ศูนย์จีโนมฯ บอกผลวิจัยยังไม่ชี้ชัดใส่หน้ากากอนามัยป้องกันโควิดได้จริง
ศูนย์จีโนมฯ รามาธิบดีเผยงานวิจัยทางการแพทย์บอกการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลช่วยลดการติดเชื้อไวรัสได้ แต่การใส่หน้ากากอนามัยยังมีข้อมูลย้อนแย้ง
09 มี.ค.2566 - เพจศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความว่า ผลของ “การล้างมือ” เปรียบเทียบกับ “การสวมหน้ากากอนามัย”ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่แพร่ระหว่างคนสู่คนทางระบบทางเดินหายใจ
เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ส่วนใหญ่ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันและยาต้านไวรัสในการรักษาที่ผ่านการรับรอง ดังนั้นการป้องกันตัวเองขั้นพื้นฐาน เช่น “กินร้อน-ช้อนกลาง-สวมหน้ากากอนามัย-ล้างมือ (ด้วยสบู่)-ดื่มน้ำสะอาด(ต้มสุก)-ป้องกันสัตว์หรือยุงกัด” จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการยับยั้งไวรัสแต่ละชนิดแพร่ติดต่อจากสัตว์สู่คน หรือระหว่างคนสู่คน
จากงานวิจัยที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์หลายฉบับ แสดงให้เห็นว่าการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลล้างมือช่วยลดการติดเชื้อไวรัสทางระบบเดินหายใจลงได้ถึง 14%-21% แต่ในกรณีของไข้หวัดใหญ่ มีหลักฐานบ่งชี้ว่าช่วยลดการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัสติดต่อทางระบบเดินหายใจประมาณ 11%
ตรงข้ามจากงานวิจัยส่วนหนึ่งกลับไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หรือไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มผู้ที่สวมหน้ากากอนามัยในชุมชนเปรียบเทียบกับกลุ่มไม่สวมหน้ากากอนามัย
อย่างไรก็ตาม มีอีกหลายงานวิจัยที่ยังคงแนะนำว่าหน้ากากอนามัยยังสามารถลดการแพร่กระจายของ SARS-CoV-2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ SARS-CoV-2
ดังนั้นเพื่อจะสรุปให้ชัดว่าการสวมใส่หน้ากากอนามัยมีประโยชน์หรือในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส คงต้องรอประเมินจากผลงานวิจัยที่ทยอยลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์อีกระยะหนึ่ง
https://www.thaipost.net/covid-19-news/338030/
ผลหารศึกษาชิ้นหนึ่งระบุว่า ยากลุ่มโมโนโคลนอลแอนติบอดีตัวใหม่ ชื่อว่า “โฟราลูแมบ” มีประสิทธิภาพเพียงพอ ในการใช้รักษาอาการป่วยจากโรคโควิด-19
9 มีนาคม 2566
สำนักข่าวซินหัว รายงานจากนครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ว่า วารสารพีเอ็นเอเอส เผยแพร่ผลการศึกษาที่ระบุว่า “โฟราลูแมบ” ( Foralumab ) ยากลุ่มโมโนโคลนอลแอนติบอดี ( monoclonal antibody ) ตัวใหม่ มีแนวโน้มสามารถรักษาโรคโควิด-19
ทั้งนี้ คณะนักวิจัยทำการทดลองแบบสุ่ม ด้วยการพ่นยาโฟราลูแมบ ปริมาณ 100 มิลลิกรัม แก่ผู้ป่วยนอกที่มีอาการของโรคโควิด-19 ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จำนวน 12 คน เป็นเวลา 10 วัน โดยผู้ป่วยที่ได้รับการพ่นยามีอาการปอดอักเสบลดลง เมื่อเทียบกับผู้ป่วยซึ่งไม่ได้รับการพ่นยา
นอกจากนั้น ผลการศึกษาพบว่า ยาโฟราลูแมบปรับเปลี่ยนยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการตอบสนองของที-เซลล์ และพบการปรับเปลี่ยนทางพันธุกรรมซึ่งคล้ายกัน ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ( sclerosis ) ที่ได้รับการพ่นยาโฟราลูแมบ และ ยาโฟราลูแมบอาจมีศักยภาพรักษาหลายโรค ที่ก่ออาการอักเสบในมนุษย์ด้วย
สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/news/2079245/
เรื่องของโควิดยังน่าสนใจอยู่นะคะ....
🇹🇭🧡มาลาริน🧡🇹🇭ศูนย์จีโนมฯ บอกผลวิจัยยังไม่ชี้ชัดใส่หน้ากากอนามัยป้องกันโควิดได้จริง/พบแอนติบอดี” ตัวใหม่ มีศักยภาพ
ศูนย์จีโนมฯ รามาธิบดีเผยงานวิจัยทางการแพทย์บอกการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลช่วยลดการติดเชื้อไวรัสได้ แต่การใส่หน้ากากอนามัยยังมีข้อมูลย้อนแย้ง
09 มี.ค.2566 - เพจศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความว่า ผลของ “การล้างมือ” เปรียบเทียบกับ “การสวมหน้ากากอนามัย”ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่แพร่ระหว่างคนสู่คนทางระบบทางเดินหายใจ
เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ส่วนใหญ่ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันและยาต้านไวรัสในการรักษาที่ผ่านการรับรอง ดังนั้นการป้องกันตัวเองขั้นพื้นฐาน เช่น “กินร้อน-ช้อนกลาง-สวมหน้ากากอนามัย-ล้างมือ (ด้วยสบู่)-ดื่มน้ำสะอาด(ต้มสุก)-ป้องกันสัตว์หรือยุงกัด” จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการยับยั้งไวรัสแต่ละชนิดแพร่ติดต่อจากสัตว์สู่คน หรือระหว่างคนสู่คน
จากงานวิจัยที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์หลายฉบับ แสดงให้เห็นว่าการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลล้างมือช่วยลดการติดเชื้อไวรัสทางระบบเดินหายใจลงได้ถึง 14%-21% แต่ในกรณีของไข้หวัดใหญ่ มีหลักฐานบ่งชี้ว่าช่วยลดการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัสติดต่อทางระบบเดินหายใจประมาณ 11%
ตรงข้ามจากงานวิจัยส่วนหนึ่งกลับไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หรือไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มผู้ที่สวมหน้ากากอนามัยในชุมชนเปรียบเทียบกับกลุ่มไม่สวมหน้ากากอนามัย
อย่างไรก็ตาม มีอีกหลายงานวิจัยที่ยังคงแนะนำว่าหน้ากากอนามัยยังสามารถลดการแพร่กระจายของ SARS-CoV-2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ SARS-CoV-2
ดังนั้นเพื่อจะสรุปให้ชัดว่าการสวมใส่หน้ากากอนามัยมีประโยชน์หรือในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส คงต้องรอประเมินจากผลงานวิจัยที่ทยอยลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์อีกระยะหนึ่ง
https://www.thaipost.net/covid-19-news/338030/
ผลหารศึกษาชิ้นหนึ่งระบุว่า ยากลุ่มโมโนโคลนอลแอนติบอดีตัวใหม่ ชื่อว่า “โฟราลูแมบ” มีประสิทธิภาพเพียงพอ ในการใช้รักษาอาการป่วยจากโรคโควิด-19
9 มีนาคม 2566
สำนักข่าวซินหัว รายงานจากนครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ว่า วารสารพีเอ็นเอเอส เผยแพร่ผลการศึกษาที่ระบุว่า “โฟราลูแมบ” ( Foralumab ) ยากลุ่มโมโนโคลนอลแอนติบอดี ( monoclonal antibody ) ตัวใหม่ มีแนวโน้มสามารถรักษาโรคโควิด-19
ทั้งนี้ คณะนักวิจัยทำการทดลองแบบสุ่ม ด้วยการพ่นยาโฟราลูแมบ ปริมาณ 100 มิลลิกรัม แก่ผู้ป่วยนอกที่มีอาการของโรคโควิด-19 ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จำนวน 12 คน เป็นเวลา 10 วัน โดยผู้ป่วยที่ได้รับการพ่นยามีอาการปอดอักเสบลดลง เมื่อเทียบกับผู้ป่วยซึ่งไม่ได้รับการพ่นยา
นอกจากนั้น ผลการศึกษาพบว่า ยาโฟราลูแมบปรับเปลี่ยนยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการตอบสนองของที-เซลล์ และพบการปรับเปลี่ยนทางพันธุกรรมซึ่งคล้ายกัน ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ( sclerosis ) ที่ได้รับการพ่นยาโฟราลูแมบ และ ยาโฟราลูแมบอาจมีศักยภาพรักษาหลายโรค ที่ก่ออาการอักเสบในมนุษย์ด้วย
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/2079245/
เรื่องของโควิดยังน่าสนใจอยู่นะคะ....