แปลผิด หรือจงใจแก้ไขคำสอน เพื่อให้เข้ากับทิฏฐิตน?

มีสมาชิกบางท่านกล่าวหาพระคึกฤทธิ์ว่าแปลบาลีผิด จึงต้องแก้ไขคำสอน เพื่อให้เข้ากับทิฏฐิตน
อันนี้ยังหาไม่เจอว่าพระคึกหรือสำนักนาป่าพงแก้ไขพระไตรปิฏกตรงจุดไหน มีแต่แสดงความคิดเห็น
วิพากษ์วิจารณ์ และคุยกันในหมู่ของตนเองเท่านั้นนะที่รู้มา..

    แต่นี่คือจงใจแก้ไขคำสอน เพื่อให้เข้ากับทิฏฐิตนอย่างเห็นได้ชัด ในพระไตรปิฏกกันเลย
เพียงแต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร สำนักไหน และทำไมชาวพุทธผู้รู้หลักธรรมความจริงทั้งหลาย
จึงนิ่งดูดายกันอยู่ได้ไม่รู้สึกอะไร..

ในเนื้อความนี้ครับ...

"  เมื่อพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควร
ละได้ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... จักษุ ...
ชราและมรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ เมื่อ
พิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ [ด้วยความเป็นอนัตตา] ด้วยความว่าเป็น
ที่สุด ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ธรรมใดๆ เป็นธรรมที่ละได้แล้วธรรมนั้นๆ เป็น
อันสละได้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า
รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ
เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ

****ในบาลีมีวงเล็บแบบนั้นด้วยหรือไม่ ภาษาไทยทำไมต้องมี [ด้วยความเป็นอนัตตา]แก้ไขต่อเติมเข้าไป*****

มันเป๋นจะอิ้ๆเน้อ
จะอู้หื้อ.....
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่