ตอน 9
ถนนมัสยิดกะปิตันกลิง (Jalan Masjid Kapitan Keling) เป็นถนนใจกลางเมืองจอร์จทาวน์ที่ถูกขนานนามว่าเป็นถนนแห่งความสมานฉันท์ หรือบางคนเรียกว่าถนนแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม จะเรียกอย่างไรก็ตามแต่ ถนนสายนี้ได้เป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราวของผู้คนในอดีตที่เดินทางเข้าสู่เกาะปีนังในยุครุ่งเรือง และด้วยความต่างทางความเชื่อและความศรัทธา ส่งผลทำให้เมืองจอร์จทาวน์เต็มไปด้วยศาสนาที่หลากหลาย แต่คงอยู่ร่วมกันได้อย่างสนานฉันท์ หากเริ่มต้นการเที่ยวชมศาสนสถานจากทางทิศเหนือของเมืองจอร์จทาวน์บนถนน Lebuh Farquhar อันเป็นที่ตั้งของโบสถ์ชื่อว่า โบสถ์อัสสัมชัน (Church of the Assumption) และห่างกันไม่ไกลนักก็จะเป็นโบสถ์อีกแห่งที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อว่า โบสถ์เซนต์จอร์จ (St.George’s Anglican Church) สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1818 ของนิกายแองกลิกันที่นับถือกันมากที่สุดของประเทศอังกฤษ ตามข้อมูลระบุว่าสร้างขึ้นจากหยาดเหงื่อแรงงานของนักโทษ ออกแบบโดยกัปตันโรเบิร์ต สมิธ (Captain Robert Smith) เมื่อเห็นครั้งแรกก็เกิดคำถามขึ้นทันที ทำไมโบสถ์ถึงได้มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่แปลกตาเช่นนี้ และจากการสืบค้นข้อมูลจึงทำให้รู้ว่า ผู้ออกแบบตั้งใจให้มีลักษณะคล้ายมหาวิหารพาร์เธนอน (Parthenon) ในยุคกรีกโบราณ นั่นเอง โบสถ์ทั้งสองแห่งนี้ได้เที่ยวชมกันไปแล้วเมื่อช่วงเช้า
จากนั้นก็เริ่มต้นปั่นจักรยานเข้าสู่ถนนมัสยิดกะปิตันกลิง ใช้เวลาเพียงแค่ครู่เดียวกับระยะทางสองร้อยเมตรไม่ขาดไม่เกิน เรียกว่ายังไม่ทันเหนื่อยก็มาถึงศาสนาสถานที่สำคัญอีกแห่ง ที่มีชื่อเสียงและความเก่าแก่ไม่แพ้กัน เป็นวัดเจ้าแม่กวนอิม (Guan Yin Temple หรือ Goddess of Mercy Temple Penang) ก่อสร้างขึ้นราวปี ค.ศ. 1800 ด้วยความร่วมมือกันของชาวจีนฮกเกี้ยนและกวางตุ้งกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ที่เมืองจอร์จทาวน์ ในอดีตนั้นนอกจากจะใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจตามความเชื่อทางพุทธศาสนาของชาวจีนแล้ว ยังใช้เป็นศูนย์กลางของการพบปะชุมนุมกันของชาวจีนอีกด้วย เมื่อมาถึงก็พบกับนักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนมาก กับควันธูปและกลิ่นไม้หอมคละคลุ้งไปทั่วลานด้านหน้า วัดเจ้าแม่กวนอิมเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่บริษัททัวร์มักจะบรรจุเอาไว้ในโปรแกรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะลูกทัวร์ชาวจีนจะนิยมมาสักการะขอพรจากเจ้าแม่กวนอิม ก่อนเดินทางมาปีนังหลายคนแนะนำว่าวัดเจ้าแม่กวนอิมแห่งนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก มาถึงแล้วต้องไปขอพร อย่าได้พลาดเด็ดขาด รับรองสมปรารถนาอย่างแน่นอน
สำหรับพวงมาลัยดอกไม้สักการะเจ้าแม่กวนอินก็อยู่ไม่ไกล เพียงแค่มองไปด้านข้างก็จะเจอกับร้านรวงขายดอกไม้นานาชนิดหลากสีสันราวกับสวนดอกไม้ ตั้งเรียงรายยาวเหยียดอยู่ริมถนน ส่วนด้านข้างมีถนนเล็กๆ สายหนึ่งที่นำเข้าสู่วิถีชุมชนชาวจีน หรือเรียกกันจนติดปากว่าย่านไชน่าทาวน์ ภายในชุมชนนอกจากจะเต็มไปด้วยบ้านเรือนของชาวจีนที่สะท้อนวิถีชีวิตและศิลปะของชาวจีนโพ้นทะเลแล้ว ยังเป็นศูนย์รวมอาหารจีนรสเลิศนานาชนิดที่ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง บางร้านเก่าแก่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ถึงขนาดลูกค้าต้องเข้าแถวยืนรอคิวจนเต็มร้านทุกวัน นอกจากนั้นในละแวกใกล้เคียงยังมีวัดในลักษณะเดียวกับวัดเจ้าแม่กวนอิมอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น Han Jiang Ancestral Temple , Yap Kongsi Temple และ Poh Hock Seah Twa Peh Kong Temple หลังจากที่สักการะขอพรเจ้าแม่กวนอิมเรียบร้อยแล้ว ผมปั่นจักรยานต่ออีกไม่ถึงสองร้อยเมตร ก็จะเจอกับเทวสถานของศาสนาฮินดู ชื่อว่า เทวสถานศรีมหามารีอันนาม (Sri Mahamariamman Temple) ที่ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอินเดียบนเกาะปีนัง และยังเป็นเทวสถานาของศาสนาฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดอีกด้วย และรอบบริเวณเทวสถานแห่งนี้ก็เป็นที่ตั้งของชุมชนชาวอินเดียที่ใหญ่ที่สุดในเมืองจอร์จทาวน์ มีชื่อเรียกว่า ลิตเติ้ลอินเดีย (Little India) ซึ่งเป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัย สถานที่ท่องเที่ยว และศูนย์รวมอาหารอร่อย สำหรับคนที่นิยมชมชอบอาหารอินเดียต้องมาที่ย่านลิเติ้ลอินเดียนี้ ไม่ว่าจะเป็นไชน่าทาวน์ หรือลิตเติ้ลอินเดีย เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสองวัฒนธรรมจากสองซีกโลก แต่อยู่ใกล้กันเพียงแค่เดินข้ามถนนเท่านั้นเอง เรียกว่าเดินเที่ยวย่านไชน่าทาวน์ทานอาหารยังไม่ทันอิ่ม ก็เดินข้ามถนนไปหาของอร่อยทานกันต่อในย่านลิตเติ้ลอินเดียกันได้เลย แต่ด้วยความเร่งรีบจึงทำให้ไม่มีเวลาเข้าไปเที่ยวชมภายในเทวสถาน โดยข้อมูลระบุว่าภายในเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูป “เจ้าแม่มารีอัมมานเทวี” เทพธิดาผู้ปกป้องและปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บตามความเชื่อของชาวฮินดู น่าสนใจมาก แต่คงจะต้องเอาไว้เที่ยวชมในคราวหน้า เวลามีจำกัดเสียเหลือเกิน
นับตั้งแต่โลกถือกำเนิดขึ้น ความเชื่อหลากหลายก็เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อโบราณ เรื่องผีสางนางไม้ เทพเจ้า ไฟ จนได้พัฒนากลายลัทธิ นิกาย และศาสนาในที่สุด แตกแขนงออกมาอย่างหลากหลาย และหนึ่งศาสนาที่น่าสนใจเป็นพิเศษในบรรดาศาสนาทั้งหลาย มีชื่อว่า “เชน” (Jainism) เมื่อเห็นชื่อก็เข้าใจได้ทันทีว่าเป็น “เซน” (Zen) หนึ่งในนิกายฝ่ายมหายานของพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี แต่ “เชน” ในที่นี้เป็นชื่อของศาสนา มิใช่เป็นนิกายอย่างที่เข้าใจ เนื่องจาก เชน เป็นศาสนาที่ถือกำเนิดในอินเดีย ถึงตอนนี้บอกได้เลยว่าไม่เคยได้ยินชื่อศาสนานี้มาก่อน แต่พอเริ่มศึกษาเรื่องราวความเป็นมาแล้ว ยิ่งรู้สึกว่า “เชน” เป็นอีกหนึ่งศาสนาที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นมา ความเชื่อ และหลักคำสอน
ศาสนาเชน มีชื่อเรียกว่า ไชนะ หรือ ชินะ แปลความหมายว่า “ผู้ชนะ” ถือกำเนิดขึ้นในประเทศอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล ที่เกิดร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าเชียวนะ เชน เป็นอเทวนิยม (Atheism) ไม่มีการนับถือพระเจ้า ไม่มีพระเจ้าผู้สร้าง แต่เชื่อเรื่องชีวะ หรือวิญญาณ หรืออัตตา ถือว่าทุกสิ่งมีวิญญาณ มีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากสังสารวัฎ สำหรับศาสดาของเชนมีถึงยี่สิบสี่องค์ และที่น่าสนใจก็คงจะเป็น “ท่านมหาวีระ” ศาสดาองค์สุดท้าย ที่แรกเริ่มเดิมทีท่านมหาวีระเป็นเจ้าชายถือกำเนิดจากสกุลของกษัตริย์ ตอนอายุสิบสองปี ได้ถูกพระบิดาส่งไปศึกษาเล่าเรียนกับลัทธิพรหมณจารย์ แต่หลังจากได้ศึกษามาเป็นเวลาหลายปีกลับมีความเห็นขัดแย้งกับหลักคำสอนหลายประการ ต่อมาเมื่อเจ้าชายได้สูญเสียพระบิดาและพระมารดา เจ้าชายทรงเศร้าพระทัยมาก จึงได้เสร็จออกจากพระนคร ปฏิบัติตนอย่างนักพรต และขอไม่พูดกับใครเป็นเวลาถึงสิบสองปี จนในที่สุดก็บรรลุขั้นสูงสุดหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง เป็นพระอรหันต์และเป็น “ผู้ชนะ” โดยสิ้นเชิง
หลังจากนั้นพระองค์ก็เริ่มประกาศศาสนาใหม่ เดินทางสั่งสอนสาวกจนมีพระชนมายุได้เจ็ดสิบสองพรรษา (ประมาณ 572 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ก็ได้เข้าสิทธศิลาหรือมรณภาพ ที่เมืองปาวา หรือสาธารณรัฐมัลละ และเมืองนี้เองได้กลายเป็นสังเวชนียสถานของศาสนิกเชน แต่เรื่องราวไม่ได้มีเพียงเท่านั้น ต่อมาหลักปฏิบัติของศาสนาเชน ได้ถูกแบ่งออกเป็นสองนิกาย แต่จุดมุ่งหมายสูงสุดยังคงเป็นเรื่องเดียวกัน นั่นก็คือการหลุดพ้นจากกิเลส นิกายแรก ชื่อว่า “เศวตัมพร” แปลความหมายว่า นุ่งขาว อยู่บริเวณตอนเหนือของเทือกเขาวินธัยที่มีอากาศหนาวเย็น เครื่องนุ่งห่มจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก และนิกายยังอนุญาตให้มีนักบวชหญิงได้อีกด้วย ส่วนอีกหนึ่งนิกายมีชื่อว่า “ทิฆัมพร” แปลความหมายว่า นุ่งลมห่มฟ้า เป็นนิกายที่เคร่งครัดมาก นักบวชจะเปลือยกาย เพราะเชื่อว่าเครื่องแต่งกายทำให้เกิดความกังวลใจที่ต้องรักษา และแสวงหา อีกทั้งไม่ยินยอมให้ผู้หญิงเป็นนักบวชโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะได้เกิดเป็นชายเสียก่อน ศาสนาเชนถือเป็นศาสนาที่มีสาวกเคารพนับถืออย่างแพร่หลาย โดยมีศาสนิกชนถึงหกล้านคนทั่วโลก ไม่รู้ว่าปัจจุบันนักบวชของศาสนาเชนยึดมั่นในหลักคำสอนและการปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดอยู่หรือไม่ หรือว่าเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยขนาดไหน การนุ่งลมห่มฟ้าก็ยังถือเป็นเรื่องแปลกประหลาดในสังคมปัจจุบัน ส่วนตัวผมเองก็ไม่เคยได้ยินว่ามีนักพรตของศาสนาเชนที่นุ่งลมห่มฟ้าอาศัยอยู่ในประเทศไทย ไม่เช่นนั้นก็คงจะเป็นข่าวดังไปแล้ว และทั้งหมดก็เป็นเพียงเกร็ดเล็กๆ ของอีกหนึ่งความหลากหลายของศาสนาที่มีอยู่บนโลกใบนี้
ถัดไปไม่ไกลเพียงแค่ไม่เกินหนึ่งร้อยเมตรก็เป็นที่ตั้งของศาสนสถานอีกแห่ง ที่มีความสำคัญไม่แพ้ศาสนสถานแห่งอื่น มีชื่อว่า มัสยิดกะปิตัน กลิง (Kapitan Keling Mosque) เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมุสลิมในเมืองจอร์จทาวน์ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะสมัยราชวงศ์โมกุลของอินเดีย ผมไม่มั่นใจว่าสถานที่แห่งนี้อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าไปได้หรือไม่ เพราะตอนนี้ประตูด้านหน้าถูกปิดเอาไว้ จึงทำได้แค่เพียงถ่ายภาพจากด้านนอก และตลอดระยะเวลาที่ท่องเที่ยวอยู่ในเมืองจอร์จทาวน์ ผมได้เดินผ่านมัสยิดมัสยิดกะปิตัน กลิง อีกหลายครั้ง ไม่เคยเห็นนักท่องเที่ยวเข้าไปด้านในเลยสักคน
ถนนมัสยิดกะปิตัน กลิง กับระยะทางเพียงไม่ถึงห้าร้อยเมตร แต่เต็มไปด้วยพลังความศรัทธาของ 4 ศาสนา 4 ความเชื่อ และสามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน ปราศจากความขัดแย้ง ซึ่งเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของความงดงาม และเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เดินทางมายังเกาะปีนัง
สมแล้วที่ได้ชื่อว่าเป็น “ถนนแห่งความสมานฉันท์”
โดย
กบในกะลาแก้ว
ตามภาพ ตามฝัน ไปปีนัง (ตอน 9)
ตอน 9
ถนนมัสยิดกะปิตันกลิง (Jalan Masjid Kapitan Keling) เป็นถนนใจกลางเมืองจอร์จทาวน์ที่ถูกขนานนามว่าเป็นถนนแห่งความสมานฉันท์ หรือบางคนเรียกว่าถนนแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม จะเรียกอย่างไรก็ตามแต่ ถนนสายนี้ได้เป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราวของผู้คนในอดีตที่เดินทางเข้าสู่เกาะปีนังในยุครุ่งเรือง และด้วยความต่างทางความเชื่อและความศรัทธา ส่งผลทำให้เมืองจอร์จทาวน์เต็มไปด้วยศาสนาที่หลากหลาย แต่คงอยู่ร่วมกันได้อย่างสนานฉันท์ หากเริ่มต้นการเที่ยวชมศาสนสถานจากทางทิศเหนือของเมืองจอร์จทาวน์บนถนน Lebuh Farquhar อันเป็นที่ตั้งของโบสถ์ชื่อว่า โบสถ์อัสสัมชัน (Church of the Assumption) และห่างกันไม่ไกลนักก็จะเป็นโบสถ์อีกแห่งที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อว่า โบสถ์เซนต์จอร์จ (St.George’s Anglican Church) สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1818 ของนิกายแองกลิกันที่นับถือกันมากที่สุดของประเทศอังกฤษ ตามข้อมูลระบุว่าสร้างขึ้นจากหยาดเหงื่อแรงงานของนักโทษ ออกแบบโดยกัปตันโรเบิร์ต สมิธ (Captain Robert Smith) เมื่อเห็นครั้งแรกก็เกิดคำถามขึ้นทันที ทำไมโบสถ์ถึงได้มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่แปลกตาเช่นนี้ และจากการสืบค้นข้อมูลจึงทำให้รู้ว่า ผู้ออกแบบตั้งใจให้มีลักษณะคล้ายมหาวิหารพาร์เธนอน (Parthenon) ในยุคกรีกโบราณ นั่นเอง โบสถ์ทั้งสองแห่งนี้ได้เที่ยวชมกันไปแล้วเมื่อช่วงเช้า
จากนั้นก็เริ่มต้นปั่นจักรยานเข้าสู่ถนนมัสยิดกะปิตันกลิง ใช้เวลาเพียงแค่ครู่เดียวกับระยะทางสองร้อยเมตรไม่ขาดไม่เกิน เรียกว่ายังไม่ทันเหนื่อยก็มาถึงศาสนาสถานที่สำคัญอีกแห่ง ที่มีชื่อเสียงและความเก่าแก่ไม่แพ้กัน เป็นวัดเจ้าแม่กวนอิม (Guan Yin Temple หรือ Goddess of Mercy Temple Penang) ก่อสร้างขึ้นราวปี ค.ศ. 1800 ด้วยความร่วมมือกันของชาวจีนฮกเกี้ยนและกวางตุ้งกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ที่เมืองจอร์จทาวน์ ในอดีตนั้นนอกจากจะใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจตามความเชื่อทางพุทธศาสนาของชาวจีนแล้ว ยังใช้เป็นศูนย์กลางของการพบปะชุมนุมกันของชาวจีนอีกด้วย เมื่อมาถึงก็พบกับนักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนมาก กับควันธูปและกลิ่นไม้หอมคละคลุ้งไปทั่วลานด้านหน้า วัดเจ้าแม่กวนอิมเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่บริษัททัวร์มักจะบรรจุเอาไว้ในโปรแกรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะลูกทัวร์ชาวจีนจะนิยมมาสักการะขอพรจากเจ้าแม่กวนอิม ก่อนเดินทางมาปีนังหลายคนแนะนำว่าวัดเจ้าแม่กวนอิมแห่งนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก มาถึงแล้วต้องไปขอพร อย่าได้พลาดเด็ดขาด รับรองสมปรารถนาอย่างแน่นอน
สำหรับพวงมาลัยดอกไม้สักการะเจ้าแม่กวนอินก็อยู่ไม่ไกล เพียงแค่มองไปด้านข้างก็จะเจอกับร้านรวงขายดอกไม้นานาชนิดหลากสีสันราวกับสวนดอกไม้ ตั้งเรียงรายยาวเหยียดอยู่ริมถนน ส่วนด้านข้างมีถนนเล็กๆ สายหนึ่งที่นำเข้าสู่วิถีชุมชนชาวจีน หรือเรียกกันจนติดปากว่าย่านไชน่าทาวน์ ภายในชุมชนนอกจากจะเต็มไปด้วยบ้านเรือนของชาวจีนที่สะท้อนวิถีชีวิตและศิลปะของชาวจีนโพ้นทะเลแล้ว ยังเป็นศูนย์รวมอาหารจีนรสเลิศนานาชนิดที่ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง บางร้านเก่าแก่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ถึงขนาดลูกค้าต้องเข้าแถวยืนรอคิวจนเต็มร้านทุกวัน นอกจากนั้นในละแวกใกล้เคียงยังมีวัดในลักษณะเดียวกับวัดเจ้าแม่กวนอิมอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น Han Jiang Ancestral Temple , Yap Kongsi Temple และ Poh Hock Seah Twa Peh Kong Temple หลังจากที่สักการะขอพรเจ้าแม่กวนอิมเรียบร้อยแล้ว ผมปั่นจักรยานต่ออีกไม่ถึงสองร้อยเมตร ก็จะเจอกับเทวสถานของศาสนาฮินดู ชื่อว่า เทวสถานศรีมหามารีอันนาม (Sri Mahamariamman Temple) ที่ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอินเดียบนเกาะปีนัง และยังเป็นเทวสถานาของศาสนาฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดอีกด้วย และรอบบริเวณเทวสถานแห่งนี้ก็เป็นที่ตั้งของชุมชนชาวอินเดียที่ใหญ่ที่สุดในเมืองจอร์จทาวน์ มีชื่อเรียกว่า ลิตเติ้ลอินเดีย (Little India) ซึ่งเป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัย สถานที่ท่องเที่ยว และศูนย์รวมอาหารอร่อย สำหรับคนที่นิยมชมชอบอาหารอินเดียต้องมาที่ย่านลิเติ้ลอินเดียนี้ ไม่ว่าจะเป็นไชน่าทาวน์ หรือลิตเติ้ลอินเดีย เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสองวัฒนธรรมจากสองซีกโลก แต่อยู่ใกล้กันเพียงแค่เดินข้ามถนนเท่านั้นเอง เรียกว่าเดินเที่ยวย่านไชน่าทาวน์ทานอาหารยังไม่ทันอิ่ม ก็เดินข้ามถนนไปหาของอร่อยทานกันต่อในย่านลิตเติ้ลอินเดียกันได้เลย แต่ด้วยความเร่งรีบจึงทำให้ไม่มีเวลาเข้าไปเที่ยวชมภายในเทวสถาน โดยข้อมูลระบุว่าภายในเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูป “เจ้าแม่มารีอัมมานเทวี” เทพธิดาผู้ปกป้องและปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บตามความเชื่อของชาวฮินดู น่าสนใจมาก แต่คงจะต้องเอาไว้เที่ยวชมในคราวหน้า เวลามีจำกัดเสียเหลือเกิน
นับตั้งแต่โลกถือกำเนิดขึ้น ความเชื่อหลากหลายก็เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อโบราณ เรื่องผีสางนางไม้ เทพเจ้า ไฟ จนได้พัฒนากลายลัทธิ นิกาย และศาสนาในที่สุด แตกแขนงออกมาอย่างหลากหลาย และหนึ่งศาสนาที่น่าสนใจเป็นพิเศษในบรรดาศาสนาทั้งหลาย มีชื่อว่า “เชน” (Jainism) เมื่อเห็นชื่อก็เข้าใจได้ทันทีว่าเป็น “เซน” (Zen) หนึ่งในนิกายฝ่ายมหายานของพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี แต่ “เชน” ในที่นี้เป็นชื่อของศาสนา มิใช่เป็นนิกายอย่างที่เข้าใจ เนื่องจาก เชน เป็นศาสนาที่ถือกำเนิดในอินเดีย ถึงตอนนี้บอกได้เลยว่าไม่เคยได้ยินชื่อศาสนานี้มาก่อน แต่พอเริ่มศึกษาเรื่องราวความเป็นมาแล้ว ยิ่งรู้สึกว่า “เชน” เป็นอีกหนึ่งศาสนาที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นมา ความเชื่อ และหลักคำสอน
ศาสนาเชน มีชื่อเรียกว่า ไชนะ หรือ ชินะ แปลความหมายว่า “ผู้ชนะ” ถือกำเนิดขึ้นในประเทศอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล ที่เกิดร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าเชียวนะ เชน เป็นอเทวนิยม (Atheism) ไม่มีการนับถือพระเจ้า ไม่มีพระเจ้าผู้สร้าง แต่เชื่อเรื่องชีวะ หรือวิญญาณ หรืออัตตา ถือว่าทุกสิ่งมีวิญญาณ มีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากสังสารวัฎ สำหรับศาสดาของเชนมีถึงยี่สิบสี่องค์ และที่น่าสนใจก็คงจะเป็น “ท่านมหาวีระ” ศาสดาองค์สุดท้าย ที่แรกเริ่มเดิมทีท่านมหาวีระเป็นเจ้าชายถือกำเนิดจากสกุลของกษัตริย์ ตอนอายุสิบสองปี ได้ถูกพระบิดาส่งไปศึกษาเล่าเรียนกับลัทธิพรหมณจารย์ แต่หลังจากได้ศึกษามาเป็นเวลาหลายปีกลับมีความเห็นขัดแย้งกับหลักคำสอนหลายประการ ต่อมาเมื่อเจ้าชายได้สูญเสียพระบิดาและพระมารดา เจ้าชายทรงเศร้าพระทัยมาก จึงได้เสร็จออกจากพระนคร ปฏิบัติตนอย่างนักพรต และขอไม่พูดกับใครเป็นเวลาถึงสิบสองปี จนในที่สุดก็บรรลุขั้นสูงสุดหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง เป็นพระอรหันต์และเป็น “ผู้ชนะ” โดยสิ้นเชิง
หลังจากนั้นพระองค์ก็เริ่มประกาศศาสนาใหม่ เดินทางสั่งสอนสาวกจนมีพระชนมายุได้เจ็ดสิบสองพรรษา (ประมาณ 572 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ก็ได้เข้าสิทธศิลาหรือมรณภาพ ที่เมืองปาวา หรือสาธารณรัฐมัลละ และเมืองนี้เองได้กลายเป็นสังเวชนียสถานของศาสนิกเชน แต่เรื่องราวไม่ได้มีเพียงเท่านั้น ต่อมาหลักปฏิบัติของศาสนาเชน ได้ถูกแบ่งออกเป็นสองนิกาย แต่จุดมุ่งหมายสูงสุดยังคงเป็นเรื่องเดียวกัน นั่นก็คือการหลุดพ้นจากกิเลส นิกายแรก ชื่อว่า “เศวตัมพร” แปลความหมายว่า นุ่งขาว อยู่บริเวณตอนเหนือของเทือกเขาวินธัยที่มีอากาศหนาวเย็น เครื่องนุ่งห่มจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก และนิกายยังอนุญาตให้มีนักบวชหญิงได้อีกด้วย ส่วนอีกหนึ่งนิกายมีชื่อว่า “ทิฆัมพร” แปลความหมายว่า นุ่งลมห่มฟ้า เป็นนิกายที่เคร่งครัดมาก นักบวชจะเปลือยกาย เพราะเชื่อว่าเครื่องแต่งกายทำให้เกิดความกังวลใจที่ต้องรักษา และแสวงหา อีกทั้งไม่ยินยอมให้ผู้หญิงเป็นนักบวชโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะได้เกิดเป็นชายเสียก่อน ศาสนาเชนถือเป็นศาสนาที่มีสาวกเคารพนับถืออย่างแพร่หลาย โดยมีศาสนิกชนถึงหกล้านคนทั่วโลก ไม่รู้ว่าปัจจุบันนักบวชของศาสนาเชนยึดมั่นในหลักคำสอนและการปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดอยู่หรือไม่ หรือว่าเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยขนาดไหน การนุ่งลมห่มฟ้าก็ยังถือเป็นเรื่องแปลกประหลาดในสังคมปัจจุบัน ส่วนตัวผมเองก็ไม่เคยได้ยินว่ามีนักพรตของศาสนาเชนที่นุ่งลมห่มฟ้าอาศัยอยู่ในประเทศไทย ไม่เช่นนั้นก็คงจะเป็นข่าวดังไปแล้ว และทั้งหมดก็เป็นเพียงเกร็ดเล็กๆ ของอีกหนึ่งความหลากหลายของศาสนาที่มีอยู่บนโลกใบนี้
ถัดไปไม่ไกลเพียงแค่ไม่เกินหนึ่งร้อยเมตรก็เป็นที่ตั้งของศาสนสถานอีกแห่ง ที่มีความสำคัญไม่แพ้ศาสนสถานแห่งอื่น มีชื่อว่า มัสยิดกะปิตัน กลิง (Kapitan Keling Mosque) เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมุสลิมในเมืองจอร์จทาวน์ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะสมัยราชวงศ์โมกุลของอินเดีย ผมไม่มั่นใจว่าสถานที่แห่งนี้อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าไปได้หรือไม่ เพราะตอนนี้ประตูด้านหน้าถูกปิดเอาไว้ จึงทำได้แค่เพียงถ่ายภาพจากด้านนอก และตลอดระยะเวลาที่ท่องเที่ยวอยู่ในเมืองจอร์จทาวน์ ผมได้เดินผ่านมัสยิดมัสยิดกะปิตัน กลิง อีกหลายครั้ง ไม่เคยเห็นนักท่องเที่ยวเข้าไปด้านในเลยสักคน
ถนนมัสยิดกะปิตัน กลิง กับระยะทางเพียงไม่ถึงห้าร้อยเมตร แต่เต็มไปด้วยพลังความศรัทธาของ 4 ศาสนา 4 ความเชื่อ และสามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน ปราศจากความขัดแย้ง ซึ่งเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของความงดงาม และเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เดินทางมายังเกาะปีนัง
สมแล้วที่ได้ชื่อว่าเป็น “ถนนแห่งความสมานฉันท์”
โดย
กบในกะลาแก้ว