เข้าหน้าร้อนเต็มตัวแล้ว สำหรับเมษานี้ 🔥🌴⛱
ร้อนขนาดนี้ เหงื่อไม่ออกก็คงแปลกแล้วจริงมั้ยคะ
แต่เหงื่อออกระดับไหน ถึงเรียกว่าผิดปกติ?
ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติที่รักแร้ (Axillary hyperhidrosis)
ใช้เกณฑ์วัดจากบริเวณที่เสื้อผ้าใต้วงแขนเปียก (sweat stains on clothing)
< 5 cm ถือว่ายังปกติ (Normal)
รักแร้เปียกเสื้อ 💦
5-10 cm ผิดปกติเล็กน้อย (Mild)
10-20 cm ผิดปกติปานกลาง (Moderate)
> 20 cm ผิดปกติระดับรุนแรง (Severe)
ซึ่งวิธีการรักษามีหลายวิธี
(ที่ได้รับความนิยมมากคือ ข้อ 1-3 ค่ะ)
1. ทาสารลดเหงื่อ (Antiperspirants and deodorants)
สามารถซื้อเองได้ตาม เคาน์เตอร์แบรนด์ทั่วไป
มีทั้งแบบโรลออน แบบน้ำ และ แบบแผ่นซับเหงื่อ
2. ทายาลดเหงื่อ (Antiperspirants)
ซึ่งตัวยาหลัก คือ เกลืออลูมิเนียม (Aluminium salts e.g Aluminum chloride hexahydrate)
กลไก คือตัวยาจะไปบล็อคท่อของต่อมเหงื่อ (block the eccrine sweat gland duct lumen)
ซึ่งวิธีนี้ได้ผลดีมากถึง 94% สำหรับการลดเหงื่อใต้วงแขน
เคล็ดลับของการทายาที่ได้ผลสูงสุด คือ เช็ดผิวให้แห้งก่อนและเลือกทายาก่อนเข้านอน
เพื่อให้ยาเคลือบผิวไว้ 6-8 ชั่วโมง ก่อนที่จะล้างออกในตอนเช้า
จะเริ่มเห็นผลหลังการทายาแล้ว 1-2 สัปดาห์
ผลข้างเคียงคือการระคายเคืองผิว ซึ่งเจอได้มากถึง 21%
เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของยา ยิ่งเข้มข้นมาก ยิ่งระคายเคืองได้มาก
3. การฉีดโบท็อก
สามารถช่วยลดการหลั่งเหงื่อได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีมากเช่นกัน
โดยฉีดในชั้นตื้น (Dermal and subcutaneous junction) เห็นผลว่าเหงื่อลดลงภายใน 72 ชั่วโมง
ฉีด 1 ครั้งเห็นผลนานได้ประมาณ 6 เดือน
4.ดูดไขมันที่รักแร้
ก็สามารถลดเหงื่อได้ แต่มักใช้กับเคสที่ทายาหรือฉีดโบท็อกแล้วไม่ค่อยตอบสนอง
5. กินยาที่ออกยับยั้งระบบประสาทโคลิเนอร์จิก (Anticholinergic drug)
วิธีนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเพราะผลข้างเคียงมาก ต้องใช้อย่างระมัดระวัง
โดยมีแพทย์แนะนำใกล้ชิด มักเลือกใช้กับเคสมี่เหงื่อออกมากหลายๆตำแหน่ง
และไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น (Generalized hyperhidrosis or treatment-resistant cases)
6. การผ่าตัดส่องกล้อง (Endoscopic thoracic sympathectomy)
เหมาะกับเคสที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ โดยถ้าเหงื่อออกมากที่รักแร้
จะใช้วิธีตัดปมประสาทระดับทรวงอก (T3 and T4 ganglia)
พญ.มานิตา อัตถสุริยานันท์ (หมอยุ้ย)
เพจ Dr.Yui คุยทุกเรื่องผิว
แพทย์เฉพาะทางผิวหนังและศัลยกรรมผิวหนัง
รักแร้แค่ไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ + วิธีรักษาและเคล็ดลับการทายาให้ได้ผลสูงสุด
เข้าหน้าร้อนเต็มตัวแล้ว สำหรับเมษานี้ 🔥🌴⛱
ร้อนขนาดนี้ เหงื่อไม่ออกก็คงแปลกแล้วจริงมั้ยคะ
แต่เหงื่อออกระดับไหน ถึงเรียกว่าผิดปกติ?
ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติที่รักแร้ (Axillary hyperhidrosis)
ใช้เกณฑ์วัดจากบริเวณที่เสื้อผ้าใต้วงแขนเปียก (sweat stains on clothing)
< 5 cm ถือว่ายังปกติ (Normal)
รักแร้เปียกเสื้อ 💦
5-10 cm ผิดปกติเล็กน้อย (Mild)
10-20 cm ผิดปกติปานกลาง (Moderate)
> 20 cm ผิดปกติระดับรุนแรง (Severe)
ซึ่งวิธีการรักษามีหลายวิธี
(ที่ได้รับความนิยมมากคือ ข้อ 1-3 ค่ะ)
1. ทาสารลดเหงื่อ (Antiperspirants and deodorants)
สามารถซื้อเองได้ตาม เคาน์เตอร์แบรนด์ทั่วไป
มีทั้งแบบโรลออน แบบน้ำ และ แบบแผ่นซับเหงื่อ
2. ทายาลดเหงื่อ (Antiperspirants)
ซึ่งตัวยาหลัก คือ เกลืออลูมิเนียม (Aluminium salts e.g Aluminum chloride hexahydrate)
กลไก คือตัวยาจะไปบล็อคท่อของต่อมเหงื่อ (block the eccrine sweat gland duct lumen)
ซึ่งวิธีนี้ได้ผลดีมากถึง 94% สำหรับการลดเหงื่อใต้วงแขน
เคล็ดลับของการทายาที่ได้ผลสูงสุด คือ เช็ดผิวให้แห้งก่อนและเลือกทายาก่อนเข้านอน
เพื่อให้ยาเคลือบผิวไว้ 6-8 ชั่วโมง ก่อนที่จะล้างออกในตอนเช้า
จะเริ่มเห็นผลหลังการทายาแล้ว 1-2 สัปดาห์
ผลข้างเคียงคือการระคายเคืองผิว ซึ่งเจอได้มากถึง 21%
เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของยา ยิ่งเข้มข้นมาก ยิ่งระคายเคืองได้มาก
3. การฉีดโบท็อก
สามารถช่วยลดการหลั่งเหงื่อได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีมากเช่นกัน
โดยฉีดในชั้นตื้น (Dermal and subcutaneous junction) เห็นผลว่าเหงื่อลดลงภายใน 72 ชั่วโมง
ฉีด 1 ครั้งเห็นผลนานได้ประมาณ 6 เดือน
4.ดูดไขมันที่รักแร้
ก็สามารถลดเหงื่อได้ แต่มักใช้กับเคสที่ทายาหรือฉีดโบท็อกแล้วไม่ค่อยตอบสนอง
5. กินยาที่ออกยับยั้งระบบประสาทโคลิเนอร์จิก (Anticholinergic drug)
วิธีนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเพราะผลข้างเคียงมาก ต้องใช้อย่างระมัดระวัง
โดยมีแพทย์แนะนำใกล้ชิด มักเลือกใช้กับเคสมี่เหงื่อออกมากหลายๆตำแหน่ง
และไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น (Generalized hyperhidrosis or treatment-resistant cases)
6. การผ่าตัดส่องกล้อง (Endoscopic thoracic sympathectomy)
เหมาะกับเคสที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ โดยถ้าเหงื่อออกมากที่รักแร้
จะใช้วิธีตัดปมประสาทระดับทรวงอก (T3 and T4 ganglia)
พญ.มานิตา อัตถสุริยานันท์ (หมอยุ้ย)
เพจ Dr.Yui คุยทุกเรื่องผิว
แพทย์เฉพาะทางผิวหนังและศัลยกรรมผิวหนัง