สงสัยกับ "อิสริยยศ" ใน "ดั่งดวงหฤทัย"

สงสัยว่าทำไมแคว้นพันธุรัฐถึงมี เจ้าฟ้าชายทยุจิธรบวรรังสี เป็น "มกุฎราชกุมาร" พร้อมกับ เจ้าฟ้าหญิงทรรศิกากัญญาวดี เป็น "มกุฎราชกุมารี" พร้อมกัน 2 พระองค์ ทั้งที่เป็นพี่น้องกันละครับ? ปกติแล้วหากมี มกุฎราชกุมาร (Crown Prince) พระวรชายาในพระองค์บางประเทศจะได้เป็น มกุฎราชกุมารี (Crown Princess) หากไม่มีรัชทายาทชายหรือกฎมณเฑียลบาลให้ผู้หญิงครองราชย์ได้ถึงจะมี มกุฎราชกุมารี ที่จะขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีนาถ (Queen Regnant) หากมีมกุฎราชกุมารแล้ว อิสริยยศเจ้านายฝ่ายในสูงสุดบางประเทศคือ Princess Royal เทียบกับ สยามบรมราชกุมารีในไทย ถึงจะเป็นนิยายแต่มันก็แปลกมากอยู่ดี เพราะรัชทายาทโดยปกติแล้วจะต้องมีได้พระองค์เดียว

อีกข้อคืออิสริยยศ พระราชเทวี เข้าใจว่าเป็นอิสริยยศของพระมเหสีในเจ้าหลวง เพราะโดยรูปศัพท์แล้ว พระราชเทวี = เทวีในพระราชา (ผู้แต่งน่าจะเคยใช้คำว่า เจ้านางหลวง กับเจ้าหลวงหญิงในเลือดขัตติยา แต่ก็ใช้กับพระมเหสีด้วย) หากพระราชเทวีเป็นพระมเหสีในเจ้าหลวงแห่งพันธุรัฐที่สิ้นไปแล้ว ทำไมเจ้าฟ้าชายทยุติธรบวรรังสีไม่ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเลยละครับ ทำไมถึงรอตอนจบเรื่องที่อภิเษกกับเจ้าฟ้าหญิงมณิสราเทวีแห่งทานตะก่อนค่อยครองราชย์ 

กระทู้นี้ตั้งแค่อยากรู้มุมมองของผู้แต่งเฉยๆนะครับ เพราะเข้าใจว่าเป็นนิยายอะไรก็เกิดขึ้นได้ แต่อยากทราบให้หายสงสัยเฉยๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่