สิบปีผ่านไป เพิ่งมาแชร์
(รับทุนปี 2017-2018, แชร์ในเฟสส่วนตัว July 2018 เพิ่งมาแชร์ใน Pantip 2020
อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการและขั้นตอน ขอให้ผู้ต้องการสมัครศึกษาวิธีและเงื่อนไขการสมัครด้วยตนเองอย่างละเอียด
ในนี้คือคร่าวๆ และเน้นความบันเทิง 555+)
Dzień dobry! จิ่นด๊อเบร๋
แปลว่า Good Morning หรือใช้แทนสวัสดีทุกเวลาได้
แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วเห็นเพื่อนๆ คนโปลิชจะทักกันเองว่า Cześć! เราฟังว่าเชส
แต่ความจริงแล้วมันออกเสียงซับซ้อนกว่านี้
เอาเป็นว่าเกริ่นพอหอมปากหอมคอ มาดูรายละเอียดทุนกันดีกว่า
ด้านล่างนี่คือลิ้งค์การสมัครทุนวิจัย UNESCO/POLAND
ไม่มีความเครียดใดๆ ให้ต้องกังวล ดูหน้าทุกๆ คนในรูปสิ สมัครเลย สนุกแน่
นี่ภาพวันแรกที่เจอกันนะ 555+
(แต่ 2020 ไม่แน่ใจนะ ไม่แนะนำ ลองถามโคโรน่ากันเอาเอง 555)
ขั้นตอนการสมัคร
ก่อนอื่นต้องดูว่าประเทศของเรามีอยู่ lists ที่สามารถสมัครได้หรือเปล่า ซึ่งประเทศไทยนั้นมี
และเราก็เป็นรุ่นแรกของทุนนี้ (มีพี่สาวคนไทยร่วมชะตากรรมอีกหนึ่งคน)
โปรแกรมนี้ชื่อว่า Engineering Cycle 2017-2018 แค่ฟังชื่อก็ไม่อยากไปแล้ว
แต่!!! อย่าเพิ่งตกใจ เข้าไปดูรายละเอียดกันก่อน
ทุนนี้ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชา ตั้งแต่ วิศว วิทยาศาสตร์ ไปจนถึงสังคมและเศรษฐศาสตร์
ส่วนตัวเรานั้นจบการศึกษาด้านธรณีและเป้าหมายของเราคือขอสมัครงานวิจัยที่คิดว่าปวดหัวน้อยและสนุกมากที่สุด
นั่นก็คือ “Geotourism”
ตอนสมัคร โหมดคิดในใจ “มันคืออะไรฟร่ะ แต่น่าจะสนุก คงจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา”
ซึ่งเราเคยเขียนบทความส่งเข้าประกวดเป็นคอลัมน์ใหม่ในการเรียนภาษาอังกฤษ
ตอนนั้นเราใช้ชื่อว่า Travel with Geologist ซึ่งตกรอบ แป่ววววว!!!
แต่ไม่อยากจะเชื่อว่าอะไรบางอย่างยังดึงเรามาจุดที่เราจะได้เขียนอะไรทำนองนี้จริงๆ (ชักจะยาวเกินจำเป็น ใครสนใจหลังไมค์จ้า)
ในการสมัครก็ทำตามเงื่อนไขในเวปไซด์ คร่าวๆ ก็มีใบสมัคร วุฒิการศึกษา หนังสือรับรองภาษาอังกฤษ
และ Recommendation Letters จากอาจารย์หรือหัวหน้างานของเรา รวมไปถึง Motivation Letter ของเราเองด้วย
จากนั้นก็รอๆ รอจนลืมไปเลยว่าเคยสมัครไว้ (สมัครช่วงมีนา)
แล้วการประกาศผลก็มาช่วงเดือนสิงหาคม (ทุนวิจัยระหว่างตุลาคม – มีนาคม)
ช่วงที่ letter of award มานี่ก็ดันไม่เปิดเมลล์อยู่สองสามวัน
ปรากฏว่า UNESCO สำนักงานใหญ่ที่กรุงแพรีส (555+) ต้องโทรมาตาม ว่าเอาหรือไม่เอา (ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงพะยะค่ะ)
จากนั้นก็ดำเนินการตรวจร่างกาย ส่งผล ทำวีซ่า จนได้ไปในที่สุด เย้!!!
ธงไทย ไม่มี เพิ่งมาครั้งแรก เค้าซื้อไม่ทัน
ภารกิจในโปแลนด์
งานหลักคืองานวิจัยที่เราได้สมัครมานั่นเอง
โดยต้องมีการพบปะอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างน้อยทุกเดือน และมีรายงานเดือน (Monthly Report) ส่งยูเนสโก
ซึ่งต้องมี comment และลายเซ็นของอาจารย์ในรายงานนั้นๆ
งานรองที่เยอะมากจนรบกวนเวลาการทำงานหลัก คือกิจกรรมสากกะเบือยันเรือรบของยูเนสโก
ตั้งแต่การเข้า meeting ทุกวันจันทร์ – อังคาร บางอาทิตย์ก็หลายวันแล้วแต่อาจารย์ผู้จัด (555+)
นั่นก็คือโปรเฟสเซอร์สปิสโค่วววว (ชื่อยากมากมาย กว่าจะเรียกถูกก็จะจบโปรแกรมแล้ว)
ท่านศาสตราจารย์เป็นโปรเฟสเซอร์ด้าน Robotic และหลงรัก Engineering Stuffs เป็นชีวิตจิตใจ
ถึงขั้นแต่งเพลงให้เฟลโล่ววว (เหล่าบรรดาผู้รับทุนนี้จะเรียกว่า เฟลโล่ว) ได้เรียบเรียงทำนองกันทุกยุคทุกสมัย
ซึ่งปีนี้เราก็ได้ (1 ใน 5 คน) ให้เข้าร่วมร้องเพลงนี้เพื่อเป็นของขวัญให้เพื่อนๆ เฟลโล่วคนอื่นๆในวัน Christmas
บางครั้งพวกเราก็ต้องไปร้องเพลงที่ Club Professor สถานที่ลับแห่งมหาวิทยาลัย AGH University of Science and Technology
เพื่อเป็นการโชว์ผลงานกับผู้สนับสนุนหลักของ UNESCO/POLAND
ความบันเทิงนั้นมีมาบ้างประปรายเรื่อยๆ แต่ความ Assignments นี่เยอะมากจนแทบจะหลอนกับอีเมล์ที่เด้งเข้ามาสั่งงาน
ใครที่ไม่ชอบพรีเซ้นต์ซ้อมไว้ คุณได้สิทธิ์นั้นไม่ต่ำกว่า 5 ครั้งแน่นอน
บางครั้งที่ต้องไปบรรยายให้กับคลาสนักเรียนโปแลนด์ฟัง ทำใจไว้เลยว่ากริบบบ กริ๊บบบบบ
ต่อให้มีมุกๆ ทุกคนก็จะสะกดขำของตัวเองไว้
ขนาดเพื่อนชาวโคลัมเบียเดินจู่โจมก็กริ๊บบบบ เงียบกริบ
เหงาาาาาาาาามาก 555
ใครไม่ชอบการเขียนซ้อมไว้ เพราะต้องเขียน Abstract นับไม่ถ้วน ตั้งแต่เรื่อง Library, Technology, Climate Changes
ไปจนถึง Sustainable Development กันอย่างสนุกสนาน
บางครั้งเราก็งงว่าทำไมต้องทำ เราไม่ได้เรียนมาด้านนี้
แต่พบว่าพอทำแล้วเราก็รู้สึกว่าเราได้รับความรู้ใหม่ๆ เพิ่มจากที่เราไม่เคยรู้มาก่อนเลย
ซึ่งทุกหัวข้อเขาจะให้เขียนเชื่อมโยงมายังข้อมูลประเทศของผู้รับทุนเอง
จนบางครั้งเพื่อนๆ ที่มาทำวิจัยครั้งนี้ก็มีมุขตลกไว้แกล้งกัน
ตัวอย่างเช่นเวลาไป technical visit ที่ใด เขาจะมีแบบสอบถาม
บางครั้งก็มีหัวข้อให้เขียน abstract ซึ่งจะมีข้อหนึ่งเขาจะถามว่า
สิ่งเหล่านี้มีที่ประเทศคุณหรือเปล่า?
ยกตัวอย่างเช่น 3D printing technology เพื่อนๆ เลยเอามาแซวกันเวลาไปเที่ยวว่า
Do you have Zakopane in your country?
ซึ่ง ซาโคพาเน่ คือที่สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในช่วงหน้าหนาว เช่นกิจกรรมการเล่นสกี
แล้วเฟลโล่วแต่ละคนมาจากประเทศที่ร้อนตับแล่บกันหมด 555+
สนุกมากจริงกับเพื่อนใหม่ที่นี่ มีความ สามซ่า ว๊าวๆๆ มาก
นอกจากนี้ยังมีการไปเยี่ยมชมคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัย บริษัทชั้นนำ
และเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงในโปแลนด์เดือนละครั้ง
งานเสริมคือการเข้าเรียนกับเพื่อนๆ ในวิชาที่สามารถไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัย ซึ่งเราเข้าเรียน 2 วิชาคือ Geology of the World และ Applied Geology
การเข้าเรียนนี้มีประโยชน์มาก เพราะเราจะได้เห็นวิธีการเรียนการสอนและได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย
และก็ยังได้เนื้อคู่กลับมาด้วย (ฮาาาาาาาาาาาา)
อันนี้เรื่องจริง ไม่ได้พูดเล่น (ที่ผ่านมาก็ไม่ได้พูดเล่นสักอัน xD)
ความประทับใจในโปแลนด์
1. สภาพอากาศ
ชอบบบบบบบบบบบบบบบบ
หนาวเย็นให้สะใจกันไปเลย ฮู้วววว์
นั่ง KLM จากไทยมาลง Amsterdam, Netherland แล้วพบเจอบรรยากาศนั่งรถบัสไปต่อเครื่องมา Krakow, Poland
หนาวจับใจ แม้จะเตรียมเสื้อมาแล้วก็มิได้เอาขึ้นใส่ (อ้าวผิดที่ใคร 555) แต่มีผ้าพันคอช่วยชีวิตไว้
ช่วงที่มาคือติด Autumn ซึ่งจากการอ่านรีวิวท่องเที่ยวมา โปแลนด์ได้ชื่อว่า The Golden Autumn
เพราะใบไม้กำลังผลัดใบเป็นสีเหลืองและร่วงหล่นรับฤดูหนาว
ซึ่งสวยงามสมคำร่ำลือขนาดได้ภาพในวันที่ฟ้าหม่นยังสวยจับใจ (เพ้อไปอี๊กกกกก)
ภาพว่าสวยแล้ว (หราาา) ของจริงนี่ตกอยู่ในภวังค์กันเลยทีเดียว
หลังจากนั้นก็หนาวพะยะค่ะ หนาวยาวๆ ไป
บางวันหิมะตกตอนเช้า ฝนตกตอนสาย แดดออกตอนบ่าย เฮ้ยยย...ฤดูอะไร
ตอนมาถึงมีแต่ผู้คนข่มขวัญว่าปีที่แล้วอุณหภูมิต่ำสุด -20 องศาเซลเซียส ปีนี้คาดว่าจะหนาวกว่านั้น
และแล้วหวยมาออกที่ -16 องศาเซลเซียส
โชคดีที่ Krakow เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อด้านมลพิษ (โชคดี?)
จึงไม่สามารถมีหิมะตกหนาๆ ได้เท่ากับนอกเมือง
แต่เราชอบนอกเมืองหิมะหนาๆ มากกว่านะ ฟินนนนนนน!!!
ในวันที่ร้อน 20 องศาก็มี สบายๆ ใส่เสื้อชั้นเดียวได้ เบาๆ
ความฮาเบาๆ ที่ อัมสเตอร์ดัม ที่เรียกความง่วงเหงาให้ออกมาจากภวังค์
ระหว่างที่เดินไป transfer ตัวเองและสัมภาระ จากอัมสเตอร์ดัมไปคราคูฟ
ช่วงแสกนของอีกรอบ
เจ้าหน้าที่ : Hello, I will give you one basket, put your stuff in และบลาๆ
เรา : ใส่ของทุกอย่างที่ต้องแสกนอย่างงัวเงีย เพราะเวลานั้นน่าจะประมาณ ตีสามตีสี่ของเมืองไทย เราวางซ้อนๆ กันเรื่อยๆ
เจ้าหน้าที่ : Ok, I will give you one more basket before you creating a pyramid แล้วอมยิ้มเบาๆ
เรา : ตื่นจากภวงค์มาฮา 555+
สนุกแน่การมารอบนี้
ก็จะประมาณนี้ 555+
สังเกตว่า Local ไม่ค่อยหนาวกันเท่าไร แต่เราหนาวมากกกกกกก ก ไก่ ล้านตัว
เสื้อตัวนอกเพื่อนให้มาใส่อีกชั้น จำได้ว่าแค่ 4 องศา แต่ลมแรงมว๊ากกกก
2. คนโปลิช
ในวันแรกที่ต้องเดินทางมารายงานตัวที่ UNESCO Office
พวกเราเฟลโล่วทั้งหลายจะใช้การเดินเป็นหลัก จากหอพัก (ศูนย์รวมหอพักนักศึกษามากกว่า 9000 คน)
ไปยังมหาวิทยาลัย ระยะทางมากกว่า 1 กม. แต่เดินได้สบายมาก อากาศดีๆ ใช้เวลาประมาณไม่เกิน 15 นาทีในการเดิน
โดยส่วนตัวคิดว่าควรเดินเพราะไม่ได้ออกกำลังกาย
ระหว่างทางที่เดินนั้นพบว่า
โห...ทำไมคนประเทศนี้หน้าตาดี หุ่นดีจัง นึกว่าเดินอยู่บน Catwalk
ผู้หญิงก็ส๊วยสวย ผู้ชายก็ละมุ๊นนนละมุนนน รู้งี้มาเรียนที่นี่นานแล้วนะ (555+)
ไม่ได้โม้
คนที่นี่ค่อนข้างมีมารยาทมาก นิ่งเหมือนหุ่นยนต์
แต่ถ้าเราเข้าไปขอความช่วยเหลือก็จะพบว่าเป็นคนมีน้ำใจ พร้อมช่วยเหลือทุกคน
เรานั้นมีทั้งการขอความช่วยเหลือและโดนคนโปลิชเข้ามาขอความช่วยเหลือ
ไม่เข้าใจจริงๆ คนชอบมาพูดภาษาโปลิชด้วย หัวทองเยอะแยะมาถามหัวดำ คืออัลไล?
และพอเข้าไปสนิทกับเค้ามากๆ ก็จะพบว่าเขาก็ขี้เล่นสนุกสนานเหมือนเรานี่แหละ
และค่อนข้างจะเป็นประเทศ Patriotic เหมือนกัน
เด็กๆ วัยรุ่นรู้เรื่องการเมืองและสนทนากันในหัวข้อการเมืองและประวัติศาสตร์
และประเทศก็ยังคงมีความบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่มาก
ไม่น่าเชื่อว่าเด็กๆ generation หลัง ยังคงได้รับการถ่ายทอดความเจ็บปวดของโปแลนด์จากสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งเราก็รู้สึกสงสารและเศร้าไปด้วย
มี staff ยูเนสโกหนึ่งคนคบอยู่กับชาวโปลิช เขาบอกว่าสิ่งที่เค้าแพ้ทางคนที่นี่มากที่สุดคือ kindness
ซึ่งเราก็เห็นด้วยจริงๆ น่ารักมากๆ
จากการเอาตัวไปคลุกคลีกับโปลิชล้วนนนแล้วนั้น
[CR] แชร์ประสบการณ์ทุน UNESCO/POLAND Co-Sponsored Fellowships Programme in Engineering cycle 2017A
ก่อนอื่นต้องดูว่าประเทศของเรามีอยู่ lists ที่สามารถสมัครได้หรือเปล่า ซึ่งประเทศไทยนั้นมี
และเราก็เป็นรุ่นแรกของทุนนี้ (มีพี่สาวคนไทยร่วมชะตากรรมอีกหนึ่งคน)
โปรแกรมนี้ชื่อว่า Engineering Cycle 2017-2018 แค่ฟังชื่อก็ไม่อยากไปแล้ว
แต่!!! อย่าเพิ่งตกใจ เข้าไปดูรายละเอียดกันก่อน
ทุนนี้ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชา ตั้งแต่ วิศว วิทยาศาสตร์ ไปจนถึงสังคมและเศรษฐศาสตร์
ส่วนตัวเรานั้นจบการศึกษาด้านธรณีและเป้าหมายของเราคือขอสมัครงานวิจัยที่คิดว่าปวดหัวน้อยและสนุกมากที่สุด
นั่นก็คือ “Geotourism”
ตอนสมัคร โหมดคิดในใจ “มันคืออะไรฟร่ะ แต่น่าจะสนุก คงจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา”
ซึ่งเราเคยเขียนบทความส่งเข้าประกวดเป็นคอลัมน์ใหม่ในการเรียนภาษาอังกฤษ
ตอนนั้นเราใช้ชื่อว่า Travel with Geologist ซึ่งตกรอบ แป่ววววว!!!
แต่ไม่อยากจะเชื่อว่าอะไรบางอย่างยังดึงเรามาจุดที่เราจะได้เขียนอะไรทำนองนี้จริงๆ (ชักจะยาวเกินจำเป็น ใครสนใจหลังไมค์จ้า)
ในการสมัครก็ทำตามเงื่อนไขในเวปไซด์ คร่าวๆ ก็มีใบสมัคร วุฒิการศึกษา หนังสือรับรองภาษาอังกฤษ
และ Recommendation Letters จากอาจารย์หรือหัวหน้างานของเรา รวมไปถึง Motivation Letter ของเราเองด้วย
จากนั้นก็รอๆ รอจนลืมไปเลยว่าเคยสมัครไว้ (สมัครช่วงมีนา)
แล้วการประกาศผลก็มาช่วงเดือนสิงหาคม (ทุนวิจัยระหว่างตุลาคม – มีนาคม)
ช่วงที่ letter of award มานี่ก็ดันไม่เปิดเมลล์อยู่สองสามวัน
ปรากฏว่า UNESCO สำนักงานใหญ่ที่กรุงแพรีส (555+) ต้องโทรมาตาม ว่าเอาหรือไม่เอา (ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงพะยะค่ะ)
จากนั้นก็ดำเนินการตรวจร่างกาย ส่งผล ทำวีซ่า จนได้ไปในที่สุด เย้!!!
งานหลักคืองานวิจัยที่เราได้สมัครมานั่นเอง
โดยต้องมีการพบปะอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างน้อยทุกเดือน และมีรายงานเดือน (Monthly Report) ส่งยูเนสโก
ซึ่งต้องมี comment และลายเซ็นของอาจารย์ในรายงานนั้นๆ
งานรองที่เยอะมากจนรบกวนเวลาการทำงานหลัก คือกิจกรรมสากกะเบือยันเรือรบของยูเนสโก
ตั้งแต่การเข้า meeting ทุกวันจันทร์ – อังคาร บางอาทิตย์ก็หลายวันแล้วแต่อาจารย์ผู้จัด (555+)
นั่นก็คือโปรเฟสเซอร์สปิสโค่วววว (ชื่อยากมากมาย กว่าจะเรียกถูกก็จะจบโปรแกรมแล้ว)
ท่านศาสตราจารย์เป็นโปรเฟสเซอร์ด้าน Robotic และหลงรัก Engineering Stuffs เป็นชีวิตจิตใจ
ถึงขั้นแต่งเพลงให้เฟลโล่ววว (เหล่าบรรดาผู้รับทุนนี้จะเรียกว่า เฟลโล่ว) ได้เรียบเรียงทำนองกันทุกยุคทุกสมัย
ซึ่งปีนี้เราก็ได้ (1 ใน 5 คน) ให้เข้าร่วมร้องเพลงนี้เพื่อเป็นของขวัญให้เพื่อนๆ เฟลโล่วคนอื่นๆในวัน Christmas
บางครั้งพวกเราก็ต้องไปร้องเพลงที่ Club Professor สถานที่ลับแห่งมหาวิทยาลัย AGH University of Science and Technology
เพื่อเป็นการโชว์ผลงานกับผู้สนับสนุนหลักของ UNESCO/POLAND
ความบันเทิงนั้นมีมาบ้างประปรายเรื่อยๆ แต่ความ Assignments นี่เยอะมากจนแทบจะหลอนกับอีเมล์ที่เด้งเข้ามาสั่งงาน
ใครที่ไม่ชอบพรีเซ้นต์ซ้อมไว้ คุณได้สิทธิ์นั้นไม่ต่ำกว่า 5 ครั้งแน่นอน
ไปจนถึง Sustainable Development กันอย่างสนุกสนาน
บางครั้งเราก็งงว่าทำไมต้องทำ เราไม่ได้เรียนมาด้านนี้
แต่พบว่าพอทำแล้วเราก็รู้สึกว่าเราได้รับความรู้ใหม่ๆ เพิ่มจากที่เราไม่เคยรู้มาก่อนเลย
ซึ่งทุกหัวข้อเขาจะให้เขียนเชื่อมโยงมายังข้อมูลประเทศของผู้รับทุนเอง
จนบางครั้งเพื่อนๆ ที่มาทำวิจัยครั้งนี้ก็มีมุขตลกไว้แกล้งกัน
ตัวอย่างเช่นเวลาไป technical visit ที่ใด เขาจะมีแบบสอบถาม
บางครั้งก็มีหัวข้อให้เขียน abstract ซึ่งจะมีข้อหนึ่งเขาจะถามว่า
สิ่งเหล่านี้มีที่ประเทศคุณหรือเปล่า?
ยกตัวอย่างเช่น 3D printing technology เพื่อนๆ เลยเอามาแซวกันเวลาไปเที่ยวว่า
Do you have Zakopane in your country?
ซึ่ง ซาโคพาเน่ คือที่สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในช่วงหน้าหนาว เช่นกิจกรรมการเล่นสกี
แล้วเฟลโล่วแต่ละคนมาจากประเทศที่ร้อนตับแล่บกันหมด 555+
สนุกมากจริงกับเพื่อนใหม่ที่นี่ มีความ สามซ่า ว๊าวๆๆ มาก
นอกจากนี้ยังมีการไปเยี่ยมชมคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัย บริษัทชั้นนำ
และเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงในโปแลนด์เดือนละครั้ง
งานเสริมคือการเข้าเรียนกับเพื่อนๆ ในวิชาที่สามารถไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัย ซึ่งเราเข้าเรียน 2 วิชาคือ Geology of the World และ Applied Geology
การเข้าเรียนนี้มีประโยชน์มาก เพราะเราจะได้เห็นวิธีการเรียนการสอนและได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย
และก็ยังได้เนื้อคู่กลับมาด้วย (ฮาาาาาาาาาาาา)
อันนี้เรื่องจริง ไม่ได้พูดเล่น (ที่ผ่านมาก็ไม่ได้พูดเล่นสักอัน xD)
ความประทับใจในโปแลนด์
1. สภาพอากาศ
นั่ง KLM จากไทยมาลง Amsterdam, Netherland แล้วพบเจอบรรยากาศนั่งรถบัสไปต่อเครื่องมา Krakow, Poland
หนาวจับใจ แม้จะเตรียมเสื้อมาแล้วก็มิได้เอาขึ้นใส่ (อ้าวผิดที่ใคร 555) แต่มีผ้าพันคอช่วยชีวิตไว้
ช่วงที่มาคือติด Autumn ซึ่งจากการอ่านรีวิวท่องเที่ยวมา โปแลนด์ได้ชื่อว่า The Golden Autumn
เพราะใบไม้กำลังผลัดใบเป็นสีเหลืองและร่วงหล่นรับฤดูหนาว
ซึ่งสวยงามสมคำร่ำลือขนาดได้ภาพในวันที่ฟ้าหม่นยังสวยจับใจ (เพ้อไปอี๊กกกกก)
ระหว่างที่เดินไป transfer ตัวเองและสัมภาระ จากอัมสเตอร์ดัมไปคราคูฟ
ช่วงแสกนของอีกรอบ
เจ้าหน้าที่ : Hello, I will give you one basket, put your stuff in และบลาๆ
เรา : ใส่ของทุกอย่างที่ต้องแสกนอย่างงัวเงีย เพราะเวลานั้นน่าจะประมาณ ตีสามตีสี่ของเมืองไทย เราวางซ้อนๆ กันเรื่อยๆ
เจ้าหน้าที่ : Ok, I will give you one more basket before you creating a pyramid แล้วอมยิ้มเบาๆ
เรา : ตื่นจากภวงค์มาฮา 555+
สนุกแน่การมารอบนี้
ในวันแรกที่ต้องเดินทางมารายงานตัวที่ UNESCO Office
พวกเราเฟลโล่วทั้งหลายจะใช้การเดินเป็นหลัก จากหอพัก (ศูนย์รวมหอพักนักศึกษามากกว่า 9000 คน)
ไปยังมหาวิทยาลัย ระยะทางมากกว่า 1 กม. แต่เดินได้สบายมาก อากาศดีๆ ใช้เวลาประมาณไม่เกิน 15 นาทีในการเดิน
โดยส่วนตัวคิดว่าควรเดินเพราะไม่ได้ออกกำลังกาย
ระหว่างทางที่เดินนั้นพบว่า
โห...ทำไมคนประเทศนี้หน้าตาดี หุ่นดีจัง นึกว่าเดินอยู่บน Catwalk
ผู้หญิงก็ส๊วยสวย ผู้ชายก็ละมุ๊นนนละมุนนน รู้งี้มาเรียนที่นี่นานแล้วนะ (555+)
แต่ถ้าเราเข้าไปขอความช่วยเหลือก็จะพบว่าเป็นคนมีน้ำใจ พร้อมช่วยเหลือทุกคน
เรานั้นมีทั้งการขอความช่วยเหลือและโดนคนโปลิชเข้ามาขอความช่วยเหลือ
ไม่เข้าใจจริงๆ คนชอบมาพูดภาษาโปลิชด้วย หัวทองเยอะแยะมาถามหัวดำ คืออัลไล?
และพอเข้าไปสนิทกับเค้ามากๆ ก็จะพบว่าเขาก็ขี้เล่นสนุกสนานเหมือนเรานี่แหละ
และค่อนข้างจะเป็นประเทศ Patriotic เหมือนกัน
เด็กๆ วัยรุ่นรู้เรื่องการเมืองและสนทนากันในหัวข้อการเมืองและประวัติศาสตร์
และประเทศก็ยังคงมีความบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่มาก
ไม่น่าเชื่อว่าเด็กๆ generation หลัง ยังคงได้รับการถ่ายทอดความเจ็บปวดของโปแลนด์จากสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งเราก็รู้สึกสงสารและเศร้าไปด้วย
มี staff ยูเนสโกหนึ่งคนคบอยู่กับชาวโปลิช เขาบอกว่าสิ่งที่เค้าแพ้ทางคนที่นี่มากที่สุดคือ kindness
ซึ่งเราก็เห็นด้วยจริงๆ น่ารักมากๆ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้