พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๑. ญาณกถา
ว่าด้วยญาณ
๑. สุตมยญาณนิทเทส
แสดงสุตมยญาณ
[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๒)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรละ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๓)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๔)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๕)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๖)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๗)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๘)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๙)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๐)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๑)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๒)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น
ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๓)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๔)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้
สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๕)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ปัญญารู้
ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๖)
สุตตมยญานนิเทศ - ปัญญาในการเงี่ยโสตสดับธรรม ที่ได้ฟังมาแล้ว ชื่อว่า สุตตมยปัญญา
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๑. ญาณกถา
ว่าด้วยญาณ
๑. สุตมยญาณนิทเทส
แสดงสุตมยญาณ
[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๒)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรละ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๓)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๔)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๕)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๖)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๗)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๘)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๙)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๐)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๑)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๒)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น
ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๓)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๔)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้
สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๕)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ปัญญารู้
ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๖)