"เงินออม" กับ "เงินสำรองฉุกเฉิน" แตกต่าง หรือ เหมือนกัน

ตามหัวข้อกระทู้เลยครับผม  ผมมีความสงสัยและยังมีความไม่เข้าใจอย่างชัดเจน ว่าเงินสองชนิดนี้มีความแตกต่าง หรือ เหมือนกันแบบไหน
มีคนเคยเล่าฟังว่า พนักงานบริษัทอย่างเราๆ ควรจะมีเงินสำรองฉุกเฉิน อย่างน้อยๆ 6 เดือนของเงินเดือน หรือ อาจจะหักเดือนละ 10% หรือมากกว่านั้น ไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า เงินสำรองฉุกเฉินนี้ เราจะเอาไปเก็บไว้ที่ไหน 

อย่างตัวผมเอง ผมจัดการแบบนี้
1) จะหักประมาณ 10% ไปฝากประจำ แบบปลอดภาษี ที่ ธกส ซึ่งมีกำหนด 24 เดือน 
2) หักประมาณ 30% ไปกระจายที่กองทุนของ SCB Class "E"
3) มี สลากออมสิน อยู่ 5 แสน 

จากการจัดการแบบข้างบน ผมต้องหักเพิ่ม เพื่อ เป็น เงินสำรองฉุกเฉิน เพิ่มเติมไหมคับ  ขอบคุณคับผม
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เงินสำรองฉุกเฉิน ไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉินเมื่อไม่มีรายได้ครับ เช่นปกติมีค่าใช้จ่ายเช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน เดือนละ 30000 บาท ก็ควรมีไว้เมื่อวันไหนเกิดตกงานไม่มีรายรับก็เอา เงินสำรองฉุกเฉิน มาจ่ายไปก่อนครับ

ส่วนเงินออมเป็นเงินที่เราสะสมไว้เพื่อไว้ใช้ในยามที่เราไม่มีแรงจะทำงานแล้วครับ เช่นหลังเกษียณ ซึ่งเงินจำนวนนี้เราสามารถเอาไปเก็บหรือลงทุน เพื่อให้งอกเงยก็ได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่