SAP(Short Against Port) หลายๆท่านที่ถือหุ้นอยู่ เมื่อเวลาผ่านไป ราคาหุ้นตกลงมาใกล้ๆทุน หรือเท่ากับทุน หลายๆท่านไม่รู้จะทำอย่างไรดี ดังนั้นจึงมีเทคนิคที่เรียกว่าการ SAP
การ SAP คือ การขายออกไป เพื่อซื้อกลับในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม
เช่น มีหุ้น ABC ราคาทุนที่ 10 บาท จำนวน 10,000 หุ้น เมื่อราคาหุ้นลงมาเหลือ 10 บาท ก็ทำการขายหุ้นออกไป 10,000 หุ้น แล้วรอจังหวะซื้อคืน
เมื่อราคาลงไปถึง 8 บาท และเรามั่นใจแล้วว่า คงไม่ลงไปมากกว่านี้แล้ว ก็ซื้อกลับในราคา 8 บาท เราก็จะได้ต้นทุนที่ต่ำลง
เป็นไงครับ ดูเหมือนง่ายใช่ไหมครับ แต่ในชีวิตจริงไม่ง่ายแบบนั้น เพราะส่วนใหญ่บางท่านอาจจะพลาด เช่น ลงมาถึง 10 บาทแล้วขายออกไป จากนั้นหุ้นเด้งขึ้น และไม่ลงมาที่ราคานี้อีกเลย หรือ ราคาลงไปแล้วที่ 8 บาท เรามั่นใจว่าคงไม่ลงไปมากกว่านี้แล้ว ก็ซื้อกลับคืน ปรากฏว่าราคายังลงต่อไปอีกเรื่อยๆ ก็ติดดอยกันไปตามระเบียบ
ดังนั้น จากการที่ผมได้วิเคาะห์(เป็นการส่วนตัว) เราสามารถใช้หลักเกณฑ์การ SAP ได้ดังนี้ครับ
o หุ้นพื้นฐานขาขึ้น ตลาดขาลง ควร SAP
นั้นถือเป็นโอกาศที่เราจะได้หุ้นดีในราคาที่ถูกลง ไม่ว่าราคาจะลงไปอีกเท่าไรหลังจากเราซื้อแล้ว เราถือว่า เราได้ราคาที่ถูกกว่าการซื้อในครั้งแรกแน่นอน
o หุ้นพื้นฐานขาขึ้น ตลาดขาขึ้น ไม่ควร SAP
เพราะนั้น อาจทำให้คุณพลาด ในจังหวะซื้อคือ เพราะมันอาจไม่ลงต่อ และเด้งกลับทำให้เราต้องซื้อคืนในราคาที่แพงขึ้น หรือถ้ามันลง ก็คงลงไม่มาก ไม่คุ้มค่าต่อการเสี่ยงที่จะขายออกไป (แนะนำให้ซื้อถั่วเฉลี่ยหากราคาต่ำกว่าราคาทุน)
o หุ้นพื้นฐานขาลง ตลาดขาขึ้น ไม่ควร SAP
เพราะหากหุ้นที่เราซื้อนั้น พื้นฐานขาลงแล้ว ถึงแม้ตลาดจะขาขึ้น เราก็ไม่ควร SAP เพราะราคา อาจไหลต่ำลงไปเรื่อยๆ ตามมูลค่าพื้นฐาน
o หุ้นพื้นฐานขาลง ตลาดขาลง ไม่ควร SAP
แน่นอน หากหุ้นพื้นฐานขาลง และตลาดยิ่งขาลงแล้ว การ SAP ก็คือการรับมีดดีๆนี่เอง
ดังนั้น การ SAP ที่มีโอกาศผิดพลาดน้อยที่สุด สิ่งสำคัญคือ เราต้องมองพื้นฐานหุ้นให้ออก และมองแนวโน้มตลาดว่าเทรนนั้นเป็นอย่างไร
cr.:
https://www.facebook.com/PassionInStock/posts/699277793482499/
SAP กันไหมครับ
การ SAP คือ การขายออกไป เพื่อซื้อกลับในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม
เช่น มีหุ้น ABC ราคาทุนที่ 10 บาท จำนวน 10,000 หุ้น เมื่อราคาหุ้นลงมาเหลือ 10 บาท ก็ทำการขายหุ้นออกไป 10,000 หุ้น แล้วรอจังหวะซื้อคืน
เมื่อราคาลงไปถึง 8 บาท และเรามั่นใจแล้วว่า คงไม่ลงไปมากกว่านี้แล้ว ก็ซื้อกลับในราคา 8 บาท เราก็จะได้ต้นทุนที่ต่ำลง
เป็นไงครับ ดูเหมือนง่ายใช่ไหมครับ แต่ในชีวิตจริงไม่ง่ายแบบนั้น เพราะส่วนใหญ่บางท่านอาจจะพลาด เช่น ลงมาถึง 10 บาทแล้วขายออกไป จากนั้นหุ้นเด้งขึ้น และไม่ลงมาที่ราคานี้อีกเลย หรือ ราคาลงไปแล้วที่ 8 บาท เรามั่นใจว่าคงไม่ลงไปมากกว่านี้แล้ว ก็ซื้อกลับคืน ปรากฏว่าราคายังลงต่อไปอีกเรื่อยๆ ก็ติดดอยกันไปตามระเบียบ
ดังนั้น จากการที่ผมได้วิเคาะห์(เป็นการส่วนตัว) เราสามารถใช้หลักเกณฑ์การ SAP ได้ดังนี้ครับ
o หุ้นพื้นฐานขาขึ้น ตลาดขาลง ควร SAP
นั้นถือเป็นโอกาศที่เราจะได้หุ้นดีในราคาที่ถูกลง ไม่ว่าราคาจะลงไปอีกเท่าไรหลังจากเราซื้อแล้ว เราถือว่า เราได้ราคาที่ถูกกว่าการซื้อในครั้งแรกแน่นอน
o หุ้นพื้นฐานขาขึ้น ตลาดขาขึ้น ไม่ควร SAP
เพราะนั้น อาจทำให้คุณพลาด ในจังหวะซื้อคือ เพราะมันอาจไม่ลงต่อ และเด้งกลับทำให้เราต้องซื้อคืนในราคาที่แพงขึ้น หรือถ้ามันลง ก็คงลงไม่มาก ไม่คุ้มค่าต่อการเสี่ยงที่จะขายออกไป (แนะนำให้ซื้อถั่วเฉลี่ยหากราคาต่ำกว่าราคาทุน)
o หุ้นพื้นฐานขาลง ตลาดขาขึ้น ไม่ควร SAP
เพราะหากหุ้นที่เราซื้อนั้น พื้นฐานขาลงแล้ว ถึงแม้ตลาดจะขาขึ้น เราก็ไม่ควร SAP เพราะราคา อาจไหลต่ำลงไปเรื่อยๆ ตามมูลค่าพื้นฐาน
o หุ้นพื้นฐานขาลง ตลาดขาลง ไม่ควร SAP
แน่นอน หากหุ้นพื้นฐานขาลง และตลาดยิ่งขาลงแล้ว การ SAP ก็คือการรับมีดดีๆนี่เอง
ดังนั้น การ SAP ที่มีโอกาศผิดพลาดน้อยที่สุด สิ่งสำคัญคือ เราต้องมองพื้นฐานหุ้นให้ออก และมองแนวโน้มตลาดว่าเทรนนั้นเป็นอย่างไร
cr.: https://www.facebook.com/PassionInStock/posts/699277793482499/