ก่อนอื่นเรามาเริ่มที่ตัวโรคกันก่อน
1.
ไวรัสโควิด-19 สามารถติดต่อได้ทุกสภาพภูมิอากาศ เพียงเขตร้อนมีโอกาสจะเกิดการระบาดรุนแรงน้อยกว่าเขตอบอุ่น และ เขตหนาวครับ
2.
โควิด-19 ไม่ติดผ่านการถูกยุงกัดครับ (อันนี้รวมถึงโรคเอดส์ด้วย ที่หลายๆคนสงสัย)
3.
การแช่น้ำร้อน หรือ อาบน้ำร้อน ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 เพราะ ความร้อนไม่พอที่จะฆ่าเชื้อ ถ้าใช้ความร้อนที่ฆ่าเขื้อได้คนอาบคงสุกพอดี เช่นเดียวกับการแช่ร้อนตามศูนย์อาหาร หม้อต้มใช้ความร้อนไม่พอต่อการฆ่าเชื้อ ดังนั้นเขื้อต่างๆก็ล่องลอยอยู่ในน้ำนั้นสะสมเชื้อไปโดยปริยาย
4.
เครื่องเป่ามือให้แห้งตามห้องน้ำในห้าง ฆ่าเชื้อโควิดไม่ได้ เพราะร้อนไม่พอ เพียงแค่ล้างมือกับสบู่ เจลล้างมือ หรือ สเปรย์แอลกอฮอลก็เพียงพอครับ
5.
การฉีดพ่นแอลกอฮอลใส่มือ หรือ ตัวเรา ช่วยฆ่าเชื้อที่อยู่รอบๆตัวเราเท่านั้น ช่วยป้องการนำเขื้อที่ติดอยู่ตามตัวเข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้าเชื้อเข้าไปตัวเราแล้วได้การฉีดพ่นก็ไม่เกิดประโยชน์ครับ ช่วงนี้แอลกอฮอลหายาก ใช้สบู่ล้างมือก็เพียงพอครับ จะให้ได้ผลเต็มที่เราต้องร่วมมือครับ งดจัดสังสรรค์ ปาร์ตี้ งดออกจากบ้านหรือรวมตัว โดยไม่จำเป็นครับ แล้วก็แอลกอฮอลควรระวังเข้าตา เข้าปากครับ
6.
ยาปฏิชีวนะ หรือ ที่คนไทยเรียกว่า ยาแก้อักเสบ (ยาแก้อักเสบจริงๆคือ กลุ่ม NSAID กับ คอร์ติโคสเตียรอยด์) ยาปฏิชีวนะ รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ได้ป้องกัน หรือ รักษา โรคติดเชื้อไวรัสรวมถึงเชื้อโควิด-19ด้วย แต่อย่างใด และ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุ ยังจะก่อปัญหาแบคทีเรียดื้อยาตามมาอีกด้วย
7.
ณ ตอนนี้ ยังไม่มียาใดป้องกันโควิด-19 ได้ หรือ เป็นยารักษาโดยเฉพาะ ดังนั้นอย่าหลงเชื่อ โฆษณา ยา อาหารเสริม ตามวิทยุ หรือ โทรทัศน์ ที่โฆษณาว่าป้องกันการติดโรคได้ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ ใส่แมสเมื่อเข้าพื้นที่แออัด หรือ ป่วย ไม่ออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น ไม่สังสรรค์ ล้างมือบ่อยๆ ตามที่กล่าวไปแล้วข้างบน การรักษาหลักในตอนนี้ คือ การรักษาแบบประคับประคอง โดยผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง (ไม่มีอาการปอดบวม) จะได้ยา Lopinavir/Ritonavir (ยาต้านไวรัส HIV) + Chloroquinine (ยาต้านมาลาเรีย) หรือ Oseltamivir (ยาต้านไข้หวัดใหญ่) ในเคสที่มีอาการปอดบวม จะให้ยา Favipiravir เพิ่มจากสูตรปกติ (ตอนนี้เห็นผลต้านโควิด-19ที่สุด) แต่เนื่องจากยา Favipiravir มีราคาแพง และ ต้องนำเข้า จึงสงวนให้คนที่จำเป็นเท่านั้น (ยาทุกตัวที่กล่าวมารวมถึง Favipiravir ตอนนี้กำลังศึกษาถึงประสิทธิภาพของยาอยู่ครับ)
*ข้อมูลแนวทางการให้ยาในผู้ป่วยโควิด จาก กรมการแพทย์ครับ
8.
รังสี UV จากหลอด UV ฆ่าเชื้อโควิดได้จริง แต่ไม่ควรใช้กับร่างกาย เนื่องจากจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ครับ
9.
คนทุกวัยมีโอกาสติดเชื้อเท่ากันหมดครับ เพียงแต่ คนที่มีโรคประจำตัว เด็ก ผู้สูงอายุ มีโอกาสที่จะอาการรุนแรงมากกว่าคนอื่นๆครับ
10. - ร้อยละ 80 ของผู้ป่วย จะไม่มีอาการ หรือ เหมือนเป็นหวัดเล็กน้อย
- ร้อยละ 15 ของผู้ป่วย จะมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น ไข้สูงลอย หายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก
- ร้อยละ 5 ของผู้ป่วย จะอยู่ในกลุ่มวิกฤต ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ มีน้ำท่วมปอด
11. เชื้อแพร่ผ่านสารคัดหลั่งของผู้ป่วย (น้ำมูก น้ำลาย จากการไอ จาม) ไม่ได้อยู่ๆลอยมาเราตามอากาส เหมือนที่หลายๆคนเข้าใจ (การไอ จาม การที่มือเราไปสัมผัสละอองพวกนี้เอาไปลูบหน้าตา จมูก เป็นตัวพาให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย หรือใช้ช้อน หลอด ร่วมกัน)
12. กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ดีสุด และ ยังใช้ได้เสมอครับ
ต่อมา มาดูการใส่แมส (ใช้กับหน้ากากผ้าได้ด้วย) ที่ถูกต้องกันครับ
1.
เมื่อไหร่ควรใช้แมส หรือ หน้ากากอนามัน
-เมื่อเข้าไปในชุมชนแออัด หรือ สถานที่ที่คนเยอะๆ
-เมื่อมีอสการป่วย ไอ จาม
-เมื่อต้องเข้าใกล้พื้นที่เสี่ยง หรือ บุคคลที่มีความเสี่ยง
*เพื่อให้จำนวนหน้ากากมีเพียงพอต่อ บุคลากรทางการแพทย์ และ ผู้มีความเสี่ยงสูง ถ้าไม่ได้ป่วย หรือ ทำงาน/เข้าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ ใช้หน้ากากผ้าดีกว่าครับ
2.
ก่อนใส่แมสควรล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล หรือ เจลล้างมือ
3.
การใส่แมส ต้องใส่แนบชิดกับหน้า โดยไม่ให้มีช่องว่าง (หรือมีน้อยที่สุด) โดยกดบริเวณสันจมูกให้เข้ากับรูปหน้า โดยด้านของหน้ากากนั้น ถ้าให้หันด้านที่มีสีออก (ไม่ว่าจะสีเขียว สีฟ้า ก็แล้วแต่) แต่ถ้าไม่มีสีให้สังเกตุรอยพับหน้ากากครับว่าด้านไหนใน ด้านไหนนอก
4.
ไม่ควรสัมผัสบริเวณที่เป็นตัวแมส เนื่องจากเชื้อโรค ละอองน้ำลาย น้ำมูก ที่มาจากภายนอกจะติดอยู่ตรงนี้ (ตัวสายจับได้ปกติ) หากเผลอไปสัมผัสต้องล้างมือให้สะอาดครับ กับสบู่ หรือ เจลก็ได้
5.
เปลี่ยนหน้ากากเมื่อรู้สึกว่ามีความชื้น หรือ สกปรก ในกรณีของหน้ากากใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ หากต้องการใช้ซ้ำ แนะนำเป็นหน้ากากผ้าจะเหมาะกว่าครับ อีกนิดก่อนทิ้ง ควรตัดครึ่ง หรือตัดยังไงก็ได้ เพื่อป้องกันการนำกลับไปรีด แล้ว มาขายใหม่ หากหาถังขยะติดเชื้อได้ให้ทิ้งในนั้น ถ้าหาไม่ได้ใส่ถุงดำแยกไว้ครับ อาจหาไรมาติดว่าเป็นขยะหน้ากากอนามัย ก่อนนำไปทิ้ง เพื่อจะได้นำไปจัดการอย่างถูกต้อง
6.
ตอนถอดแมส ให้ใช้มือจับตรงสายคล้องหูด้านหลัง แล้วถอดออก พยายามอย่าจับด้านหน้า (เนื่องจากเชื้อโรคจากภายนอกที่ติดอยู่ก็จะติดมือ แล้วไปติดอย่างอื่นที่เราจับด้วย) แล้วนำไปทิ้งตามปกติ หลังจากนั้นล้างมือให้สะอาด
ขอบคุณข้อมูลจาก WHO (องค์การอนามัยโลก) และ กรมการแพทย์ครับ
ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม มาแชร์กันครับ
หากท่านใดเห็นว่าข้อมูลผิดพลาด บอกได้เลยครับ จะแก้ไขให้ อยากให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องครับ
มาแชร์ความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวโรคโควิด-19 กันครับ
1.
ไวรัสโควิด-19 สามารถติดต่อได้ทุกสภาพภูมิอากาศ เพียงเขตร้อนมีโอกาสจะเกิดการระบาดรุนแรงน้อยกว่าเขตอบอุ่น และ เขตหนาวครับ
2.
โควิด-19 ไม่ติดผ่านการถูกยุงกัดครับ (อันนี้รวมถึงโรคเอดส์ด้วย ที่หลายๆคนสงสัย)
3.
การแช่น้ำร้อน หรือ อาบน้ำร้อน ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 เพราะ ความร้อนไม่พอที่จะฆ่าเชื้อ ถ้าใช้ความร้อนที่ฆ่าเขื้อได้คนอาบคงสุกพอดี เช่นเดียวกับการแช่ร้อนตามศูนย์อาหาร หม้อต้มใช้ความร้อนไม่พอต่อการฆ่าเชื้อ ดังนั้นเขื้อต่างๆก็ล่องลอยอยู่ในน้ำนั้นสะสมเชื้อไปโดยปริยาย
4.
เครื่องเป่ามือให้แห้งตามห้องน้ำในห้าง ฆ่าเชื้อโควิดไม่ได้ เพราะร้อนไม่พอ เพียงแค่ล้างมือกับสบู่ เจลล้างมือ หรือ สเปรย์แอลกอฮอลก็เพียงพอครับ
5.
การฉีดพ่นแอลกอฮอลใส่มือ หรือ ตัวเรา ช่วยฆ่าเชื้อที่อยู่รอบๆตัวเราเท่านั้น ช่วยป้องการนำเขื้อที่ติดอยู่ตามตัวเข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้าเชื้อเข้าไปตัวเราแล้วได้การฉีดพ่นก็ไม่เกิดประโยชน์ครับ ช่วงนี้แอลกอฮอลหายาก ใช้สบู่ล้างมือก็เพียงพอครับ จะให้ได้ผลเต็มที่เราต้องร่วมมือครับ งดจัดสังสรรค์ ปาร์ตี้ งดออกจากบ้านหรือรวมตัว โดยไม่จำเป็นครับ แล้วก็แอลกอฮอลควรระวังเข้าตา เข้าปากครับ
6.
ยาปฏิชีวนะ หรือ ที่คนไทยเรียกว่า ยาแก้อักเสบ (ยาแก้อักเสบจริงๆคือ กลุ่ม NSAID กับ คอร์ติโคสเตียรอยด์) ยาปฏิชีวนะ รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ได้ป้องกัน หรือ รักษา โรคติดเชื้อไวรัสรวมถึงเชื้อโควิด-19ด้วย แต่อย่างใด และ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุ ยังจะก่อปัญหาแบคทีเรียดื้อยาตามมาอีกด้วย
7.
ณ ตอนนี้ ยังไม่มียาใดป้องกันโควิด-19 ได้ หรือ เป็นยารักษาโดยเฉพาะ ดังนั้นอย่าหลงเชื่อ โฆษณา ยา อาหารเสริม ตามวิทยุ หรือ โทรทัศน์ ที่โฆษณาว่าป้องกันการติดโรคได้ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ ใส่แมสเมื่อเข้าพื้นที่แออัด หรือ ป่วย ไม่ออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น ไม่สังสรรค์ ล้างมือบ่อยๆ ตามที่กล่าวไปแล้วข้างบน การรักษาหลักในตอนนี้ คือ การรักษาแบบประคับประคอง โดยผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง (ไม่มีอาการปอดบวม) จะได้ยา Lopinavir/Ritonavir (ยาต้านไวรัส HIV) + Chloroquinine (ยาต้านมาลาเรีย) หรือ Oseltamivir (ยาต้านไข้หวัดใหญ่) ในเคสที่มีอาการปอดบวม จะให้ยา Favipiravir เพิ่มจากสูตรปกติ (ตอนนี้เห็นผลต้านโควิด-19ที่สุด) แต่เนื่องจากยา Favipiravir มีราคาแพง และ ต้องนำเข้า จึงสงวนให้คนที่จำเป็นเท่านั้น (ยาทุกตัวที่กล่าวมารวมถึง Favipiravir ตอนนี้กำลังศึกษาถึงประสิทธิภาพของยาอยู่ครับ)
*ข้อมูลแนวทางการให้ยาในผู้ป่วยโควิด จาก กรมการแพทย์ครับ
8.
รังสี UV จากหลอด UV ฆ่าเชื้อโควิดได้จริง แต่ไม่ควรใช้กับร่างกาย เนื่องจากจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ครับ
9.
คนทุกวัยมีโอกาสติดเชื้อเท่ากันหมดครับ เพียงแต่ คนที่มีโรคประจำตัว เด็ก ผู้สูงอายุ มีโอกาสที่จะอาการรุนแรงมากกว่าคนอื่นๆครับ
10. - ร้อยละ 80 ของผู้ป่วย จะไม่มีอาการ หรือ เหมือนเป็นหวัดเล็กน้อย
- ร้อยละ 15 ของผู้ป่วย จะมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น ไข้สูงลอย หายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก
- ร้อยละ 5 ของผู้ป่วย จะอยู่ในกลุ่มวิกฤต ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ มีน้ำท่วมปอด
11. เชื้อแพร่ผ่านสารคัดหลั่งของผู้ป่วย (น้ำมูก น้ำลาย จากการไอ จาม) ไม่ได้อยู่ๆลอยมาเราตามอากาส เหมือนที่หลายๆคนเข้าใจ (การไอ จาม การที่มือเราไปสัมผัสละอองพวกนี้เอาไปลูบหน้าตา จมูก เป็นตัวพาให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย หรือใช้ช้อน หลอด ร่วมกัน)
12. กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ดีสุด และ ยังใช้ได้เสมอครับ
ต่อมา มาดูการใส่แมส (ใช้กับหน้ากากผ้าได้ด้วย) ที่ถูกต้องกันครับ
1.
เมื่อไหร่ควรใช้แมส หรือ หน้ากากอนามัน
-เมื่อเข้าไปในชุมชนแออัด หรือ สถานที่ที่คนเยอะๆ
-เมื่อมีอสการป่วย ไอ จาม
-เมื่อต้องเข้าใกล้พื้นที่เสี่ยง หรือ บุคคลที่มีความเสี่ยง
*เพื่อให้จำนวนหน้ากากมีเพียงพอต่อ บุคลากรทางการแพทย์ และ ผู้มีความเสี่ยงสูง ถ้าไม่ได้ป่วย หรือ ทำงาน/เข้าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ ใช้หน้ากากผ้าดีกว่าครับ
2.
ก่อนใส่แมสควรล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล หรือ เจลล้างมือ
3.
การใส่แมส ต้องใส่แนบชิดกับหน้า โดยไม่ให้มีช่องว่าง (หรือมีน้อยที่สุด) โดยกดบริเวณสันจมูกให้เข้ากับรูปหน้า โดยด้านของหน้ากากนั้น ถ้าให้หันด้านที่มีสีออก (ไม่ว่าจะสีเขียว สีฟ้า ก็แล้วแต่) แต่ถ้าไม่มีสีให้สังเกตุรอยพับหน้ากากครับว่าด้านไหนใน ด้านไหนนอก
4.
ไม่ควรสัมผัสบริเวณที่เป็นตัวแมส เนื่องจากเชื้อโรค ละอองน้ำลาย น้ำมูก ที่มาจากภายนอกจะติดอยู่ตรงนี้ (ตัวสายจับได้ปกติ) หากเผลอไปสัมผัสต้องล้างมือให้สะอาดครับ กับสบู่ หรือ เจลก็ได้
5.
เปลี่ยนหน้ากากเมื่อรู้สึกว่ามีความชื้น หรือ สกปรก ในกรณีของหน้ากากใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ หากต้องการใช้ซ้ำ แนะนำเป็นหน้ากากผ้าจะเหมาะกว่าครับ อีกนิดก่อนทิ้ง ควรตัดครึ่ง หรือตัดยังไงก็ได้ เพื่อป้องกันการนำกลับไปรีด แล้ว มาขายใหม่ หากหาถังขยะติดเชื้อได้ให้ทิ้งในนั้น ถ้าหาไม่ได้ใส่ถุงดำแยกไว้ครับ อาจหาไรมาติดว่าเป็นขยะหน้ากากอนามัย ก่อนนำไปทิ้ง เพื่อจะได้นำไปจัดการอย่างถูกต้อง
6.
ตอนถอดแมส ให้ใช้มือจับตรงสายคล้องหูด้านหลัง แล้วถอดออก พยายามอย่าจับด้านหน้า (เนื่องจากเชื้อโรคจากภายนอกที่ติดอยู่ก็จะติดมือ แล้วไปติดอย่างอื่นที่เราจับด้วย) แล้วนำไปทิ้งตามปกติ หลังจากนั้นล้างมือให้สะอาด
ขอบคุณข้อมูลจาก WHO (องค์การอนามัยโลก) และ กรมการแพทย์ครับ
ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม มาแชร์กันครับ
หากท่านใดเห็นว่าข้อมูลผิดพลาด บอกได้เลยครับ จะแก้ไขให้ อยากให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องครับ