เจ้าของคอนโดปล่อยเช่าเสียภาษีที่ดินแบบ “ที่อยู่อาศัย” ไม่ใช่ “พาณิชยกรรม”

นับว่าเป็นข่าวดีส่งท้ายปี 2562 มากๆเลยครับ สำหรับนักลงทุนปล่อยเช่าคอนโดรายเดือน หรือคนที่มีคอนโดมากกว่าหนึ่งหลังและปล่อยเช่า
เรื่องภาษีที่ดินเป็นเรื่องที่มีการตื่นตัวกันมากในช่วงปลายปี 2562 นี้เพราะว่ากำลังจะมีการเริ่มบังคับใช้ในปี 2563 ที่จะถึงนี้แล้วครับ และก็มีการถกเถียงกันว่าสำหรับ คอนโดที่ปล่อยเช่า เราจะคิดอัตราภาษึแบบไหนดีระหว่างที่อยู่อาศัย กับ พาณิชยกรรม สำหรับในมุมมองนักลงทุนหรือเจ้าของทรัพย์แน่นอนครับว่าเราต้องอยากให้คอนโดหรือห้องของเราโดนเรทภาษีแบบที่พักอาศัยครับ เพราะทั้งเพดานและแต่ละช่วงของอัตราภาษีถือว่าต่ำมากๆ เดี๋ยวผมจะลองยกตัวอย่างให้กดูครับ

อัตราภาษีที่ดิน บ้านพักอาศัย (อัตราเพดาน 0.3%)
มูลค่า 0 – 50 ล้าน อัตรา 0.02 %
มูลค่า 50 – 75 ล้าน อัตรา 0.03 %
มูลค่า 75 – 100 ล้าน อัตรา 0.05 %
มูลค่า 100 ล้านขึ้นไป อัตรา 0.1 %(บ้านหลังหลัก เป็นเจ้าของบ้านและมีชื่อในทะเบียนบ้านได้ยกเว้น 20 ล้านบาท)

อัตราภาษีที่ดิน พาณิชยกรรม (อัตราเพดาน 1.2%)
มูลค่า 0 – 50 ล้าน อัตรา 0.3 %
มูลค่า 50 – 200 ล้าน อัตรา 0.4 %
มูลค่า 200 – 1,000 ล้าน อัตรา 0.5 %
มูลค่า 1,000 – 5,000 ล้าน อัตรา 0.6 %
มูลค่า 5,000 ล้านขึ้นไป อัตรา 0.7 %

ดูจากเรทอัตราที่แสดงข้างต้นจะเห็นนะครับว่า ถ้าสมมุติว่าทรัพย์เดียวกันถูกมองต่างกันว่า เป็นที่อยู่อาศัย หรือ พาณิชยกรรม ยอดภาษีที่เราต้องชำระก็แตกต่างกันอย่างมากครับเช่น

คอนโดให้เช่าหลังที่สองของเรามีมูลค่าประมาน 10 ล้านบาท

ถ้าประเมิณว่าเป็นที่อยู่อาศัย
ภาษีที่ดินต่อปี 10 ล้าน x 0.02% = 2,000 บาท

ถ้าประเมิณว่าเป็นพาณิชยกรร
ภาษีที่ดินต่อปี 10 ล้าน x 0.3% = 30,000 บาท

เห็นไหมคับว่าอัตราการจ่ายทั้งสอบแบบตัวเลขต่างกันเป็น 10 เท่าเลยนะครับ

……………………………………………………………………..

             ถ้าตอนท้ายที่สุดแล้วไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงอีกนะครับ นับว่าเป็นข่าวดีมากๆครับ เพราะค่าภาษ๊ที่ต้องจ่ายในแต่ละปีลดลงไปกว่า 10 เท่าถ้าเราเสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย ยิ่งถ้าคอนโดของเราอยู่ในราคาช่วงไม่เกิน 50 ล้าน ต้องบอกเลยครับว่าภาษีถูกมากๆ
สำหรับมุมมองส่วนตัวผมในฐานะนักลงทุนและคนที่มีทรัพย์มากกว่า 1 แห่งผมมองว่า ภาษีที่ดิน ตัวนี้ออกมาเอื้อประโยชน์และลดรายจ่ายภาษีบางตัวที่ซ้ำซ้อนและคลุมเคลือก่อนหน้านี้อย่างมากครับ เราสามารถจ่ายทีเดียวให้จบในอัตราที่แฟร์ได้ ผมจึงคิดว่าภาษีตัวนี้ค่อนข้างโอเคมากครับ อย่าเพิ่งรีบกลัวหรือตกใจกันไปนะครับ ลองศึกษารายละเอียดให้เรียบร้อยก่อนอาจพบว่า “เราอาจไม่ต้องเสียเลยสักบาทก็ได้นะครับ”

อย่าลืมกด share และ กด see first เพื่อไม่ให้พลาดบทความและข่าวสารดีๆจาก Guru Living ตัวจริงเรื่องที่อยู่ นะครับ
#guruliving #ตัวจริงเรื่องที่อยู่ #ภาษีที่ดิน #ลดภาษีที่ดิน #ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่