กถํ โสตาวธาเน ปญฺญา สุตมเย ญาณํ - ปัญญาในการเงี่ยโสตสดับธรรม ที่ได้ฟังมาแล้ว ชื่อว่า สุตมยปัญญา

กระทู้สนทนา
อย่างไร 
-ตามด้วย "อิเม ธมฺมา ................."ติโสภาวธานิ ตํปชานนา ปญฺญา สุตมเย ญาณํ - ปัญญาในการเงี่ยโสตสดับธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เป็นเครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้ฟังมาแล้วนั้นว่า ............................ ชื่อว่า สุตมยปัญญา
-ตรง....................นี้มีเติมคำในช่องว่างนี้อีก ๑๖ คำ
-------------------------------------------------------------
-อภิญฺเญยฺยา - ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
-ปริญฺเญยฺยา - ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้
-ปหาตพฺพา - ธรรมเหล่านี้ควรละ
-ภาเวตพฺพา - ธรรมเหล่านี้ควรทำให้เจริญ
-สจฉิกาตพฺพา - ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง
-หานภาคิยา - ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม
-ฐิติภาคิยา - ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่
-วิเสสภาคิยา - ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ
-นิพฺเพธภาคิยา - ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
-สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา - สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
-สพฺเพ สงฺขารา อนิจจา - สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
-สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา - ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
-อิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจนฺ - นี้ทุกขอริยสัจ
-อิทํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจนฺ - นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ
-อิทํ ทุกขนิโรโธ อริยสจฺจนฺ - นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
-อิทํ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจนฺ - นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
--------------------------------------------------------------------------------------
พอมาขึ้นคาถาที่ ๒ ใน สุตมยญานนิเทศ ในญานกถา ในปฏิสัมภิทามรรค
- กถํ "อิเม ธมฺมา อภิญเญยฺยา " ติโสตาวธานํ ,ตํปชานนา ปญฺญา สุตมเย ญาณํ - ปัญญาในการเงี่ยโสตสดับธรรมที่ได้ฟังมาแล้วถือเป็นเครื่องรุ้ชัดธรรมที่ได้ฟังมาแล้วนั้นว่า "ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง"ชื่อ่า สุตมยญาน อย่างไร
------------------------------------------------------------------------
พอมาถึง เอโก ธมฺโม อภิญฺเญยฺโย , สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา - ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรรู้ยิ่งคือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร
-----------------------------------------------------------
ปรากฏว่ว มี ธรรมสองอย่าง ธรรมสามอย่างที่ควรรู้ ผมจึงค้นคว้าเพิ่มเติม พบว่าอยู่ใน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๓ หัวข้อที่ ๑๑. ทสุตตรสูตร   [ฉบับภาษาบาลี]  [PALI ROMAN]  [ฉบับมหาจุฬาฯ] [suttacentral.net]
---------------------------
ปรากฏว่า ธรรม ๑ อย่าง ก็มี ๑ อย่าง ๑๐ ข้อ , ธรรม ๒ อย่างก็มี ๑๐ ข้อ ได้แก่ ธรรมที่มีอุปการะมาก ธรรมที่ควรเจริญ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ธรรมที่ควรละ ธรรมที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม ธรรมที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ ธรรมที่แทงตลอดได้ยาก ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง และธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
-------------------------------
แต่เมื่อศึกษามาถึงธรรม ๘ ประการ ที่มี ๑๐ หัวข้อ ก็พบว่า น่าสนใจตรงที่ได้แปะไว้ตามข้างล่างครับ (ยืนยันถึงการฟังธรรมจากพระอรรถกถาจารย์หรือพระอาจารย์สามารถเปิดธรรมให้แจ้งได้ฯ) ผมได้ยกมาแค่ ธรรม ๘ ประการ อ่านแล้วก็อยากจะเผยแพร่ให้ สมาชิกที่สนใจได้อ่านกันครับ 
-----------------------------------------------------------------------------------
-----------------------------------------------------------------------------------
       อรรถกถา  อรรถกถาบาลีอักษรไทย  AtthakathaPaliRoman
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
ทีฆนิกาย
ปาฏิกวรรค

-----------------------------------------
ธรรม ๘ ประการ
             [๓๕๘] ธรรม ๘ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๘ ประการที่ควรเจริญ
             ธรรม ๘ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๘ ประการที่ควรละ
             ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
             ธรรม ๘ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๘ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
             ธรรม ๘ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๘ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
             (ก) ธรรม ๘ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
             คือ เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญา
ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
             เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ คืออะไร
             คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
             ๑. เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ มีความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า
ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีบางรูป ซึ่งตั้งอยู่ในฐานะ
ครูที่เธออาศัยอยู่ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๑ เป็นไปเพื่อได้
อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
             ๒. เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ มีความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า
ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีบางรูป ซึ่งตั้งอยู่ในฐานะ
ครูที่เธออาศัยอยู่ เธอเข้าไปหาท่านเหล่านั้นตามเวลาอันควร
สอบถามไต่สวนว่า “พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความ
ของพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านเหล่านั้นจะเปิดเผย
ธรรมที่ยังไม่เปิดเผย จะทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๔}
 
                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่างแก่เธอ
นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๒ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหม-
จริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็ม
ที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
             ๓. ครั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้รับความสงบเย็น ๒ ประการคือ
(๑) ความสงบเย็นทางกาย (๒) ความสงบเย็นทางจิต นี้เป็น
เหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๓ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยก-
ปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
ปัญญาที่ได้แล้ว
             ๔. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์๑- เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระ (มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัย
ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้
เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๔ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหม-
จริยกปัญญา ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่
แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
             ๕. เป็นพหูสูต ทรงสุตะสั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมาก ซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด
ดีด้วยทิฏฐิ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๕ เป็นไปเพื่อได้อาทิ-
พรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
@เชิงอรรถ :
@๑ สังวรในพระปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา
@ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ=รักษา+โมกขะ=ความหลุดพ้น)
@(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๕}
 
                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

             ๖. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๖ เป็นไปเพื่อได้
อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
             ๗. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๑-
อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำ และคำที่พูดแม้นานได้ นี้เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยประการที่ ๗ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญา
ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญา
ที่ได้แล้ว
             ๘. ภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕
อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความ
ดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
เวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ สัญญา
เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
สัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็น
อย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้’ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๘ เป็นไป
เพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ
ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
             นี้ คือธรรม ๘ ประการที่มีอุปการะมาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่