ปฐมบทดาราศาสตร์ EP2: เอกภพ Universe
จากที่ทราบกันเล้วจาก EP1 ว่าโลกเราเป็นเพียงดาวเคระห์ดวงเล็กๆ ในะรบสุริยะ และระบบสุริยะยังเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของกาแล็กซี่ทางช้างเผือกเท่านั้น แล้วยังมีอะไรอีกมั้ย
ตำแหน่งของระบบสุริยะในทางช้างเผือก cr.NASA
นอกเหนือจากหมู่บ้านทางช้างเผือ หรือกาแล็กซี่ทางช้างเผือกที่เราอาศัยอยู่ ยังมีกาแล็กซี่เพื่อนบ้านที่มีชื่อว่า กาแล็กซี่แอนโดรมีดา (Andromeda galaxy, M31) ที่เป็นกาแล็กซี่ขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด โดยอยู่ห่างไปราว 2 ล้านปีแสง โดยหมู่บ้านของเราหรือกาแล็กซี่ทางช้างเผือกและกาแล็กซี่แอนโดรมีดานั้น เราจัดว่าเป็นกาแล็กซี่ใหญ่ ส่วนอีกราว 30 กาแล็กซี่ที่เหลือจัดเป็นกาแล็กซี่เล็ก ซึ่งกาแล็กซี่ทั้งใหญ่และเล็กนี้เรียกว่าเป็นกลุ่มกาแล็กซี่ท้องถิ่น (Local group) หรือเปรียบเสมือนระดับตำบล มาถึงขั้นนี้ จินตนาการสรุปแบบง่ายๆ เลยก็คือว่า เราอยู่ “ครอบครัวระบบสุริยะ หมู่บ้านกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ตำบล Local group”
Local group Cr. Andrew Z. Colvin
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ถ้าจะเปรียบเทียบว่า “เอกภพ” ใหญ่ที่สุดเท่ากับโลกของเรา ที่ยังมีอีกหลายครอบครัวระบบสุริยะ หลายหมู่บ้านกาแล็กซี่ แต่เรายังไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านของเราเพื่อไปสำรวจเพื่อนบ้านได้เลย เราเพียงมองเห็นพวกเขาอยู่ไกลๆ เท่านั้น ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการสมมุติเพื่อให้เข้าใจง่ายเท่านั้น ณ ตอนนี้ เรารู้เพียงว่า เอกภพมีกาแลกซี่จำนวนมากมายมหาศาล ที่เราไม่สามารถระบุขอบเขต หรือระบุจุดศูนย์กลางได้ ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงคาดการณ์ขอบเขตที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ (observable universe) เท่านั้น ที่สมมติเป็นการสังเกตรอบเราทุกทิศทางซึ่งเราน่าจะสังเกตเอกภพได้รัศมีมากกว่า 46,000 ล้านปีแสง หรือคิดเป็นทรงกลมจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 92,000 ล้านปีแสง
observable universe Cr.pixels.com
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ตั้งแต่ดาวเคราะห์, ระบบสุริยะ, สสารระหว่างดาว, กลุ่มแก๊สในกาแล็กซี่ , กาแล็กซี่ต่างๆ รวมทั้งสสารระหว่างกาแล็กซี่ที่ยังไม่กล่าวถึงอีก ซึ่งทั้งหมดนี้จะเรียกว่า แบริออน (Baryon) โดยมีสัดส่วน 5 % ของเอกภพ นั่นหมายความว่าอีก 95% ของเอกภพ มีสัดส่วนของสสารมืด 25% และพลังงานมืด 70 %
เพิ่มเติม
[1] หน่วยวัดทางดาราศาสตร์
(A) Astronomical Unit, AU คือระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์ ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร
(B) ปีแสง
(C) Parsec, pc โดย 1 pc เท่ากับ 3.26 ปีแสง
[2] ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดคือ ดาวเนปจูนซึ่งอยู่ห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ประมาณ 4,500 ล้านกิโเมตร ส่วนดาวเคระห์แคระพลูโต 5,900 ล้านกิโลเมตร และดาวเคราะห์แคระอีริส (Eris) 10,000 ล้านกิโลเมตรหรือเพียง 0.001 ปีแสงเท่านั้น
[3] Messier catalogue คือแคตตาล็อกของแมซิเออร์ (Charles Messier, 1730 - 1817) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เขาได้จัดทำวัตถุท้องท้องฟ้าไว้จำนวน 110 วัตถุ (M1 - M110) ประกอบด้วยกระจุกดาว เนบิวลา และกาแล็กซี่ (แต่ขณะนั้นนักดาราศาสตร์เข้าใจว่าเป็นเนบิวลา)
ภาพวาด observable universe โดย Pablo Carlos Budassi
https://apod.nasa.gov/apod/ap180508.html
เรียบเรียง : ณรงค์ ภูทัดดวง
ปฐมบทดาราศาสตร์ EP2: เอกภพ Universe
จากที่ทราบกันเล้วจาก EP1 ว่าโลกเราเป็นเพียงดาวเคระห์ดวงเล็กๆ ในะรบสุริยะ และระบบสุริยะยังเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของกาแล็กซี่ทางช้างเผือกเท่านั้น แล้วยังมีอะไรอีกมั้ย
ตำแหน่งของระบบสุริยะในทางช้างเผือก cr.NASA
นอกเหนือจากหมู่บ้านทางช้างเผือ หรือกาแล็กซี่ทางช้างเผือกที่เราอาศัยอยู่ ยังมีกาแล็กซี่เพื่อนบ้านที่มีชื่อว่า กาแล็กซี่แอนโดรมีดา (Andromeda galaxy, M31) ที่เป็นกาแล็กซี่ขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด โดยอยู่ห่างไปราว 2 ล้านปีแสง โดยหมู่บ้านของเราหรือกาแล็กซี่ทางช้างเผือกและกาแล็กซี่แอนโดรมีดานั้น เราจัดว่าเป็นกาแล็กซี่ใหญ่ ส่วนอีกราว 30 กาแล็กซี่ที่เหลือจัดเป็นกาแล็กซี่เล็ก ซึ่งกาแล็กซี่ทั้งใหญ่และเล็กนี้เรียกว่าเป็นกลุ่มกาแล็กซี่ท้องถิ่น (Local group) หรือเปรียบเสมือนระดับตำบล มาถึงขั้นนี้ จินตนาการสรุปแบบง่ายๆ เลยก็คือว่า เราอยู่ “ครอบครัวระบบสุริยะ หมู่บ้านกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ตำบล Local group”
Local group Cr. Andrew Z. Colvin
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ถ้าจะเปรียบเทียบว่า “เอกภพ” ใหญ่ที่สุดเท่ากับโลกของเรา ที่ยังมีอีกหลายครอบครัวระบบสุริยะ หลายหมู่บ้านกาแล็กซี่ แต่เรายังไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านของเราเพื่อไปสำรวจเพื่อนบ้านได้เลย เราเพียงมองเห็นพวกเขาอยู่ไกลๆ เท่านั้น ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการสมมุติเพื่อให้เข้าใจง่ายเท่านั้น ณ ตอนนี้ เรารู้เพียงว่า เอกภพมีกาแลกซี่จำนวนมากมายมหาศาล ที่เราไม่สามารถระบุขอบเขต หรือระบุจุดศูนย์กลางได้ ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงคาดการณ์ขอบเขตที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ (observable universe) เท่านั้น ที่สมมติเป็นการสังเกตรอบเราทุกทิศทางซึ่งเราน่าจะสังเกตเอกภพได้รัศมีมากกว่า 46,000 ล้านปีแสง หรือคิดเป็นทรงกลมจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 92,000 ล้านปีแสง
observable universe Cr.pixels.com
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ตั้งแต่ดาวเคราะห์, ระบบสุริยะ, สสารระหว่างดาว, กลุ่มแก๊สในกาแล็กซี่ , กาแล็กซี่ต่างๆ รวมทั้งสสารระหว่างกาแล็กซี่ที่ยังไม่กล่าวถึงอีก ซึ่งทั้งหมดนี้จะเรียกว่า แบริออน (Baryon) โดยมีสัดส่วน 5 % ของเอกภพ นั่นหมายความว่าอีก 95% ของเอกภพ มีสัดส่วนของสสารมืด 25% และพลังงานมืด 70 %
เพิ่มเติม
[1] หน่วยวัดทางดาราศาสตร์
(A) Astronomical Unit, AU คือระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์ ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร
(B) ปีแสง
(C) Parsec, pc โดย 1 pc เท่ากับ 3.26 ปีแสง
[2] ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดคือ ดาวเนปจูนซึ่งอยู่ห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ประมาณ 4,500 ล้านกิโเมตร ส่วนดาวเคระห์แคระพลูโต 5,900 ล้านกิโลเมตร และดาวเคราะห์แคระอีริส (Eris) 10,000 ล้านกิโลเมตรหรือเพียง 0.001 ปีแสงเท่านั้น
[3] Messier catalogue คือแคตตาล็อกของแมซิเออร์ (Charles Messier, 1730 - 1817) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เขาได้จัดทำวัตถุท้องท้องฟ้าไว้จำนวน 110 วัตถุ (M1 - M110) ประกอบด้วยกระจุกดาว เนบิวลา และกาแล็กซี่ (แต่ขณะนั้นนักดาราศาสตร์เข้าใจว่าเป็นเนบิวลา)
ภาพวาด observable universe โดย Pablo Carlos Budassi https://apod.nasa.gov/apod/ap180508.html
เรียบเรียง : ณรงค์ ภูทัดดวง