เครื่องเกมคอนโซล 32Bit ของ SEGA ในชื่อ Sega Saturn นั้นได้เริ่มการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1992 โดยเรื่องราวการพัฒนานั้นมีจุดที่ขัดแย้งอย่างมากอยู่ทำให้เรื่องราวการพัฒนาแตกออกเป็น 2 ความเชื่อ
ความเชื่อแรกคือ Saturn ถูกออกแบบให้เป็นเครื่องเล่นเกมที่มีกราฟฟิกแบบ 3D แต่มีปัญหาอยู่ว่าพลังการประมวลผลของ CPU นั้นไม่เพียงพอต่อการทำงาน ต่อมาหลังจาก Hitachi ได้พัฒนา CPU 32Bit รุ่นใหม่ในชื่อรหัส SH-2 ได้สำเร็จ SEGA จึงทดลองนำมาติดตั้งใช้กับ Saturn แทน CPU ตัวเก่า ผลคือแม้ประสิทธิ์ภาพจะดีขึ้นแต่ก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี SEGA จึงใช้วิธีเพิ่ม CPU ลงไปอีกตัวเพื่อช่วยประมวลผล จึงทำให้ประสิทธิภาพการประมวลผลของเครื่องเพียงพอต่อการประมวลผล 3D และการออกแบบก็เสร็จสมบูรณ์ในช่วงปี 1993
แต่เมื่อ SEGA รู้ข่าวว่า Sony คู่แข่งใหม่กำลังสร้างเครื่องเล่นเกมที่เน้นการแสดงผลกราฟฟิกเป็น 3D จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยการติดตั้งชิปประมวลผลกราฟฟิกด้าน 2D ลงไปอีกตัวหนึ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแบบ 2D และช่วยการประมวลผล 3D ด้าน texture-mapping
ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งคือ Saturn ถูกออกแบบให้เป็นเครื่องเกมคอนโซล 32Bit แบบ 2D ตั้งแต่แรกและไม่ทราบสาเหตุว่าทำไหม SEGA ถึงใส่ CPU ลงไปถึง 2 ตัว ส่วนสาเหตุที่ยังสร้างเป็นเครื่อง 2D ก็เพราะ SEGA แม้จะมีการสร้างเครื่องเกมอาเขตที่แสดงผล 3D ออกมาได้แล้วในปี 1993 ก็ตามแต่ยังไม่พร้อมที่จะสร้างเครื่องเกมคอนโซล 3D และเชื่อว่าเหล่าผู้พัฒนาเกมเอง โดยเฉพาะทีมพัฒนาเกมของ SEGA ยังไม่พร้อมที่จะสร้างเกม 3D บนคอนโซลในขณะนั้น
แต่เมื่อ SEGA รู้ข่าวว่า Sony กำลังสร้างเครื่องเล่นเกมที่เน้นการแสดงผลกราฟฟิกแบบ 3D จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมติดตั้งชิปประมวลผลกราฟฟิกด้าน 3D ลงไปอีกตัวในภายหลังเพื่อให้เครื่องสามารถแสดงผลแบบ 3D ได้ ในความเชื่อนี้คาดกันว่า CPU ตัวที่ 2 อาจจะถูกใส่มาเพื่อรองรับโหลดของชิปกราฟฟิก 3D ที่เพิ่มเข้ามา
โดยในช่วงระหว่างการพัฒนา Saturn นั้น ทาง Sony ที่หลังจากเกิดเรื่องกับ Nintendo มาเสนอโปรเจคร่วมเพื่อพัฒนาเครื่องเกมคอนโซลรุ่นใหม่ในช่วงประมาณปี 1993 ไม่ทราบเดือนที่แน่ชัดแต่จากหนังสือ Console War มีการระบุว่ามีการพูดคุยกันนานถึง 6 เดือน แต่โครงการนี้ก็ไม่เกิดขึ้นเพราะทิศทางการพัฒนาระหว่าง SEGA และ Sony ไม่สอดคล้องกันโดย Sony ต้องการจะมุ่งเน้นไปที่ 3D แต่ SoJ ต้องการให้เน้นที่ 2D
สาเหตุสำคัญที่สุดที่โครงการนี้ไม่เกิดขึ้นก็คือการไม่เห็นด้วยจาก Sega of Japan (SoJ) ที่ไม่เชื่อว่า Sony ซึ่งไม่เคยสร้างเครื่องเกมคอนโซลหรือแม้แต่จะเคยสร้างเครื่องเกมอาเขตมาก่อนจะสามารถสร้างเครื่องเกมคอนโซลดี ๆ ออกมาได้ คาดว่า SEGA ได้ข้อมูลเรื่องเครื่องเกมคอนโซลของ Sony จะเน้น 3D ในตอนนี้เอง
แต่ไม่ว่าความเป็นมาที่แท้จริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม นี่ทำให้ Sega Saturn ถ้าดูจากสเปกอย่างเดียวแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นเครื่องที่ “บ้าพลัง” ที่สุดในยุค ติดตั้งระบบประมวลผลทำงานคู่ขนาน 2 ตัวและมีกราฟฟิกชิปของ SEGA ที่ทำงานร่วมกัน 2 ตัว ตัวหนึ่งทำ 3D อีกตัวทำ 2D “Dual CPU, Double GPU”
และความ “บ้าพลัง” นี้เองก็นำมาซึ่งปัญหา
ประมาณปี 1993 ไม่ทราบเดือนที่แน่ชัด Sega of America(SoA) ได้รับต้นแบบของ Saturn มาทดสอบและพบว่ามันไม่ได้เรื่องเลย
Joe Miller ผู้เชียวชาญด้านเทคโนโลยีของ SoA ในขณะนั้นอธิบายถึงเครื่องต้นแบบนี้ด้วยคำสั้น ๆ ว่า “ห่วย”
ปัญหาของ Saturn ในปัจจุบันได้ถูกจำแนกออกมาอย่างค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าเกิดจากอะไรแต่กระนั้นก็ยังต้องมีความรู้ด้านกราฟฟิก, คอมพิวเตอร์ Hardware และการเขียนโปรแกรมพอสมควรถึงจะเข้าใจได้ ซึ่งเมื่อมีโอกาสจะได้นำมาเขียนสรุปให้ได้อ่านในภายหลัง
แต่โดยรวมคือระบบ CPU และ GPU คู่นั้นได้ทำให้วิธีการเขียนโปรแกรมเกมบน Saturn นั้นทั้งซับซ้อนและยากลำบากอย่างมาก บางแหล่งข้อมูลถึงขนาดใช้คำว่า “ผิดสามัญสำนึกของมนุษย์”
อีกทั้ง libraries(ชุดคำสั่ง) และ development tools (โปรแกรมสำหรับเขียนโปรแกรมเกม) ที่ใช้งานได้ดีก็ไม่ค่อยมีให้ (มีบางข่าวลือกล่าวว่า SEGA จงใจกั๊ก libraries และ development tools เพื่อให้เกมของ SEGA ดีกว่าเกมจากบริษัทพัฒนาเกม) จนทำให้ผู้พัฒนาเกมต้องลงแรงเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Assembly ภาษาโปรแกรมมิ่งที่มีความใกล้เคียงกับภาษามนุษย์น้อยที่สุดและเขียนยากที่สุดภาษาหนึ่งแทน
ทอม คาลินสกี CEO ของ SoA ในขณะนั้นจึงพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการหา Hardware ตัวใหม่และนำเสนอให้กับทาง SoJ เพื่อให้นำไปใช้กับ Saturn แทน Hardware ที่ SoJ พัฒนามา โดยเครื่องจากโครงการร่วม Sony SEGA ก็เป็นหนึ่งในทางออกของปัญหา Hardware แต่ SoJ ก็ปฏิเสธโครงการในภายหลัง
ในเวลาไล่เลี่ยกันทีมงานของทอมก็ได้พบว่า Silicon Graphics Inc (SGI) ในขณะนั้นได้พัฒนาชิปกราฟิกรุ่นใหม่สำเร็จแล้วและกำลังมองหาผู้ซื้ออยู่พอดี ทอมและทีมจึงรีบติดต่อกับทาง SGI เพื่อขอชมเดโมกราฟฟิกที่ตัวชิปประมวลออกมาได้ ทอมพอใจมากและรีบติดต่อทาง SoJ เพื่อให้ส่งทีมงานมาชมการสาธิตชิปกราฟฟิกของ SGI และประเมินว่าจะนำชิปนี้ไปใช้กับ Saturn ได้รึไม่
หลังจากทีมงานของ SoJ มาเยี่ยมชมการสาธิตแล้ว ผลที่ออกมาก็คือ SoJ ปฏิเสธที่จะใช้ชิปของ SGI กับ Saturn ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ ที่ฟังดูก็รู้ว่าทาง SoJ มีธงมาแล้วในใจคือจะใช้ Hardware ตามที่ SoJ พัฒนาเท่านั้น
ทอมไม่มีทางเลือกมากนักแต่ก็ยังไม่ยอมแพ้ทั้งกับคู่แข่งรายใหม่ที่กำลังจะขึ้นสังเวียนอย่าง Sony และยิ่งกับคู่แข่งตลอดการณ์อย่าง Nintendo ยิ่งยอมไม่ได้ จึงใช้วิธีทุ่มงบโปรโมท Saturn เพื่อเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งตลาดให้มากที่สุด ให้บริษัทพัฒนาเกมต่าง ๆ ยอมที่จะทนกับปัญหาบนเครื่อง Saturn เพื่อที่จะได้สร้างเกมบนเครื่องที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก ส่วนปัญหาที่มีอยู่นั้นจะค่อย ๆ ทยอยหาวิธีแก้ไขในภายหลัง
แต่ฝันร้ายของทอมก็ยังไม่จบลงเพียงเท่านั้น
to be continued in “Sony PlayStation-Dragon Awaken” Part 2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “Sega Saturn: Too Hungry Too Much Too Rush” Part 1
ความเชื่อแรกคือ Saturn ถูกออกแบบให้เป็นเครื่องเล่นเกมที่มีกราฟฟิกแบบ 3D แต่มีปัญหาอยู่ว่าพลังการประมวลผลของ CPU นั้นไม่เพียงพอต่อการทำงาน ต่อมาหลังจาก Hitachi ได้พัฒนา CPU 32Bit รุ่นใหม่ในชื่อรหัส SH-2 ได้สำเร็จ SEGA จึงทดลองนำมาติดตั้งใช้กับ Saturn แทน CPU ตัวเก่า ผลคือแม้ประสิทธิ์ภาพจะดีขึ้นแต่ก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี SEGA จึงใช้วิธีเพิ่ม CPU ลงไปอีกตัวเพื่อช่วยประมวลผล จึงทำให้ประสิทธิภาพการประมวลผลของเครื่องเพียงพอต่อการประมวลผล 3D และการออกแบบก็เสร็จสมบูรณ์ในช่วงปี 1993
แต่เมื่อ SEGA รู้ข่าวว่า Sony คู่แข่งใหม่กำลังสร้างเครื่องเล่นเกมที่เน้นการแสดงผลกราฟฟิกเป็น 3D จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยการติดตั้งชิปประมวลผลกราฟฟิกด้าน 2D ลงไปอีกตัวหนึ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแบบ 2D และช่วยการประมวลผล 3D ด้าน texture-mapping
ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งคือ Saturn ถูกออกแบบให้เป็นเครื่องเกมคอนโซล 32Bit แบบ 2D ตั้งแต่แรกและไม่ทราบสาเหตุว่าทำไหม SEGA ถึงใส่ CPU ลงไปถึง 2 ตัว ส่วนสาเหตุที่ยังสร้างเป็นเครื่อง 2D ก็เพราะ SEGA แม้จะมีการสร้างเครื่องเกมอาเขตที่แสดงผล 3D ออกมาได้แล้วในปี 1993 ก็ตามแต่ยังไม่พร้อมที่จะสร้างเครื่องเกมคอนโซล 3D และเชื่อว่าเหล่าผู้พัฒนาเกมเอง โดยเฉพาะทีมพัฒนาเกมของ SEGA ยังไม่พร้อมที่จะสร้างเกม 3D บนคอนโซลในขณะนั้น
แต่เมื่อ SEGA รู้ข่าวว่า Sony กำลังสร้างเครื่องเล่นเกมที่เน้นการแสดงผลกราฟฟิกแบบ 3D จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมติดตั้งชิปประมวลผลกราฟฟิกด้าน 3D ลงไปอีกตัวในภายหลังเพื่อให้เครื่องสามารถแสดงผลแบบ 3D ได้ ในความเชื่อนี้คาดกันว่า CPU ตัวที่ 2 อาจจะถูกใส่มาเพื่อรองรับโหลดของชิปกราฟฟิก 3D ที่เพิ่มเข้ามา
โดยในช่วงระหว่างการพัฒนา Saturn นั้น ทาง Sony ที่หลังจากเกิดเรื่องกับ Nintendo มาเสนอโปรเจคร่วมเพื่อพัฒนาเครื่องเกมคอนโซลรุ่นใหม่ในช่วงประมาณปี 1993 ไม่ทราบเดือนที่แน่ชัดแต่จากหนังสือ Console War มีการระบุว่ามีการพูดคุยกันนานถึง 6 เดือน แต่โครงการนี้ก็ไม่เกิดขึ้นเพราะทิศทางการพัฒนาระหว่าง SEGA และ Sony ไม่สอดคล้องกันโดย Sony ต้องการจะมุ่งเน้นไปที่ 3D แต่ SoJ ต้องการให้เน้นที่ 2D
สาเหตุสำคัญที่สุดที่โครงการนี้ไม่เกิดขึ้นก็คือการไม่เห็นด้วยจาก Sega of Japan (SoJ) ที่ไม่เชื่อว่า Sony ซึ่งไม่เคยสร้างเครื่องเกมคอนโซลหรือแม้แต่จะเคยสร้างเครื่องเกมอาเขตมาก่อนจะสามารถสร้างเครื่องเกมคอนโซลดี ๆ ออกมาได้ คาดว่า SEGA ได้ข้อมูลเรื่องเครื่องเกมคอนโซลของ Sony จะเน้น 3D ในตอนนี้เอง
แต่ไม่ว่าความเป็นมาที่แท้จริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม นี่ทำให้ Sega Saturn ถ้าดูจากสเปกอย่างเดียวแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นเครื่องที่ “บ้าพลัง” ที่สุดในยุค ติดตั้งระบบประมวลผลทำงานคู่ขนาน 2 ตัวและมีกราฟฟิกชิปของ SEGA ที่ทำงานร่วมกัน 2 ตัว ตัวหนึ่งทำ 3D อีกตัวทำ 2D “Dual CPU, Double GPU”
และความ “บ้าพลัง” นี้เองก็นำมาซึ่งปัญหา
ประมาณปี 1993 ไม่ทราบเดือนที่แน่ชัด Sega of America(SoA) ได้รับต้นแบบของ Saturn มาทดสอบและพบว่ามันไม่ได้เรื่องเลย
Joe Miller ผู้เชียวชาญด้านเทคโนโลยีของ SoA ในขณะนั้นอธิบายถึงเครื่องต้นแบบนี้ด้วยคำสั้น ๆ ว่า “ห่วย”
ปัญหาของ Saturn ในปัจจุบันได้ถูกจำแนกออกมาอย่างค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าเกิดจากอะไรแต่กระนั้นก็ยังต้องมีความรู้ด้านกราฟฟิก, คอมพิวเตอร์ Hardware และการเขียนโปรแกรมพอสมควรถึงจะเข้าใจได้ ซึ่งเมื่อมีโอกาสจะได้นำมาเขียนสรุปให้ได้อ่านในภายหลัง
แต่โดยรวมคือระบบ CPU และ GPU คู่นั้นได้ทำให้วิธีการเขียนโปรแกรมเกมบน Saturn นั้นทั้งซับซ้อนและยากลำบากอย่างมาก บางแหล่งข้อมูลถึงขนาดใช้คำว่า “ผิดสามัญสำนึกของมนุษย์”
อีกทั้ง libraries(ชุดคำสั่ง) และ development tools (โปรแกรมสำหรับเขียนโปรแกรมเกม) ที่ใช้งานได้ดีก็ไม่ค่อยมีให้ (มีบางข่าวลือกล่าวว่า SEGA จงใจกั๊ก libraries และ development tools เพื่อให้เกมของ SEGA ดีกว่าเกมจากบริษัทพัฒนาเกม) จนทำให้ผู้พัฒนาเกมต้องลงแรงเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Assembly ภาษาโปรแกรมมิ่งที่มีความใกล้เคียงกับภาษามนุษย์น้อยที่สุดและเขียนยากที่สุดภาษาหนึ่งแทน
ทอม คาลินสกี CEO ของ SoA ในขณะนั้นจึงพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการหา Hardware ตัวใหม่และนำเสนอให้กับทาง SoJ เพื่อให้นำไปใช้กับ Saturn แทน Hardware ที่ SoJ พัฒนามา โดยเครื่องจากโครงการร่วม Sony SEGA ก็เป็นหนึ่งในทางออกของปัญหา Hardware แต่ SoJ ก็ปฏิเสธโครงการในภายหลัง
ในเวลาไล่เลี่ยกันทีมงานของทอมก็ได้พบว่า Silicon Graphics Inc (SGI) ในขณะนั้นได้พัฒนาชิปกราฟิกรุ่นใหม่สำเร็จแล้วและกำลังมองหาผู้ซื้ออยู่พอดี ทอมและทีมจึงรีบติดต่อกับทาง SGI เพื่อขอชมเดโมกราฟฟิกที่ตัวชิปประมวลออกมาได้ ทอมพอใจมากและรีบติดต่อทาง SoJ เพื่อให้ส่งทีมงานมาชมการสาธิตชิปกราฟฟิกของ SGI และประเมินว่าจะนำชิปนี้ไปใช้กับ Saturn ได้รึไม่
หลังจากทีมงานของ SoJ มาเยี่ยมชมการสาธิตแล้ว ผลที่ออกมาก็คือ SoJ ปฏิเสธที่จะใช้ชิปของ SGI กับ Saturn ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ ที่ฟังดูก็รู้ว่าทาง SoJ มีธงมาแล้วในใจคือจะใช้ Hardware ตามที่ SoJ พัฒนาเท่านั้น
ทอมไม่มีทางเลือกมากนักแต่ก็ยังไม่ยอมแพ้ทั้งกับคู่แข่งรายใหม่ที่กำลังจะขึ้นสังเวียนอย่าง Sony และยิ่งกับคู่แข่งตลอดการณ์อย่าง Nintendo ยิ่งยอมไม่ได้ จึงใช้วิธีทุ่มงบโปรโมท Saturn เพื่อเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งตลาดให้มากที่สุด ให้บริษัทพัฒนาเกมต่าง ๆ ยอมที่จะทนกับปัญหาบนเครื่อง Saturn เพื่อที่จะได้สร้างเกมบนเครื่องที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก ส่วนปัญหาที่มีอยู่นั้นจะค่อย ๆ ทยอยหาวิธีแก้ไขในภายหลัง
แต่ฝันร้ายของทอมก็ยังไม่จบลงเพียงเท่านั้น
to be continued in “Sony PlayStation-Dragon Awaken” Part 2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/