เรื่องที่พี่หมอจะเอามาเล่าในวันนี้ พี่หมอจะอินเป็นพิเศษ เพราะว่าลูก ๆ ของพี่หมอมักจะเป็นกันบ่อย ๆ อะไรนะเหรอครับ ก็สารพันปัญหาผื่นทั้งหลายไงล่ะครับ พ่อแม่หลายคนต้องพบกับปัญหานี้เหมือนพี่หมอใช่มั้ยครับ ไม่ว่าจะผื่นคัน ผื่นแพ้ ผื่นระคายเคืองจากการสัมผัส ผื่นแมลงกัด ผื่นผดร้อน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังของเด็ก ๆ สารพันปัญหาผื่นเหล่านี้มีวิธีการดูแลและรักษาที่แตกต่างกัน โดยต้องดูจากสาเหตุการเกิดเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง มาดูกันดีกว่าครับ ว่าเจ้าผื่นแต่ละอย่างเนี่ยมันเป็นยังไง
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง 😞
ผื่นชนิดนี้ถือเป็นโรคประจำตัว เป็นผื่นที่มาพร้อมอาการแดง คัน แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นจะมีโอกาสหายได้ 70-80%
🌟อาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง การสังเกตที่จะรู้ได้ว่าเด็กเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คือ เด็กจะมีผิวแห้ง แดง คัน เป็น ๆ หาย ๆ ตำแหน่งของผื่นที่ขึ้นจะต่างกันไปตามช่วงอายุ
· เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี มักมีผื่นที่แก้ม หน้าผาก ท้ายทอย แขนขาด้านนอก และที่ข้อมือ ข้อเท้า หรือลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว
· เด็กอายุมากกว่า 2 ปี มักมีผื่นที่คอ ข้อพับแขน-ขาทั้ง 2 ข้าง
🌟สาเหตุผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้ครับ
· ปัจจัยด้านพันธุกรรมที่ในครอบครัวมีประวัติภูมิแพ้ ส่งผลทำให้โครงสร้างผิวเด็กไม่แข็งแรง
· เรื่องของสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เป็นสิ่งกระตุ้น ได้แก่ อุณหภูมิที่หนาวหรือร้อนเกินไป สารระคายเคือง เช่น สารเคมี น้ำหอม แอลกอฮอล์ การเสียดสีจากเสื้อผ้าเนื้อหยาบ
· การแพ้อาหาร เช่น แพ้นม ไข่ ถั่ว สามารถกระตุ้นให้ผื่นกำเริบได้ โดยพบได้ประมาณ 10% ของเด็กเล็กที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่มีอาการรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก และไม่ตอบสนองต่อการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม
· สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา
🌟การรักษาผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง พ่อแม่ต้องเน้นเรื่องการดูแลผิวเป็นพิเศษ
· บำรุงผิวด้วยมอยส์เจอไรเซอร์อย่างสม่ำเสมอ
· ลดปัจจัยที่ทำให้ผิวแห้ง เช่น ไม่อาบน้ำอุ่น ไม่แช่น้ำหรือเล่นน้ำนาน ๆ (อันนี้ลูกพี่หมอชอบมาก) และไม่ฟอกหรือใช้สบู่อาบน้ำมากเกินไป
· ทายาลดการอักเสบเมื่อมีผื่นเห่อขึ้นมา
ผื่นแพ้ หรือ ผื่นระคายเคืองจากการสัมผัส✋
ผื่นชนิดนี้จะไม่เกิดขึ้นหากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือเด็กสามารถหลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสสารนั้น ๆ แต่ถ้ากลับไปสัมผัสใหม่ก็สามารถเกิดผื่นซ้ำได้
🌟อาการผื่นแพ้ หรือผื่นระคายเคืองจากการสัมผัส เด็กจะมีผื่นแดง คันและแสบร้อน ที่ผิวสัมผัสในส่วนนั้น ๆ โดยถ้าอาการรุนแรงอาจจะมีตุ่มน้ำพองได้ ตามตำแหน่งที่สัมผัสสาร
🌟สาเหตุของผื่นแพ้ หรือผื่นระคายเคืองจากการสัมผัส เกิดได้จาก 2 ปัจจัย คือ
· เกิดจากการที่เด็กได้ไปสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ (หมายถึงสารที่ก่อให้เกิดอาการในคนที่แพ้สารนั้นๆ) เช่น การไปสัมผัสกับไรฝุ่น ไรในขนสัตว์เลี้ยง เกสรดอกไม้ หญ้า แมลงสาบ เป็นต้น
· เกิดจากไปสัมผัสสารระคายเคือง (สารที่ก่อให้เกิดอาการได้ในทุกคน) เช่น เหงื่อ น้ำลาย ปัสสาวะ-อุจจาระในผ้าอ้อม เจลหรือแอลกอฮอล์ล้างมือ สารที่มีความเป็นกรดด่างสูง และแมลงบางชนิด จำพวกแมลงก้นกระดก แมงกะพรุนไฟ เป็นต้น
🌟การรักษาผื่นแพ้ หรือผื่นระคายเคืองจากการสัมผัส
· เลี่ยงไม่ให้เด็กไปสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ที่จะกระตุ้นจนก่อให้เกิดอาการ
· หมั่นล้างและทำความสะอาดเหงื่อ น้ำลาย ที่เกิดระหว่างวัน และควรเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กบ่อย ๆ ไม่ให้เกิดความชื้นเป็นเวลานาน
· บำรุงผิวให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยมอยส์เจอไรเซอร์
· ทายาลดการอักเสบเมื่อมีผื่นเห่อ
ผื่นแมลงกัด ผื่นแพ้ยุง🦟
เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อย โดยมีแมลงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดผื่นได้ เช่น ยุง มด เห็บ หมัด ริ้นทะเล ตัวคุ่น
🌟อาการที่เกิดจากผื่นแมลงกัด เมื่อเด็กถูกแมลงกัด จะเกิดตุ่มแดง คัน บวม โดยถ้าเป็นอาการรุนแรงอาจเกิดการอักเสบ มีตุ่มน้ำพองได้ แมลงบินมักเกิดตุ่มที่นอกร่มผ้า ส่วงแมลงคลานมักเกิดตุ่มได้ทั้งในและนอกร่มผ้า
🌟การรักษาผื่นแมลงกัด
· ทายาลดการอักเสบเมื่อมีผื่นเห่อ
· ให้กินยาแก้แพ้ลดอาการบวมและความคัน
· ทาโลชั่นหรือครีมเพื่อบรรเทาอาการคันระหว่างวัน เช่น after bite balm หรืออาจใช้วิธีประคบเย็นให้กับเด็กได้
· พ่อแม่สามารถป้องกันเด็กจากการถูกแมลงกัดได้โดย ให้เด็กใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด ทาโลชั่นกันแมลง เลี่ยงหรืองดการอยู่ในสถานที่ที่มีแมลงชุกชุม
ผื่นผดร้อน🌞
มีสาเหตุหลักมาจากการอักเสบของต่อมเหงื่อที่มีการอุดตัน
🌟อาการผื่นผดร้อน ผื่นผิวหนังในเด็กชนิดนี้จะเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ ทั้งแบบเป็นตุ่มน้ำบางๆ ตุ่มแดงคัน หรือตุ่มหนองที่กดแล้วเจ็บ โดยผื่นหรือตุ่มเหล่านี้มักจะเกิดในร่มผ้าที่มีความอับชื้น
🌟การรักษาผื่นผดร้อน
· พ่อแม่ควรลดการแต่งตัวให้เด็ก โดยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าหนาเกินไป ไม่ใส่เสื้อผ้าหลายชั้น หรือเสื้อผ้าที่เล็กหรือใส่แล้วรัดแน่นตัวเด็กเกินไป
· หาวิธีระบายความร้อนระหว่างวันให้กับเด็ก เช่น การอาบน้ำ หรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามหลัง หน้าอก หรือผิวหนังในร่างกายส่วนที่จะเกิดความร้อนและอับชื้น
· ทาครีมที่ช่วยลดการเกิดผดร้อน เช่น แป้งโลชั่นสำหรับผดร้อน
· ทายาลดการอักเสบเมื่อมีผื่นเห่อ
การที่พ่อแม่ได้มีโอกาสพาเด็กไปรับคำปรึกษากุมารแพทย์โรคผิวหนัง ก็เป็นอีกวิธีในการดูแลอาการผื่นของเด็ก ๆ ได้นะครับ เพราะบางครั้งอาการของผื่นหรือตุ่มต่าง ๆ อาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจจากคุณหมอเฉพาะทางด้านโรคผิวหนังเด็ก เพื่อเป็นแนวทางช่วยพ่อแม่ในการวางแผนดูแลเรื่องผื่นให้เด็กต่อไป หากดูแลอาการผื่นที่เกิดขึ้นไม่ตรงจุดอาจทำให้เกิดรอยดำหรือแผลเป็นกับผิวเด็ก สร้างความไม่มั่นใจเมื่อเด็กโตขึ้นได้ครับ
สารพันปัญหาผื่นในเด็ก
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง 😞
ผื่นชนิดนี้ถือเป็นโรคประจำตัว เป็นผื่นที่มาพร้อมอาการแดง คัน แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นจะมีโอกาสหายได้ 70-80%
🌟อาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง การสังเกตที่จะรู้ได้ว่าเด็กเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คือ เด็กจะมีผิวแห้ง แดง คัน เป็น ๆ หาย ๆ ตำแหน่งของผื่นที่ขึ้นจะต่างกันไปตามช่วงอายุ
· เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี มักมีผื่นที่แก้ม หน้าผาก ท้ายทอย แขนขาด้านนอก และที่ข้อมือ ข้อเท้า หรือลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว
· เด็กอายุมากกว่า 2 ปี มักมีผื่นที่คอ ข้อพับแขน-ขาทั้ง 2 ข้าง
🌟สาเหตุผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้ครับ
· ปัจจัยด้านพันธุกรรมที่ในครอบครัวมีประวัติภูมิแพ้ ส่งผลทำให้โครงสร้างผิวเด็กไม่แข็งแรง
· เรื่องของสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เป็นสิ่งกระตุ้น ได้แก่ อุณหภูมิที่หนาวหรือร้อนเกินไป สารระคายเคือง เช่น สารเคมี น้ำหอม แอลกอฮอล์ การเสียดสีจากเสื้อผ้าเนื้อหยาบ
· การแพ้อาหาร เช่น แพ้นม ไข่ ถั่ว สามารถกระตุ้นให้ผื่นกำเริบได้ โดยพบได้ประมาณ 10% ของเด็กเล็กที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่มีอาการรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก และไม่ตอบสนองต่อการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม
· สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา
🌟การรักษาผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง พ่อแม่ต้องเน้นเรื่องการดูแลผิวเป็นพิเศษ
· บำรุงผิวด้วยมอยส์เจอไรเซอร์อย่างสม่ำเสมอ
· ลดปัจจัยที่ทำให้ผิวแห้ง เช่น ไม่อาบน้ำอุ่น ไม่แช่น้ำหรือเล่นน้ำนาน ๆ (อันนี้ลูกพี่หมอชอบมาก) และไม่ฟอกหรือใช้สบู่อาบน้ำมากเกินไป
· ทายาลดการอักเสบเมื่อมีผื่นเห่อขึ้นมา
ผื่นชนิดนี้จะไม่เกิดขึ้นหากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือเด็กสามารถหลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสสารนั้น ๆ แต่ถ้ากลับไปสัมผัสใหม่ก็สามารถเกิดผื่นซ้ำได้
🌟อาการผื่นแพ้ หรือผื่นระคายเคืองจากการสัมผัส เด็กจะมีผื่นแดง คันและแสบร้อน ที่ผิวสัมผัสในส่วนนั้น ๆ โดยถ้าอาการรุนแรงอาจจะมีตุ่มน้ำพองได้ ตามตำแหน่งที่สัมผัสสาร
🌟สาเหตุของผื่นแพ้ หรือผื่นระคายเคืองจากการสัมผัส เกิดได้จาก 2 ปัจจัย คือ
· เกิดจากการที่เด็กได้ไปสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ (หมายถึงสารที่ก่อให้เกิดอาการในคนที่แพ้สารนั้นๆ) เช่น การไปสัมผัสกับไรฝุ่น ไรในขนสัตว์เลี้ยง เกสรดอกไม้ หญ้า แมลงสาบ เป็นต้น
· เกิดจากไปสัมผัสสารระคายเคือง (สารที่ก่อให้เกิดอาการได้ในทุกคน) เช่น เหงื่อ น้ำลาย ปัสสาวะ-อุจจาระในผ้าอ้อม เจลหรือแอลกอฮอล์ล้างมือ สารที่มีความเป็นกรดด่างสูง และแมลงบางชนิด จำพวกแมลงก้นกระดก แมงกะพรุนไฟ เป็นต้น
🌟การรักษาผื่นแพ้ หรือผื่นระคายเคืองจากการสัมผัส
· เลี่ยงไม่ให้เด็กไปสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ที่จะกระตุ้นจนก่อให้เกิดอาการ
· หมั่นล้างและทำความสะอาดเหงื่อ น้ำลาย ที่เกิดระหว่างวัน และควรเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กบ่อย ๆ ไม่ให้เกิดความชื้นเป็นเวลานาน
· บำรุงผิวให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยมอยส์เจอไรเซอร์
· ทายาลดการอักเสบเมื่อมีผื่นเห่อ
ผื่นแมลงกัด ผื่นแพ้ยุง🦟
เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อย โดยมีแมลงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดผื่นได้ เช่น ยุง มด เห็บ หมัด ริ้นทะเล ตัวคุ่น
🌟อาการที่เกิดจากผื่นแมลงกัด เมื่อเด็กถูกแมลงกัด จะเกิดตุ่มแดง คัน บวม โดยถ้าเป็นอาการรุนแรงอาจเกิดการอักเสบ มีตุ่มน้ำพองได้ แมลงบินมักเกิดตุ่มที่นอกร่มผ้า ส่วงแมลงคลานมักเกิดตุ่มได้ทั้งในและนอกร่มผ้า
🌟การรักษาผื่นแมลงกัด
· ทายาลดการอักเสบเมื่อมีผื่นเห่อ
· ให้กินยาแก้แพ้ลดอาการบวมและความคัน
· ทาโลชั่นหรือครีมเพื่อบรรเทาอาการคันระหว่างวัน เช่น after bite balm หรืออาจใช้วิธีประคบเย็นให้กับเด็กได้
· พ่อแม่สามารถป้องกันเด็กจากการถูกแมลงกัดได้โดย ให้เด็กใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด ทาโลชั่นกันแมลง เลี่ยงหรืองดการอยู่ในสถานที่ที่มีแมลงชุกชุม
ผื่นผดร้อน🌞
มีสาเหตุหลักมาจากการอักเสบของต่อมเหงื่อที่มีการอุดตัน
🌟อาการผื่นผดร้อน ผื่นผิวหนังในเด็กชนิดนี้จะเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ ทั้งแบบเป็นตุ่มน้ำบางๆ ตุ่มแดงคัน หรือตุ่มหนองที่กดแล้วเจ็บ โดยผื่นหรือตุ่มเหล่านี้มักจะเกิดในร่มผ้าที่มีความอับชื้น
🌟การรักษาผื่นผดร้อน
· พ่อแม่ควรลดการแต่งตัวให้เด็ก โดยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าหนาเกินไป ไม่ใส่เสื้อผ้าหลายชั้น หรือเสื้อผ้าที่เล็กหรือใส่แล้วรัดแน่นตัวเด็กเกินไป
· หาวิธีระบายความร้อนระหว่างวันให้กับเด็ก เช่น การอาบน้ำ หรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามหลัง หน้าอก หรือผิวหนังในร่างกายส่วนที่จะเกิดความร้อนและอับชื้น
· ทาครีมที่ช่วยลดการเกิดผดร้อน เช่น แป้งโลชั่นสำหรับผดร้อน
· ทายาลดการอักเสบเมื่อมีผื่นเห่อ
การที่พ่อแม่ได้มีโอกาสพาเด็กไปรับคำปรึกษากุมารแพทย์โรคผิวหนัง ก็เป็นอีกวิธีในการดูแลอาการผื่นของเด็ก ๆ ได้นะครับ เพราะบางครั้งอาการของผื่นหรือตุ่มต่าง ๆ อาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจจากคุณหมอเฉพาะทางด้านโรคผิวหนังเด็ก เพื่อเป็นแนวทางช่วยพ่อแม่ในการวางแผนดูแลเรื่องผื่นให้เด็กต่อไป หากดูแลอาการผื่นที่เกิดขึ้นไม่ตรงจุดอาจทำให้เกิดรอยดำหรือแผลเป็นกับผิวเด็ก สร้างความไม่มั่นใจเมื่อเด็กโตขึ้นได้ครับ