ช่วงนี้หลายคนตื่นหวัด COVID-19 ก็เลยมาชวนคิดเล่นๆว่า เราจะดัดแปลงแก้ไข สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัว ให้โอกาสติดหวัดน้อยลง ได้อย่างไรบ้าง
จขกท. ขอเริ่มเสนอไอเดียก่อนดังนี้ (บางไอเดียอาจจะเคยมีผู้นำเสนอแล้ว แต่อาจจะมีคนยังไม่เคยอ่านจึงขออนุญาตเสนอซ้ำ)
1.ทักทายกันด้วยคำว่า "ล้างมือหรือยัง?"
2.หาขวดสเปรย์เล็กๆ (ขวดน้ำหอม, ขวดยาระงับกลิ่นปาก ที่ใช้หมดแล้วล้างให้สะอาด) เอามาใส่แอลกอฮอล์ล้างแผลพกติดตัวไว้ ใช้งานได้หลากหลายกว่าแอลกอฮอล์เจล เพราะนอกจากใช้พ่นทำความสะอาดมือในเวลาที่ไม่มีที่ล้างมือได้แล้ว ยังสามารถพ่นฆ่าเชื้อสาธารณะเช่น รถเข็น, ลูกบิดมือจับประตู, แป้นกด ATM, ฝารองนั่ง, ฯลฯ อีกทั้งการเตรียมก็ไม่ยุ่งยาก (เทใส่ขวดได้เลยไม่ต้องทำเป็นเจล)
3.ตั้งเวลาเตือนในโทรศัพท์มือถือ ให้ล้างมือ ทุกๆ ชั่วโมง (จนกว่าเป็นนิสัยอัตโนมัติ)
4.ใช้อย่างอื่นสัมผัสปุ่ม (ปุ่มลิฟท์, ATM) แทนนิ้ว เช่น ไม้จิ้มฟัน หรือ ใช้กระดาษทิชชู่รอง
5.หมั่นทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ เพราะโทรศัพท์มือถือเป็นของที่เราใช้มือจับมากที่สุด มือเราไปจับของต่างๆ แล้วก็มากดหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ถ้าล้างแต่มือแต่ มือถือไม่สะอาด เชื้อโรคก็วนเวียน (วิธีทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ ถ้าโทรศัพท์กันน้ำได้ ก็ใช้น้ำสบู่ล้าง หรือถ้าไม่กันน้ำอาจเอาแอลกอฮอล์เช็ด ลองหาวิธีที่เหมาะสมกับเครื่องของท่านดู)
6.จามใส่ข้อพับแขนหรือหัวไหล่ให้เป็นนิสัย การใช้มือปิดปากเวลาไอจาม ทำให้เชื้อโรคติดที่มือแล้วไปจับโน่นจับนี่ ทำให้เชื้อโรคแพร่ได้ง่าย แต่ข้อพับที่แขนหรือหัวไหล่ไม่ค่อยมีโอกาสได้สัมผัสอะไร
7.หา กุศโลบายที่จะทำให้การเอามือไปสัมผัสตา, จมูก, ปาก เป็นเรื่องยาก เช่นการสวมหน้ากากผ้า, สวมแว่นตา, สวมถุงมือ หรือหาผ้ามาคลุมหน้าแบบสาวมุสลิม เพื่อลดโอกาสที่จะเผลอเอามือมาขยี้ตา, แคะจมูก หยิบของเข้าปาก (ถ้าเผลอ มือก็จะไปโดนของเหล่านี้ก่อน ทำให้มีสติว่าเราใส่ไว้ทำไม นึกได้แล้วก็ไปล้างมือ ก่อนจะแคะแกะเกา)
หมายเหตุ : อยากให้หาความรู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้หน้ากากประเภทต่างๆ เพิ่มเติม จะได้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ไม่สิ้นเปลืองเสียของ (บางคนห่วงใส่หน้ากาก แต่ไม่สนเรื่องล้างมือ อย่างนี้เสียของเปล่า)
8.ใช้ FIN-Tech (Prompt-Pay และ e-Wallet ทั้งหลาย) ให้เกิดประโยชน์ ลดใช้เงินสด เพราะเราไม่รู้ว่า แบงค์- เหรียญ ผ่านมือใครมาบ้าง
9.เวลาที่ใครมา ไอ, จาม ใกล้ๆ โดยไม่ปิดปาก ให้เรากลั้นหายใจ แล้วออกให้ห่างจากบริเวณนั้น เท่าที่จะพอทำได้
เดี๋ยวถ้านึกอะไรออกเพิ่มเติมจะมาเขียนต่อ
อยู่ว่างๆ มาช่วยกันคิดนวัตกรรม ป้องกันหวัด กันดีกว่า
จขกท. ขอเริ่มเสนอไอเดียก่อนดังนี้ (บางไอเดียอาจจะเคยมีผู้นำเสนอแล้ว แต่อาจจะมีคนยังไม่เคยอ่านจึงขออนุญาตเสนอซ้ำ)
1.ทักทายกันด้วยคำว่า "ล้างมือหรือยัง?"
2.หาขวดสเปรย์เล็กๆ (ขวดน้ำหอม, ขวดยาระงับกลิ่นปาก ที่ใช้หมดแล้วล้างให้สะอาด) เอามาใส่แอลกอฮอล์ล้างแผลพกติดตัวไว้ ใช้งานได้หลากหลายกว่าแอลกอฮอล์เจล เพราะนอกจากใช้พ่นทำความสะอาดมือในเวลาที่ไม่มีที่ล้างมือได้แล้ว ยังสามารถพ่นฆ่าเชื้อสาธารณะเช่น รถเข็น, ลูกบิดมือจับประตู, แป้นกด ATM, ฝารองนั่ง, ฯลฯ อีกทั้งการเตรียมก็ไม่ยุ่งยาก (เทใส่ขวดได้เลยไม่ต้องทำเป็นเจล)
3.ตั้งเวลาเตือนในโทรศัพท์มือถือ ให้ล้างมือ ทุกๆ ชั่วโมง (จนกว่าเป็นนิสัยอัตโนมัติ)
4.ใช้อย่างอื่นสัมผัสปุ่ม (ปุ่มลิฟท์, ATM) แทนนิ้ว เช่น ไม้จิ้มฟัน หรือ ใช้กระดาษทิชชู่รอง
5.หมั่นทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ เพราะโทรศัพท์มือถือเป็นของที่เราใช้มือจับมากที่สุด มือเราไปจับของต่างๆ แล้วก็มากดหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ถ้าล้างแต่มือแต่ มือถือไม่สะอาด เชื้อโรคก็วนเวียน (วิธีทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ ถ้าโทรศัพท์กันน้ำได้ ก็ใช้น้ำสบู่ล้าง หรือถ้าไม่กันน้ำอาจเอาแอลกอฮอล์เช็ด ลองหาวิธีที่เหมาะสมกับเครื่องของท่านดู)
6.จามใส่ข้อพับแขนหรือหัวไหล่ให้เป็นนิสัย การใช้มือปิดปากเวลาไอจาม ทำให้เชื้อโรคติดที่มือแล้วไปจับโน่นจับนี่ ทำให้เชื้อโรคแพร่ได้ง่าย แต่ข้อพับที่แขนหรือหัวไหล่ไม่ค่อยมีโอกาสได้สัมผัสอะไร
7.หา กุศโลบายที่จะทำให้การเอามือไปสัมผัสตา, จมูก, ปาก เป็นเรื่องยาก เช่นการสวมหน้ากากผ้า, สวมแว่นตา, สวมถุงมือ หรือหาผ้ามาคลุมหน้าแบบสาวมุสลิม เพื่อลดโอกาสที่จะเผลอเอามือมาขยี้ตา, แคะจมูก หยิบของเข้าปาก (ถ้าเผลอ มือก็จะไปโดนของเหล่านี้ก่อน ทำให้มีสติว่าเราใส่ไว้ทำไม นึกได้แล้วก็ไปล้างมือ ก่อนจะแคะแกะเกา)
หมายเหตุ : อยากให้หาความรู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้หน้ากากประเภทต่างๆ เพิ่มเติม จะได้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ไม่สิ้นเปลืองเสียของ (บางคนห่วงใส่หน้ากาก แต่ไม่สนเรื่องล้างมือ อย่างนี้เสียของเปล่า)
8.ใช้ FIN-Tech (Prompt-Pay และ e-Wallet ทั้งหลาย) ให้เกิดประโยชน์ ลดใช้เงินสด เพราะเราไม่รู้ว่า แบงค์- เหรียญ ผ่านมือใครมาบ้าง
9.เวลาที่ใครมา ไอ, จาม ใกล้ๆ โดยไม่ปิดปาก ให้เรากลั้นหายใจ แล้วออกให้ห่างจากบริเวณนั้น เท่าที่จะพอทำได้
เดี๋ยวถ้านึกอะไรออกเพิ่มเติมจะมาเขียนต่อ