วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ (Venus of Willendorf)
เป็นตุ๊กตาที่แกะสลักจากหินที่เรียกว่า Oolitic Limestone (ไม่แน่ใจว่าเป็นหินประเภทไหน อาจเป็น Limestone จัดอยู่ในตระกูลแร่ Calcite) ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุประมาณ 28,000-25,000 ปีก่อนคริสต์กาล หรือยุคหินเก่า
ประติมากรรมลอยตัวชิ้นนี้ค้นพบโดยนักโบราณคดีชื่อว่า Josef Szombathy ในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี หมู่บ้านวิลเลนดอร์ฟ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรีย (แต่แหล่งที่ขุดค้นพบนี้กลับไม่มีหินประเภทเดียวกับที่ใช้แกะสลักเธอขึ้นมา สันนิษฐานว่าคงไม่ได้ถูกผลิตขึ้นในแหล่งนั้น แต่อาจเป็นเครื่องรางที่ติดมากับ กลุ่มชนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้)
วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ เป็นรูปปั้นหญิงสาวเปลือย ส่วนใบหน้าไม่มีการแกะสลักรายละเอียดใดๆ นอกจากทรงผมที่หยิกขอดติดกับศีรษะ(แต่บางแหล่งข้อมูลบอกไว้ว่าเหมือนผมเปียถักพันรอบศีรษะ) และทรวดทรงที่อวบอึ๋ม โดยเฉพาะหน้าอกและช่วงลำตัว เหตุผลที่ทำให้เธอรูปร่างเย้ายวนเร้าใจแบบนี้นั้น นักมานุษยวิทยาสันนิษฐานว่า เป็นเพราะประติกรรมชิ้นนี้ทำขึ้นเป็นสัญลักษณ์แทนเพศหญิง ที่เป็นผู้ดูแลที่อยู่อาศัยและปรุงอาหาร แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือการผสมพันธ์และให้กำเนิดลูกหลาน ซึ่งจะมาเป็นกำลังสำคัญของครอบครัวต่อไป ดังนั้นสิ่งที่ประติมากกรรมชิ้นนี้จึงน่าจะเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์
แล้วทำไมถึงได้ชื่อว่า วีนัส เพราะเธอไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวของกับเทวีแห่งความงามของโรมันเลย แต่เพราะนักโบราณคดีตะวันตกมักจะให้ชื่อรูปปั้นหรือรูปแกะสลักต่างๆ ที่เป็นหญิงเปลือยว่าวีนัสนั่นเอง
ที่มาของภาพ :
http://pregare.exteen.com/20100611/entry
ที่มาข้อมูล
http://ktmaner.blogspot.com/2012/11/blog-post.html
Cr.
http://www.digitalschool.club/digitalschool/art/art1_2/lesson3/content3_2/pemtem14.php
วีนัสออฟเออร์บิโน (Venus of Urbino)
สาวงามเปลือยเปล่านี้เป็นผลงานของ ทิเชียน จิตรกรในยุคเรเนซองส์สมัยรุ่งเรือง สกุลช่างเวนิซ ที่นิวาสสถานอยู่เมืองเออร์บิโน ซึ่งอยู่ทางใต้ของฟลอเรนซ์ เมืองหลวงของศิลปะเรเนซองส์
ด้วยความว่าอยู่ในตำแหน่งเส้นรุ้งที่ต่ำกว่า ทำให้อากาศอบอุ่นกว่า ทัศนียภาพ สี อุณหภูมิแสงเองก็จะต่างออกไปจากทางเหนือ ทำให้ภาพของทิเชียนมีบรรยากาศแตกต่างไปจากจิตรกรฝั่งฟลอเรนซ์
ภาพนี้วาดในช่วง 1530s ซึ่งเป็นช่วงที่การใช้สีน้ำมันได้รับความนิยมแล้ว เพราะอย่างนั้น งานเทคนิคต่างๆ โดยเฉพาะวิธีการลงน้ำหนักที่พึ่งฝีมือจิตรกรกับลักษณะการตวัดพู่กันเลยพัฒนาไปค่อนข้างมาก ภาพนี้ทิเชียนก็วาดด้วยการซ้อนสีบางๆ ลงไปหลายๆ ชั้น ทำให้ผิวเนื้อของวีนัสคนนี้มีความนุ่มนวล ระเรื่อเหมือนเนื้อคนจริงๆ
วีนัสออฟเออร์บิโนของทิเชียนมีความอื้อฉาวอยู่ประมาณหนึ่งในยุคนั้น ทั้งเพราะเป็นการวาดภาพเปลือยที่ยุคนั้นไม่ค่อยจะมีสักเท่าไหร่ ไหนจะบรรยากาศและกลิ่นอายความอีโรติกที่อวลอยู่ในนั้น ต่อให้บอกว่าภาพนี้ได้รับแรงอิทธิพลมาจาก Dresden Venus (หรือ Sleeping Venus วาดโดย Giorgione แล้วสานต่อให้เสร็จโดย Titian) แต่ดวงตาที่สบมองผู้ชมตรงๆ ก็สร้างผลที่แตกต่างไปจากการนอนหลับเฉยๆ จากภาพก็ชวนให้รู้สึกว่ากำลังมองคนอยู่
แต่ถึงงามแค่ไหน ก็หลุดกรอบความคิดคนส่วนใหญ่ไป
The Grande Odalisque โดย Jean Auguste Dominique Ingres
(รูปวีนัสนอนมีหลายเวอร์ชั่น ตั้งแต่ Sleeping Venus ของ Giorgione,. Venus of Urbino ของ Titian, Sleeping Venus ของ Artemisia Gentileschi, The Nude Maja ของ Goya ไปจนถึง Olympia ของ Manet มีบางคนให้ความเห็นว่า The Grande Odalisque ของ Ingres ก็จัดว่าอยู่ในเหล่าวีนัสนางนอนด้วยเหมือนกัน)
Cr.
https://www.nylonthailand.com/venus-2/
Venus de Milo (วีนัส เดอ มิโล)
เป็นรูปปั้นผู้หญิงที่สัดส่วนงดงามที่สุดรูปหนึ่งแต่ไม่มีแขนทั้งสองข้าง คาดว่าเป็นรูปปั้นสมัยกรีกตั้งแต่เมื่อ 130-100 ปีก่อนคริสตศักราช แกะสลักจากหินอ่อนทั้งหมด ส่วนสูงประมาณ 2 เมตร แต่ก็ไม่ปรากฏเหตุผลแน่ชัดว่าทำไมถึงไม่มีแขนทั้งสองข้าง โดยถูกค้นพบที่เกาะมิโลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกรีซ วีนัสเดอมิโลติดตั้งอย่างถาวรที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ฝรั่งเศส
ซึ่งในยุคกรีกเป็นอีกยุคหนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องสัดส่วนของผลงานประติมากรรมมาก ๆ หรือเรียกว่าเป็นยุคศิลปะคลาสสิค และจะมีเนื้อหาเพื่ออุทิตให้เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ หากต้องการจะหาประติมากรรมที่สมบูรณ์แบบทั้งสัดส่วน เนื้อหา ความสมบูรณ์ ศิลปะคลาสสิคจากยุคกรีกเป็นอีกยุคที่น่าสนใจ รูปปั้นวีนัส เดอมิโลที่แขนหักนั้น มีความเชื่อหลายอย่าง แต่อย่างหนึ่งคือ เพราะเธอเป็นผู้หญิงที่สวยมากจึงถูกแย่งชิงร่างจนทำให้แขนหัก
เป็นที่เชื่อกันว่ารูปปั้นวีนัส เดอมิโลถูกค้นพบเมื่อวันที่ 8 เมษายน ปีค.ศ. 1820 โดยเกษตรกรที่มีชื่อว่า Yorgos Kentrotas เขาได้ค้นพพชิ้นส่วนของรูปปั้นวีนัสแถวๆเกาะภูเขาไฟมิลอส ประติมากรรมชิ้นนี้ได้ถูกยกให้เป็นของขวัญแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส ก่อนจะถูกมอบให้กับพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ต่อไป ก่อนที่จะจัดแสดงอย่างในทุกวันนี้
วีนัส เดอมิโลได้ถูกขนานนามว่าเป็นแอโฟรไดท์แห่งมิลอส วีนัส เดอมิโลคิดว่าเป็นตัวแทนของเทพีแอมโฟรไดท์ ผู้ซึ่งเป็นเทพีกรีกโบราณแห่งความรัก เทพีแห่งความสุข และเทพีแห่งผู้ให้กำเนิด ซึ่งในขณะเดียวกันเทพีแอมโฟรไดท์แห่งโรมันก็มีความคล้ายคลึงกันกับเทพีวีนัสแห่งกรีกเช่นเดียวกัน
มีความเชื่อว่ารูปปั้นนี้ถูกปั้นโดย Alexandros of Antioch ประติมากรในยุคสมัยสมัยเฮลเลนิสต์ รูปปั้นมีส่วนที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ทุกวันนี้คือแขนที่หายไปทั้งสองข้างของวีนัส เดอมิโล และมีการเล่าต่อกันมาว่าเดิมทีรูปปั้นวีนัส เดอมิโลนั้นเต็มไปด้วยเครื่องประดับมากมาย เช่น สร้อยข้อมือ, ต่างหู และผ้าคาดศีรษะ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ได้หายสาปสูญไปเป็นเวลานานแล้ว รูปปั้นวีนัส เดอมิโลมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นรูปปั้นที่โด่งดังและโดดเด่นที่สุดในยุคประติมากรรมกรีกโบราณ
Cr.
http://realmetro.com/10-สุดยอดประติมากรรม/
Birth of Venus (กำเนิดวีนัส)
ซานโดร บอตติเชลลี (Sandro Botticelli) จิตรกรเอกสมัยเรอเนสซองซ์ตอนต้นของอิตาลี นำเสนอภาพเทพธิดาแห่งความรัก ที่งามผุดผ่องน่าทะนุถนอม ประทับยืนบนเปลือกหอยที่กำลังถูกพัด เป่าเข้าสู่ชายฝั่งแห่งเกาะไซปรัส โดย เซฟเฟอรัส (Zephyrus) เทพเจ้าแห่งสายลมตะวันตกและพระชายาคือ โคลริส (Chloris) หรือ ฟลอรา (Flora) เทพนารีแห่งมวลบุปผชาติ
ณ ชายฝั่งของเกาะไซปรัส แธลโล (Thallo) เทพนารีแห่งฤดูใบไม้ผลิ กำลังเฝ้ารอรับเสด็จพร้อมคลี่แพรผ้าสีสดใสลายดอกไม้ร่วง ชายผ้าปักลวดลายด้วยดิ้นทองอย่างงดงามสำหรับเตรียมห่มคลุมพระวรกายอันบอบบาง เปลือยเปล่า และงดงาม ให้รอดพ้นจากสายตาของมวลมนุษย์
องค์ประกอบทุกตัวภายในภาพ “กำเนิดวีนัส” ของ บอตติเชลลี เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหวที่สอดประสานคล้องจองกันอย่างมีสุนทรียภาพไม่ว่าจะเป็นท่วงท่าและการเคลื่อนไหวอันอ่อนช้อยงดงาม ความงามสง่าของเส้นขอบนอกที่ลื่นไหลเป็นอิสระของรูปทรง และเส้นผมที่ยาวสยายนุ่มสลวยและปลิวไสวไปตามสายลมของเทพนารี รวมทั้งการปรากฏกายของเทพเจ้าแห่งสายลมและพระชายาที่เกี่ยวกระหวัดรัดรึงเป็นหนึ่งเดียวกันในนภากาศ การโบกสะบัดของแพรผ้าสีสดท่ามกลางสายลมที่พัดผ่าน และริ้วคลื่นที่ม้วนตัวเข้าสู่ฝั่งเป็นระรอก
ภายในภาพปรากฏสัญลักษณ์ของเทพนารีอโฟรไดท์หลายอย่าง เช่น ดอกกุหลาบสีชมพู ที่โปรยปรายลงมาพร้อมกับลมเป่าของเทพนารีแห่งมวลบุปผชาติ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความรักที่สามารถพิชิตทุกสิ่งในโลก หอยเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ ความอุดมสมบูรณ์
Cr.
https://mgronline.com/celebonline/detail/9560000018914
อนาโตมิคัลวีนัส (Anatomical Venus โดย Clemente Susini)
ดูเผินๆ สาวงามสวมสร้อยมุกที่กำลังนอนเปลือยเปล่านี้ก็ดูไม่ต่างอะไรหุ่นขี้ผึ้งขนาดเท่าคนจริงธรรมดาๆ แต่พอขยับเข้าไปใกล้ขึ้น ก็จะเห็นว่าบนร่างกายเธอมีรอยแยกอยู่
อนาโตมิคัลวีนัสเป็นผลงานการสรรสร้างของคลีเมนเต้ ซูซินีในช่วงปี 1780s โดยตั้งใจให้เป็นหุ่นกายวิภาคเพื่อการศึกษาทางการแพทย์ ทดแทนจำนวนอาจารย์ใหญ่ที่ขาดแคลนอยู่ (อย่าลืมนะ สมัยนั้นศพยังขาดแคลนอยู่ ขนาดว่าในศตวรรษที่ 19 ยังต้องไปลักลอบขุดศพในสุสานมาเรียนเลย) วีนัสของซูซินีจัดได้ว่ามีความเป๊ะทางกายวิภาคสุดๆ สามารถถอดชิ้นส่วนออกมาได้เรื่อยๆ ถึงเจ็ดเลเยอร์ และในมดลูกของวีนัสหุ่นจำลองจะมีทารกตัวน้อยๆ อีกด้วย
อนาโตมิคัลวีนัสโดนตั้งคำถามอยู่ไม่น้อยเลยเรื่องความเหมาะสม (ในสายตาคนยุคนั้น)
วีนัสของซูซินีเลยชวนให้คิดต่อไปว่าหุ่นจำลองศพ/ผู้หญิงเพื่อการศึกษาทางการแพทย์จำเป็นต้องสวยงามขนาดนี้ไหม หรือแค่ถูกต้องเท่านั้น
เดอะรีเบิร์ทออฟเดอะแบล็กวีนัส (The Rebirth of the Black Venus)
บิลลี ซานเจวาเป็นศิลปินชาวมาลาวีที่อาศัยอยู่ในลอนดอน และโยฮันเนสเบิร์ก งานของซานเจวาส่วนใหญ่ทำบนผ้าไหม เป็นสื่อผสมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นผู้หญิงและสังคมเมือง
เดอะรีเบิร์ทออฟเดอะแบล็กวีนัสที่ทำขึ้นในปี 2010 นี้ ได้แรงบันดาลใจมาจาก The Birth of Venus บวกกับเรื่องราวของซาร่า บาร์ทแมน (Sara Baartman) สาวผิวดำในโชว์ตัวประหลาดที่ได้ชื่อว่าแบล็กวีนัสในสมัยต้นศตวรรษที่ 19
ในเดอะรีเบิร์ทออฟเดอะแบล็กวีนัส ซานเจวาต้องการพูดถึงร่างกายของผู้หญิงในฐานะสื่อ จากมุมของศิลปินเฟมินิสต์ ทั้งเพื่อตั้งคำถาม และพูดถึงความเป็นอื่น ทั้งการสู้เพื่อเสรีภาพและที่ยืนในสังคม การเข้าใจในคอนเซ็ปต์ความเป็นร่างกายและความหมายของมันถึงจะพาให้เรื่องสิทธิต่างๆ ไปเกินกว่าแค่เรื่องเพศ (Gender) ได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้References
https://artsandculture.google.com/asset/venus-of-urbino/bQGS8pnP5vr2Jg
http://www.titian.org/venus-of-urbino.jsp
https://www.theguardian.com/artanddesign/2016/may/17/anatomical-venus-anatomy-human-biology-joanna-ebenstein-books
https://www.atlasobscura.com/articles/an-ode-to-an-anatomical-venus-morbid-anatomy
https://www.contemporaryand.com/magazines/body-conversation-body-language-bodies-speaking-1/
http://moorewomenartists.org/body-talk/
Venus of Urbino
https://www.theartpostblog.com/wp-content/uploads/2017/11/volto-Venere-Urbino-Tiziano.jpg
https://en.wikipedia.org/wiki/Venus_of_Urbino#/media/File:Tiziano_-_Venere_di_Urbino_-_Google_Art_Project.jpg
The Grande Odalisque
https://en.wikipedia.org/wiki/Grande_Odalisque#/media/File:Jean_Auguste_Dominique_Ingres_-_The_Grand_Odalisque_-_WGA11841.jpg
Anatomical Venus
https://d3h6k4kfl8m9p0.cloudfront.net/uploads/2016/06/15111058/29edit.jpg
https://www.researchgate.net/publication/313782511/figure/fig4/AS:614027248021515@1523406912640/Wax-anatomical-model-from-La-Specola-Museum-in-Florence-Source-wwwemmakisielcom.png
http://3.bp.blogspot.com/-KGljbXwH2UE/UPMP0fIwOCI/AAAAAAAAHVM/WapbQywdvwU/s1600/exquisite001_3.jpg
The Rebirth
http://moorewomenartists.org/wp-content/uploads/2015/03/Billie-Zangewa-The-Rebirth-of-the-Black-Venus-2010.jpg
Written by Yanynn
Cr.
https://www.nylonthailand.com/venus-2/
Cr.
https://tonkit360.com/52236/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
เหล่า ‘วีนัส’ ตัวแทนความงามในแต่ละยุคสมัย
เป็นตุ๊กตาที่แกะสลักจากหินที่เรียกว่า Oolitic Limestone (ไม่แน่ใจว่าเป็นหินประเภทไหน อาจเป็น Limestone จัดอยู่ในตระกูลแร่ Calcite) ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุประมาณ 28,000-25,000 ปีก่อนคริสต์กาล หรือยุคหินเก่า
ประติมากรรมลอยตัวชิ้นนี้ค้นพบโดยนักโบราณคดีชื่อว่า Josef Szombathy ในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี หมู่บ้านวิลเลนดอร์ฟ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรีย (แต่แหล่งที่ขุดค้นพบนี้กลับไม่มีหินประเภทเดียวกับที่ใช้แกะสลักเธอขึ้นมา สันนิษฐานว่าคงไม่ได้ถูกผลิตขึ้นในแหล่งนั้น แต่อาจเป็นเครื่องรางที่ติดมากับ กลุ่มชนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้)
วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ เป็นรูปปั้นหญิงสาวเปลือย ส่วนใบหน้าไม่มีการแกะสลักรายละเอียดใดๆ นอกจากทรงผมที่หยิกขอดติดกับศีรษะ(แต่บางแหล่งข้อมูลบอกไว้ว่าเหมือนผมเปียถักพันรอบศีรษะ) และทรวดทรงที่อวบอึ๋ม โดยเฉพาะหน้าอกและช่วงลำตัว เหตุผลที่ทำให้เธอรูปร่างเย้ายวนเร้าใจแบบนี้นั้น นักมานุษยวิทยาสันนิษฐานว่า เป็นเพราะประติกรรมชิ้นนี้ทำขึ้นเป็นสัญลักษณ์แทนเพศหญิง ที่เป็นผู้ดูแลที่อยู่อาศัยและปรุงอาหาร แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือการผสมพันธ์และให้กำเนิดลูกหลาน ซึ่งจะมาเป็นกำลังสำคัญของครอบครัวต่อไป ดังนั้นสิ่งที่ประติมากกรรมชิ้นนี้จึงน่าจะเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์
แล้วทำไมถึงได้ชื่อว่า วีนัส เพราะเธอไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวของกับเทวีแห่งความงามของโรมันเลย แต่เพราะนักโบราณคดีตะวันตกมักจะให้ชื่อรูปปั้นหรือรูปแกะสลักต่างๆ ที่เป็นหญิงเปลือยว่าวีนัสนั่นเอง
ที่มาของภาพ : http://pregare.exteen.com/20100611/entry
ที่มาข้อมูล http://ktmaner.blogspot.com/2012/11/blog-post.html
Cr.http://www.digitalschool.club/digitalschool/art/art1_2/lesson3/content3_2/pemtem14.php
วีนัสออฟเออร์บิโน (Venus of Urbino)
สาวงามเปลือยเปล่านี้เป็นผลงานของ ทิเชียน จิตรกรในยุคเรเนซองส์สมัยรุ่งเรือง สกุลช่างเวนิซ ที่นิวาสสถานอยู่เมืองเออร์บิโน ซึ่งอยู่ทางใต้ของฟลอเรนซ์ เมืองหลวงของศิลปะเรเนซองส์
ด้วยความว่าอยู่ในตำแหน่งเส้นรุ้งที่ต่ำกว่า ทำให้อากาศอบอุ่นกว่า ทัศนียภาพ สี อุณหภูมิแสงเองก็จะต่างออกไปจากทางเหนือ ทำให้ภาพของทิเชียนมีบรรยากาศแตกต่างไปจากจิตรกรฝั่งฟลอเรนซ์
ภาพนี้วาดในช่วง 1530s ซึ่งเป็นช่วงที่การใช้สีน้ำมันได้รับความนิยมแล้ว เพราะอย่างนั้น งานเทคนิคต่างๆ โดยเฉพาะวิธีการลงน้ำหนักที่พึ่งฝีมือจิตรกรกับลักษณะการตวัดพู่กันเลยพัฒนาไปค่อนข้างมาก ภาพนี้ทิเชียนก็วาดด้วยการซ้อนสีบางๆ ลงไปหลายๆ ชั้น ทำให้ผิวเนื้อของวีนัสคนนี้มีความนุ่มนวล ระเรื่อเหมือนเนื้อคนจริงๆ
วีนัสออฟเออร์บิโนของทิเชียนมีความอื้อฉาวอยู่ประมาณหนึ่งในยุคนั้น ทั้งเพราะเป็นการวาดภาพเปลือยที่ยุคนั้นไม่ค่อยจะมีสักเท่าไหร่ ไหนจะบรรยากาศและกลิ่นอายความอีโรติกที่อวลอยู่ในนั้น ต่อให้บอกว่าภาพนี้ได้รับแรงอิทธิพลมาจาก Dresden Venus (หรือ Sleeping Venus วาดโดย Giorgione แล้วสานต่อให้เสร็จโดย Titian) แต่ดวงตาที่สบมองผู้ชมตรงๆ ก็สร้างผลที่แตกต่างไปจากการนอนหลับเฉยๆ จากภาพก็ชวนให้รู้สึกว่ากำลังมองคนอยู่
แต่ถึงงามแค่ไหน ก็หลุดกรอบความคิดคนส่วนใหญ่ไป
The Grande Odalisque โดย Jean Auguste Dominique Ingres
(รูปวีนัสนอนมีหลายเวอร์ชั่น ตั้งแต่ Sleeping Venus ของ Giorgione,. Venus of Urbino ของ Titian, Sleeping Venus ของ Artemisia Gentileschi, The Nude Maja ของ Goya ไปจนถึง Olympia ของ Manet มีบางคนให้ความเห็นว่า The Grande Odalisque ของ Ingres ก็จัดว่าอยู่ในเหล่าวีนัสนางนอนด้วยเหมือนกัน)
Cr.https://www.nylonthailand.com/venus-2/
Venus de Milo (วีนัส เดอ มิโล)
เป็นรูปปั้นผู้หญิงที่สัดส่วนงดงามที่สุดรูปหนึ่งแต่ไม่มีแขนทั้งสองข้าง คาดว่าเป็นรูปปั้นสมัยกรีกตั้งแต่เมื่อ 130-100 ปีก่อนคริสตศักราช แกะสลักจากหินอ่อนทั้งหมด ส่วนสูงประมาณ 2 เมตร แต่ก็ไม่ปรากฏเหตุผลแน่ชัดว่าทำไมถึงไม่มีแขนทั้งสองข้าง โดยถูกค้นพบที่เกาะมิโลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกรีซ วีนัสเดอมิโลติดตั้งอย่างถาวรที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ฝรั่งเศส
ซึ่งในยุคกรีกเป็นอีกยุคหนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องสัดส่วนของผลงานประติมากรรมมาก ๆ หรือเรียกว่าเป็นยุคศิลปะคลาสสิค และจะมีเนื้อหาเพื่ออุทิตให้เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ หากต้องการจะหาประติมากรรมที่สมบูรณ์แบบทั้งสัดส่วน เนื้อหา ความสมบูรณ์ ศิลปะคลาสสิคจากยุคกรีกเป็นอีกยุคที่น่าสนใจ รูปปั้นวีนัส เดอมิโลที่แขนหักนั้น มีความเชื่อหลายอย่าง แต่อย่างหนึ่งคือ เพราะเธอเป็นผู้หญิงที่สวยมากจึงถูกแย่งชิงร่างจนทำให้แขนหัก
เป็นที่เชื่อกันว่ารูปปั้นวีนัส เดอมิโลถูกค้นพบเมื่อวันที่ 8 เมษายน ปีค.ศ. 1820 โดยเกษตรกรที่มีชื่อว่า Yorgos Kentrotas เขาได้ค้นพพชิ้นส่วนของรูปปั้นวีนัสแถวๆเกาะภูเขาไฟมิลอส ประติมากรรมชิ้นนี้ได้ถูกยกให้เป็นของขวัญแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส ก่อนจะถูกมอบให้กับพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ต่อไป ก่อนที่จะจัดแสดงอย่างในทุกวันนี้
วีนัส เดอมิโลได้ถูกขนานนามว่าเป็นแอโฟรไดท์แห่งมิลอส วีนัส เดอมิโลคิดว่าเป็นตัวแทนของเทพีแอมโฟรไดท์ ผู้ซึ่งเป็นเทพีกรีกโบราณแห่งความรัก เทพีแห่งความสุข และเทพีแห่งผู้ให้กำเนิด ซึ่งในขณะเดียวกันเทพีแอมโฟรไดท์แห่งโรมันก็มีความคล้ายคลึงกันกับเทพีวีนัสแห่งกรีกเช่นเดียวกัน
มีความเชื่อว่ารูปปั้นนี้ถูกปั้นโดย Alexandros of Antioch ประติมากรในยุคสมัยสมัยเฮลเลนิสต์ รูปปั้นมีส่วนที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ทุกวันนี้คือแขนที่หายไปทั้งสองข้างของวีนัส เดอมิโล และมีการเล่าต่อกันมาว่าเดิมทีรูปปั้นวีนัส เดอมิโลนั้นเต็มไปด้วยเครื่องประดับมากมาย เช่น สร้อยข้อมือ, ต่างหู และผ้าคาดศีรษะ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ได้หายสาปสูญไปเป็นเวลานานแล้ว รูปปั้นวีนัส เดอมิโลมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นรูปปั้นที่โด่งดังและโดดเด่นที่สุดในยุคประติมากรรมกรีกโบราณ
Cr.http://realmetro.com/10-สุดยอดประติมากรรม/
Birth of Venus (กำเนิดวีนัส)
ซานโดร บอตติเชลลี (Sandro Botticelli) จิตรกรเอกสมัยเรอเนสซองซ์ตอนต้นของอิตาลี นำเสนอภาพเทพธิดาแห่งความรัก ที่งามผุดผ่องน่าทะนุถนอม ประทับยืนบนเปลือกหอยที่กำลังถูกพัด เป่าเข้าสู่ชายฝั่งแห่งเกาะไซปรัส โดย เซฟเฟอรัส (Zephyrus) เทพเจ้าแห่งสายลมตะวันตกและพระชายาคือ โคลริส (Chloris) หรือ ฟลอรา (Flora) เทพนารีแห่งมวลบุปผชาติ
ณ ชายฝั่งของเกาะไซปรัส แธลโล (Thallo) เทพนารีแห่งฤดูใบไม้ผลิ กำลังเฝ้ารอรับเสด็จพร้อมคลี่แพรผ้าสีสดใสลายดอกไม้ร่วง ชายผ้าปักลวดลายด้วยดิ้นทองอย่างงดงามสำหรับเตรียมห่มคลุมพระวรกายอันบอบบาง เปลือยเปล่า และงดงาม ให้รอดพ้นจากสายตาของมวลมนุษย์
องค์ประกอบทุกตัวภายในภาพ “กำเนิดวีนัส” ของ บอตติเชลลี เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหวที่สอดประสานคล้องจองกันอย่างมีสุนทรียภาพไม่ว่าจะเป็นท่วงท่าและการเคลื่อนไหวอันอ่อนช้อยงดงาม ความงามสง่าของเส้นขอบนอกที่ลื่นไหลเป็นอิสระของรูปทรง และเส้นผมที่ยาวสยายนุ่มสลวยและปลิวไสวไปตามสายลมของเทพนารี รวมทั้งการปรากฏกายของเทพเจ้าแห่งสายลมและพระชายาที่เกี่ยวกระหวัดรัดรึงเป็นหนึ่งเดียวกันในนภากาศ การโบกสะบัดของแพรผ้าสีสดท่ามกลางสายลมที่พัดผ่าน และริ้วคลื่นที่ม้วนตัวเข้าสู่ฝั่งเป็นระรอก
ภายในภาพปรากฏสัญลักษณ์ของเทพนารีอโฟรไดท์หลายอย่าง เช่น ดอกกุหลาบสีชมพู ที่โปรยปรายลงมาพร้อมกับลมเป่าของเทพนารีแห่งมวลบุปผชาติ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความรักที่สามารถพิชิตทุกสิ่งในโลก หอยเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ ความอุดมสมบูรณ์
Cr.https://mgronline.com/celebonline/detail/9560000018914
อนาโตมิคัลวีนัส (Anatomical Venus โดย Clemente Susini)
ดูเผินๆ สาวงามสวมสร้อยมุกที่กำลังนอนเปลือยเปล่านี้ก็ดูไม่ต่างอะไรหุ่นขี้ผึ้งขนาดเท่าคนจริงธรรมดาๆ แต่พอขยับเข้าไปใกล้ขึ้น ก็จะเห็นว่าบนร่างกายเธอมีรอยแยกอยู่
อนาโตมิคัลวีนัสเป็นผลงานการสรรสร้างของคลีเมนเต้ ซูซินีในช่วงปี 1780s โดยตั้งใจให้เป็นหุ่นกายวิภาคเพื่อการศึกษาทางการแพทย์ ทดแทนจำนวนอาจารย์ใหญ่ที่ขาดแคลนอยู่ (อย่าลืมนะ สมัยนั้นศพยังขาดแคลนอยู่ ขนาดว่าในศตวรรษที่ 19 ยังต้องไปลักลอบขุดศพในสุสานมาเรียนเลย) วีนัสของซูซินีจัดได้ว่ามีความเป๊ะทางกายวิภาคสุดๆ สามารถถอดชิ้นส่วนออกมาได้เรื่อยๆ ถึงเจ็ดเลเยอร์ และในมดลูกของวีนัสหุ่นจำลองจะมีทารกตัวน้อยๆ อีกด้วย
อนาโตมิคัลวีนัสโดนตั้งคำถามอยู่ไม่น้อยเลยเรื่องความเหมาะสม (ในสายตาคนยุคนั้น)
วีนัสของซูซินีเลยชวนให้คิดต่อไปว่าหุ่นจำลองศพ/ผู้หญิงเพื่อการศึกษาทางการแพทย์จำเป็นต้องสวยงามขนาดนี้ไหม หรือแค่ถูกต้องเท่านั้น
เดอะรีเบิร์ทออฟเดอะแบล็กวีนัส (The Rebirth of the Black Venus)
บิลลี ซานเจวาเป็นศิลปินชาวมาลาวีที่อาศัยอยู่ในลอนดอน และโยฮันเนสเบิร์ก งานของซานเจวาส่วนใหญ่ทำบนผ้าไหม เป็นสื่อผสมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นผู้หญิงและสังคมเมือง
เดอะรีเบิร์ทออฟเดอะแบล็กวีนัสที่ทำขึ้นในปี 2010 นี้ ได้แรงบันดาลใจมาจาก The Birth of Venus บวกกับเรื่องราวของซาร่า บาร์ทแมน (Sara Baartman) สาวผิวดำในโชว์ตัวประหลาดที่ได้ชื่อว่าแบล็กวีนัสในสมัยต้นศตวรรษที่ 19
ในเดอะรีเบิร์ทออฟเดอะแบล็กวีนัส ซานเจวาต้องการพูดถึงร่างกายของผู้หญิงในฐานะสื่อ จากมุมของศิลปินเฟมินิสต์ ทั้งเพื่อตั้งคำถาม และพูดถึงความเป็นอื่น ทั้งการสู้เพื่อเสรีภาพและที่ยืนในสังคม การเข้าใจในคอนเซ็ปต์ความเป็นร่างกายและความหมายของมันถึงจะพาให้เรื่องสิทธิต่างๆ ไปเกินกว่าแค่เรื่องเพศ (Gender) ได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Written by Yanynn
Cr.https://www.nylonthailand.com/venus-2/
Cr.https://tonkit360.com/52236/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)