สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 48
เห็นคุณรู้สึกผิดเลยเข้ามาตอบกระทู้ เพราะไม่อยากให้คุณมีความรู้สึกนี้กัดกร่อนจิตใจในระยะยาว
1. ตามกระบวนการทางชีวภาพผงชูรสคือเกลือของกรดอะมิโนตัวหนึ่ง สิ่งที่น่ากลัวในผงชูรส คือเกลือ
2. ตอนเด็กๆ เรามีอาการแพ้ผงชูรส อาจจะดื่มน้ำน้อยด้วย พอเจออาหารมีผงชูรสจะปากแห้ง ลอก ที่บ้านแก้ปัญหาด้วยการงดอาหารมีผงชูรสทุกชนิด รวมถึงน้ำมันหอย ซุปก้อนและผงปรุงรส ใครบอกที่บ้านไม่ใส่ผงชูรสแต่ใช้ของเหล่านี้ ในสายตาเราคือพวกเกลียดตัวกินไข่
ภาษิตแบบนี้ เด็กสมัยนี้รู้จักไหมหนอ
3. เพราะไม่กินผงชูรสจริงๆ และเคยแข่งทำอาหารกับญาติๆ และเพื่อนแบบใส่และไม่ใส่ผงปรุงรส เราแยกอาหารที่ใส่กับไม่ใส่ออกง่ายมาก
4. พอตอนโต เรียนวิชาไบโอเค็ม อาจารย์บอกว่ามันไม่ได้อันตรายอย่างที่คิด คือมันไม่ได้อันตรายสำหรับทุกคน แต่มันอันตรายกับคนบางคนเช่น ผู้ป่วยไต ความดัน เป็นต้น
อคติเรื่องผงชูรส เกิดจากสมัยหนึ่ง ผงชูรสแพงและหายาก มีผงชูรสปลอมทำจากขันทสกร ซึ่งเป็นอันตรายของแท้ แต่สมัยนี้ไม่มีแล้วมั้ย อคติที่มีต่อผงชูรสลดลง กลายเป็นตอนนี้เราควบคุมมัน ไม่ใช่มันควบคุมเรา อยู่หอ เจอเพื่อนทำกับข้าวอร่อย เห็นเขาใส่ผงปรุงรส เราลองของเรา เราปรุงแบบอร่อยสุดฝีมือเราแล้ว แค่ใส่ผงๆ อะไรไปอีกนิดหน่อย จากอร่อย กลายเป็นอร่อยโคตร ชีวิตดีขึ้น หายจากอาการเบื่ออาหาร
5. MSG มีอยู่แล้วในอาหารสด มีมากในอาหารทะเล มีเยอะในของเคี่ยวนานๆ ของหมักดองและซอสหมัก เช่นซีอิ๊ว น้ำปลา ... การใช้ของเหล่านี้ในการประกอบอาหารจึงไม่จำเป็นต้องใส่ผงชูรสเพิ่มด้วยซ้ำ
ทุกวันนี้ กินข้าวนอกบ้านช่วงไหน ปากก็ยังลอกช่วงนั้น
ที่ เล่ามา ไม่มีอะไร แค่จะบอกว่า สำหรับคนแพ้ผงชูรส หรือคนไม่กินผงชูรสแบบบ้านเรา กินดูจะรู้ว่าใส่ หรือไม่ใส่
ถ้าใส่เยอะมากๆ สิ่งแรกหลังออกจากร้าน คือ ดื่มน้ำเท่าไหร่ก็ยังหิวน้ำอยู่นั่นแหละ เจอร้านแบบนี้ เราก็เลี่ยงไม่กิน หรือกินแล้วก็ดื่มน้ำต่อไปอีกทั้งวัน ความ sensitive ของคนเราไม่เท่ากัน และแต่ละคนก็มีสุขภาพหรือโรคประจำตัวไม่เหมือนกัน ดังนั้น ส่วนหนึ่งเราต้องดูแลตัวเองด้วย
เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนี้ คือเลี่ยงไม่กินซะ ถ้ารู้สึกว่าผงชูรสมากเกิน
เราดีใจที่คุณมีความรู้สึกรักเพื่อนมนุษย์ มีความรู้สึกรับผิดชอบสังคมอยู่ในใจ แต่ด้วยความเป็นลูกที่โตมากับเงินที่เหมือนแม่บอกว่าได้มาเพราะผงชูรส ทำให้คุณพูดอะไร ทำอะไรไม่ได้ ไว้คุณสืบต่อกิจการจากแม่ ลองเคี่ยวน้ำซุปเอง แล้วเติมนิดหน่อยเป็น topping
สิ่งที่การเคี่ยวน้ำซุปได้ คือความหอมเฉพาะตัว ที่ผงชูรสให้ไม่ได้
ผงชูรสช่วยให้รสชาติอาหารดีขึ้นได้จริง ญี่ปุ่นก็ใช้มาก่อนเรา แต่พ่อค้าแม่ค้าไทยกลัว... กลัวไม่อร่อย กลัวขายไม่ดี แทนที่จะใส่เป็น topping กลับใส่เป็น main ingredients
เราเชื่อว่าปริมาณการใส่ผงชูรส ไม่ได้สัมพันธ์กับปริมาณความอร่อย เหมือนการใช้ผงซักฟอก คือ มีปริมาณเหมาะสมค่าหนึ่ง เกินจากนั้นไม่มีผล ดังนั้น ส่วนที่เกิน คือเปลือง
ถ้าเป็นเมืองนอก ร้านต้องแจงในเมนูแต่ละอย่างว่าใส่อะไรบ้าง ถ้าไม่บอกแล้วคนที่แพ้มากิน จะโดนปรับแพงถึงขั้นปิดร้านไปคุ้มกว่า
บ้านเราอีกไม่รู้กี่ปีจะไปถึงจุดนั้น ถึงบอก เราผู้บริโภคดูแลตัวเองดีกว่า
ใส่ผงชูรสมาก ก็อันตรายเหมือนใส่น้ำตาลมากๆ นั่นแหละ เราว่า ทางหนึ่งที่จะช่วยคุณได้ คือรัฐบาลขึ้นภาษีผงชูรส อาจจะขำ แต่เรื่องจริง
ขอบคุณที่ช่วยคิดหัวข้องานวิจัยให้เรา
1. ตามกระบวนการทางชีวภาพผงชูรสคือเกลือของกรดอะมิโนตัวหนึ่ง สิ่งที่น่ากลัวในผงชูรส คือเกลือ
2. ตอนเด็กๆ เรามีอาการแพ้ผงชูรส อาจจะดื่มน้ำน้อยด้วย พอเจออาหารมีผงชูรสจะปากแห้ง ลอก ที่บ้านแก้ปัญหาด้วยการงดอาหารมีผงชูรสทุกชนิด รวมถึงน้ำมันหอย ซุปก้อนและผงปรุงรส ใครบอกที่บ้านไม่ใส่ผงชูรสแต่ใช้ของเหล่านี้ ในสายตาเราคือพวกเกลียดตัวกินไข่
ภาษิตแบบนี้ เด็กสมัยนี้รู้จักไหมหนอ
3. เพราะไม่กินผงชูรสจริงๆ และเคยแข่งทำอาหารกับญาติๆ และเพื่อนแบบใส่และไม่ใส่ผงปรุงรส เราแยกอาหารที่ใส่กับไม่ใส่ออกง่ายมาก
4. พอตอนโต เรียนวิชาไบโอเค็ม อาจารย์บอกว่ามันไม่ได้อันตรายอย่างที่คิด คือมันไม่ได้อันตรายสำหรับทุกคน แต่มันอันตรายกับคนบางคนเช่น ผู้ป่วยไต ความดัน เป็นต้น
อคติเรื่องผงชูรส เกิดจากสมัยหนึ่ง ผงชูรสแพงและหายาก มีผงชูรสปลอมทำจากขันทสกร ซึ่งเป็นอันตรายของแท้ แต่สมัยนี้ไม่มีแล้วมั้ย อคติที่มีต่อผงชูรสลดลง กลายเป็นตอนนี้เราควบคุมมัน ไม่ใช่มันควบคุมเรา อยู่หอ เจอเพื่อนทำกับข้าวอร่อย เห็นเขาใส่ผงปรุงรส เราลองของเรา เราปรุงแบบอร่อยสุดฝีมือเราแล้ว แค่ใส่ผงๆ อะไรไปอีกนิดหน่อย จากอร่อย กลายเป็นอร่อยโคตร ชีวิตดีขึ้น หายจากอาการเบื่ออาหาร
5. MSG มีอยู่แล้วในอาหารสด มีมากในอาหารทะเล มีเยอะในของเคี่ยวนานๆ ของหมักดองและซอสหมัก เช่นซีอิ๊ว น้ำปลา ... การใช้ของเหล่านี้ในการประกอบอาหารจึงไม่จำเป็นต้องใส่ผงชูรสเพิ่มด้วยซ้ำ
ทุกวันนี้ กินข้าวนอกบ้านช่วงไหน ปากก็ยังลอกช่วงนั้น
ที่ เล่ามา ไม่มีอะไร แค่จะบอกว่า สำหรับคนแพ้ผงชูรส หรือคนไม่กินผงชูรสแบบบ้านเรา กินดูจะรู้ว่าใส่ หรือไม่ใส่
ถ้าใส่เยอะมากๆ สิ่งแรกหลังออกจากร้าน คือ ดื่มน้ำเท่าไหร่ก็ยังหิวน้ำอยู่นั่นแหละ เจอร้านแบบนี้ เราก็เลี่ยงไม่กิน หรือกินแล้วก็ดื่มน้ำต่อไปอีกทั้งวัน ความ sensitive ของคนเราไม่เท่ากัน และแต่ละคนก็มีสุขภาพหรือโรคประจำตัวไม่เหมือนกัน ดังนั้น ส่วนหนึ่งเราต้องดูแลตัวเองด้วย
เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนี้ คือเลี่ยงไม่กินซะ ถ้ารู้สึกว่าผงชูรสมากเกิน
เราดีใจที่คุณมีความรู้สึกรักเพื่อนมนุษย์ มีความรู้สึกรับผิดชอบสังคมอยู่ในใจ แต่ด้วยความเป็นลูกที่โตมากับเงินที่เหมือนแม่บอกว่าได้มาเพราะผงชูรส ทำให้คุณพูดอะไร ทำอะไรไม่ได้ ไว้คุณสืบต่อกิจการจากแม่ ลองเคี่ยวน้ำซุปเอง แล้วเติมนิดหน่อยเป็น topping
สิ่งที่การเคี่ยวน้ำซุปได้ คือความหอมเฉพาะตัว ที่ผงชูรสให้ไม่ได้
ผงชูรสช่วยให้รสชาติอาหารดีขึ้นได้จริง ญี่ปุ่นก็ใช้มาก่อนเรา แต่พ่อค้าแม่ค้าไทยกลัว... กลัวไม่อร่อย กลัวขายไม่ดี แทนที่จะใส่เป็น topping กลับใส่เป็น main ingredients
เราเชื่อว่าปริมาณการใส่ผงชูรส ไม่ได้สัมพันธ์กับปริมาณความอร่อย เหมือนการใช้ผงซักฟอก คือ มีปริมาณเหมาะสมค่าหนึ่ง เกินจากนั้นไม่มีผล ดังนั้น ส่วนที่เกิน คือเปลือง
ถ้าเป็นเมืองนอก ร้านต้องแจงในเมนูแต่ละอย่างว่าใส่อะไรบ้าง ถ้าไม่บอกแล้วคนที่แพ้มากิน จะโดนปรับแพงถึงขั้นปิดร้านไปคุ้มกว่า
บ้านเราอีกไม่รู้กี่ปีจะไปถึงจุดนั้น ถึงบอก เราผู้บริโภคดูแลตัวเองดีกว่า
ใส่ผงชูรสมาก ก็อันตรายเหมือนใส่น้ำตาลมากๆ นั่นแหละ เราว่า ทางหนึ่งที่จะช่วยคุณได้ คือรัฐบาลขึ้นภาษีผงชูรส อาจจะขำ แต่เรื่องจริง
ขอบคุณที่ช่วยคิดหัวข้องานวิจัยให้เรา
ความคิดเห็นที่ 9
เมื่อลูกค้าไม่โวยก็ถือเป็นเรื่องปรกติครับ เอาจริงร้านค้าร้านอาหารต่างๆเขาก็ใส่ผงชูรสกันในระดับน่าสะพรึงกันทั้งนั้นแหละ บางร้านติดป้ายเลยว่าไม่ใส่ผงชูรส แต่เวลาต้มใส่ผงปรุงรสอย่างรสดีไปสิบกว่าซอง
เรื่องพิษของผงชูรสนี่ ผงชูรสมีพิษไม่ต่างจากเกลือครับ แต่ปัญหาคือคนเรากินผงชูรสไปในจำนวนมากแบบไม่รู้ตัวนะสิ เพราะเกลือกินมากไปก็เค็มจนกินไม่ไหว แต่ผงชูรสใส่ไปมากก็ไม่ทำให้รสจัดจนกินไม่ได้
ซึ่งทุกวันนี้คนไทยกินผงชูรสเข้าไปในระดับที่น่าสะพรึงมาก ทำอาหารจานหนึ่งนี่สาดผงชูรสลงไปหนึ่งทัพพี ตำส้มตำครกหนึ่งใส่ผงชูรสลงไปสองสามช้อนโต๊ะ แต่ละวันรับผงชูรสเข้าไปไม่ต่ำกว่า 20-30 กรัมทั้งๆที่ตามมาตรฐานแล้วร่างกายมนุษย์ไม่ควรรับโซเดียมเกินวันละ 2 กรัม
เรื่องพิษของผงชูรสนี่ ผงชูรสมีพิษไม่ต่างจากเกลือครับ แต่ปัญหาคือคนเรากินผงชูรสไปในจำนวนมากแบบไม่รู้ตัวนะสิ เพราะเกลือกินมากไปก็เค็มจนกินไม่ไหว แต่ผงชูรสใส่ไปมากก็ไม่ทำให้รสจัดจนกินไม่ได้
ซึ่งทุกวันนี้คนไทยกินผงชูรสเข้าไปในระดับที่น่าสะพรึงมาก ทำอาหารจานหนึ่งนี่สาดผงชูรสลงไปหนึ่งทัพพี ตำส้มตำครกหนึ่งใส่ผงชูรสลงไปสองสามช้อนโต๊ะ แต่ละวันรับผงชูรสเข้าไปไม่ต่ำกว่า 20-30 กรัมทั้งๆที่ตามมาตรฐานแล้วร่างกายมนุษย์ไม่ควรรับโซเดียมเกินวันละ 2 กรัม
แสดงความคิดเห็น
รู้สึกผิดที่บ้านขายก๋วยเตี๋ยวแล้วทำแบบนี้
แต่ๆๆ เคล็ดลับอร่อยของแม่ค้าก็คือผงชูรสค่ะ เพราะที่บ้านใส่ผงชูรสลงในน้ำซุปเป็นกิโล ตอนเราไปช่วยงานที่ร้านเห็นลูกค้าซดน้ำซุปรู้สึกผิดยังไงไม่รู้ เคยถามที่บ้านว่าทำไมต้องใสชูรสเยอะแบบนี้ เขาตอบว่ากลัวไม่อร่อยแล้วลูกค้าหนี เราก็บอกไปว่าน้ำซุปเขาใช้แค่กระดูกก็อร่อยแล้วน่ะแม่ แม่ก็ตอบมาว่ากว่าจะมาต้มมาเขี่ยวต้องใช้เวลา เสียทั้งค่าแก๊สค่าเครื่องค่ากระดูก ไม่คุ้ม เพราะร้านเราให้เยอะ ถ้าอยากทำแบบไม่ต้องใสชูรสก็มาทำเอง ที่โตๆมาทุกวันนี้ก็เพราะชูรสแหละ พอได้ยินแบบนี้ก็จุกพูดไม่ออกเหมือนกัน เพราะตัวเองก็ไม่ได้ทำร้านก๋วยเตี๋ยวต่อจากที่บ้าน
เราควรพูดแบบไหนกับที่บ้านดีคะ เพราะรู้สึกไม่ดีกับสิ่งที่บ้านทำ