บทความตามใจฉัน “Sega Saturn: Too Hungry Too Much Too Rush” Part 3
เมื่อ Sega Saturn ประกาศออกวางจำหน่ายที่อเมริกาในงาน E3 ตอนแรกนั้นผู้คนต่างเซอร์ไพรส์กันมาก
แต่ต่อมาเมื่อความเซอร์ไพรส์จางลงไป สิ่งที่ตามมาคือความโกรธและความไม่พอใจจากหลาย ๆ ฝ่ายทั้งลูกค้า ร้านค้าและผู้พัฒนาเกมเองก็เช่นกัน
รูปการณ์เริ่มจะเป็นไปตามที่ทอมคาดไว้และนำมาซึ่งการเสื่อมถอยของ 3 เสาหลักที่ค้ำจุน SEGA ไว้
ส่วนตัวแล้วผู้เขียนชอบสำนวนที่คุณ ม.ประภา แปลในเรื่อง “หงสาจอมราชันย์” มากกว่า
SEGA เริ่มเสีย “กาละฟ้า, ชัย
, ประชากรหนุน” ไปในช่วงเวลานี้เอง
เราจะมาดูกันว่าฝ่ายใดไม่พอใจเรื่องไหนกันบ้าง
เริ่มจากมุมมองจากฝั่งผู้พัฒนาเกม
ในกรณีของผู้พัฒนาเกมโดยเฉพาะบริษัทที่มีความใกล้ชิดกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องเกมคอนโซลมาก ๆ นั้น มักจะได้รับสิทธิพิเศษโดยบริษัทผู้ผลิตเครื่องเกมคอนโซลจะส่งเครื่องเกมรุ่นต้นแบบพร้อมเครื่องมือพัฒนาไปให้ทดลองสร้างเกมกันล่วงหน้าก่อนที่เครื่องรุ่นผลิตจำนวนมากจะวางตลาด หรืออย่างแย่ขึ้นมาหน่อยก็จะส่งเครื่องรุ่นสำหรับผู้พัฒนาพร้อมโปรแกรมเครื่องมือไปให้ก่อนที่เครื่องรุ่นผลิตจำนวนมากจะวางตลาด
โดยสรุปคือบริษัทผู้พัฒนาเกมมีโอกาสที่จะได้เครื่องก่อนผู้เล่นอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี เพื่อเอามาสร้างเกมรอไว้ก่อน
ปัญหาของ Saturn ที่ผู้พัฒนาเกมพบก็เช่นเดียวกันกับที่ทีมงานของทอมพบ นั้นก็คือการพัฒนาเกมบน Hardware ของ Saturn นั้นทำได้ยากมากแถมเครื่องมือที่ได้มาก็ใช้งานได้ไม่ค่อยดีอีกต่างหาก
ปัญหานี้แม้แต่กับผู้พัฒนาเกมของ SEGA เองก็แก้ไม่ตกเหมือนกัน
ยู ซูซูกิ นักออกแบบและพัฒนาเกมของ SEGA ที่มีผลงานเกมมากมาย เกมที่เค้าพัฒนาและน่าจะรู้จักกันดีในไทยยุค 80-90 ก็เช่น Out Run เกมแนวควงสาวซิ่งรถ หรือ Virtua Cop เกมแนว Shooting gallery ที่เกือบทุกคนน่าจะเคยเห็นตามตู้เกมอาเขตรวมถึงที่ตัวเค้าเองก็รับหน้าที่ Director ควบ Producer ในการสร้างเกมพลิกโฉมวงการอย่าง Virtua Fighter ได้เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเกมบน Saturn สรุปโดยสังเขปได้ว่า
“ผมไม่คิดว่าโปรแกรมเมอร์ทุกคนจะสามารถเขียนโปรแกรมที่ควบคุม 2 CPU ได้”
“คิดว่าแค่ 1 จาก 100 คนเท่านั้นที่จะสามารถเขียนโปรแกรมที่ทำงานได้(เกือบ)เต็มศักยะภาพของเครื่อง”
อย่างไรก็ตามความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรมนั้นก็เป็นเรื่องของทักษะและประสบการณ์ ถ้ามีเวลาพอให้โปรแกรมเมอร์ได้ลองผิดลองถูก ได้ศึกษา ไม่ช้าก็จะหาวิธีที่มีประสิทธิภาพและสะดวกที่สุดในการเขียนโปรแกรมเกมออกมาได้
กรณีนี้สามารถดูได้จากเกมดังของ SEGA เองอย่าง Virtua Fighter เวอร์ชั่นเมื่อแรกวางจำหน่ายพร้อมกับเครื่อง Saturn นั้นการเรนเดอร์โพรีกอนและ Texture น่าผิดหวังอย่างมาก มากจน SEGA ต้องเข็น Virtua Fighter Remix ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่แก้ไขให้ดูดีขึ้นแล้วออกมาในอีก 1 เดือนให้หลัง
ผู้อ่านสามารถดูวิดีโอเปรียบเทียบ Virtua Fighter ทั้ง 2 เวอร์ชั่นได้ที่ Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=AZ4Sxbr_A8s
สำหรับบริษัทเกมที่อเมริกา อย่างน้อยที่สุด พวกเค้ายังมีเวลาราว ๆ 10 เดือนที่จะศึกษาเรียนรู้และสร้างเกมออกมาให้ทันวันวางจำหน่าย Saturn
แต่ทุกอย่างก็พังลงเพราะการประกาศวางจำหน่ายแบบสายฟ้าแลบ เร็วกว่ากำหนดเดิมถึง 4 เดือน
แผนการพัฒนา แผนการตลาด ตารางการทำงาน ฯลฯ พังพินาศหมดสิ้น
นี่ทำให้บรรดาบริษัทผู้ผลิตเกมในอเมริกาโกรธมาก
บางบริษัทยอมเร่งพัฒนาแบบที่รู้จักกันว่า development hell เป็นวิธีที่ให้โปรแกรมเมอร์และพนักงานที่เกี่ยวข้องค้างที่บริษัท ทำงานเกือบทั้งวันทั้งคืน เพื่อให้งานเสร็จตามตารางหรือล่าช้าน้อยที่สุด ถึงเกมจะออกมาได้ตามกำหนดแต่คุณภาพเกมก็ไม่ดีเลย
แย่ขึ้นมาหน่อย บางบริษัทก็พับโครงการไป
กรณีแย่ที่สุด บางบริษัทก็เอาโครงการเกมที่วางไว้ไปพัฒนาลงเครื่องเกมอื่น เช่น ps ของ Sony ที่เป็นคู่แข่งแทน
บางบริษัทถึงกับไม่เผาผี ประกาศไม่ทำเกมลงเครื่องของ SEGA อีกต่อไปก็มี
นี่ยังไม่รวมถึงว่าเงื่อนไขต่าง ๆ รวมถึงค่าธรรมเนียมในการสร้างเกมลง ps นั้น Sony ให้ข้อเสนอที่ดีกว่าด้วย
นี่ทำให้ SEGA เสียฐานการผลิตเกมที่สร้างมาได้อย่างยากลำบากไปให้กับคู่แข่งอย่าง Sony แทน
การชิงวางจำหน่ายเครื่องเร็วกว่าเดิมกลับทำให้เสาค้ำจุนหลักที่ชื่อ บริษัทผู้ผลิตเกม สั่นคลอนหนัก
นี่คือการพลาดกาละฟ้า
ต่อมาคือมุมมองจากฝั่งร้านค้ากันบ้าง
เนื่องจากการวางจำหน่าย Saturn นั้นเป็นการเปลี่ยนแผนกลางคัน ทำให้จำนวน Stock สินค้าและสายส่งที่ SoA มีอยู่นั้นไม่เพียงพอที่จะกระจายไปยังเครือข่ายร้านค้าปลีกได้ทุกเจ้าจึงจำเป็นต้องป้อนสินค้าให้เฉพาะกับเจ้าที่คาดว่าจะทำยอดขายได้มากที่สุดแทนเป็นลำดับแรก
นี่ทำให้ร้านค้าปลีกหลาย ๆ เจ้าเช่น Walmart ไม่มี Saturn มาวางขายและทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายร้านค้าปลีกกับ SEGA ย่ำแย่ลง สาเหตุคือ การที่ร้านค้าไม่ได้ Saturn มาวางขายนั้นมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและจำนวนลูกค้าที่จะเข้ามาซื้อของในอนาคต
ลองจินตนาการดู ในตอนนั้น SEGA ถือเป็นแบรนด์ที่ติดตลาดแล้ว Sega Genesis และเกมสามารถหาซื้อได้ทุกร้าน
เมื่อมีการประกาศวางจำหน่ายเครื่องเกมคอนโซลรุ่นใหม่ลูกค้าย่อมมาถามหาเพื่อซื้อเครื่องที่ร้านอย่างแน่นอน
แต่ในตอนนั้น SEGA มีของไม่พอจึงเลือกส่งสินค้าไปยังร้านที่คาดว่าจะทำยอดขายได้มากก่อน
เมื่อลูกค้ามาซื้อ Saturn แล้วกลับพบว่าไม่มีของ แน่นอนว่าพวกเค้าก็จะไปซื้อที่ร้านอื่น
สิ่งที่พวกเค้าคิดในใจก็คือ ร้านนี้แย่ มาแล้วไม่มีของขาย คราวหน้าไปซื้อร้านอื่นดีกว่าจะได้ไม่เสียเวลา
ทั้งที่ไม่ใช่ความผิดของร้านเลยแต่ร้านกลับต้องเสียชื่อ เสียความน่าเชื่อถือหรืออย่างแย่ก็คือเสียลูกค้าคนนั้นไปเลย
นี่ทำให้ร้านค้าปลีกต่าง ๆ ที่ไม่ได้ Saturn มาวางขายเริ่มมองว่า SEGA เลือกที่รักมักที่ชัง เล่นพรรคเล่นพวก ดังแล้วเล่นตัว สนใจแต่ร้านค้าปลีกรายใหญ่ ๆ ไม่ได้มาแคร์ร้านรายย่อยอย่างพวกเค้า
ซึ่งทำให้ร้านค้าปลีกหลายเจ้าเช่น KB Toy ตอบโต้ SEGA โดยการโดยไม่นำสินค้าของ SEGA มาวางขาย
และแน่นอนว่าร้านดังกล่าวย่อมยินดีอย่างยิ่งที่จะวางขาย ps ที่ราคาถูกกว่า มีเกมเยอะกว่าและขายได้ง่ายกว่าแทน
ผลที่เกิดขึ้นนั้นทำให้อัตราการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคของ Sega Saturn ลดต่ำลงเพราะผู้ที่ต้องการซื้อไม่สามารถหาซื้อได้
เป็นกรณีที่คล้ายกับ Pc-engine หรือ Turbo graphic 16 ที่มาวางจำหน่ายในอเมริกาและประสบความล้มเหลว
นี่ทำให้ SEGA เสียฐานการกระจายสินค้าที่สร้างมาอย่างยากลำบากไปให้กับคู่แข่งอย่าง Sony แทน
เสาค้ำจุนหลักที่ชื่อ ร้านค้าปลีก แตกร้าว
ชัย
เริ่มสั่นคลอน
สุดท้ายคือฝั่งลูกค้า
ความไม่พอใจของผู้ซื้อเครื่องเกมจาก SEGA นั้นจำเป็นต้องย้อนเล่ากลับไปในปี 1994
ในเดือน พ.ย. ปีนั้น SEGA ได้วางจำหน่าย Sega Genesis Add-on “Sega 32X” โดยบอกฐานลูกค้าว่าเป็น Add-on ที่ทำให้เล่นเกม 32 Bit ได้ก่อนใครโดยไม่ต้องรอเครื่องเกม 32Bit ที่เป็นรุ่นถัดไป แฟน ๆ หลายคนเชื่อและยอมควักกระเป๋าซื้อไปในราคาเปิดตัวที่ 159 USD
ที่แฟน ๆ ยังไม่รู้และ SEGA ไม่ได้บอกก็คือเครื่องเกม 32Bit รุ่นถัดไปที่ว่านั่น Sega Saturn นั้นออกวางจำหน่ายแล้วที่ญี่ปุ่น
เดือนเดียวปีเดียวกับที่ Add-on นี้ออกวางจำหน่าย
นั้นทำให้แฟน ๆ ที่รู้ข่าวภายหลังตั้งคำถามว่า Add-on นี่ออกมาเพื่ออะไร
ผลทำให้ราคาของ Add-on นี้ตกลงไปเรื่อย ๆ จาก 159 เหลือ 99 ในไม่กี่เดือน
ลองคิดถึงหัวอกของแฟน ๆ ที่ซื้อไปด้วยราคาเต็มดู
หลายคนเริ่มมอง SEGA ว่าเป็นบริษัทหน้าเลือด ออก Add-on นี้มาเพื่อรีดเงินกับพวกตนเอง
ทีนี้มาถึงกรณีของ Sega Saturn
เดิมที่ได้มีการโฆษณาไว้ว่า Saturn จะออกวางจำหน่ายในเดือนกันยายน 1995
ช่องว่างเกือบ 1 ปีนี้ทำให้แฟน ๆ พอได้พักหายใจได้บ้าง
คนที่มีเงินและอยากเล่นเกม 32 bit ก็ซื้อ Add-on มาเล่นไปก่อนได้
คนที่จะรอเครื่องรุ่นใหม่ก็มีเวลาพอที่จะเก็บเงินหรือทำงานพิเศษเพื่อหาเงินมาซื้อเครื่อง
แต่แล้วจู่ ๆ SEGA ก็ประกาศขายเครื่อง Saturn เอาในเดือนพฤษภาคม 1995
เร็วกว่ากำหนดถึง 4 เดือนตามที่โฆษณาไว้
คนที่ซื้อ Add-on ไปก็ย่อมไม่พอใจที่ไหนบอกว่าเครื่อง 32 Bit จะออกเดือนกันยายนกลับมาออกเอาตอนนี้
เกม 32 Bit ของ Genesis ก็ออกมาน้อยแถมเกม 32 bit บน Saturn ยังเล่นกับ 32X ไม่ได้อีก
แล้วจะวางขาย 32X ทำไม ถ้ารู้ละก็ไม่ซื้อ Add-on หรอก
ส่วนแฟน ๆ ที่กำลังเก็บเงินซื้ออยู่ก็ไม่พอใจมากเช่นกัน
จู่ ๆ ก็มาขายแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยอย่างนี้แล้วใครจะไปเก็บเงินทัน นี่พวกเค้าต้องทนเห็น Saturn ตามร้านหรือโดนเพื่อนที่มีฐานะหน่อยมาคุยข่มที่โรงเรียนระหว่างเก็บเงินไปตามแผนเดิมอีก 4 เดือนงั้นรึ จะขอให้พ่อแม่ซื้อให้ก็อีก 7 เดือนกว่าจะคริสมาสแถมไม่แน่ใจว่าจะได้ตามที่ขอรึเปล่าด้วย
แถมจำนวนเกมของ Saturn ก็มีน้อยมากเนื่องจากการเร่งวางจำหน่ายทำให้พัฒนาเกมไม่ทัน เมื่อวันวางจำหน่าย Saturn จึงมีเกมวางขายแค่ 2 เกมและต่อมาเพิ่มเป็น 6 เกมซึ่งถือว่าน้อย
นี่ทำให้เกิดความคิดของผู้ซื้อที่ว่า
ถ้าเก็บเงินได้ตามเป้าจริงสู้เอาไปซื้อ ps ที่มีเกมให้เลือกเยอะกว่าแล้วเอาอีก 100 เหรียญไปกินเที่ยวหรือซื้อเกมเพิ่มไม่ดีกว่ารึ
นี่ทำให้ SEGA เสียฐานลูกค้าที่สร้างมาได้อย่างยากลำบากเป็นจำนวนมากซึ่งรวมถึงลูกค้าระดับแฟนเดนตายของตนเองไปให้กับคู่แข่งอย่าง Sony แทน
เสาค้ำจุนหลักที่ชื่อ ฐานลูกค้า เกิดการลาดเอียงให้เห็น
ประชากรเริ่มไม่หนุนอีกต่อไป
ทว่าความพังของ SEGA ในยุคนั้นยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้
to be continued in “Sega Saturn Too Hungry Too Much Too Rush” Part 4
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “Sega Saturn: Too Hungry Too Much Too Rush” Part 3
เมื่อ Sega Saturn ประกาศออกวางจำหน่ายที่อเมริกาในงาน E3 ตอนแรกนั้นผู้คนต่างเซอร์ไพรส์กันมาก
แต่ต่อมาเมื่อความเซอร์ไพรส์จางลงไป สิ่งที่ตามมาคือความโกรธและความไม่พอใจจากหลาย ๆ ฝ่ายทั้งลูกค้า ร้านค้าและผู้พัฒนาเกมเองก็เช่นกัน
รูปการณ์เริ่มจะเป็นไปตามที่ทอมคาดไว้และนำมาซึ่งการเสื่อมถอยของ 3 เสาหลักที่ค้ำจุน SEGA ไว้
ส่วนตัวแล้วผู้เขียนชอบสำนวนที่คุณ ม.ประภา แปลในเรื่อง “หงสาจอมราชันย์” มากกว่า
SEGA เริ่มเสีย “กาละฟ้า, ชัย, ประชากรหนุน” ไปในช่วงเวลานี้เอง
เราจะมาดูกันว่าฝ่ายใดไม่พอใจเรื่องไหนกันบ้าง
เริ่มจากมุมมองจากฝั่งผู้พัฒนาเกม
ในกรณีของผู้พัฒนาเกมโดยเฉพาะบริษัทที่มีความใกล้ชิดกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องเกมคอนโซลมาก ๆ นั้น มักจะได้รับสิทธิพิเศษโดยบริษัทผู้ผลิตเครื่องเกมคอนโซลจะส่งเครื่องเกมรุ่นต้นแบบพร้อมเครื่องมือพัฒนาไปให้ทดลองสร้างเกมกันล่วงหน้าก่อนที่เครื่องรุ่นผลิตจำนวนมากจะวางตลาด หรืออย่างแย่ขึ้นมาหน่อยก็จะส่งเครื่องรุ่นสำหรับผู้พัฒนาพร้อมโปรแกรมเครื่องมือไปให้ก่อนที่เครื่องรุ่นผลิตจำนวนมากจะวางตลาด
โดยสรุปคือบริษัทผู้พัฒนาเกมมีโอกาสที่จะได้เครื่องก่อนผู้เล่นอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี เพื่อเอามาสร้างเกมรอไว้ก่อน
ปัญหาของ Saturn ที่ผู้พัฒนาเกมพบก็เช่นเดียวกันกับที่ทีมงานของทอมพบ นั้นก็คือการพัฒนาเกมบน Hardware ของ Saturn นั้นทำได้ยากมากแถมเครื่องมือที่ได้มาก็ใช้งานได้ไม่ค่อยดีอีกต่างหาก
ปัญหานี้แม้แต่กับผู้พัฒนาเกมของ SEGA เองก็แก้ไม่ตกเหมือนกัน
ยู ซูซูกิ นักออกแบบและพัฒนาเกมของ SEGA ที่มีผลงานเกมมากมาย เกมที่เค้าพัฒนาและน่าจะรู้จักกันดีในไทยยุค 80-90 ก็เช่น Out Run เกมแนวควงสาวซิ่งรถ หรือ Virtua Cop เกมแนว Shooting gallery ที่เกือบทุกคนน่าจะเคยเห็นตามตู้เกมอาเขตรวมถึงที่ตัวเค้าเองก็รับหน้าที่ Director ควบ Producer ในการสร้างเกมพลิกโฉมวงการอย่าง Virtua Fighter ได้เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเกมบน Saturn สรุปโดยสังเขปได้ว่า
“ผมไม่คิดว่าโปรแกรมเมอร์ทุกคนจะสามารถเขียนโปรแกรมที่ควบคุม 2 CPU ได้”
“คิดว่าแค่ 1 จาก 100 คนเท่านั้นที่จะสามารถเขียนโปรแกรมที่ทำงานได้(เกือบ)เต็มศักยะภาพของเครื่อง”
อย่างไรก็ตามความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรมนั้นก็เป็นเรื่องของทักษะและประสบการณ์ ถ้ามีเวลาพอให้โปรแกรมเมอร์ได้ลองผิดลองถูก ได้ศึกษา ไม่ช้าก็จะหาวิธีที่มีประสิทธิภาพและสะดวกที่สุดในการเขียนโปรแกรมเกมออกมาได้
กรณีนี้สามารถดูได้จากเกมดังของ SEGA เองอย่าง Virtua Fighter เวอร์ชั่นเมื่อแรกวางจำหน่ายพร้อมกับเครื่อง Saturn นั้นการเรนเดอร์โพรีกอนและ Texture น่าผิดหวังอย่างมาก มากจน SEGA ต้องเข็น Virtua Fighter Remix ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่แก้ไขให้ดูดีขึ้นแล้วออกมาในอีก 1 เดือนให้หลัง
ผู้อ่านสามารถดูวิดีโอเปรียบเทียบ Virtua Fighter ทั้ง 2 เวอร์ชั่นได้ที่ Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=AZ4Sxbr_A8s
สำหรับบริษัทเกมที่อเมริกา อย่างน้อยที่สุด พวกเค้ายังมีเวลาราว ๆ 10 เดือนที่จะศึกษาเรียนรู้และสร้างเกมออกมาให้ทันวันวางจำหน่าย Saturn
แต่ทุกอย่างก็พังลงเพราะการประกาศวางจำหน่ายแบบสายฟ้าแลบ เร็วกว่ากำหนดเดิมถึง 4 เดือน
แผนการพัฒนา แผนการตลาด ตารางการทำงาน ฯลฯ พังพินาศหมดสิ้น
นี่ทำให้บรรดาบริษัทผู้ผลิตเกมในอเมริกาโกรธมาก
บางบริษัทยอมเร่งพัฒนาแบบที่รู้จักกันว่า development hell เป็นวิธีที่ให้โปรแกรมเมอร์และพนักงานที่เกี่ยวข้องค้างที่บริษัท ทำงานเกือบทั้งวันทั้งคืน เพื่อให้งานเสร็จตามตารางหรือล่าช้าน้อยที่สุด ถึงเกมจะออกมาได้ตามกำหนดแต่คุณภาพเกมก็ไม่ดีเลย
แย่ขึ้นมาหน่อย บางบริษัทก็พับโครงการไป
กรณีแย่ที่สุด บางบริษัทก็เอาโครงการเกมที่วางไว้ไปพัฒนาลงเครื่องเกมอื่น เช่น ps ของ Sony ที่เป็นคู่แข่งแทน
บางบริษัทถึงกับไม่เผาผี ประกาศไม่ทำเกมลงเครื่องของ SEGA อีกต่อไปก็มี
นี่ยังไม่รวมถึงว่าเงื่อนไขต่าง ๆ รวมถึงค่าธรรมเนียมในการสร้างเกมลง ps นั้น Sony ให้ข้อเสนอที่ดีกว่าด้วย
นี่ทำให้ SEGA เสียฐานการผลิตเกมที่สร้างมาได้อย่างยากลำบากไปให้กับคู่แข่งอย่าง Sony แทน
การชิงวางจำหน่ายเครื่องเร็วกว่าเดิมกลับทำให้เสาค้ำจุนหลักที่ชื่อ บริษัทผู้ผลิตเกม สั่นคลอนหนัก
นี่คือการพลาดกาละฟ้า
ต่อมาคือมุมมองจากฝั่งร้านค้ากันบ้าง
เนื่องจากการวางจำหน่าย Saturn นั้นเป็นการเปลี่ยนแผนกลางคัน ทำให้จำนวน Stock สินค้าและสายส่งที่ SoA มีอยู่นั้นไม่เพียงพอที่จะกระจายไปยังเครือข่ายร้านค้าปลีกได้ทุกเจ้าจึงจำเป็นต้องป้อนสินค้าให้เฉพาะกับเจ้าที่คาดว่าจะทำยอดขายได้มากที่สุดแทนเป็นลำดับแรก
นี่ทำให้ร้านค้าปลีกหลาย ๆ เจ้าเช่น Walmart ไม่มี Saturn มาวางขายและทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายร้านค้าปลีกกับ SEGA ย่ำแย่ลง สาเหตุคือ การที่ร้านค้าไม่ได้ Saturn มาวางขายนั้นมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและจำนวนลูกค้าที่จะเข้ามาซื้อของในอนาคต
ลองจินตนาการดู ในตอนนั้น SEGA ถือเป็นแบรนด์ที่ติดตลาดแล้ว Sega Genesis และเกมสามารถหาซื้อได้ทุกร้าน
เมื่อมีการประกาศวางจำหน่ายเครื่องเกมคอนโซลรุ่นใหม่ลูกค้าย่อมมาถามหาเพื่อซื้อเครื่องที่ร้านอย่างแน่นอน
แต่ในตอนนั้น SEGA มีของไม่พอจึงเลือกส่งสินค้าไปยังร้านที่คาดว่าจะทำยอดขายได้มากก่อน
เมื่อลูกค้ามาซื้อ Saturn แล้วกลับพบว่าไม่มีของ แน่นอนว่าพวกเค้าก็จะไปซื้อที่ร้านอื่น
สิ่งที่พวกเค้าคิดในใจก็คือ ร้านนี้แย่ มาแล้วไม่มีของขาย คราวหน้าไปซื้อร้านอื่นดีกว่าจะได้ไม่เสียเวลา
ทั้งที่ไม่ใช่ความผิดของร้านเลยแต่ร้านกลับต้องเสียชื่อ เสียความน่าเชื่อถือหรืออย่างแย่ก็คือเสียลูกค้าคนนั้นไปเลย
นี่ทำให้ร้านค้าปลีกต่าง ๆ ที่ไม่ได้ Saturn มาวางขายเริ่มมองว่า SEGA เลือกที่รักมักที่ชัง เล่นพรรคเล่นพวก ดังแล้วเล่นตัว สนใจแต่ร้านค้าปลีกรายใหญ่ ๆ ไม่ได้มาแคร์ร้านรายย่อยอย่างพวกเค้า
ซึ่งทำให้ร้านค้าปลีกหลายเจ้าเช่น KB Toy ตอบโต้ SEGA โดยการโดยไม่นำสินค้าของ SEGA มาวางขาย
และแน่นอนว่าร้านดังกล่าวย่อมยินดีอย่างยิ่งที่จะวางขาย ps ที่ราคาถูกกว่า มีเกมเยอะกว่าและขายได้ง่ายกว่าแทน
ผลที่เกิดขึ้นนั้นทำให้อัตราการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคของ Sega Saturn ลดต่ำลงเพราะผู้ที่ต้องการซื้อไม่สามารถหาซื้อได้
เป็นกรณีที่คล้ายกับ Pc-engine หรือ Turbo graphic 16 ที่มาวางจำหน่ายในอเมริกาและประสบความล้มเหลว
นี่ทำให้ SEGA เสียฐานการกระจายสินค้าที่สร้างมาอย่างยากลำบากไปให้กับคู่แข่งอย่าง Sony แทน
เสาค้ำจุนหลักที่ชื่อ ร้านค้าปลีก แตกร้าว
ชัยเริ่มสั่นคลอน
สุดท้ายคือฝั่งลูกค้า
ความไม่พอใจของผู้ซื้อเครื่องเกมจาก SEGA นั้นจำเป็นต้องย้อนเล่ากลับไปในปี 1994
ในเดือน พ.ย. ปีนั้น SEGA ได้วางจำหน่าย Sega Genesis Add-on “Sega 32X” โดยบอกฐานลูกค้าว่าเป็น Add-on ที่ทำให้เล่นเกม 32 Bit ได้ก่อนใครโดยไม่ต้องรอเครื่องเกม 32Bit ที่เป็นรุ่นถัดไป แฟน ๆ หลายคนเชื่อและยอมควักกระเป๋าซื้อไปในราคาเปิดตัวที่ 159 USD
ที่แฟน ๆ ยังไม่รู้และ SEGA ไม่ได้บอกก็คือเครื่องเกม 32Bit รุ่นถัดไปที่ว่านั่น Sega Saturn นั้นออกวางจำหน่ายแล้วที่ญี่ปุ่น
เดือนเดียวปีเดียวกับที่ Add-on นี้ออกวางจำหน่าย
นั้นทำให้แฟน ๆ ที่รู้ข่าวภายหลังตั้งคำถามว่า Add-on นี่ออกมาเพื่ออะไร
ผลทำให้ราคาของ Add-on นี้ตกลงไปเรื่อย ๆ จาก 159 เหลือ 99 ในไม่กี่เดือน
ลองคิดถึงหัวอกของแฟน ๆ ที่ซื้อไปด้วยราคาเต็มดู
หลายคนเริ่มมอง SEGA ว่าเป็นบริษัทหน้าเลือด ออก Add-on นี้มาเพื่อรีดเงินกับพวกตนเอง
ทีนี้มาถึงกรณีของ Sega Saturn
เดิมที่ได้มีการโฆษณาไว้ว่า Saturn จะออกวางจำหน่ายในเดือนกันยายน 1995
ช่องว่างเกือบ 1 ปีนี้ทำให้แฟน ๆ พอได้พักหายใจได้บ้าง
คนที่มีเงินและอยากเล่นเกม 32 bit ก็ซื้อ Add-on มาเล่นไปก่อนได้
คนที่จะรอเครื่องรุ่นใหม่ก็มีเวลาพอที่จะเก็บเงินหรือทำงานพิเศษเพื่อหาเงินมาซื้อเครื่อง
แต่แล้วจู่ ๆ SEGA ก็ประกาศขายเครื่อง Saturn เอาในเดือนพฤษภาคม 1995
เร็วกว่ากำหนดถึง 4 เดือนตามที่โฆษณาไว้
คนที่ซื้อ Add-on ไปก็ย่อมไม่พอใจที่ไหนบอกว่าเครื่อง 32 Bit จะออกเดือนกันยายนกลับมาออกเอาตอนนี้
เกม 32 Bit ของ Genesis ก็ออกมาน้อยแถมเกม 32 bit บน Saturn ยังเล่นกับ 32X ไม่ได้อีก
แล้วจะวางขาย 32X ทำไม ถ้ารู้ละก็ไม่ซื้อ Add-on หรอก
ส่วนแฟน ๆ ที่กำลังเก็บเงินซื้ออยู่ก็ไม่พอใจมากเช่นกัน
จู่ ๆ ก็มาขายแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยอย่างนี้แล้วใครจะไปเก็บเงินทัน นี่พวกเค้าต้องทนเห็น Saturn ตามร้านหรือโดนเพื่อนที่มีฐานะหน่อยมาคุยข่มที่โรงเรียนระหว่างเก็บเงินไปตามแผนเดิมอีก 4 เดือนงั้นรึ จะขอให้พ่อแม่ซื้อให้ก็อีก 7 เดือนกว่าจะคริสมาสแถมไม่แน่ใจว่าจะได้ตามที่ขอรึเปล่าด้วย
แถมจำนวนเกมของ Saturn ก็มีน้อยมากเนื่องจากการเร่งวางจำหน่ายทำให้พัฒนาเกมไม่ทัน เมื่อวันวางจำหน่าย Saturn จึงมีเกมวางขายแค่ 2 เกมและต่อมาเพิ่มเป็น 6 เกมซึ่งถือว่าน้อย
นี่ทำให้เกิดความคิดของผู้ซื้อที่ว่า
ถ้าเก็บเงินได้ตามเป้าจริงสู้เอาไปซื้อ ps ที่มีเกมให้เลือกเยอะกว่าแล้วเอาอีก 100 เหรียญไปกินเที่ยวหรือซื้อเกมเพิ่มไม่ดีกว่ารึ
นี่ทำให้ SEGA เสียฐานลูกค้าที่สร้างมาได้อย่างยากลำบากเป็นจำนวนมากซึ่งรวมถึงลูกค้าระดับแฟนเดนตายของตนเองไปให้กับคู่แข่งอย่าง Sony แทน
เสาค้ำจุนหลักที่ชื่อ ฐานลูกค้า เกิดการลาดเอียงให้เห็น
ประชากรเริ่มไม่หนุนอีกต่อไป
ทว่าความพังของ SEGA ในยุคนั้นยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้
to be continued in “Sega Saturn Too Hungry Too Much Too Rush” Part 4
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/