินเยียวยา 5,000 บาท ในโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ขาดรายได้จากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิดของรัฐบาลว่า ตนเองและ ส.ส.พรรคเพื่อไทยได้รับการร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวเป็นจำนวนมาก จึงได้สะท้อนปัญหาต่างๆผ่านพรรคเพื่อไทยขึ้นมาเพื่อแจ้งให้รัฐบาลได้รับทราบ จากการประมวลข้อมูลจากผู้ร้องเรียนพบว่า ผู้เดือดร้อนไม่ทราบว่ารัฐบาลได้ใช้หลักเกณฑ์อย่างไรในการคัดกรอง และส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการชดเชยทั้งที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง จึงอยากให้รัฐบาลประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือให้ชัดเจนมากกว่านี้
ทั้งนี้ มาตรการของรัฐยังช่วยผู้เดือดร้อนได้ไม่ทั่วถึงและไม่ทันเวลา เช่น ร้านตัดผมหรือร้านเสริมสวยซึ่งปิดตัวลงตามคำสั่งของรัฐ ผู้ประกอบการและลูกจ้างจะมีรายได้ “ศูนย์บาท” ในทันที หากรัฐบาลไม่รีบชดเชยรายได้ คนเหล่านี้จะดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างไร เหตุการณ์แบบนี้กำลังเกิดขึ้นทั่วประเทศ และไม่ใช่แค่อาชีพเสริมสวย แต่ยังมีอีกหลายอาชีพที่ไม่มีรายรับเลย เรื่องนี้ตนเองสนับสนุนมาตรการชดเชยรายได้ของรัฐบาลอย่างเต็มที่ แต่ขอเรียกร้องรัฐบาลต้องรีบดำเนินการให้ทันเวลาด้วย ก่อนที่ประชาชนจะเดือดร้อนมากกว่านี้
นอกจากนี้ ยังมีประชาชนจำนวนมากร้องเรียนมาว่าตนเองไม่ผ่านเกณฑ์ขอเงินชดเชยในรอบแรก ทั้งๆที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ทุกอย่าง กรณีแบบนี้ผู้เดือดร้อนจะขออุทธรณ์สิทธิ์เพื่อให้รัฐบาลพิจารณาใหม่ได้อย่างไร พร้อมขอให้รัฐบาลเปิดวงเงินกู้ส่วนบุคคล ปลอดดอกเบี้ย ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกลดรายได้ เพื่อให้กู้เงินมาดำรงชีวิตจนกว่าจะพ้นวิกฤติ ข้อเรียกร้องเหล่านี้ตนอยากให้รัฐบาลรับไปพิจารณาและกำหนดมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนด้วย