โรคระบาดจาก Covid-19 ที่กำลังระบาดอยู่เช่นนี้ หลายคนอาจตระหนักได้ว่านี่คือโรคระบาดที่น่ากลัว เพราะติดต่อกันได้ง่าย และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ที่ผ่านมามีคนที่ได้รับเชื้อและเสียชีวิตไปแล้วหลายรายทั่วโลก
หากย้อนดูการเกิดโรคระบาดในอดีตนั้นเป็นเรื่องประหลาดอยู่อย่างหนึ่งคือ โรคระบาดครั้งใหญ่ที่มีลักษณะเหมือนอย่างวิกฤตในครั้งนี้ มันเกิดขึ้นในทุก 100 ปี
โรคระบาดกาฬโรค (ปี 1720 ; พ.ศ.2263)
Black Death หรือ "กาฬโรค" (Plague) ยมทูตสีดำที่ครั้งหนึ่งระบาดไปหลายภูมิภาคตั้งแต่ยุโรปมาจนถึงเอเชีย โดยต้นตอนั้นมาจากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ คือ "หมัด" และ "หนู" แต่คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 200 ล้านคน ทั่วโลก
เชื้อของโรคเกิดจากแบคทีเรีย ชื่อว่า “เยอร์ซิเนีย เปสติส” (Yersinia pestis ตั้งชื่อตามแพทย์ชาวฝรั่งเศส Alexandre Emile Jean Yersin ผู้ค้นพบเชื้อชนิดนี้) ซึ่งติดต่อมาสู่คนได้โดยหมัดที่อาศัยอยู่บนตัวหนูที่เป็นโรค แล้วหมัดก็กัดคนโดยที่แพร่เชื้อเข้าทางแผล ทั้งนี้ เชื้อยังสามารถแพร่ได้ทั้งทางอากาศ การสัมผัสโดยตรง และรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อด้วย
กาฬโรคนั้นจะเริ่มแสดงอาการหลังจากที่ถูกหมัดกัดไปแล้วประมาณ 2-7 วัน อาการเริ่มแรกจะคล้ายกับคนเป็นไข้หวัดใหญ่ คือไข้ขึ้นสูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และหลังจากนั้นจะเริ่มมีอาการอื่นๆ ตามมา เช่น เมื่อเชื้อเคลื่อนตัวไปเจริญเติบโตยังต่อมน้ำเหลือง จะก่อให้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบ บวม แดง เมื่อกดจะเจ็บ มักเกิดตามบริเวณขาหนีบ หรือรักแร้
เมื่อเชื้อเริ่มลุกลาม จะเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ความดันต่ำ เลือดออกในอวัยวะต่างๆ เจ็บปวดทุกข์ทรมาน และเสียชีวิตภายใน 3-5 วัน
หากมีการติดเชื้อจากการถูกไอ จาม รดกัน เชื้อจะเข้าสู่ปอดทำให้เป็นกาฬโรคปอดบวม ไอเป็นเลือด อ่อนเพลีย มีไข้ การติดเชื้อในลักษณะนี้จะเสียชีวิตเร็วมาก ภายใน 1-3 วัน
คำเรียก Black Death นั้นมาจากอาการขั้นสุดท้ายของผู้ป่วยจากโรคนี้ คือร่างกายจะกลายเป็นสีดำเพราะมีเลือดออกใต้ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า แต่ยังมีอีกความหมายหนึ่งที่สื่อถึงผู้คนในยุคสมัยนั้นที่มีแต่ความหดหู่ และเศร้าหมอง
กาฬโรคนั้นมีการระบาดอย่างยาวนานในทวีปยุโรปตั้งแต่ช่วงยุคกลาง แต่ช่วงที่มีคนเสียชีวิตมากที่สุด ก็คงการระบาดระรอกที่ 2 ในยุคศตวรรษที่ 14-19 ซึ่งเรียกว่า “Great Pestilence” หรือ “Great Plague” ซึ่งรอบนี้ความรุนแรงของโรคทวีคูณมากขึ้น
การระบาดของกาฬโรคในประเทศไทย
สำหรับการแพร่ระบาดของโรคนี้ โดยที่มีการบันทึกอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย คือวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2447 ว่า พบการระบาดเกิดขึ้นที่บริเวณโกดังเก็บสินค้าในจังหวัดธนบุรี บริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของพ่อค้าชาวอินเดีย สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากหนูที่มีเชื้อกาฬโรค ติดมาจากเรือสินค้าที่
ที่มาจากเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย แล้วระบาดจากธนบุรีเข้ามาฝั่งพระนคร แล้วจึงกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ ที่มีการติดต่อค้าขายกับจังหวัดพระนคร โดยทางบก ทางเรือและทางรถไฟ แต่ไม่มีสถิติจำนวนผู้ป่วยตายที่แน่นอน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 มีรายงานว่าเกิดกาฬโรคระบาดที่จังหวัดนครปฐม มีคนตาย 300 คน และครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 มีรายงานผู้ป่วย 2 รายตาย 1 ราย ที่ตลาดตาคลี นครสวรรค์ ซึ่งถือเป็นรายงานการระบาดของกาฬโรคครั้งสุดท้ายในประเทศไทย จากนั้นไม่มีรายงานกาฬโรคเกิดขึ้นในประเทศไทยอีกจนปัจจุบันนี้
อ้างอิง
www.history.com/topics/middle-ages/black-death
www.hfocus.org/content/2014/08/7906
webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=394
Cr.
https://travel.trueid.net/detail/6Dpxv0vqBGkD / By Muzika
อหิวาตกโรค (ปี 1820 ; พ.ศ.2363)
การระบาดครั้งนี้ก็ถือเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่อีกเช่นกัน โดยการระบาดครั้งนี้มีจุดศูนย์กลางเริ่มต้นที่ทวีปยุโรป โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส โดยในลอนดอนนั้นมีผู้เสียชีวิตประมาณ 6,536 คน และมีผู้เสียชีวิตในกรุงปารีสประมาณ 20,000 คน และมีการแพร่ระบาดเรื่อยมาจนถึงรัสเซีย และทวีปอเมริกา
ในไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากโรคร้ายนี้ด้วยเช่นกัน โดยการระบาดของอหิวาตกโรคครั้งนี้ในไทยตรงกับในยุครัชกาลที่สอง โดยได้รับอิทธิพลการระบาดมาจากอินเดีย และค่อยๆ เข้ามาตามหัวเมืองต่างๆ การระบาดครั้งนี้ในไทยกินระยะเวลากว่า 2 สัปดาห์ แต่มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากจนจัดการกับศพไม่ทัน ศพถูกกองอยู่ตามวัดต่างๆ
โดยเฉพาะในวัดสระเกศ (ภูเขาทอง) ที่เป็นศูนย์กลางในการกำจัดศพ เมื่อศพมีจำนวนมาก ก็ดึงดูให้แร้งลงมากิน และการระบาดของอหิวาห์ครั้งนี้ก็กลายเป็นที่มาของวลี “แร้งวัดสระเกศ” ไปโดยปริยาย และผู้เสียชีวิตจากการระบาดในไทยครั้งนี้มีจำนวนประมาณ 30,000 คน ผู้หญิงตายมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 ใน 3
อหิวาตกโรค (Cholera) คือ โรคระบาดที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร จะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต มีพาหะคือแมลงวัน โดยเชื้อโรคมักอยู่ในน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน
อ้างอิง :
พระราชพงษาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2. พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, จากเว็บไซต์ห้องสมุดวชิรญาณ
นภนาท อนุพงศ์พัฒน์ และคณะ. รอยเวลา เส้นทางประวัติศาสตร์สุขภาพ. สำนักพิมพ์สุขศาลา สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ, 2556
Cr.
https://www.silpa-mag.com/history/article_44827
Cr.
https://www.blockdit.com/articles/5e704bc8f32ecd0cb8c21cff / เพจสมองไหล
โรคไข้หวัดใหญ่สเปน (ปี 1920 ; พ.ศ.2463)
เป็นการระบาดของเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Influenza หรือมีชื่อเรียกง่ายๆ ว่า ‘ไข้หวัดใหญ่สเปน’ ไม่มีใครทราบถึงที่มาว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร แต่นักระบาดวิทยาคาดว่าน่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ที่กลายพันธุ์มาจากสัตว์อีกทีหนึ่ง ไวรัสกลายพันธุ์นี้จะเข้าไปจู่โจมระบบทางเดินหายใจ จนทำให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้อย่างง่ายดายภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์
ในช่วงแรกผู้ป่วยจะมีอาการป่วยคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป คือมีไข้สูง จาม คลื่นไส้ ปวดเมื่อยตามลำตัว และท้องเสีย แต่เมื่อเชื้อไวรัสเริ่มผ่านการวิวัฒนาการ อาการของคนไข้ก็จะทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว ใบหน้าของผู้ป่วยจะกลายเป็นสีน้ำเงิน (เป็นเพราะว่าไวรัสทำให้อวัยวะภายในร่างกายเลือดออก) และปอดจะเต็มไปด้วยของเหลว หลังจากนั้นผู้ติดเชื้อก็จะเริ่มหายใจไม่ออก และเสียชีวิต
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตจะเป็นวัยผู้ใหญ่ที่มีร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพดี จากรายงานพบว่ากว่า 92% ของผู้เสียชีวิต คือคนที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี
มีการสันนิษฐานว่า ภูมิคุ้มกันของคนหนุ่มสาวนั้นดีกว่าเหล่าผู้สูงอายุและเด็กๆ เมื่อเกิดอาการ Cytokine Storm ขึ้น ก็เลยได้รับความเสียหายรุนแรงกว่า
ไข้หวัดใหญ่สเปนสามารถติดต่อกันจากคนสู่คนได้อย่างง่ายดายผ่าน การจาม, การไอ, หรือแม้แต่การพูดคุย หรืออะไรก็ตามที่เป็นเหตุให้ของเหลวที่อยู่ในระบบทางเดินหายใจของผู้ติดเชื้อ กระเด็นออกมาจากร่างกาย กลายเป็นละอองลอยอยู่ในอากาศ และคนที่อยู่ใกล้ๆ ก็จะมีโอกาสรับเชื้อเข้าไปได้
ซึ่งวิธีการในการติดเชื้อก็มีอยู่หลายช่องทาง คือ ทางตา ทางปาก และทางจมูก
จากการแพร่ระบาดอย่างหนักจนหยุดไม่อยู่ของไวรัสไข้หวัดใหญ่สเปน ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกราวๆ 500 ล้านราย เสียชีวิตทั้งหมดราวๆ 20 ถึง 50 ล้านราย หรืออาจจะมากถึง 100 ล้านราย จุดจบของไข้หวัดใหญ่สเปนนั้นก็เป็นเรื่องราวที่น่าแปลกใจไม่แพ้กัน ในปี 1919 (1 ปีหลังจากระบาดอย่างหนัก) มันก็ค่อยๆ ระบาดน้อยลง ก่อนที่ในปี 1920 จะหายไปอย่างไร้ร่องรอย
ที่มา : history, cdc, wiki
Cr.
https://www.catdumb.tv/spanish-influenza-119/ By เหมียวหง่าว
ไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 (2019 ; 2562)
ไวรัสโคโรน่าเป็นไวรัสที่จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ที่สุดในบรรดาไวรัสที่พบในทั้งสัตว์และคน ไวรัสโคโรน่ายังเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเจ็บป่วยต่าง ๆ ตั้งแต่โรคหวัดธรรมดาจนถึงโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยอย่างรุนแรง เช่น โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) และ โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (SARS)
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้จะมีอาการเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยจะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ได้แก่ คัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ โดยในบางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย บางรายเสียชีวิต แต่หากผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน และโรคหัวใจ จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงหากได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่
การระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (2019-nCov) หรือ COVID-19 เป็นวิกฤติที่นานาประเทศให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตื่นตัวและความหวาดกลัวให้คนทั่วโลก
หลังจากมีการรายงานการพบผู้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบหลายรายในเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปลายปี 2562 และขณะนี้ยังคงปรากฏการแพร่กระจายในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อในวงกว้างที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
โดยมีข้อมูลบ่งชี้ว่าในระยะแรกการระบาดมีสาเหตุมาจากสัตว์สู่คน เชื้อไวรัสโคโรนาที่เคยระบาดทั้งในอดีตและปัจจุบันมีต้นตอของเชื้อที่เหมือนกันคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาทิ ค้างคาว และอูฐ แต่เมื่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ทำให้ทนทานต่อภูมิคุ้มกันของคนและสามารถพัฒนาตัวกลายเป็นเชื้อที่ติดต่อจากคนสู่คนได้ จนกระทั่งองค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น "การระบาดใหญ่" หรือ pandemic หลังจากเชื้อลุกลามไปอย่างรวดเร็วในกว่า 110 ประเทศและดินแดนทั่วโลก
ข้อมูลจากจากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ของสหรัฐฯ ระบุว่า ปัจจุบันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แพร่ระบาดไปแล้วใน 169 ประเทศและดินแดนทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อกว่า 311,988 คน ทั้งได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 13,407 คน
อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถป้องกันได้ และเมื่อติดเชื้อแล้วก็มีโอกาสที่จะรักษาหายได้สูง แต่สิ่งที่ทำให้มันน่ากลัวก็คือมันสามารถติดเชื้อได้ง่าย และส่งผลเสียกับเนื้อเยื่อปอดโดยตรง
สถานการณ์ในไทย
กระทรวงสาธารณสุขรายงาน จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในประเทศไทยในรอบ 24 ชั่วโมงยังสูงขึ้น ทำสถิติใหม่ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากถึง 188 ราย เมื่อวันที่ 22 มี.ค. ทำให้ยอดสะสมของผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทยอยู่ที่ 599 ราย โดยมีผู้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 553 ราย ส่วนผู้ป่วยอีก 45 รายรักษาหายแล้ว และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย
แหล่งอ้างอิง :
www.chula.ac.th
World Health Organization
www.bbc.com/thai
รพ.ศิครินทร์ กรุงเทพ
Cr.
https://www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus
Cr.
https://www.025798899.com/news/1723
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
โรคระบาดที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ทุก 100 ปี
หากย้อนดูการเกิดโรคระบาดในอดีตนั้นเป็นเรื่องประหลาดอยู่อย่างหนึ่งคือ โรคระบาดครั้งใหญ่ที่มีลักษณะเหมือนอย่างวิกฤตในครั้งนี้ มันเกิดขึ้นในทุก 100 ปี
กาฬโรคนั้นจะเริ่มแสดงอาการหลังจากที่ถูกหมัดกัดไปแล้วประมาณ 2-7 วัน อาการเริ่มแรกจะคล้ายกับคนเป็นไข้หวัดใหญ่ คือไข้ขึ้นสูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และหลังจากนั้นจะเริ่มมีอาการอื่นๆ ตามมา เช่น เมื่อเชื้อเคลื่อนตัวไปเจริญเติบโตยังต่อมน้ำเหลือง จะก่อให้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบ บวม แดง เมื่อกดจะเจ็บ มักเกิดตามบริเวณขาหนีบ หรือรักแร้
เมื่อเชื้อเริ่มลุกลาม จะเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ความดันต่ำ เลือดออกในอวัยวะต่างๆ เจ็บปวดทุกข์ทรมาน และเสียชีวิตภายใน 3-5 วัน
หากมีการติดเชื้อจากการถูกไอ จาม รดกัน เชื้อจะเข้าสู่ปอดทำให้เป็นกาฬโรคปอดบวม ไอเป็นเลือด อ่อนเพลีย มีไข้ การติดเชื้อในลักษณะนี้จะเสียชีวิตเร็วมาก ภายใน 1-3 วัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 มีรายงานว่าเกิดกาฬโรคระบาดที่จังหวัดนครปฐม มีคนตาย 300 คน และครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 มีรายงานผู้ป่วย 2 รายตาย 1 ราย ที่ตลาดตาคลี นครสวรรค์ ซึ่งถือเป็นรายงานการระบาดของกาฬโรคครั้งสุดท้ายในประเทศไทย จากนั้นไม่มีรายงานกาฬโรคเกิดขึ้นในประเทศไทยอีกจนปัจจุบันนี้
อ้างอิง
www.history.com/topics/middle-ages/black-death
www.hfocus.org/content/2014/08/7906
webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=394
Cr.https://travel.trueid.net/detail/6Dpxv0vqBGkD / By Muzika
ในไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากโรคร้ายนี้ด้วยเช่นกัน โดยการระบาดของอหิวาตกโรคครั้งนี้ในไทยตรงกับในยุครัชกาลที่สอง โดยได้รับอิทธิพลการระบาดมาจากอินเดีย และค่อยๆ เข้ามาตามหัวเมืองต่างๆ การระบาดครั้งนี้ในไทยกินระยะเวลากว่า 2 สัปดาห์ แต่มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากจนจัดการกับศพไม่ทัน ศพถูกกองอยู่ตามวัดต่างๆ
พระราชพงษาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2. พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, จากเว็บไซต์ห้องสมุดวชิรญาณ
นภนาท อนุพงศ์พัฒน์ และคณะ. รอยเวลา เส้นทางประวัติศาสตร์สุขภาพ. สำนักพิมพ์สุขศาลา สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ, 2556
Cr.https://www.silpa-mag.com/history/article_44827
Cr.https://www.blockdit.com/articles/5e704bc8f32ecd0cb8c21cff / เพจสมองไหล
ในช่วงแรกผู้ป่วยจะมีอาการป่วยคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป คือมีไข้สูง จาม คลื่นไส้ ปวดเมื่อยตามลำตัว และท้องเสีย แต่เมื่อเชื้อไวรัสเริ่มผ่านการวิวัฒนาการ อาการของคนไข้ก็จะทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว ใบหน้าของผู้ป่วยจะกลายเป็นสีน้ำเงิน (เป็นเพราะว่าไวรัสทำให้อวัยวะภายในร่างกายเลือดออก) และปอดจะเต็มไปด้วยของเหลว หลังจากนั้นผู้ติดเชื้อก็จะเริ่มหายใจไม่ออก และเสียชีวิต
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตจะเป็นวัยผู้ใหญ่ที่มีร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพดี จากรายงานพบว่ากว่า 92% ของผู้เสียชีวิต คือคนที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี
มีการสันนิษฐานว่า ภูมิคุ้มกันของคนหนุ่มสาวนั้นดีกว่าเหล่าผู้สูงอายุและเด็กๆ เมื่อเกิดอาการ Cytokine Storm ขึ้น ก็เลยได้รับความเสียหายรุนแรงกว่า
ไข้หวัดใหญ่สเปนสามารถติดต่อกันจากคนสู่คนได้อย่างง่ายดายผ่าน การจาม, การไอ, หรือแม้แต่การพูดคุย หรืออะไรก็ตามที่เป็นเหตุให้ของเหลวที่อยู่ในระบบทางเดินหายใจของผู้ติดเชื้อ กระเด็นออกมาจากร่างกาย กลายเป็นละอองลอยอยู่ในอากาศ และคนที่อยู่ใกล้ๆ ก็จะมีโอกาสรับเชื้อเข้าไปได้
ซึ่งวิธีการในการติดเชื้อก็มีอยู่หลายช่องทาง คือ ทางตา ทางปาก และทางจมูก
จากการแพร่ระบาดอย่างหนักจนหยุดไม่อยู่ของไวรัสไข้หวัดใหญ่สเปน ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกราวๆ 500 ล้านราย เสียชีวิตทั้งหมดราวๆ 20 ถึง 50 ล้านราย หรืออาจจะมากถึง 100 ล้านราย จุดจบของไข้หวัดใหญ่สเปนนั้นก็เป็นเรื่องราวที่น่าแปลกใจไม่แพ้กัน ในปี 1919 (1 ปีหลังจากระบาดอย่างหนัก) มันก็ค่อยๆ ระบาดน้อยลง ก่อนที่ในปี 1920 จะหายไปอย่างไร้ร่องรอย
ที่มา : history, cdc, wiki
Cr.https://www.catdumb.tv/spanish-influenza-119/ By เหมียวหง่าว
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้จะมีอาการเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยจะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ได้แก่ คัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ โดยในบางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย บางรายเสียชีวิต แต่หากผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน และโรคหัวใจ จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงหากได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่
การระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (2019-nCov) หรือ COVID-19 เป็นวิกฤติที่นานาประเทศให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตื่นตัวและความหวาดกลัวให้คนทั่วโลก
หลังจากมีการรายงานการพบผู้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบหลายรายในเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปลายปี 2562 และขณะนี้ยังคงปรากฏการแพร่กระจายในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อในวงกว้างที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
โดยมีข้อมูลบ่งชี้ว่าในระยะแรกการระบาดมีสาเหตุมาจากสัตว์สู่คน เชื้อไวรัสโคโรนาที่เคยระบาดทั้งในอดีตและปัจจุบันมีต้นตอของเชื้อที่เหมือนกันคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาทิ ค้างคาว และอูฐ แต่เมื่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ทำให้ทนทานต่อภูมิคุ้มกันของคนและสามารถพัฒนาตัวกลายเป็นเชื้อที่ติดต่อจากคนสู่คนได้ จนกระทั่งองค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น "การระบาดใหญ่" หรือ pandemic หลังจากเชื้อลุกลามไปอย่างรวดเร็วในกว่า 110 ประเทศและดินแดนทั่วโลก
ข้อมูลจากจากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ของสหรัฐฯ ระบุว่า ปัจจุบันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แพร่ระบาดไปแล้วใน 169 ประเทศและดินแดนทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อกว่า 311,988 คน ทั้งได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 13,407 คน
อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถป้องกันได้ และเมื่อติดเชื้อแล้วก็มีโอกาสที่จะรักษาหายได้สูง แต่สิ่งที่ทำให้มันน่ากลัวก็คือมันสามารถติดเชื้อได้ง่าย และส่งผลเสียกับเนื้อเยื่อปอดโดยตรง
แหล่งอ้างอิง :
www.chula.ac.th
World Health Organization
www.bbc.com/thai
รพ.ศิครินทร์ กรุงเทพ
Cr.https://www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus
Cr.https://www.025798899.com/news/1723
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)