ขลุ่ยจากกระดูกสัตว์ อายุราว 50,000 ปี.
ความชอบเสียงเพลงนั้นมีอยู่ในจิตใจของมนุษย์มาแต่ดึกดำบรรพ์ แรกๆครั้งยังไม่มีปัญญาพอที่จะประดิษฐ์คิดทำอุปกรณ์สร้างเสียงเพลง มนุษย์ก็อาศัยสองมือตบให้เป็นจังหวะ ใช้ริมฝีปากผิวให้มีลมเป็นเสียงสูงๆต่ำๆ ครั้นต่อมาก็เริ่มรู้จักที่จะนำเอาสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น หลอดต้นอ้อต้นกกมาเป่าเป็นทำนอง เอาเขาสัตว์มาเป่าแบบแตร และแล้วก็เริ่มคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีให้มีระดับเสียงหลายหลากขึ้น
หลักฐานเครื่องดนตรีเก่าแก่ที่สุดของโลกนั้นได้แก่ “ขลุ่ย” ทำจากกระดูกสัตว์ คาดกันว่ามีอายุราว 50,000 ปี ในสมัยมนุษย์โบราณนีนเดอร์ธาล (Neanderthal) ค้นพบได้จากทางตะวันตกเฉียงเหนือของสโลวีเนียและ ได้รับการขนานนามว่า “Divje Babe Flute” มีรูเจาะ 4 รู ซึ่งน่าจะเป็นเสียงโน้ต 4 ตัวที่เก่าแก่ถัดมาได้แก่ขลุ่ยทำจากกระดูกช้างแมมมอธกับกระดูกหงส์ ซึ่งมีอายุในช่วง 30,000 กว่าปีในยุคพาลิโอลิธิก พบอยู่บนยอดเขาแอลป์อันหนาวเหน็บ
แต่ที่จัดว่าเป็นชุดเครื่องดนตรีที่พัฒนาขึ้นในยุคมนุษย์มีอารยธรรมก็ได้แก่ เครื่องดนตรีหลากหลายชิ้นซึ่งพบอยู่ในสุสานหลวงของนครเออร์ (Ur) แห่งอาณาจักรสุเมเรีย ซึ่งประกอบด้วยพิณ (lyre) 9 คัน พิณ (harp) 2 คัน ขลุ่ยคู่ทำด้วยเงิน 1 เลา เครื่องประเภทตีที่เรียกว่าซิสตรา (sistra) กับซิมบัล (Cymbal) เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในสภาพบางส่วนยังสมบูรณ์ บางส่วนแตกย่อย แต่ก็เอามารวมประกอบกันขึ้นใหม่ได้ สิ่งของในสุสานโบราณนี้วัดอายุด้วยระบบคาร์บอนได้ว่า อยู่ในช่วง 2,600-2,500 ปีก่อนคริสตกาล
ส่วนในเอเชียก็มีการพบขลุ่ยที่มณฑลเหอนาน คาดว่ามีอายุราว 8,000 ปี ทำจากกระดูก จัดเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ที่สุดที่สมบูรณ์ยังใช้เล่นได้หลายตัวโน้ต
แต่เครื่องดนตรีเหล่านี้ไม่ธรรมดา มีการประดิษฐ์ขึ้นมาและบรรเลงแบบแหวกแนว บางชิ้นก็เกือบหลุดโลกไปเลย
แบดเจอร์มิน
แบดเจอร์มิน เป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงมาจากแดร์มิน (Theremin) เครื่องดนตรีแนวอิเล็กทรอนิกส์ที่เล่นโดยการสะบัดมือไปมาในอากาศ ซึ่งโดยปกติ เครื่องดนตรีแดร์มิน มักจะให้เสียงประหลาด และใช้ในภาพยนตร์ประเภทไซไฟเสียส่วนใหญ่ โดยเครื่องดนตรีแบดเจอร์มินนั้น ได้นำเอาตัวแบดเจอร์ใส่เข้าไปในแดร์มิน และที่สำคัญคือ ใคร ๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของเครื่องแบดเจอร์มินนี้ เพียงแค่ติดต่อผู้ผลิตคือ นายเดวิด เเครมเมอร์ ก็สามารถโบกสะบัดมือบนตัวเครื่องแบดเจอร์มิน และสร้างสรรค์เสียงเพลงได้อย่างที่ต้องการ
เธอเรมิน
เธอเรมิน (Theremin) สร้างขึ้นในปี 1920 โดยเจฟ เทอร์แมน ชาวรัสเซีย เพื่อสำหรับบรรเลงเพลงคลาสสิก เป็นที่ฮือฮามากในปี 1994 เพราะมีการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “Theremin : An Electronic Odyssey” อย่างไรก็ตาม เครื่องดนตรีนี้ไม่เคยร่วมบรรเลงกับวงออเคสตรา ในภาพจะเห็นผู้บรรเลงใช้มือสัมผัสกับเสาอากาศซึ่งมี 2 ตัว
นี่คือเครื่องดนตรีไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้งานจะสามารถสร้างเสียงที่แตกต่างกันออกมาได้ โดยอาศัยเพียงการโบกมือ และตลอดการเล่นดนตรี ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับตัวเครื่องดนตรีเลย
ตัวอย่างการทำมือเพื่อเล่นเธรามิน
วงออเครสตร้าผักแห่งเวียนนา
.เครื่องผัก (Vegetable Orchestra) พืชผักสวนครัว ดูจะเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากคำว่า เครื่องดนตรี แต่ได้มีคนกลุ่มหนึ่ง คิดค้นเครื่องดนตรีที่ทำจากผักขึ้น โดยไม่ใช่เครื่องดนตรีชนิดเดียว แต่ตั้งขึ้นมาเป็นวงออเครสตร้าผัก กลุ่มนักดนตรีวงนี้ตั้งขึ้นมาในปี 1998 ที่กรุงเวียนนา ออสเตรีย สามารถนำเอาพืชผักนานาชนิดมาทำให้เกิดเสียงดนตรีอันไพเราะได้ เช่น เอาฟักทองมาเป็นกลอง เอาหัวแครอทมาเป็นขลุ่ย บางชิ้นใช้สดๆ บางชิ้นก็เอามาสลักก่อน
โดยพวกเขา จะออกไปซื้อผักในตอนเช้า จากนั้นจะนำผักมาทำเป็นเครื่องดนตรีในตอนบ่าย แล้วเอามาเล่นดนตรีในตอนเย็น เมื่อเล่นดนตรีเสร็จ ก็จะหั่นผักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ยกเว้นผักชิ้นที่เล่นด้วยปาก แล้วจะนำผักต่าง ๆ ไปปรุงเป็นอาหาร แล้วเสิร์ฟเป็นซุปให้กับผู้ชมที่เข้าร่วมงาน
สตาแลคไพพ์ ออร์แกน
นี่คือออร์แกนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ที่เมืองลูเรย์ คาเวิร์น รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเครื่องดนตรีชนิดนี้ รู้จักกันในทางเทคนิคว่าเป็น ไลโทโฟน โดยสตาแลคไพพ์ ออร์แกน คิดค้นขึ้นโดย นายลีแลนด์ ดับบลิว สปริงเคิล ในปี 1956 เขาได้ความคิดนี้เมื่อลูกชายของเขา ไปเดินชนกับหินย้อยที่อยู่ต่ำ และหลายปีต่อจากนั้น เขาก็ได้ค้นพบว่า ภายในถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยอยู่นี้ สามารถสร้างเสียงดนตรีได้ตรงตามโน้ตดนตรีตะวันตก ผ่านหินงอกหินย้อยจนคล้ายกับออร์แกนขนาดใหญ่ เขาจึงเริ่มขัดหินงอกหินย้อยเหล่านั้นให้ได้ระดับเสียงที่ต้องการ จากนั้นก็ใส่คีย์บอร์ดลงไปเพื่อควบคุมออร์แกน โดยเมื่อเล่นดนตรี ก็จะได้ยินเสียงออกมาจากภายในถ้ำ ผ่านหินงอกหินย้อย น่าตืนตาตื่นใจมาก ๆ
อาร์โมนิก้าแก้ว
หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นการเล่นพิณแก้ว แต่เครื่องดนตรีอาร์โมนิก้าแก้วนี้ สร้างสรรค์โดย เบนจามิน แฟรงกลิน คนเดียวกันกับที่ประดิษฐ์หลอดไฟ โดยเขาประดิษฐ์เครื่องดนตรีชนิดนี้ในปี 1761 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเล่นพิณแก้ว ที่เล่นโดยการเคาะขอบแก้วไวน์ที่เติมน้ำลงไปในระดับต่าง ๆ กัน
แต่แฟรงกลิน ได้สร้างสรรค์อาร์โมนิก้าแก้ว โดยการใช้ถ้วย 37 ใบ เรียงกันลงไปในแกนหมุน แล้วหมุนถ้วยเพื่อให้เกิดเสียง ซึ่งผู้เล่น จะเล่นดนตรีโดยการจับเบา ๆ ที่ถ้วยขณะที่นิ้วเปียก เครื่องดนตรีชนิดนี้ จะให้เสียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง และในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุด นักแต่งเพลงกว่า 100 คนได้แต่งเพลงโดยมีอาร์โมนิก้าแก้วเป็นส่วนประกอบ รวมถึงโมสาร์ทและบีโธเฟ่น แต่จนบัดนี้ ก็ไม่มีใครทราบว่า เหตุใดอาร์โมนิก้าแก้วจึงเสื่อมความนิยม
บ้านดนตรี
เดอะ เวจจ์ เฮาส์ (The Wege house) หรือบ้านดนตรี ตั้งอยู่ในรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ออกแบบโดยสถาปนิก นายเดวิด ฮานาวอล์ท และนาย บิล โคลส ซึ่งความคิดในการสร้างบ้านดนตรีนี้ เลียนแบบมาจากเครื่องดนตรีฮาร์ป ในยุตไบเซนไทน์ โดยทั้งบ้าน จะขึงด้วยเส้นเสียงตามผนังและโถงทางเดิน ทำให้สมาชิกในครอบครัวทุกคนและแขกที่มาเยี่ยมบ้านสามารถดีดเส้นเสียงที่ขึงอยู่ ให้เสียงต่าง ๆ กันออกไป
ซิวซาโฟน
นับตั้งแต่ที่นิโคลา เทสล่าออกเเบบเครื่องดนตรี เทสล่าคอยล์ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ให้เสียงเหมือนไฟฟ้าช็อต จากนั้น ในปี 2007 จึงมีคนหัวใส คิดค้นเครื่องดนตรีที่ใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำ แต่ใช้คลื่นพลังงานในขดลวดสูง ออกมาเป็น ซิวซาโฟน (Zeusaphone) ที่ตั้งชื่อตามเทพเจ้ากรีก เครื่องดนตรีชนิดนี้จะให้เสียงคล้ายไฟช็อตและยังมีวางจำหน่ายทั่วไปด้วย
โดยเป็นลำโพงแบบพลาสมา (Plasma speaker) เป็นการนำเอาขดลวดเทสลา (Tesla coil) มาสร้างให้เกิดเสียงจากประจุไฟฟ้า
ลูโฟเนียม
.ลูโฟเนียม (Loophonium) เป็นการผสมผสานระหว่างแตรยูโฟเนียม (euphonium) กับส้วม (lavatory) ทำขึ้นเพื่อใช้บรรเลงในคอนเสิร์ตวันเอพริล ฟูล (April Fool) ปี 1960 ร่วมกับวง Royal Liverpool Philhamonic Orchestra ผู้ประดิษฐ์คือนายฟริตซ์ ชปีเกิล
เครื่องดนตรีลวดหนาม
ใครจะเชื่อว่าลวดหนามธรรมดา สามารถเป็นเครื่องดนตรีสุดแปลกได้ นักไวโอลินและศิลปิน นาย จอห์น โรส ได้ตั้งเป้าว่า จะเล่นและบันทึกเสียงที่ได้จากรั้วทั่วโลก ดังนั้น เขาจึงใช้คันชักไวโอลิน ไปสีกับรั้วลวดหนามแห่งหนึ่งในออสเตรเลีย แล้วผลที่ได้คือเสียงที่ดนตรีที่เก๋เท่ คล้ายกับเสียงรถจักรยานยนต์ ซึ่งเราทุกคนสามารถใช้คันชักไวโอลิน สีกับรั้วลวดหนามที่ไหนก็ได้ แต่ระวังลวดหนามตำมือด้วยนะ
ต้นไม้ร้องเพลงได้
คีตพฤกษ์ (Singing Ringing Tree) ต้นไม้ร้องเพลง หรือ ซิงอ้ง ริงกิ้ง ทรี ตั้งอยู่ที่แถบแลงคาเชียร์ ประเทศอังกฤษ อาจจะถือได้ว่านี่เป็นเครื่องดนตรีที่แปลกประหลาดอีกชิ้นหนึ่งก็ว่าได้ ต้นไม้ร้องเพลงนี้ เป็นผลงานของนาย ไมค์ ทอนกิ้น และ แอนนา หลิว สถาปนิก โดยต้นไม้ร้องเพลงได้ จะประกอบไปด้วยท่อจำนวนมาก ขนาดความยาวต่างๆกันสูงราว 3 เมตร ตัดและวางเรียงกันเป็นขด เมื่อลมพัดมา ก็จะเกิดเสียงดังไปทั่วหุบเขา ฟังแล้วคล้ายกับเสียงซาวด์เอฟเฟกต์ในหนังมากเลยทีเดียว ซึ่งต่อมามีอีกต้นหนึ่งที่ออสติน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา
ที่มา เว็บไซต์รวมเรื่องแปลก Oddee.com
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Oddee.com
Cr.
https://hilight.kapook.com/view/69142
Cr.
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1445843 / โดย :อุดร จารุรัตน์ ทีมงาน นิตยสาร ต่วย'ตูน
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
เครื่องดนตรีสุดแปลก ที่ให้เสียงอันน่าทึ่ง
หลักฐานเครื่องดนตรีเก่าแก่ที่สุดของโลกนั้นได้แก่ “ขลุ่ย” ทำจากกระดูกสัตว์ คาดกันว่ามีอายุราว 50,000 ปี ในสมัยมนุษย์โบราณนีนเดอร์ธาล (Neanderthal) ค้นพบได้จากทางตะวันตกเฉียงเหนือของสโลวีเนียและ ได้รับการขนานนามว่า “Divje Babe Flute” มีรูเจาะ 4 รู ซึ่งน่าจะเป็นเสียงโน้ต 4 ตัวที่เก่าแก่ถัดมาได้แก่ขลุ่ยทำจากกระดูกช้างแมมมอธกับกระดูกหงส์ ซึ่งมีอายุในช่วง 30,000 กว่าปีในยุคพาลิโอลิธิก พบอยู่บนยอดเขาแอลป์อันหนาวเหน็บ
แต่ที่จัดว่าเป็นชุดเครื่องดนตรีที่พัฒนาขึ้นในยุคมนุษย์มีอารยธรรมก็ได้แก่ เครื่องดนตรีหลากหลายชิ้นซึ่งพบอยู่ในสุสานหลวงของนครเออร์ (Ur) แห่งอาณาจักรสุเมเรีย ซึ่งประกอบด้วยพิณ (lyre) 9 คัน พิณ (harp) 2 คัน ขลุ่ยคู่ทำด้วยเงิน 1 เลา เครื่องประเภทตีที่เรียกว่าซิสตรา (sistra) กับซิมบัล (Cymbal) เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในสภาพบางส่วนยังสมบูรณ์ บางส่วนแตกย่อย แต่ก็เอามารวมประกอบกันขึ้นใหม่ได้ สิ่งของในสุสานโบราณนี้วัดอายุด้วยระบบคาร์บอนได้ว่า อยู่ในช่วง 2,600-2,500 ปีก่อนคริสตกาล
ส่วนในเอเชียก็มีการพบขลุ่ยที่มณฑลเหอนาน คาดว่ามีอายุราว 8,000 ปี ทำจากกระดูก จัดเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ที่สุดที่สมบูรณ์ยังใช้เล่นได้หลายตัวโน้ต
แต่เครื่องดนตรีเหล่านี้ไม่ธรรมดา มีการประดิษฐ์ขึ้นมาและบรรเลงแบบแหวกแนว บางชิ้นก็เกือบหลุดโลกไปเลย
โดยพวกเขา จะออกไปซื้อผักในตอนเช้า จากนั้นจะนำผักมาทำเป็นเครื่องดนตรีในตอนบ่าย แล้วเอามาเล่นดนตรีในตอนเย็น เมื่อเล่นดนตรีเสร็จ ก็จะหั่นผักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ยกเว้นผักชิ้นที่เล่นด้วยปาก แล้วจะนำผักต่าง ๆ ไปปรุงเป็นอาหาร แล้วเสิร์ฟเป็นซุปให้กับผู้ชมที่เข้าร่วมงาน
แต่แฟรงกลิน ได้สร้างสรรค์อาร์โมนิก้าแก้ว โดยการใช้ถ้วย 37 ใบ เรียงกันลงไปในแกนหมุน แล้วหมุนถ้วยเพื่อให้เกิดเสียง ซึ่งผู้เล่น จะเล่นดนตรีโดยการจับเบา ๆ ที่ถ้วยขณะที่นิ้วเปียก เครื่องดนตรีชนิดนี้ จะให้เสียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง และในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุด นักแต่งเพลงกว่า 100 คนได้แต่งเพลงโดยมีอาร์โมนิก้าแก้วเป็นส่วนประกอบ รวมถึงโมสาร์ทและบีโธเฟ่น แต่จนบัดนี้ ก็ไม่มีใครทราบว่า เหตุใดอาร์โมนิก้าแก้วจึงเสื่อมความนิยม
โดยเป็นลำโพงแบบพลาสมา (Plasma speaker) เป็นการนำเอาขดลวดเทสลา (Tesla coil) มาสร้างให้เกิดเสียงจากประจุไฟฟ้า
ที่มา เว็บไซต์รวมเรื่องแปลก Oddee.com
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Oddee.com
Cr.https://hilight.kapook.com/view/69142
Cr. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1445843 / โดย :อุดร จารุรัตน์ ทีมงาน นิตยสาร ต่วย'ตูน
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)