ถือว่ารับชมมาได้พักนึงแล้ว กระดุมเม็ดถัดมาก็มีทั้งตรง มีทั้งเฉ พูดถึงส่วนที่ชอบก่อน ชอบการแสดงอารมณ์ของฟ้าหญิงทรรศิกา เมื่อพบว่าเบนลีนำสีนิล และ ธงพันธุรัตมาน้อมถวาย พันธุรัตเป็นเมืองขึ้นของกาสิกแล้วหรือ หรือ จะบอกว่าทหารของพันธุรัต ไม่เชี่ยวชาญเท่ากาสิก หรือ นัยยะกลายเป็นว่าเหล่าข้าราชบริพารไม่มีใครใส่ใจและห่วงใยว่าเจ้าฟ้าหญิงจะเป็นตายรายดีอย่างไร ได้อารมณ์ทั้งความโกรธเกรี้ยวในทีแรก ความอัดอั้นในครั้งที่สอง และ ความหน้าชาบวกกับสิ้นหวังในจังหวะสุดท้าย ขนาดขบวนคุ้มครองตามติดมาเต็มที่ยังต่อกรอะไรกับกาสิกไม่ได้ คงอยากแล้วที่ตนเองจะรอดไป เจ้าฟ้าหญิงคงนึกได้นับแต่นั้นว่าการหนีจะกี่ครั้งคงไม่เป็นผล ชีวิตตอนนี้ไม่แน่ว่าแขวนไว้บนอะไร ต่อเนื่องด้วยการผูกมิตรกับกะวาน ก็ถือว่าเป็นการหาพวกได้ชั้นหนึ่งก่อน ก็น่าจะตระหนักกว่าต่อไปนี้ คงต้องเป็นอย่างความหมายของพระตัวเองให้มาก ๆ นั่นคือ "ผู้ไข"
หากสิ่งที่น่าแปลกใจสำหรับฟ้าหญิงทรรศิกาก็มีอยู่อีกหลายประการ หลังจากต้องทำใจกับการตกเป็น "เชลย" (ถึงแม้ตามจริงจะไม่ใช่เชลยอย่างที่เข้าใจ) ก็หันเหมาที่ความประหลาดในหมู่ทหารกาสิก สำหรับเจ้าหลวงที่เพิ่งขู่ว่าจะตัดคอตัดลิ้นผลักลงเหวอยู่หลัด ๆ ตอนนี้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้ากลายเป็นเกมกีฬา (ที่ตอนดูก็แอบหัวเราะหน่อย ๆ มีความสะมะลองกองแกงในฉากนี้อยู่ประมาณนึง) รวมถึงเสียงเฮลั่น ๆ แบ่งฝั่งแบ่งฝ่ายเชียร์องครักษ์อยู่เย้ว ๆ เบนลีเองก็ร่วมส่งเสียงเชียร์ราชิดอยู่ด้วยเช่นกัน นับว่าภาพเจ้าหลวงในใจของฟ้าหญิงคงต่างไปจากเดิมนิดหน่อย
อีกประการนึงที่ชอบ (และในเวอร์ชั่นเดิมก็ชอบนะ) คือ บุคคลิกของเบนลี สมัยนั้นพี่ติ๊ก(ฉัตรมงคล)ก็เป็นคุณเบนลีขี้เล่นประมาณนี้ น่าจะจบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างที่เจ้าหลวงว่าไม่ใช่ทหารอย่างเดียว แต่ดูท่าทางพี่ตั้นจะออกทะเล้น และ ดูตกอกตกใจกว่าหน่อย ๆ เบนลีในนิยายพูดเยอะ ช่างอธิบาย แต่ไม่ค่อยตกใจ รับมือความกริ้วของเจ้าหลวงได้ดี ราชิดนิ่งกริบ และ ดุ (แต่บทจะแนะก็จุก ๆ อยู่) ส่วนเบนลียิ้มหวาน เจรจาเป็นเลิศ ประนีประนอมขั้นสุด
จากนั้นขอหันเหมาในส่วนที่รู้สึกงงชีวิตอยู่บ้าง ก็คือในตอนที่เจ้าหลวงพูดถึงฟ้าหญิงมณิสราตอนอาบน้ำ เอาจริง ๆ จากบทสนทนา มันไม่ได้ส่อถึงความเสียใจผิดหวัง หรือ แม้กระทั่ง passion ในตัวมณิสราด้วยซ้ำ (สรุป คือ เห็นหน้ากันแล้ว หรือ ยังไม่เห็นหน้ากัน หรือ อะไรยังไงก่อน อาจจะดูไม่ละเอียด) ผู้ชายที่เสียใจผิดหวังคนไหน น้ำเสียงปกติ๊ปกติแบบนี้ แถมยังบอกว่าก็หวังว่าเจ้าฟ้าชายจะดูแลมณิสราให้ดี ไม่กระทำย่ำยี พูดตรง ๆ ว่าก่งก๊งในอารมณ์ ไหนมันเป็นแบบไหนพูดมาซิก่อน ตรงนี้มันเลยทำให้เกิดความสับสนสักหน่อย เข้าใจว่ามันน่าจะเป็นความต่อเนื่องว่าใด ๆ ที่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนแต่กี้ เจ้าหลวงโหดแบบนั้นโฉดแบบนี้ หรือ แม้แต่กระทั่งที่เจ้าหลวงแสดงออกราวกับว่าเป็นแบบนั้น ท้ายที่สุดแล้วมันไม่น่าจริง คนโหดคนโฉดที่ไหน คนที่เห็นทำอะไรเพื่อประโยชน์เป็นที่ตั้ง จะมาสำมะหาอะไรกับความทุกข์ความร้อนของคนหนีงานหมั้น
แต่ก็อีกถ้อยคำมันก็ห่างไกลจากความรักความเสน่หาและความเจ็บปวดที่ถูกพรากพระคู่หมั้น หรือ แม้แต่หยามเกียรติ จริง ๆ แล้วที่ทรรศิกาคิดแบบนั้น ตามนิยายก็คือเจ้าหลวงก็มีความอารมณ์ฉุนเฉียว เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง ปากคอเราะราย ความเป็นจริงก็คือยั่วไปงั้น (ตามประสาวัยรุ่นใจร้อนใจเร็ว) แต่ทรรศิกาวิเคราะห์และเข้าใจว่า อ่อ เรื่องพระคู่หมั้นแหละ พี่ชายก็เป็นคนพาหลบด้วยยังไงล่ะ ดังนั้นจะมีอาการบ้างก็ไม่แปลก แล้วบางทีเจ้าหลวงเหม่อตรงนั้นมองตรงนี้ตอนเผลอ เพราะ คิดถึงสมเด็จแม่บ้าง หรือ มีความปรารถนาอะไรลับ ๆ ในใจที่พูดที่บอกไม่ได้ ทรรศิกาก็ยังนึกไม่ออกว่ามันจะเกี่ยวกับตัวเองยังไงก็เลยพาให้คิดไปว่าคงคิดถึงพระคู่หมั้น ตรงนี้พอเป็นอย่างละครก็เลยรู้สึกว่าทรรศิกาไม่น่าจะไปคิดว่าเจ้าหลวงเจ็บปวดเพราะเรื่องนี้นะ ก็แอบได้ยินตอนอยู่ในห้องน้ำนี่ อารมณ์จริงล้วน ๆ ไม่ได้แกล้งปั้นหน้าอะไรเสียหน่อย และ ค่ะ เราจะข้ามช่วงที่เจ้าหลวงร้องเพลงไป
ทีนี้มาถึงอีกส่วน ไม่ใช่ความงงงวยละ เป็นความอิหยังวะ เรื่องแรกก่อน อลม่านด้านหลังอิสินธร พระน้องนาง (หรือพี่นะ) กับ พระคู่หมั้น (เบอร์รอง) มาตีกันที่อิสินธรจ่ะ แม่ .... ลิปสีแดงเบอร์แรงสุด ราวกับต้องการประกาศให้โลกรู้ว่าฉันคือ ตัวร้าย ตีกันที่ไหนพูดอีกที อิสินธร อิสินธรที่เจ้าหลวงเรียกว่าบ้าน รักที่สุดคือที่นี่ ทุกอย่างไม่ให้เปลี่ยนแปลง เสื้อผ้า ข้าวของโต๊ะตู้ หนังสือสวดมนต์ยังคงเดิม ที่ส่วนตัวสถานที่แห่งความรักความผูกพันในครอบครัว คงไม่ได้เปิดให้ใครเข้าออกง่าย ๆ แต่นี่คือเดินพาเหรดกันเหยียบวังเลยเถอะ เอา ดีดี๊ นี่ยังไม่นับอะไร ๆ ที่มันนอกหมาย นอกความรับรู้อีกนะ อยู่ ๆ มีธง อยู่ ๆ บอกเป็นพระคู่หมั้น ทั้ง ๆ ที่ทั้งบ้านทั้งเมืองรู้ว่าเขาไปต้อนรับกันที่เหมันตาลัย มีขบวนไปตั้งรับ มีพิธี แล้วไหงมาโผล่ประตูอิสินธร กับคนอีกไม่เท่าไหร่ ใจคอจะรับเข้ามาจริง ๆ เรอะ กาสิกเด้อ ทิวเขาสลับซับซ้อน ลึกลับ ลับแล เข้มงวดกวดขันเด้อ ยังไงก่อนซิยังไงก๊อนนนน มีความขำเป็นระยะในจุดนี้
ที่ขาดไม่ได้ ... แน่นอน ที่เคยตั้งขอสังเกตไว้แล้วในกระทู้ก่อน มาแนวไพรัชนิยายกันเลยทีเดียวกับการเดินทางแบบ "เราสองสามคน" เอาจริง ๆ ไม่รู้เลยว่าไดเร็คชั่นของมณิสรา และ ทยุติธร จะไปทางไหน เหมือน concept มีความกลับไปกลับมา เราไม่ต้องการสงคราม เราจะเจรจาเอง ต่อมาเราไม่กลัว ต่อมาเราไม่อยากเป็นชนวนสงคราม ต่อมาเป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินต้องสละความสุขส่วนตัว ต่อมาแต่ตอนนี้เราไม่ใช่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเราเป็นคนธรรมดา .... หันไปมองหน้าธารเทพด้วยค่ะ (กลั้น) อยากให้เธอไปคุย เธอไปคุยกับเขาก่อน คือ จะให้ทยุติธรเป็นศิลปินก็ไม่ว่านะ อาจจะอยากแสดงความเป็นปุถุชนให้เห็น ว่าคนเรามันก็มีความต้องการส่วนตัว มีมุมมองของตัว ที่คนอื่นไม่เข้าใจ หรือ ไม่เห็นด้วย แต่ส่วนตัวก็ยังมองไม่เห็นว่าความเป็นศิลปิน (ซึ่งไม่ใช่ศิลปะเชิงรัฐศาสตร์ เพราะ งานรัฐศาสตร์ก็ไม่เอา งานทหารก็ดูจะไม่เอา) มันจะทำพาออกจากปัญหาอินุงตุงนังนี้ได้อย่างไร
กรณีทยุติธรในนิยายเราไม่ได้มองว่าเป็นคนโง่นะ ก็เหมือนกับทยุติธรในเวอร์ชั่นนี้ตรงที่มี "มุมมองของตัวเอง" แต่ในขณะที่มุมมองของทยุติธรในละครที่เราวิเคราะห์ มุมมองของเขาเป็นปัจเจก ถึงแม้จะบอกว่าไม่อยากให้เกิดสงครามนะ และจะแก้ไขปัญหาให้เงียบที่สุด แต่สุดท้ายเป็นเรื่องปกป้องผู้หญิง โดยที่ไม่มีเครื่องมืออันอื่นใดที่ทำให้ปัญหามันยุติอย่างที่ว่า ในขณะที่มุมของของทยุติธรตามนิยายมีอยู่ 2 อย่างที่มองเห็น 1. พันธสุภาพบุรุษเป็นมุมมองที่ชัดแจ้ง และ 2. เอาทหารเป็นตัวนำในการปกครอง เป็นแง่มุมที่สอง ซึ่งเหตุผลที่อ่านระหว่างบรรทัด เจ้าตัวรู้ภูมิศาสตร์ และ ชื่อเสียงของเจ้าหลวงเป็นอันดี คงไม่คิดว่าการเจรจาอย่างเดียวจะช่วยอะไรได้ หากวันดีคืนดี คนที่ได้ชื่อว่าโหดว่าเหี้ยมคนนั้นลุกขึ้นมาบุกพันธุรัตขึ้นมา งานการฑูตอาจไร้ความหมายก็เป็นได้ เมื่อน้องและแม่ก็แข็งทางด้านนี้อยู่แล้ว ก็ไม่เข้าใจว่าจะต้องมาผลักดันอะไรกันนักกันหนา ปล่อยให้ทำในสิ่งที่ถนัดจะไม่ดีกว่าหรือ
ในด้านของมณิสรานั้น ชอบแยมนะอันที่จริง ตอนเล่นแค้นเสน่หาก็คือน่ารักมาก แต่บทมณิสราอันนี้ อย่างที่กล่าวไว้ในกระทู้ก่อนหน้า มีความเป็นเด็กน้อยแสนซนอยู่มาก อยากมีอิสระ ไม่เข้าใจว่าทำไมเป็นเจ้าหญิงต้องแต่งงาน ในขณะที่ร้องไห้กลัวว่าตัวเองจะเป็นชนวนสงครามให้คนมาเดือดร้อน วินาทีถัดไปกลับไปเอนจอยการผจญภัยเข้าป่าเสียแล้ว บุคลิกแบบนี้มาเข้าคู่กันกับความไม่ประสาเชิงศิลปินและความคิดระบบปัจเจกของทยุติธร เลยรู้สึกเหมือนคบเด็กสร้างบ้าน โดยมีธารเทพเป็นพี่เลี้ยง พยายามตบทุกสิ่งให้อยู่ในร่องในรอย ยื้อแล้วยื้ออีกว่า หาตัวช่วยเถอะ จบเรื่องเร็วเถอะ แต่ก็นะ .... ราวกับพี่เลี้ยงที่อุ้มชูกันมาตั้งแต่เท้าเท่าฝาหอยต่อให้อยากกระหนาบแต่ก็กลัวเจ้านายกึ่งเพื่อนจะมีปัญหา
ถ้ามองผ่านตัวอักษรในนิยายจะค่อนข้างเห็นความเชื่อมโยงว่าทั้งคู่ต่างถูกจำกัดกรอบให้ทำอะไรที่ไม่เหมาะกับตัว ที่หลีกหนีไปไม่ใช่เพียงแค่มองอะไรที่เป็นปัจเจก หรือ มองแต่ตัวเองอย่างเดียว ทยุติธรมองว่าเขาไม่ใช่คนประนีประนอม เขาไม่ใช่คนรัฐศาสตร์ มือที่แข้งด้านนี้มีอยู่แล้ว ทำไมเขาต้องมานั่งฟังในเรื่องที่สุดท้ายตัวเองก็ตัดสินอะไรเด็ดขาดไม่ได้ ปล่อยให้ทำอะไรที่เป็นไปตามบุคลิกไม่ดีกว่าหรือ ส่วนมณิสราก็เช่นเดียวกันมีความระลึกถึงหน้าที่ของคนเป็นเจ้า และ รู้สึกผิดที่ลุกแก่ความกลัวส่วนตัว จะสุขก็สุขไม่สุด และ ก็เป็นอีกคนที่ถูกจำกัดกรอบ จนได้มาเป็นตัวเองตอนที่อยู่ที่ป้อมปืน ถึงได้แสดงศักยภาพออกมาได้เต็มที่ ในการต่อมาจากปัญหาที่เจอถึงได้เรียนรู้ว่าคนเราไม่สามารถหลีกหนีไปทำในสิ่งที่ตัวเองคิดได้ทั้งหมด คนเราต้องเผชิญหน้ากับความจริง และ ต้องมีความกล้าในการทำหน้าที่ของตัวเอง
ซึ่งยังมองไม่ออกว่าเรื่องราวนี้จะคลี่คลายออกมาในรูปแบบใดให้สมเหตุผล
ดั่งดวงหฤทัย (กึ่งอภิปราย) : กระดุมเม็ดต่อมา (สปอยด์นิยายเล็กน้อย)
หากสิ่งที่น่าแปลกใจสำหรับฟ้าหญิงทรรศิกาก็มีอยู่อีกหลายประการ หลังจากต้องทำใจกับการตกเป็น "เชลย" (ถึงแม้ตามจริงจะไม่ใช่เชลยอย่างที่เข้าใจ) ก็หันเหมาที่ความประหลาดในหมู่ทหารกาสิก สำหรับเจ้าหลวงที่เพิ่งขู่ว่าจะตัดคอตัดลิ้นผลักลงเหวอยู่หลัด ๆ ตอนนี้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้ากลายเป็นเกมกีฬา (ที่ตอนดูก็แอบหัวเราะหน่อย ๆ มีความสะมะลองกองแกงในฉากนี้อยู่ประมาณนึง) รวมถึงเสียงเฮลั่น ๆ แบ่งฝั่งแบ่งฝ่ายเชียร์องครักษ์อยู่เย้ว ๆ เบนลีเองก็ร่วมส่งเสียงเชียร์ราชิดอยู่ด้วยเช่นกัน นับว่าภาพเจ้าหลวงในใจของฟ้าหญิงคงต่างไปจากเดิมนิดหน่อย
อีกประการนึงที่ชอบ (และในเวอร์ชั่นเดิมก็ชอบนะ) คือ บุคคลิกของเบนลี สมัยนั้นพี่ติ๊ก(ฉัตรมงคล)ก็เป็นคุณเบนลีขี้เล่นประมาณนี้ น่าจะจบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างที่เจ้าหลวงว่าไม่ใช่ทหารอย่างเดียว แต่ดูท่าทางพี่ตั้นจะออกทะเล้น และ ดูตกอกตกใจกว่าหน่อย ๆ เบนลีในนิยายพูดเยอะ ช่างอธิบาย แต่ไม่ค่อยตกใจ รับมือความกริ้วของเจ้าหลวงได้ดี ราชิดนิ่งกริบ และ ดุ (แต่บทจะแนะก็จุก ๆ อยู่) ส่วนเบนลียิ้มหวาน เจรจาเป็นเลิศ ประนีประนอมขั้นสุด
จากนั้นขอหันเหมาในส่วนที่รู้สึกงงชีวิตอยู่บ้าง ก็คือในตอนที่เจ้าหลวงพูดถึงฟ้าหญิงมณิสราตอนอาบน้ำ เอาจริง ๆ จากบทสนทนา มันไม่ได้ส่อถึงความเสียใจผิดหวัง หรือ แม้กระทั่ง passion ในตัวมณิสราด้วยซ้ำ (สรุป คือ เห็นหน้ากันแล้ว หรือ ยังไม่เห็นหน้ากัน หรือ อะไรยังไงก่อน อาจจะดูไม่ละเอียด) ผู้ชายที่เสียใจผิดหวังคนไหน น้ำเสียงปกติ๊ปกติแบบนี้ แถมยังบอกว่าก็หวังว่าเจ้าฟ้าชายจะดูแลมณิสราให้ดี ไม่กระทำย่ำยี พูดตรง ๆ ว่าก่งก๊งในอารมณ์ ไหนมันเป็นแบบไหนพูดมาซิก่อน ตรงนี้มันเลยทำให้เกิดความสับสนสักหน่อย เข้าใจว่ามันน่าจะเป็นความต่อเนื่องว่าใด ๆ ที่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนแต่กี้ เจ้าหลวงโหดแบบนั้นโฉดแบบนี้ หรือ แม้แต่กระทั่งที่เจ้าหลวงแสดงออกราวกับว่าเป็นแบบนั้น ท้ายที่สุดแล้วมันไม่น่าจริง คนโหดคนโฉดที่ไหน คนที่เห็นทำอะไรเพื่อประโยชน์เป็นที่ตั้ง จะมาสำมะหาอะไรกับความทุกข์ความร้อนของคนหนีงานหมั้น
แต่ก็อีกถ้อยคำมันก็ห่างไกลจากความรักความเสน่หาและความเจ็บปวดที่ถูกพรากพระคู่หมั้น หรือ แม้แต่หยามเกียรติ จริง ๆ แล้วที่ทรรศิกาคิดแบบนั้น ตามนิยายก็คือเจ้าหลวงก็มีความอารมณ์ฉุนเฉียว เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง ปากคอเราะราย ความเป็นจริงก็คือยั่วไปงั้น (ตามประสาวัยรุ่นใจร้อนใจเร็ว) แต่ทรรศิกาวิเคราะห์และเข้าใจว่า อ่อ เรื่องพระคู่หมั้นแหละ พี่ชายก็เป็นคนพาหลบด้วยยังไงล่ะ ดังนั้นจะมีอาการบ้างก็ไม่แปลก แล้วบางทีเจ้าหลวงเหม่อตรงนั้นมองตรงนี้ตอนเผลอ เพราะ คิดถึงสมเด็จแม่บ้าง หรือ มีความปรารถนาอะไรลับ ๆ ในใจที่พูดที่บอกไม่ได้ ทรรศิกาก็ยังนึกไม่ออกว่ามันจะเกี่ยวกับตัวเองยังไงก็เลยพาให้คิดไปว่าคงคิดถึงพระคู่หมั้น ตรงนี้พอเป็นอย่างละครก็เลยรู้สึกว่าทรรศิกาไม่น่าจะไปคิดว่าเจ้าหลวงเจ็บปวดเพราะเรื่องนี้นะ ก็แอบได้ยินตอนอยู่ในห้องน้ำนี่ อารมณ์จริงล้วน ๆ ไม่ได้แกล้งปั้นหน้าอะไรเสียหน่อย และ ค่ะ เราจะข้ามช่วงที่เจ้าหลวงร้องเพลงไป
ทีนี้มาถึงอีกส่วน ไม่ใช่ความงงงวยละ เป็นความอิหยังวะ เรื่องแรกก่อน อลม่านด้านหลังอิสินธร พระน้องนาง (หรือพี่นะ) กับ พระคู่หมั้น (เบอร์รอง) มาตีกันที่อิสินธรจ่ะ แม่ .... ลิปสีแดงเบอร์แรงสุด ราวกับต้องการประกาศให้โลกรู้ว่าฉันคือ ตัวร้าย ตีกันที่ไหนพูดอีกที อิสินธร อิสินธรที่เจ้าหลวงเรียกว่าบ้าน รักที่สุดคือที่นี่ ทุกอย่างไม่ให้เปลี่ยนแปลง เสื้อผ้า ข้าวของโต๊ะตู้ หนังสือสวดมนต์ยังคงเดิม ที่ส่วนตัวสถานที่แห่งความรักความผูกพันในครอบครัว คงไม่ได้เปิดให้ใครเข้าออกง่าย ๆ แต่นี่คือเดินพาเหรดกันเหยียบวังเลยเถอะ เอา ดีดี๊ นี่ยังไม่นับอะไร ๆ ที่มันนอกหมาย นอกความรับรู้อีกนะ อยู่ ๆ มีธง อยู่ ๆ บอกเป็นพระคู่หมั้น ทั้ง ๆ ที่ทั้งบ้านทั้งเมืองรู้ว่าเขาไปต้อนรับกันที่เหมันตาลัย มีขบวนไปตั้งรับ มีพิธี แล้วไหงมาโผล่ประตูอิสินธร กับคนอีกไม่เท่าไหร่ ใจคอจะรับเข้ามาจริง ๆ เรอะ กาสิกเด้อ ทิวเขาสลับซับซ้อน ลึกลับ ลับแล เข้มงวดกวดขันเด้อ ยังไงก่อนซิยังไงก๊อนนนน มีความขำเป็นระยะในจุดนี้
ที่ขาดไม่ได้ ... แน่นอน ที่เคยตั้งขอสังเกตไว้แล้วในกระทู้ก่อน มาแนวไพรัชนิยายกันเลยทีเดียวกับการเดินทางแบบ "เราสองสามคน" เอาจริง ๆ ไม่รู้เลยว่าไดเร็คชั่นของมณิสรา และ ทยุติธร จะไปทางไหน เหมือน concept มีความกลับไปกลับมา เราไม่ต้องการสงคราม เราจะเจรจาเอง ต่อมาเราไม่กลัว ต่อมาเราไม่อยากเป็นชนวนสงคราม ต่อมาเป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินต้องสละความสุขส่วนตัว ต่อมาแต่ตอนนี้เราไม่ใช่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเราเป็นคนธรรมดา .... หันไปมองหน้าธารเทพด้วยค่ะ (กลั้น) อยากให้เธอไปคุย เธอไปคุยกับเขาก่อน คือ จะให้ทยุติธรเป็นศิลปินก็ไม่ว่านะ อาจจะอยากแสดงความเป็นปุถุชนให้เห็น ว่าคนเรามันก็มีความต้องการส่วนตัว มีมุมมองของตัว ที่คนอื่นไม่เข้าใจ หรือ ไม่เห็นด้วย แต่ส่วนตัวก็ยังมองไม่เห็นว่าความเป็นศิลปิน (ซึ่งไม่ใช่ศิลปะเชิงรัฐศาสตร์ เพราะ งานรัฐศาสตร์ก็ไม่เอา งานทหารก็ดูจะไม่เอา) มันจะทำพาออกจากปัญหาอินุงตุงนังนี้ได้อย่างไร
กรณีทยุติธรในนิยายเราไม่ได้มองว่าเป็นคนโง่นะ ก็เหมือนกับทยุติธรในเวอร์ชั่นนี้ตรงที่มี "มุมมองของตัวเอง" แต่ในขณะที่มุมมองของทยุติธรในละครที่เราวิเคราะห์ มุมมองของเขาเป็นปัจเจก ถึงแม้จะบอกว่าไม่อยากให้เกิดสงครามนะ และจะแก้ไขปัญหาให้เงียบที่สุด แต่สุดท้ายเป็นเรื่องปกป้องผู้หญิง โดยที่ไม่มีเครื่องมืออันอื่นใดที่ทำให้ปัญหามันยุติอย่างที่ว่า ในขณะที่มุมของของทยุติธรตามนิยายมีอยู่ 2 อย่างที่มองเห็น 1. พันธสุภาพบุรุษเป็นมุมมองที่ชัดแจ้ง และ 2. เอาทหารเป็นตัวนำในการปกครอง เป็นแง่มุมที่สอง ซึ่งเหตุผลที่อ่านระหว่างบรรทัด เจ้าตัวรู้ภูมิศาสตร์ และ ชื่อเสียงของเจ้าหลวงเป็นอันดี คงไม่คิดว่าการเจรจาอย่างเดียวจะช่วยอะไรได้ หากวันดีคืนดี คนที่ได้ชื่อว่าโหดว่าเหี้ยมคนนั้นลุกขึ้นมาบุกพันธุรัตขึ้นมา งานการฑูตอาจไร้ความหมายก็เป็นได้ เมื่อน้องและแม่ก็แข็งทางด้านนี้อยู่แล้ว ก็ไม่เข้าใจว่าจะต้องมาผลักดันอะไรกันนักกันหนา ปล่อยให้ทำในสิ่งที่ถนัดจะไม่ดีกว่าหรือ
ในด้านของมณิสรานั้น ชอบแยมนะอันที่จริง ตอนเล่นแค้นเสน่หาก็คือน่ารักมาก แต่บทมณิสราอันนี้ อย่างที่กล่าวไว้ในกระทู้ก่อนหน้า มีความเป็นเด็กน้อยแสนซนอยู่มาก อยากมีอิสระ ไม่เข้าใจว่าทำไมเป็นเจ้าหญิงต้องแต่งงาน ในขณะที่ร้องไห้กลัวว่าตัวเองจะเป็นชนวนสงครามให้คนมาเดือดร้อน วินาทีถัดไปกลับไปเอนจอยการผจญภัยเข้าป่าเสียแล้ว บุคลิกแบบนี้มาเข้าคู่กันกับความไม่ประสาเชิงศิลปินและความคิดระบบปัจเจกของทยุติธร เลยรู้สึกเหมือนคบเด็กสร้างบ้าน โดยมีธารเทพเป็นพี่เลี้ยง พยายามตบทุกสิ่งให้อยู่ในร่องในรอย ยื้อแล้วยื้ออีกว่า หาตัวช่วยเถอะ จบเรื่องเร็วเถอะ แต่ก็นะ .... ราวกับพี่เลี้ยงที่อุ้มชูกันมาตั้งแต่เท้าเท่าฝาหอยต่อให้อยากกระหนาบแต่ก็กลัวเจ้านายกึ่งเพื่อนจะมีปัญหา
ถ้ามองผ่านตัวอักษรในนิยายจะค่อนข้างเห็นความเชื่อมโยงว่าทั้งคู่ต่างถูกจำกัดกรอบให้ทำอะไรที่ไม่เหมาะกับตัว ที่หลีกหนีไปไม่ใช่เพียงแค่มองอะไรที่เป็นปัจเจก หรือ มองแต่ตัวเองอย่างเดียว ทยุติธรมองว่าเขาไม่ใช่คนประนีประนอม เขาไม่ใช่คนรัฐศาสตร์ มือที่แข้งด้านนี้มีอยู่แล้ว ทำไมเขาต้องมานั่งฟังในเรื่องที่สุดท้ายตัวเองก็ตัดสินอะไรเด็ดขาดไม่ได้ ปล่อยให้ทำอะไรที่เป็นไปตามบุคลิกไม่ดีกว่าหรือ ส่วนมณิสราก็เช่นเดียวกันมีความระลึกถึงหน้าที่ของคนเป็นเจ้า และ รู้สึกผิดที่ลุกแก่ความกลัวส่วนตัว จะสุขก็สุขไม่สุด และ ก็เป็นอีกคนที่ถูกจำกัดกรอบ จนได้มาเป็นตัวเองตอนที่อยู่ที่ป้อมปืน ถึงได้แสดงศักยภาพออกมาได้เต็มที่ ในการต่อมาจากปัญหาที่เจอถึงได้เรียนรู้ว่าคนเราไม่สามารถหลีกหนีไปทำในสิ่งที่ตัวเองคิดได้ทั้งหมด คนเราต้องเผชิญหน้ากับความจริง และ ต้องมีความกล้าในการทำหน้าที่ของตัวเอง