พระสงฆ์ถึงมาปรับอาบัติพระอานนท์ ถูกต้องหรือไม่
ในปฐมสังคายนาครั้งนั้น พระอานนท์เถระเจ้าได้กล่าวแก่ที่ประชุมสงฆ์ถึงพระพุทธานุญาต ข้อที่ให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ ที่ประชุมได้ถามพระอานนท์ว่า "ท่านอานนท์! ก็ท่านได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือว่าพระเจ้าข้า! สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ เป็นไฉน! พระอานนท์ตอบว่า ท่านมิได้ทูลถามไว้เลย .....
... สมัยนั้นที่ประชุมได้ลงมติปรับอาบัติทุกกฎแห่งพระอานนท์เถระเจ้าเป็นข้อๆ ดังนี้
๑. ข้อที่ไม่ได้ทูลถามถึงสิกขาบทเล็กน้อยว่าได้แก่อะไรบ้าง
๒. ข้อที่เหยียบผ้าวัสสิกสาฎกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
๓. ปล่อยให้พวกสตรีถวายบังคมพระสรีระก่อน และพวกนางก็ร้องไห้น้ำตาเปียกเปื้อนพระสรีระ
๔. ไม่ทูลวิงวอนพระศาสดา ให้ทรงดำรงอยู่ตลอดกัปป์เมื่อพระองค์ทรงทำนิมิตโอภาส
๕. ขวนขวายให้สตรีได้บวชในธรรมวินัย
พระอานนท์ ก็กล่าวอธิบายการกระทำของท่านทั้ง ๕ ข้อนั้นว่า
๑. เพราะมิได้รำลึกถึง
๒. ที่เหยียบล่วงเกิน ไม่ใช่เพราะความไม่คารวะ
๓. เพราะเห็นว่าสตรีเหล่านั้น ไม่ควรจะอยู่ในเวลาวิกาลจึงให้พวกนางถวายบังคมก่นอ
๔. เพราะถูกมารดลจิตจึงมิได้ทูลวิงวอน
๕. เพราะเห็นว่า พระมหาปชาบดีโคตมีนี้เป้ฯพระเจ้าหน้าถวายขีโรทกแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าในเยาวกาล จึงขวนขวายให้สตรีได้บวชในธรรมวัย
แต่พระอานนท์ท่านเป็นนักประชาธิปไตยแท้ เมื่อที่ประชุมลงมติปรับอาบัติ ท่านก็ไม่ขัดขืนต่อความเห็นของคนส่วนใหญ่จึงได้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่เห็นอาบัติทุกกฎนั้น แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอแสดงทุกกฎนั้น ณ บัดนี้" ความพิสดารเหล่านนี้มาในวินัยปิฎกจุลวรรค (เสถียร โพธินันทะ. ๒๕๒๒. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : บรรณาคาร, ๙๐-๙๓.)
สตรีย่อมเป็นหนึ่งในธรรม ของโลกอยู่แล้ว ย่อมมีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้ธรรมะ
สาเหตุที่พระต่างๆ ปรับอาบัติพระอานนท์ เพราะไม่ถูกใจกู เลยบอกว่า ตรงนี้น่าจะทำแต่ทำไมไม่ทำ
พระอรหันต์ก็มี ๑๒ ชั้น
ตัวไหนที่ทำให้เป็นพระอรหันต์ คือ ตัวที่ลุธรรมถึง เราทำได้กี่ส่วน เช่น เราทำได้ส่วนเท่านี้ๆ ก็เป็นพระอรหันต์ เราทำหนึ่งส่วนก็ได้เป็นพระอรหันต์ ๑ ส่วน ทำ ๖ ส่วนก็เป็นพระอรหันต์ ๖ ส่วน เราทำอรหันต์ ๑๒ ส่วน ก็เป็นอรหันต์ขั้น ๑๒ เราทำบรรลุถึง ก็เหมือนกับเราเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัย เรากลายเป็นนิสิต นักศึกษาแล้ว ไม่เรียกว่า นักเรียนแล้ว เพียงแต่ว่าเราเป็นนักศึกษาปีไหนล่ะ เราจะต้องไปเรียน ไม่ใช่ว่าเราเข้าไปเรียนแล้วเราจบปริญญาเอกแล้ว อย่างนี้ไม่ใช่ เราเข้ามหาวิทยาลัยเราจะต้องไปเรียน
เราอย่าไปบ้าจี้คำว่า "อรหันต์" พระอรหันต์ก็ไม่ต่างกับนักศึกษา ต้องไปเรียน ต้องไปทำอย่างอรหันต์ เช่น ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก จะต้องเรียนให้ได้ สอบให้ได้ ก็จะขึ้นขั้นไปเรื่อยๆ
ถ้าอย่างนั้น ท่านเป็นอรหันตมรรค ยังไม่ใช่ผลใช่ไหม?
ถ้าไม่ใช่อรหันตผล แล้วจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ไหมล่ะ? ก็ต้องเป็นทั้งมรรคและผล จึงเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ก็เป็นขั้นๆ เราอย่าไปแปลว่า "ผล" คือ ทั้งหมด เราทำได้ผลแค่นี้ ได้มีสิทธิ์เข้ามหาวิทยาลัย
อรหันต์จะต้องมีมรรค กำลังเดินทางอยู่ แต่เข้ามาเรียนอรหันต์ นั่นเป็นผลแห่งการมีสิทธิ์แล้ว
เป็นพระอรหันต์ขอให้ท่านเจ้าที่ช่วยก็มีเยอะแยะไป เช่น พระอรหันต์บางรูป ไม่เคยเจอผี ไม่รู้จะปราบผียังไง ก็หมดปัญญา ต้องขอท่านเจ้าที่ช่วย เจ้าที่ตรงนั้นเป็นเจ้าที่นักเลงมาถึง ผีก็หายหมด เก่งกว่าอรหันต์หมด ผีก็ไม่กลัวพระอรหันต์ เพราะเขาก็บอกว่า "ฉันทำอะไรผิด"
สมมติว่าเราไปลงโทษเจ้าที่ โดยไม่มีเหตุผล ธรรมจะจัดการเรา เราอย่านึกว่าเราใหญ่แล้วจะทำอะไรก็ได้ ถ้าเราผิดธรรมก็โดน ขนาดพระพุทธเจ้ายังไม่กล้าผิดธรรมเลย มหาเทพยังไม่กล้าผิดธรรม มหาเทพผิดธรรมก็ยังโดนเลย
ถ้าสมมติว่า ผีทำผิด พระอรหันต์จะลงโทษเองไม่ได้ จะต้องส่งเรื่องให้ยมบาลทำโทษ เจ้าที่ทำโทษ ก็เหมือนกับว่าเราให้ใครทำผิด ก็ต้องมาเรียกตำรวจ เจ้าหน้าที่บ้านเมืองมาจับตัวไปลงโทษ เราไม่มีสิทธิ์ลงโทษเขา ต้องเป็นไปตามขบวนการแห่งยุติธรรม แล้วทำไมบางครั้งเห็นพระอรหันต์ลงโทษได้ ก็เพราะอันนั้นเป็นเหตุเฉพาะการณ์ เช่น เราเห็นเด็กคนนี้ไปตีคนอื่นเราเห็น เราก็ต้องไปจับเด็กคนนั้นมัดไว้ ถ้าไม่มัดไว้เขาก็จะไปตีใหม่ แล้วจะทำยังไง จะผิดถูกยังไงก็ดำเนินไปตามศาล
ผีจะกลัวพระอรหันต์ไหม?
ผีไม่ทำผิดแล้วจะกลัวอะไร ก็เหมือนกับคนเราไม่ได้ทำผิดแล้วเราจะกลัวอะไร ขนาดเจอพระพรหมยังไม่กลัวเลย เพราะว่าเราไม่ได้ทำผิดอะไร ท่านยิ่งสูงท่านยิ่งไม่ซี่ซั่วทำอะไรเรา
ยกตัวอย่าง เราเคยดูในละคร เช่น ผีกลัวพระเครื่อง ถ้าผีมา เราก็จะโชว์พระเครื่อง ผีก็จะกลัว ถ้าอย่างนี้ล่ะ?
เป็นความเห็นที่ผิด แต่ถ้าหากว่าผีนั้นทำผิด เขาถึงจะกลัว ถ้าเขาไม่ได้ทำผิด เขาก็จะไหว้พระได้ ใครจะมาบอกว่าผีไหว้พระไม่ได้ ทำไมคนถึงบอกว่าที่วัดผีเยอะมาก
เรารับรู้รับฟังมาเยอะ เราจะต้องรู้จักกลั่นกรองบ้าง ถ้าไม่อย่างนั้นข้างในมีแต่ขี้ รกหมด
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
พระสงฆ์ถึงมาปรับอาบัติพระอานนท์ ถูกต้องหรือไม่
ในปฐมสังคายนาครั้งนั้น พระอานนท์เถระเจ้าได้กล่าวแก่ที่ประชุมสงฆ์ถึงพระพุทธานุญาต ข้อที่ให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ ที่ประชุมได้ถามพระอานนท์ว่า "ท่านอานนท์! ก็ท่านได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือว่าพระเจ้าข้า! สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ เป็นไฉน! พระอานนท์ตอบว่า ท่านมิได้ทูลถามไว้เลย .....
... สมัยนั้นที่ประชุมได้ลงมติปรับอาบัติทุกกฎแห่งพระอานนท์เถระเจ้าเป็นข้อๆ ดังนี้
๑. ข้อที่ไม่ได้ทูลถามถึงสิกขาบทเล็กน้อยว่าได้แก่อะไรบ้าง
๒. ข้อที่เหยียบผ้าวัสสิกสาฎกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
๓. ปล่อยให้พวกสตรีถวายบังคมพระสรีระก่อน และพวกนางก็ร้องไห้น้ำตาเปียกเปื้อนพระสรีระ
๔. ไม่ทูลวิงวอนพระศาสดา ให้ทรงดำรงอยู่ตลอดกัปป์เมื่อพระองค์ทรงทำนิมิตโอภาส
๕. ขวนขวายให้สตรีได้บวชในธรรมวินัย
พระอานนท์ ก็กล่าวอธิบายการกระทำของท่านทั้ง ๕ ข้อนั้นว่า
๑. เพราะมิได้รำลึกถึง
๒. ที่เหยียบล่วงเกิน ไม่ใช่เพราะความไม่คารวะ
๓. เพราะเห็นว่าสตรีเหล่านั้น ไม่ควรจะอยู่ในเวลาวิกาลจึงให้พวกนางถวายบังคมก่นอ
๔. เพราะถูกมารดลจิตจึงมิได้ทูลวิงวอน
๕. เพราะเห็นว่า พระมหาปชาบดีโคตมีนี้เป้ฯพระเจ้าหน้าถวายขีโรทกแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าในเยาวกาล จึงขวนขวายให้สตรีได้บวชในธรรมวัย
แต่พระอานนท์ท่านเป็นนักประชาธิปไตยแท้ เมื่อที่ประชุมลงมติปรับอาบัติ ท่านก็ไม่ขัดขืนต่อความเห็นของคนส่วนใหญ่จึงได้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่เห็นอาบัติทุกกฎนั้น แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอแสดงทุกกฎนั้น ณ บัดนี้" ความพิสดารเหล่านนี้มาในวินัยปิฎกจุลวรรค (เสถียร โพธินันทะ. ๒๕๒๒. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : บรรณาคาร, ๙๐-๙๓.)
สตรีย่อมเป็นหนึ่งในธรรม ของโลกอยู่แล้ว ย่อมมีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้ธรรมะ
สาเหตุที่พระต่างๆ ปรับอาบัติพระอานนท์ เพราะไม่ถูกใจกู เลยบอกว่า ตรงนี้น่าจะทำแต่ทำไมไม่ทำ
พระอรหันต์ก็มี ๑๒ ชั้น
ตัวไหนที่ทำให้เป็นพระอรหันต์ คือ ตัวที่ลุธรรมถึง เราทำได้กี่ส่วน เช่น เราทำได้ส่วนเท่านี้ๆ ก็เป็นพระอรหันต์ เราทำหนึ่งส่วนก็ได้เป็นพระอรหันต์ ๑ ส่วน ทำ ๖ ส่วนก็เป็นพระอรหันต์ ๖ ส่วน เราทำอรหันต์ ๑๒ ส่วน ก็เป็นอรหันต์ขั้น ๑๒ เราทำบรรลุถึง ก็เหมือนกับเราเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัย เรากลายเป็นนิสิต นักศึกษาแล้ว ไม่เรียกว่า นักเรียนแล้ว เพียงแต่ว่าเราเป็นนักศึกษาปีไหนล่ะ เราจะต้องไปเรียน ไม่ใช่ว่าเราเข้าไปเรียนแล้วเราจบปริญญาเอกแล้ว อย่างนี้ไม่ใช่ เราเข้ามหาวิทยาลัยเราจะต้องไปเรียน
เราอย่าไปบ้าจี้คำว่า "อรหันต์" พระอรหันต์ก็ไม่ต่างกับนักศึกษา ต้องไปเรียน ต้องไปทำอย่างอรหันต์ เช่น ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก จะต้องเรียนให้ได้ สอบให้ได้ ก็จะขึ้นขั้นไปเรื่อยๆ
ถ้าอย่างนั้น ท่านเป็นอรหันตมรรค ยังไม่ใช่ผลใช่ไหม?
ถ้าไม่ใช่อรหันตผล แล้วจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ไหมล่ะ? ก็ต้องเป็นทั้งมรรคและผล จึงเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ก็เป็นขั้นๆ เราอย่าไปแปลว่า "ผล" คือ ทั้งหมด เราทำได้ผลแค่นี้ ได้มีสิทธิ์เข้ามหาวิทยาลัย
อรหันต์จะต้องมีมรรค กำลังเดินทางอยู่ แต่เข้ามาเรียนอรหันต์ นั่นเป็นผลแห่งการมีสิทธิ์แล้ว
เป็นพระอรหันต์ขอให้ท่านเจ้าที่ช่วยก็มีเยอะแยะไป เช่น พระอรหันต์บางรูป ไม่เคยเจอผี ไม่รู้จะปราบผียังไง ก็หมดปัญญา ต้องขอท่านเจ้าที่ช่วย เจ้าที่ตรงนั้นเป็นเจ้าที่นักเลงมาถึง ผีก็หายหมด เก่งกว่าอรหันต์หมด ผีก็ไม่กลัวพระอรหันต์ เพราะเขาก็บอกว่า "ฉันทำอะไรผิด"
สมมติว่าเราไปลงโทษเจ้าที่ โดยไม่มีเหตุผล ธรรมจะจัดการเรา เราอย่านึกว่าเราใหญ่แล้วจะทำอะไรก็ได้ ถ้าเราผิดธรรมก็โดน ขนาดพระพุทธเจ้ายังไม่กล้าผิดธรรมเลย มหาเทพยังไม่กล้าผิดธรรม มหาเทพผิดธรรมก็ยังโดนเลย
ถ้าสมมติว่า ผีทำผิด พระอรหันต์จะลงโทษเองไม่ได้ จะต้องส่งเรื่องให้ยมบาลทำโทษ เจ้าที่ทำโทษ ก็เหมือนกับว่าเราให้ใครทำผิด ก็ต้องมาเรียกตำรวจ เจ้าหน้าที่บ้านเมืองมาจับตัวไปลงโทษ เราไม่มีสิทธิ์ลงโทษเขา ต้องเป็นไปตามขบวนการแห่งยุติธรรม แล้วทำไมบางครั้งเห็นพระอรหันต์ลงโทษได้ ก็เพราะอันนั้นเป็นเหตุเฉพาะการณ์ เช่น เราเห็นเด็กคนนี้ไปตีคนอื่นเราเห็น เราก็ต้องไปจับเด็กคนนั้นมัดไว้ ถ้าไม่มัดไว้เขาก็จะไปตีใหม่ แล้วจะทำยังไง จะผิดถูกยังไงก็ดำเนินไปตามศาล
ผีจะกลัวพระอรหันต์ไหม?
ผีไม่ทำผิดแล้วจะกลัวอะไร ก็เหมือนกับคนเราไม่ได้ทำผิดแล้วเราจะกลัวอะไร ขนาดเจอพระพรหมยังไม่กลัวเลย เพราะว่าเราไม่ได้ทำผิดอะไร ท่านยิ่งสูงท่านยิ่งไม่ซี่ซั่วทำอะไรเรา
ยกตัวอย่าง เราเคยดูในละคร เช่น ผีกลัวพระเครื่อง ถ้าผีมา เราก็จะโชว์พระเครื่อง ผีก็จะกลัว ถ้าอย่างนี้ล่ะ?
เป็นความเห็นที่ผิด แต่ถ้าหากว่าผีนั้นทำผิด เขาถึงจะกลัว ถ้าเขาไม่ได้ทำผิด เขาก็จะไหว้พระได้ ใครจะมาบอกว่าผีไหว้พระไม่ได้ ทำไมคนถึงบอกว่าที่วัดผีเยอะมาก
เรารับรู้รับฟังมาเยอะ เราจะต้องรู้จักกลั่นกรองบ้าง ถ้าไม่อย่างนั้นข้างในมีแต่ขี้ รกหมด
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
ภาพจากอินเตอร์เน็ต