เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบกว่า 19 เดือนครั้งใหม่ ขณะที่หุ้นไทยปรับตัวขึ้น รับอานิสงส์เฟดลดดอกเบี้ย จับตาปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า ทิศทางเงินทุนต่างชาติ ตัวเลฃการส่งออกเดือนส.ค. ของไทย สถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลก และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค
วันที่ 22 กันยายน 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท เงินบาทแข็งค่า หลังวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงของสหรัฐฯ เริ่มขึ้นแล้วในการประชุม FOMC วันที่ 17-18 ก.ย. ที่ผ่านมา
แม้จะมีปัจจัยลบกดดันให้อ่อนค่าตามจังหวะการย่อตัวลงของราคาทองคำในตลาดโลก แต่เงินบาทก็ยังคงเคลื่อนไหวเป็นกรอบ โดยมีแรงหนุนให้ทยอยแข็งค่าขึ้นเป็นระยะๆ ในช่วงก่อนการประชุมเฟด ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวได้เพียงช่วงสั้นๆ กลางสัปดาห์ตามการปรับโพสิชั่นหลังการประชุม FOMC 17-18 ก.ย. ซึ่งเฟดมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% มาที่กรอบ 4.75-5.00%
โดยเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าและทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบกว่า 19 เดือนครั้งใหม่ที่ 33.03 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่แรงหนุนเงินดอลลาร์ฯ ชะลอลงท่ามกลางมุมมองที่ประเมินว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุม 17-18 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ Cycle การลดดอกเบี้ย และแนวโน้มดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้ายังเป็นขาลง
นอกจากนี้ การแข็งค่ากลับมาของเงินบาทยังสอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก และสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน
ในวันศุกร์ที่ 20 ก.ย. 2567 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ 33.03 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 19 เดือนครั้งใหม่ เทียบกับระดับ 33.33 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (13 ก.ย. 67) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 16-20 ก.ย. 2567 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่องที่ 5,865 ล้านบาท และมีสถานะอยู่ในฝั่ง Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตรไทย 9,976 ล้านบาท (แบ่งเป็น ซื้อสุทธิพันธบัตร 13,226 ล้านบาท หักตราสารหนี้หมดอายุ 3,250 ล้านบาท)
สัปดาห์ระหว่างวันที่ 23-27 ก.ย. ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 33.00-33.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ ตัวเลฃการส่งออกเดือนส.ค. ของไทย สถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลก และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI (เบื้องต้น) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสำหรับเดือนก.ย. ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย และอัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคา PCE และ Core PCE เดือนส.ค. ตลอดจนตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/2567 (final) และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด และดัชนี PMI (เบื้องต้น) สำหรับเดือนก.ย. ของยูโรโซน อังกฤษ และญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน
ส่วนความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นท่ามกลางแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติสอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศรับแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยของเฟด
หุ้นไทยดีดตัวขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ตามทิศทางหุ้นภูมิภาค ท่ามกลางการคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในรอบการประชุมเดือนก.ย. ประกอบกับมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากการเริ่มเปิดจองซื้อกองทุนวายุภักษ์ ก่อนจะแกว่งตัวในกรอบแคบระหว่างรอติดตามผลการประชุมเฟดในช่วงกลางสัปดาห์อย่างใกล้ชิด
ดัชนีหุ้นไทยดีดตัวขึ้นอีกครั้ง หลังการประชุมเฟดสอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาค เนื่องจากเฟดมีมติปรับลดดอกเบี้ยถึง 0.50% ไปที่กรอบ 4.75-5.00% พร้อมกับส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยต่อเนื่องในระยะข้างหน้า
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นในประเทศยังได้รับอานิสงส์เพิ่มเติมจากความหวังว่ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีกรอบการปรับขึ้นของตลาดหุ้นไทยเริ่มจำกัดในช่วงท้ายสัปดาห์หลังตอบรับปัจจัยบวกไปพอสมควร อนึ่ง หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ปรับตัวขึ้นมากสุดในสัปดาห์นี้ ขณะที่หุ้นกลุ่มแบงก์และวัสดุก่อสร้างปรับตัวลงสวนทางตลาดในภาพรวม
ในวันศุกร์ที่ 20 ก.ย. 2567 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,451.69 จุด เพิ่มขึ้น 1.92% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 61,479.97 ล้านบาท ลดลง 5.94% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 2.10% มาปิดที่ระดับ 358.97 จุด
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (23-27 ก.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,440 และ 1,420 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,465 และ 1,475 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ตัวเลขส่งออกเดือนส.ค.ของไทย และทิศทางเงินทุนต่างชาติ
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือนก.ย. ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ดัชนี PCE/Core PCE Price Index รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลเดือนส.ค. ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/2567 (final) รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือนก.ย. ของยูโรโซน อังกฤษ และญี่ปุ่น รวมถึงกำไรบริษัทภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.ของจีน...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1658045
เงินบาทแข็งค่าสุดรอบ 19 เดือนครั้งใหม่ จับตา 4 ปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า
วันที่ 22 กันยายน 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท เงินบาทแข็งค่า หลังวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงของสหรัฐฯ เริ่มขึ้นแล้วในการประชุม FOMC วันที่ 17-18 ก.ย. ที่ผ่านมา
แม้จะมีปัจจัยลบกดดันให้อ่อนค่าตามจังหวะการย่อตัวลงของราคาทองคำในตลาดโลก แต่เงินบาทก็ยังคงเคลื่อนไหวเป็นกรอบ โดยมีแรงหนุนให้ทยอยแข็งค่าขึ้นเป็นระยะๆ ในช่วงก่อนการประชุมเฟด ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวได้เพียงช่วงสั้นๆ กลางสัปดาห์ตามการปรับโพสิชั่นหลังการประชุม FOMC 17-18 ก.ย. ซึ่งเฟดมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% มาที่กรอบ 4.75-5.00%
โดยเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าและทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบกว่า 19 เดือนครั้งใหม่ที่ 33.03 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่แรงหนุนเงินดอลลาร์ฯ ชะลอลงท่ามกลางมุมมองที่ประเมินว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุม 17-18 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ Cycle การลดดอกเบี้ย และแนวโน้มดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้ายังเป็นขาลง
นอกจากนี้ การแข็งค่ากลับมาของเงินบาทยังสอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก และสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน
ในวันศุกร์ที่ 20 ก.ย. 2567 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ 33.03 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 19 เดือนครั้งใหม่ เทียบกับระดับ 33.33 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (13 ก.ย. 67) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 16-20 ก.ย. 2567 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่องที่ 5,865 ล้านบาท และมีสถานะอยู่ในฝั่ง Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตรไทย 9,976 ล้านบาท (แบ่งเป็น ซื้อสุทธิพันธบัตร 13,226 ล้านบาท หักตราสารหนี้หมดอายุ 3,250 ล้านบาท)
สัปดาห์ระหว่างวันที่ 23-27 ก.ย. ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 33.00-33.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ ตัวเลฃการส่งออกเดือนส.ค. ของไทย สถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลก และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI (เบื้องต้น) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสำหรับเดือนก.ย. ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย และอัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคา PCE และ Core PCE เดือนส.ค. ตลอดจนตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/2567 (final) และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด และดัชนี PMI (เบื้องต้น) สำหรับเดือนก.ย. ของยูโรโซน อังกฤษ และญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน
ส่วนความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นท่ามกลางแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติสอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศรับแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยของเฟด
หุ้นไทยดีดตัวขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ตามทิศทางหุ้นภูมิภาค ท่ามกลางการคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในรอบการประชุมเดือนก.ย. ประกอบกับมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากการเริ่มเปิดจองซื้อกองทุนวายุภักษ์ ก่อนจะแกว่งตัวในกรอบแคบระหว่างรอติดตามผลการประชุมเฟดในช่วงกลางสัปดาห์อย่างใกล้ชิด
ดัชนีหุ้นไทยดีดตัวขึ้นอีกครั้ง หลังการประชุมเฟดสอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาค เนื่องจากเฟดมีมติปรับลดดอกเบี้ยถึง 0.50% ไปที่กรอบ 4.75-5.00% พร้อมกับส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยต่อเนื่องในระยะข้างหน้า
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นในประเทศยังได้รับอานิสงส์เพิ่มเติมจากความหวังว่ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีกรอบการปรับขึ้นของตลาดหุ้นไทยเริ่มจำกัดในช่วงท้ายสัปดาห์หลังตอบรับปัจจัยบวกไปพอสมควร อนึ่ง หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ปรับตัวขึ้นมากสุดในสัปดาห์นี้ ขณะที่หุ้นกลุ่มแบงก์และวัสดุก่อสร้างปรับตัวลงสวนทางตลาดในภาพรวม
ในวันศุกร์ที่ 20 ก.ย. 2567 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,451.69 จุด เพิ่มขึ้น 1.92% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 61,479.97 ล้านบาท ลดลง 5.94% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 2.10% มาปิดที่ระดับ 358.97 จุด
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (23-27 ก.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,440 และ 1,420 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,465 และ 1,475 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ตัวเลขส่งออกเดือนส.ค.ของไทย และทิศทางเงินทุนต่างชาติ
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือนก.ย. ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ดัชนี PCE/Core PCE Price Index รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลเดือนส.ค. ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/2567 (final) รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือนก.ย. ของยูโรโซน อังกฤษ และญี่ปุ่น รวมถึงกำไรบริษัทภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.ของจีน...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1658045