สธ.ชง ‘โควิด-19’ เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14
20 กุมภาพันธ์ 2563
สธ.ชง “โควิด-19” เป็นโรคติดต่ออันตราย โรคที่ 14 นำเข้าคกก.พิจารณา 24 ก.พ.นี้ เพิ่มอำนาจบริหารจัดการ เอาผิดคนไม่ทำตามคำสั่งเจ้าหน้าที่ ฝ่าฝืนโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 2 ปี-ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขอคนป่วยงดไปดูคอนเสิร์ต แนะผู้จัดคืนเงิน
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) แถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19ว่า ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสม 35 ราย กลับบ้านแล้ว 17 ราย รักษาในโรงพยาบาล 18 ราย โดย 2 รายที่มีอาการรุนแรง อาการยังทรงตัว และทีมแพทย์ได้พิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์( Favipiravir) กับผู้ป่วยทั้ง 2 รายครบ 5 วันแล้ว ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 19 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 1,052 ราย คัดกรองจากสนามบิน 58 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 994 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว 861 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 191 ราย
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ในประเทศไทยขณะนี้ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมการระบาดได้ และขยายพื้นที่เฝ้าระวัง เช่น คนทำงานเกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และเฝ้าระวังพิเศษใน 8 จังหวัด กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต กระบี่ เชียงใหม่ และเชียงราย เพื่อให้มีความมั่นใจว่าคนไทยจะปลอดภัย หากพบคนที่มีไข้ อาการทางเดินหายใจ จะได้รับการตรวจเป็นพิเศษ เนื่องจากในผู้ป่วยที่พบยืนยันในช่วงที่ผ่านมาพบในคนไทยหลายคน การเฝ้าระวังมากขึ้นจะทำให้ทราบสถานการณ์ได้ชัดเจนขึ้นว่า คนไทยที่อยู่ในพื้นที่ที่เคยมีรายงานการพบผู้ป่วยยืนยันและมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากเป็นอย่างไร
ไม่มีนโยบายกักกันผู้เดินทาง
นายแพทย์โสภณ กล่าวอีกว่า มาตรการการคัดกรองที่ด่านควบคุมโรคติดต่อ ทั้งที่ท่าอากาศยาน ท่าเรือ ด่านพรมแดน ดำเนินการเข้มแข็งเช่นเดิมและบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ทั้งด้านความมั่นคง ฝ่ายปกครอง เข้ามาร่วมดำเนินการเพื่อให้การตรวจคัดกรองมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากมีผู้เดินทางจากประเทศที่รายงานการระบาดป่วยก็จะสามารถตรวจพบได้ ส่วน คำแนะนำผู้เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด ขอย้ำว่าประเทศไทยไม่มีนโยบายกักกันผู้โดยสารจากต่างประเทศ ทั้งเครื่องบินพาณิชย์ เรือสำราญ แต่ผู้ที่มาจากประเทศดังกล่าว ต้องผ่านการตรวจคัดกรองวัดไข้ และตรวจอาการทางเดินหายใจ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เพื่อค้นหาผู้มีโอกาสติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถ้ามีไข้โดยมีอุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียส อาการทางเดินหายใจจะเชิญเข้ารับการตรวจซ้ำ หากมีไข้จริงจะแยกตัวส่งเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล
“ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการใดๆ กลับบ้านตามปกติ โดยเจ้าหน้าที่จะแนะนำให้สังเกตอาการไข้ ทางเดินหายใจเองต่ออีก 14 วัน หากมีไข้ หรืออาการป่วยใน 14 วัน รีบใส่หน้ากากอนามัยและมาพบแพทย์ แจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ กรณีอาการหนักเดินทางเองไม่ไหวให้โทรแจ้ง 1422 หากอาการเข้าตามเกณฑ์จะมีทีมแพทย์และรถพยาบาลไปรับนำส่งสถานพยาบาลโดยเร็ว”นายแพทย์โสภณกล่าว
ชงโควิด-19เป็นโรคติดต่ออันตราย
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นได้หรือไม่ที่ประเทศไทยจะประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า ในกระบวนการของการประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพรบ.โรคติดต่ออันตราย พ.ศ.2558 ซึ่งก่อนหน้านี้มีประกาศแล้ว 13 โรค ในส่วนของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการด้านวิชาการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างประกาศเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.)เป็นประธาน ในวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับโรคนี้มีความ ชัดเจนมากขึ้น จึงคิดว่ามีความเป็นไปได้สูงที่คณะกรรมการฯทั้ง 30 ท่าน จะลงมติเห็นชอบและ ประธานคณะกรรมการจะลงนามประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย
ผู้ฝ่าฝืนคำสั่งจนท.มีโทษ
“หากประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย จะทำให้การบริหารจัดการโรคนี้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ที่ผ่านมาจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว แต่เป็นการทำงานในระดับที่มีจำนวนผู้ป่วยน้อย การบริหารจัดการ เฝ้าระวัง สอบสวน รักษาพยาบาล ดำเนินการได้ไม่ยุ่งยากมาก แต่หากในอีก 2 เดือนข้างหน้าหรือในอนาคตมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งก็อาจเกิดขึ้นได้ การประกาศนี้ก็จะเป็นกฎหมายที่ช่วยเป็นเครื่องมือทำงาน กรณีมีคนไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะผู้ป่วย ซึ่งจะมีคนเดินทางมาจากหลายประเทศที่มีการระบาดมากขึ้น ตรงนี้ก็จะเป็นเครื่องมือทางกฎหมายในการเข้าดำเนินการกรณีคนไม่ทำตาม โดยประกาศจะครอบคลุมทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินไทย ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมายทั้งจำทั้งปรับ”นายแพทย์โสภณกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นโรคติดต่ออันตราย นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า หากดูจากที่องค์การอนามัยโลกหรือฮู(WHO)ที่ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของโลก จะใช้เกณฑ์ 4 ข้อ คือ
1.เป็นโรคที่ไม่คาดคิดจะเกิดขึ้น เป็นเชื้อใหม่
2.มีความรุนแรง เช่น อัตราป่วยตายสูงซึ่งช่วงแรกในประเทศจีนเป็นเช่นนี้ หรือโรคแพร่ระบาดได้เร็ว
3.การแพร่ระบาดข้ามประเทศ
4.มีการจำกัดการเดินทาง
ถ้าดูลักษณะเทียบเคียงภาวะฉุกเฉินระหว่างประทศ ในการประกาศเป็นโรคติดต่ออันตรายของประเทศไทยก็ใช้หลักการเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมายังไม่ดำเนินการ เนื่องจากช่วง 1 เดือนที่ผ่านมายังไม่ครบหลักเกณฑ์ แต่ปัจจุบันสถานกาณ์เปลี่ยนและรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคมากขึ้น สามารถตัดสินใจได้รอบด้านมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีการประกาศ โรคติดต่ออันตรายแล้ว 13 โรค ได้แก่ 1.กาฬโรค 2.ไข้ทรพิษ 3.ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก 4.ไข้เวสต์ไนล์ 5.ไข้เหลือง 6. โรคไข้ลาสซา 7.โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ 8.โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก 9. โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 10.โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา 11.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือโรคซาร์ส 12.โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส และ13.วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก หากโรคโควิด-19 ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการฯก็จะเป็นลำดับที่ 14
ทั้งนี้ ตามพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 กำหนดไว้ในหมวด 6 การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ อาทิ มาตรา 35 กรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตราย ให้คณะกรรมการโรคติดต่อฯมีอำนาจ สั่งปิดสถานที่ต่างๆไว้เป็นการชั่วคราว สั่งให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคหยุดการประกอบอาชีพชั่วคราว และสั่งห้ามผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคเข้าไปในสถานที่บางแห่ง เป็นต้น โดยตามพรบ.นี้ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อีก 2 เดือนเวลาทองของไทย
ต่อข้อถามมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การระบาดในระยะที่ 3 นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า มีการประเมินอยู่เป็นระยะๆ ในส่วนของประเทศไทยยังมีจังหวะอยู่ใน 2 เดือนข้างหน้าซึ่งเป็นเดือนที่ร้อนมากของประเทศไทย เป็นเดือนที่โรตติดต่อทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสต่ำสุด เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด มือเท้าปาก เพราะฉะนั้นถ้าเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 เป็นแบบเดียวกับเชื้อไวรัสตัวอื่น น่าจะเป็นช่วงที่ปัญหาในประเทศไทยจะยังไม่ลุกลามรุนแรง แต่ไม่ใช่ว่าจะปล่อยเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่ต้องใช้ให้เป็นช่วงเวลาทองในการเตรียมความพร้อมทุกเรื่อง เช่น สื่อสารกับประชาชน สถานพยาบาล บุคลากร อุปกรณ์ป้องกัน และวางแผนในการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
แนะผู้จัดคอนเสิร์ตคืนค่าบัตรคนป่วย
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่จะมีการจัดคอนเสิร์ตในประเทศไทย นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า หากเป็นศิลปินจากประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้อยู่ ควรมีการตรวจอาการป่วยของศิลปินและทีมงานทั้งหมดก่อน อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของการเกิดระบาดไม่ใช่จากศิลปินมาสู่ผู้ชม แต่จะเป็นในส่วนของผู้ชมด้วยกันเอง เพราะฉะนั้น ขอแนะนำให้ผู้ที่มีอาการป่วยงดการไปชมคอนเสิร์ตเช่นเดียวกับที่ไม่ไปในสถานที่สาธารณะอื่นๆ ส่วนผู้จัดงานควรจะต้องมีการตรวจคัดกรองไข้ และอาการป่วยของผู้ที่จะเข้าชมก่อนเข้างาน หากพบป่วยจะต้องไม่ให้เข้าชมและคืนเงินค่าบัตรครบตามจำนวน เพื่อเป็นแรงจูงใจหนึ่งในการททำให้ผู้ชมร่วมมือ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/867156
สธ.ชง ‘โควิด-19’ เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14
20 กุมภาพันธ์ 2563
สธ.ชง “โควิด-19” เป็นโรคติดต่ออันตราย โรคที่ 14 นำเข้าคกก.พิจารณา 24 ก.พ.นี้ เพิ่มอำนาจบริหารจัดการ เอาผิดคนไม่ทำตามคำสั่งเจ้าหน้าที่ ฝ่าฝืนโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 2 ปี-ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขอคนป่วยงดไปดูคอนเสิร์ต แนะผู้จัดคืนเงิน
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) แถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19ว่า ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสม 35 ราย กลับบ้านแล้ว 17 ราย รักษาในโรงพยาบาล 18 ราย โดย 2 รายที่มีอาการรุนแรง อาการยังทรงตัว และทีมแพทย์ได้พิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์( Favipiravir) กับผู้ป่วยทั้ง 2 รายครบ 5 วันแล้ว ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 19 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 1,052 ราย คัดกรองจากสนามบิน 58 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 994 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว 861 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 191 ราย
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ในประเทศไทยขณะนี้ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมการระบาดได้ และขยายพื้นที่เฝ้าระวัง เช่น คนทำงานเกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และเฝ้าระวังพิเศษใน 8 จังหวัด กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต กระบี่ เชียงใหม่ และเชียงราย เพื่อให้มีความมั่นใจว่าคนไทยจะปลอดภัย หากพบคนที่มีไข้ อาการทางเดินหายใจ จะได้รับการตรวจเป็นพิเศษ เนื่องจากในผู้ป่วยที่พบยืนยันในช่วงที่ผ่านมาพบในคนไทยหลายคน การเฝ้าระวังมากขึ้นจะทำให้ทราบสถานการณ์ได้ชัดเจนขึ้นว่า คนไทยที่อยู่ในพื้นที่ที่เคยมีรายงานการพบผู้ป่วยยืนยันและมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากเป็นอย่างไร
ไม่มีนโยบายกักกันผู้เดินทาง
นายแพทย์โสภณ กล่าวอีกว่า มาตรการการคัดกรองที่ด่านควบคุมโรคติดต่อ ทั้งที่ท่าอากาศยาน ท่าเรือ ด่านพรมแดน ดำเนินการเข้มแข็งเช่นเดิมและบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ทั้งด้านความมั่นคง ฝ่ายปกครอง เข้ามาร่วมดำเนินการเพื่อให้การตรวจคัดกรองมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากมีผู้เดินทางจากประเทศที่รายงานการระบาดป่วยก็จะสามารถตรวจพบได้ ส่วน คำแนะนำผู้เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด ขอย้ำว่าประเทศไทยไม่มีนโยบายกักกันผู้โดยสารจากต่างประเทศ ทั้งเครื่องบินพาณิชย์ เรือสำราญ แต่ผู้ที่มาจากประเทศดังกล่าว ต้องผ่านการตรวจคัดกรองวัดไข้ และตรวจอาการทางเดินหายใจ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เพื่อค้นหาผู้มีโอกาสติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถ้ามีไข้โดยมีอุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียส อาการทางเดินหายใจจะเชิญเข้ารับการตรวจซ้ำ หากมีไข้จริงจะแยกตัวส่งเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล
“ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการใดๆ กลับบ้านตามปกติ โดยเจ้าหน้าที่จะแนะนำให้สังเกตอาการไข้ ทางเดินหายใจเองต่ออีก 14 วัน หากมีไข้ หรืออาการป่วยใน 14 วัน รีบใส่หน้ากากอนามัยและมาพบแพทย์ แจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ กรณีอาการหนักเดินทางเองไม่ไหวให้โทรแจ้ง 1422 หากอาการเข้าตามเกณฑ์จะมีทีมแพทย์และรถพยาบาลไปรับนำส่งสถานพยาบาลโดยเร็ว”นายแพทย์โสภณกล่าว
ชงโควิด-19เป็นโรคติดต่ออันตราย
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นได้หรือไม่ที่ประเทศไทยจะประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า ในกระบวนการของการประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพรบ.โรคติดต่ออันตราย พ.ศ.2558 ซึ่งก่อนหน้านี้มีประกาศแล้ว 13 โรค ในส่วนของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการด้านวิชาการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างประกาศเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.)เป็นประธาน ในวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับโรคนี้มีความ ชัดเจนมากขึ้น จึงคิดว่ามีความเป็นไปได้สูงที่คณะกรรมการฯทั้ง 30 ท่าน จะลงมติเห็นชอบและ ประธานคณะกรรมการจะลงนามประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย
ผู้ฝ่าฝืนคำสั่งจนท.มีโทษ
“หากประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย จะทำให้การบริหารจัดการโรคนี้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ที่ผ่านมาจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว แต่เป็นการทำงานในระดับที่มีจำนวนผู้ป่วยน้อย การบริหารจัดการ เฝ้าระวัง สอบสวน รักษาพยาบาล ดำเนินการได้ไม่ยุ่งยากมาก แต่หากในอีก 2 เดือนข้างหน้าหรือในอนาคตมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งก็อาจเกิดขึ้นได้ การประกาศนี้ก็จะเป็นกฎหมายที่ช่วยเป็นเครื่องมือทำงาน กรณีมีคนไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะผู้ป่วย ซึ่งจะมีคนเดินทางมาจากหลายประเทศที่มีการระบาดมากขึ้น ตรงนี้ก็จะเป็นเครื่องมือทางกฎหมายในการเข้าดำเนินการกรณีคนไม่ทำตาม โดยประกาศจะครอบคลุมทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินไทย ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมายทั้งจำทั้งปรับ”นายแพทย์โสภณกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นโรคติดต่ออันตราย นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า หากดูจากที่องค์การอนามัยโลกหรือฮู(WHO)ที่ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของโลก จะใช้เกณฑ์ 4 ข้อ คือ
1.เป็นโรคที่ไม่คาดคิดจะเกิดขึ้น เป็นเชื้อใหม่
2.มีความรุนแรง เช่น อัตราป่วยตายสูงซึ่งช่วงแรกในประเทศจีนเป็นเช่นนี้ หรือโรคแพร่ระบาดได้เร็ว
3.การแพร่ระบาดข้ามประเทศ
4.มีการจำกัดการเดินทาง
ถ้าดูลักษณะเทียบเคียงภาวะฉุกเฉินระหว่างประทศ ในการประกาศเป็นโรคติดต่ออันตรายของประเทศไทยก็ใช้หลักการเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมายังไม่ดำเนินการ เนื่องจากช่วง 1 เดือนที่ผ่านมายังไม่ครบหลักเกณฑ์ แต่ปัจจุบันสถานกาณ์เปลี่ยนและรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคมากขึ้น สามารถตัดสินใจได้รอบด้านมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีการประกาศ โรคติดต่ออันตรายแล้ว 13 โรค ได้แก่ 1.กาฬโรค 2.ไข้ทรพิษ 3.ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก 4.ไข้เวสต์ไนล์ 5.ไข้เหลือง 6. โรคไข้ลาสซา 7.โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ 8.โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก 9. โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 10.โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา 11.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือโรคซาร์ส 12.โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส และ13.วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก หากโรคโควิด-19 ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการฯก็จะเป็นลำดับที่ 14
ทั้งนี้ ตามพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 กำหนดไว้ในหมวด 6 การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ อาทิ มาตรา 35 กรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตราย ให้คณะกรรมการโรคติดต่อฯมีอำนาจ สั่งปิดสถานที่ต่างๆไว้เป็นการชั่วคราว สั่งให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคหยุดการประกอบอาชีพชั่วคราว และสั่งห้ามผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคเข้าไปในสถานที่บางแห่ง เป็นต้น โดยตามพรบ.นี้ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อีก 2 เดือนเวลาทองของไทย
ต่อข้อถามมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การระบาดในระยะที่ 3 นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า มีการประเมินอยู่เป็นระยะๆ ในส่วนของประเทศไทยยังมีจังหวะอยู่ใน 2 เดือนข้างหน้าซึ่งเป็นเดือนที่ร้อนมากของประเทศไทย เป็นเดือนที่โรตติดต่อทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสต่ำสุด เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด มือเท้าปาก เพราะฉะนั้นถ้าเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 เป็นแบบเดียวกับเชื้อไวรัสตัวอื่น น่าจะเป็นช่วงที่ปัญหาในประเทศไทยจะยังไม่ลุกลามรุนแรง แต่ไม่ใช่ว่าจะปล่อยเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่ต้องใช้ให้เป็นช่วงเวลาทองในการเตรียมความพร้อมทุกเรื่อง เช่น สื่อสารกับประชาชน สถานพยาบาล บุคลากร อุปกรณ์ป้องกัน และวางแผนในการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
แนะผู้จัดคอนเสิร์ตคืนค่าบัตรคนป่วย
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่จะมีการจัดคอนเสิร์ตในประเทศไทย นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า หากเป็นศิลปินจากประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้อยู่ ควรมีการตรวจอาการป่วยของศิลปินและทีมงานทั้งหมดก่อน อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของการเกิดระบาดไม่ใช่จากศิลปินมาสู่ผู้ชม แต่จะเป็นในส่วนของผู้ชมด้วยกันเอง เพราะฉะนั้น ขอแนะนำให้ผู้ที่มีอาการป่วยงดการไปชมคอนเสิร์ตเช่นเดียวกับที่ไม่ไปในสถานที่สาธารณะอื่นๆ ส่วนผู้จัดงานควรจะต้องมีการตรวจคัดกรองไข้ และอาการป่วยของผู้ที่จะเข้าชมก่อนเข้างาน หากพบป่วยจะต้องไม่ให้เข้าชมและคืนเงินค่าบัตรครบตามจำนวน เพื่อเป็นแรงจูงใจหนึ่งในการททำให้ผู้ชมร่วมมือ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/867156