สวัสดีครับพี่ ป้า น้า อา แห่งห้องคนบ้ามือหมุนอันแสนเงียบเหงาและวังเวงแห่งโลกออนไลน์
มีเลนส์ร้สเซียอยู่รุ่นหนึ่งที่ผมอยากจับจองเป็นเจ้าของมานานแสนนาน แต่ไม่มีวาสนาได้เชยชม
เนื่องจากไอ้เจ้าเลนส์ตัวนี้มันไม่สามารถนำมาฟิจเจอริ่งกับกล้องมิลเรอร์เลสระบบ
M4/3 หรือ
APSC ใดๆได้เลย
เพราะมันเป็นเลนส์ที่มี
“บั้นท้าย” ใหญ่มาก ใหญ่แบบไม่บันยะบันยัง HA HA HA!!!
หากประกบกับกล้อง
M4/3 หรือ
APSC จะทำให้เลนส์ชิ้นท้ายไปชนเซนเซอร์กล้องส่งผลให้เกิดการเสียหายได้
อย่างไรก็ตามมันสามารถผสมข้ามสายพันธุ์ได้กับกล้องมิลเรอร์เลสฟูลเฟรมอย่างโซหนี้
A7 ครับ
ซึ่งก่อนหน้านี้ผมยังไม่มีเอเจ็ดแบบชาวบ้านเขา เพิ่งจะมามีฟูลเฟรมกับเขาบ้างก็เมื่อไม่นานมานี้
จึงสบโอกาสวางเงินเป็นค่าสินสอดไปสามพันกว่าบาท เพื่อสู่ขอสาวรัสเซียบั้นท้ายดินระเบิดนางนี้มาครอบครองสมดังใจปรารถนา
มันคือ
Jupiter-12 2.8/35 เลนส์เรนจ์ไฟน์เดอร์ตัวดังในอดีต ที่ใครหลายคนลงความเห็นกันว่ามันถ่ายภาพขาวดำได้ยอดเยี่ยมนักหนานั่นเอง
ซึ่งผมพยายามหาข้อมูลต่างๆเพื่อประกอบการพิจารณาและตัดสินใจเกี่ยวกับเจ้าเลนส์ตัวที่ว่านี้
พบว่าเซียนที่เล่นเลนส์รัสเซียตามเว็ปไซต์จากต่างประเทศส่วนใหญ่เขาแนะนำให้หาตัวที่ผลิตจากโรงงาน
KMZ ครับ
เนื่องจาก
KMZ เป็นโรงงานแรกที่ผลิตเลนส์รุ่นนี้
(KMZ ก็คือ Krasnogorsky Mekhanichesky Zavod)
หลังจากนั้น
KMZ ก็เลิกผลิต แล้ว J
upiter-12 ก็ถูกย้ายไปผลิตกันที่โรงงาน
LZOS และโรงงาน
ARSENAL ในเมืองเคียฟ
ว่าไงก็ว่าตามกัน เมื่อคิดได้ดังนี้ ผมจึงไปเสาะหาตัวที่ผลิตโดย
KMZ เท่านั้น
ถึงแม้ว่าราคาของมันจะแพงกว่าตัวอื่นๆที่ไม่ได้ผลิตจากโรงงาน
KMZ ประมาณพันกว่าบาทก็ตาม
ส่วนคาแรคเตอร์ของมันจะมีความแตกต่างกันอย่างไรระหว่าง
KMZ กับที่ไม่ใช่
KMZ ก็อย่าไปสนใจครับ
เพราะในข้อมูลจากเว็ปไซต์ก็ไม่ได้บอกเอาไว้ หรืออาจจะบอกแต่ผมอ่านไม่ออกก็เป็นได้ HA HA HA!!!
เอาเป็นว่าผมได้
Jupiter-12 2.8/35 KMZ SN.600xxxx มาประดับใส่ตู้โชว์เพิ่มอีกหนึ่งตัวก็แล้วกัน
Jupiter-12 เป็นเลนส์ของกล้องเรนจ์ไฟน์เดอร์ เมาท์ M39 ระยะทำการ 35mm เอฟกว้างสุดที่ 2.8
เป็นเลนส์ที่ก๊อปปี้มาจาก
Carl Zeiss Biogon 2.8/35 มันจึงได้รับฉายาอย่างกิ๊บเก๋ว่า
Biogon copy
Jupiter-12 ตัวนี้ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ 6 ชิ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม มี 5 เบลด น้ำหนักเมื่อเช้านี้ ชั่งได้ 130 กรัม
มีบอดี้สองสี ทั้งขาวทั้งดำให้เลือกซื้อหาตามแต่รสนิยมของแต่ละท่าน
ใครชอบสาวยุโรปเลือกสีขาว ใครชอบสาวละตินเลือกสีดำตามสะดวก
“ผลการทดลอง” จากการใช้งานจริงในแบบเอาไปถ่ายภาพท่องเที่ยว เดินทางกับครอบครัว
หมายเหตุ!!! ทดลองนะครับ ไม่ใช่ทดสอบ การทดลองไม่ใช่การทดสอบครับ
..........
..........
การทดลองคือการหาความพึงพอใจจากการใช้งานจริง ว่ามันเหมาะสมกับการใช้งานในลักษณะไหน อย่างไร มีข้อจำกัดอย่างไร
หรือควรจะใช้งานมันอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น
แต่การทดสอบคือการวัดคุณภาพในแต่ละด้านอย่างมีมาตรฐานตามหลักวิชาการ แล้วมาตัดสินว่ามันดีหรือไม่ดี
ควรจะซื้อ หรือควรมองหาเลนส์ตัวอื่นๆ เป็นต้น
ผมใช้
Sony A7 Mark II ประกบกับเฮลิคอยด์อแดปเตอร์ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้สามารถโฟกัสได้ใกล้ขึ้น
เนื่องจากเลนส์เรนจ์ไฟน์เดอร์นั้น มีระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 1 เมตรเป็นส่วนใหญ่
ISO 100 เกือบทั้งหมด
Auto white balance
ใช้โหมดสี
Landscape ปรับ contrast+1 แล้วจบหลังกล้อง ไม่แต่งสี ไม่แต่งกลิ่นครับ
ผลลัพธ์ที่ได้ พบว่า
Jupiter-12 ตัวที่อยู่ในมือผมนี้ให้ผลงานที่น่าพอใจอย่างยิ่งครับ
การถ่ายภาพตามแสงทำได้น่าพอใจ ให้สีสันที่สดใสดี แต่ไม่ถึงกับสดเข้มนัก
ความคมบริเวณกลางภาพเมื่อใช้ช่องรับแสงกว้างสุด พบว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ดีกว่าเลนส์รัสเซียอีกหลายตัวที่อยู่ในมือผม
คุณภาพด้านความคมจะดียิ่งขึ้นเมื่อใช้ค่าช่องรับแสงตั้งแต่
F4 ขึ้นไป
..........
..........
อย่างไรก็ตาม ความคมบริเวณขอบภาพจะไม่ค่อยดีนักครับ ไม่ว่าจะใช้ค่าช่องรับแสงเท่าใดก็ตาม
หากสังเกตดีๆจากภาพถ่ายแนวสถาปัตยกรรม เราจะเห็นความ
“ไม่คม” นี้ ได้ด้วยตาเปล่าเพียงเล็กน้อย
แต่จะมองเห็นความ
“ไม่คม” บริเวณขอบภาพอย่าง
“โจ่งแจ้ง” ก็ต่อเมื่อซูม 100%เข้าไปดูจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ครับ
และต้องไม่ลืมนะครับว่ามันเป็นเลนส์ที่ผลิตขึ้นเมื่อกว่า 70 ปีก่อน
ซึ่งในขณะนั้นทีมชาติอังกฤษยังไม่ได้แชมป์ฟุตบอลโลกเลยนะครับ
เพราะฉะนั้นจุดด้อยข้อนี้ก็ไม่ควรถูกนำมาเป็นประเด็นสำคัญแต่อย่างใดในยุคปัจจุบันครับ
อีกจุดหนึ่งที่พอจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าๆโดยไม่จำเป็นต้องใส่แว่นก็คือ ความฟุ้งเมื่อถ่ายภาพย้อนแสงครับ
หากเราถ่ายภาพย้อนแสงตรงๆ หรืออาจจะเฉียงๆนิดหน่อย
เราจะพบอาการฟุ้งแสงในส่วนที่เป็น
Highlight อยู่พอสมควร แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใดนะครับ
เลนส์รุ่นเก่าๆหลายตัวก็เป็นแบบนี้ทั้งนั้นแหละ ขึ้นอยู่กับว่าจะฟุ้งมากหรือน้อยเท่านั้น
วิธีแก้ก็ทำได้ง่ายๆครับ ก็คือเปลี่ยนมุมถ่ายภาพเท่านั้นเอง
หรืออาจจะมโนเอาเองว่ามันเป็น
"จุดเด่น" หรือเป็น
"คาแรคเตอร์พิเศษ" ของเลนส์รุ่นนี้
หรืออาจรวมไปถึงเลนส์ยุคเก่าอีกหลายรุ่นเลยก็ได้
ที่ว่า.....
ความฟุ้งแบบนี้ไม่สามารถหาจากเลนส์ดีๆราคาแพงๆได้
แม้แต่ไลก้ายังให้ไม่ได้เลยยยย HA HA HA!!!
สรุปแล้วเจ้าจูสิบสองตัวนี้ ถือว่าเป็นเลนส์ที่น่าใช้มากๆตัวหนึ่ง
ในหมายเหตุที่ว่าคุณต้องใช้ฟูลเฟรมมิลเรอร์เลสนะครับ
ขนาดที่เล็กกระทัดรัด น้ำหนักที่เบามาก องศาการรับภาพที่เหมาะสมกับการเดินถ่ายภาพเล่นๆในทุกสถานที่
ในความหมายที่ว่า 35 มิลตัวเดียว เที่ยวได้ทั้งวัน
ความคมชัดอยู่ในเกณฑ์ดี การละลายหลังทำได้นุ่มละมุนเป็นธรรมชาติ
ที่สำคัญคือราคาที่มิตรภาพมากๆครับ
..........
..........
สุดท้ายนี้ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรงทุกๆท่านครับ
สวัสดี!!!
สาวรัสเซียบั้นท้ายดินระเบิด!!! … JUPITER-12
สวัสดีครับพี่ ป้า น้า อา แห่งห้องคนบ้ามือหมุนอันแสนเงียบเหงาและวังเวงแห่งโลกออนไลน์
มีเลนส์ร้สเซียอยู่รุ่นหนึ่งที่ผมอยากจับจองเป็นเจ้าของมานานแสนนาน แต่ไม่มีวาสนาได้เชยชม
เนื่องจากไอ้เจ้าเลนส์ตัวนี้มันไม่สามารถนำมาฟิจเจอริ่งกับกล้องมิลเรอร์เลสระบบ M4/3 หรือ APSC ใดๆได้เลย
เพราะมันเป็นเลนส์ที่มี “บั้นท้าย” ใหญ่มาก ใหญ่แบบไม่บันยะบันยัง HA HA HA!!!
หากประกบกับกล้อง M4/3 หรือ APSC จะทำให้เลนส์ชิ้นท้ายไปชนเซนเซอร์กล้องส่งผลให้เกิดการเสียหายได้
อย่างไรก็ตามมันสามารถผสมข้ามสายพันธุ์ได้กับกล้องมิลเรอร์เลสฟูลเฟรมอย่างโซหนี้ A7 ครับ
ซึ่งก่อนหน้านี้ผมยังไม่มีเอเจ็ดแบบชาวบ้านเขา เพิ่งจะมามีฟูลเฟรมกับเขาบ้างก็เมื่อไม่นานมานี้
จึงสบโอกาสวางเงินเป็นค่าสินสอดไปสามพันกว่าบาท เพื่อสู่ขอสาวรัสเซียบั้นท้ายดินระเบิดนางนี้มาครอบครองสมดังใจปรารถนา
มันคือ Jupiter-12 2.8/35 เลนส์เรนจ์ไฟน์เดอร์ตัวดังในอดีต ที่ใครหลายคนลงความเห็นกันว่ามันถ่ายภาพขาวดำได้ยอดเยี่ยมนักหนานั่นเอง
ซึ่งผมพยายามหาข้อมูลต่างๆเพื่อประกอบการพิจารณาและตัดสินใจเกี่ยวกับเจ้าเลนส์ตัวที่ว่านี้
พบว่าเซียนที่เล่นเลนส์รัสเซียตามเว็ปไซต์จากต่างประเทศส่วนใหญ่เขาแนะนำให้หาตัวที่ผลิตจากโรงงาน KMZ ครับ
เนื่องจาก KMZ เป็นโรงงานแรกที่ผลิตเลนส์รุ่นนี้ (KMZ ก็คือ Krasnogorsky Mekhanichesky Zavod)
หลังจากนั้น KMZ ก็เลิกผลิต แล้ว Jupiter-12 ก็ถูกย้ายไปผลิตกันที่โรงงาน LZOS และโรงงาน ARSENAL ในเมืองเคียฟ
ว่าไงก็ว่าตามกัน เมื่อคิดได้ดังนี้ ผมจึงไปเสาะหาตัวที่ผลิตโดย KMZ เท่านั้น
ถึงแม้ว่าราคาของมันจะแพงกว่าตัวอื่นๆที่ไม่ได้ผลิตจากโรงงาน KMZ ประมาณพันกว่าบาทก็ตาม
ส่วนคาแรคเตอร์ของมันจะมีความแตกต่างกันอย่างไรระหว่าง KMZ กับที่ไม่ใช่ KMZ ก็อย่าไปสนใจครับ
เพราะในข้อมูลจากเว็ปไซต์ก็ไม่ได้บอกเอาไว้ หรืออาจจะบอกแต่ผมอ่านไม่ออกก็เป็นได้ HA HA HA!!!
เอาเป็นว่าผมได้ Jupiter-12 2.8/35 KMZ SN.600xxxx มาประดับใส่ตู้โชว์เพิ่มอีกหนึ่งตัวก็แล้วกัน
Jupiter-12 เป็นเลนส์ของกล้องเรนจ์ไฟน์เดอร์ เมาท์ M39 ระยะทำการ 35mm เอฟกว้างสุดที่ 2.8
เป็นเลนส์ที่ก๊อปปี้มาจาก Carl Zeiss Biogon 2.8/35 มันจึงได้รับฉายาอย่างกิ๊บเก๋ว่า Biogon copy
Jupiter-12 ตัวนี้ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ 6 ชิ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม มี 5 เบลด น้ำหนักเมื่อเช้านี้ ชั่งได้ 130 กรัม
มีบอดี้สองสี ทั้งขาวทั้งดำให้เลือกซื้อหาตามแต่รสนิยมของแต่ละท่าน
ใครชอบสาวยุโรปเลือกสีขาว ใครชอบสาวละตินเลือกสีดำตามสะดวก
“ผลการทดลอง” จากการใช้งานจริงในแบบเอาไปถ่ายภาพท่องเที่ยว เดินทางกับครอบครัว
หมายเหตุ!!! ทดลองนะครับ ไม่ใช่ทดสอบ การทดลองไม่ใช่การทดสอบครับ
..........
..........
การทดลองคือการหาความพึงพอใจจากการใช้งานจริง ว่ามันเหมาะสมกับการใช้งานในลักษณะไหน อย่างไร มีข้อจำกัดอย่างไร
หรือควรจะใช้งานมันอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น
แต่การทดสอบคือการวัดคุณภาพในแต่ละด้านอย่างมีมาตรฐานตามหลักวิชาการ แล้วมาตัดสินว่ามันดีหรือไม่ดี
ควรจะซื้อ หรือควรมองหาเลนส์ตัวอื่นๆ เป็นต้น
ผมใช้ Sony A7 Mark II ประกบกับเฮลิคอยด์อแดปเตอร์ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้สามารถโฟกัสได้ใกล้ขึ้น
เนื่องจากเลนส์เรนจ์ไฟน์เดอร์นั้น มีระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 1 เมตรเป็นส่วนใหญ่
ISO 100 เกือบทั้งหมด
Auto white balance
ใช้โหมดสี Landscape ปรับ contrast+1 แล้วจบหลังกล้อง ไม่แต่งสี ไม่แต่งกลิ่นครับ
ผลลัพธ์ที่ได้ พบว่า Jupiter-12 ตัวที่อยู่ในมือผมนี้ให้ผลงานที่น่าพอใจอย่างยิ่งครับ
การถ่ายภาพตามแสงทำได้น่าพอใจ ให้สีสันที่สดใสดี แต่ไม่ถึงกับสดเข้มนัก
ความคมบริเวณกลางภาพเมื่อใช้ช่องรับแสงกว้างสุด พบว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ดีกว่าเลนส์รัสเซียอีกหลายตัวที่อยู่ในมือผม
คุณภาพด้านความคมจะดียิ่งขึ้นเมื่อใช้ค่าช่องรับแสงตั้งแต่ F4 ขึ้นไป
..........
..........
อย่างไรก็ตาม ความคมบริเวณขอบภาพจะไม่ค่อยดีนักครับ ไม่ว่าจะใช้ค่าช่องรับแสงเท่าใดก็ตาม
หากสังเกตดีๆจากภาพถ่ายแนวสถาปัตยกรรม เราจะเห็นความ “ไม่คม” นี้ ได้ด้วยตาเปล่าเพียงเล็กน้อย
แต่จะมองเห็นความ “ไม่คม” บริเวณขอบภาพอย่าง “โจ่งแจ้ง” ก็ต่อเมื่อซูม 100%เข้าไปดูจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ครับ
และต้องไม่ลืมนะครับว่ามันเป็นเลนส์ที่ผลิตขึ้นเมื่อกว่า 70 ปีก่อน
ซึ่งในขณะนั้นทีมชาติอังกฤษยังไม่ได้แชมป์ฟุตบอลโลกเลยนะครับ
เพราะฉะนั้นจุดด้อยข้อนี้ก็ไม่ควรถูกนำมาเป็นประเด็นสำคัญแต่อย่างใดในยุคปัจจุบันครับ
อีกจุดหนึ่งที่พอจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าๆโดยไม่จำเป็นต้องใส่แว่นก็คือ ความฟุ้งเมื่อถ่ายภาพย้อนแสงครับ
หากเราถ่ายภาพย้อนแสงตรงๆ หรืออาจจะเฉียงๆนิดหน่อย
เราจะพบอาการฟุ้งแสงในส่วนที่เป็น Highlight อยู่พอสมควร แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใดนะครับ
เลนส์รุ่นเก่าๆหลายตัวก็เป็นแบบนี้ทั้งนั้นแหละ ขึ้นอยู่กับว่าจะฟุ้งมากหรือน้อยเท่านั้น
วิธีแก้ก็ทำได้ง่ายๆครับ ก็คือเปลี่ยนมุมถ่ายภาพเท่านั้นเอง
หรืออาจจะมโนเอาเองว่ามันเป็น "จุดเด่น" หรือเป็น "คาแรคเตอร์พิเศษ" ของเลนส์รุ่นนี้
หรืออาจรวมไปถึงเลนส์ยุคเก่าอีกหลายรุ่นเลยก็ได้
ที่ว่า.....ความฟุ้งแบบนี้ไม่สามารถหาจากเลนส์ดีๆราคาแพงๆได้
แม้แต่ไลก้ายังให้ไม่ได้เลยยยย HA HA HA!!!
สรุปแล้วเจ้าจูสิบสองตัวนี้ ถือว่าเป็นเลนส์ที่น่าใช้มากๆตัวหนึ่ง
ในหมายเหตุที่ว่าคุณต้องใช้ฟูลเฟรมมิลเรอร์เลสนะครับ
ขนาดที่เล็กกระทัดรัด น้ำหนักที่เบามาก องศาการรับภาพที่เหมาะสมกับการเดินถ่ายภาพเล่นๆในทุกสถานที่
ในความหมายที่ว่า 35 มิลตัวเดียว เที่ยวได้ทั้งวัน
ความคมชัดอยู่ในเกณฑ์ดี การละลายหลังทำได้นุ่มละมุนเป็นธรรมชาติ
ที่สำคัญคือราคาที่มิตรภาพมากๆครับ
..........
..........
สุดท้ายนี้ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรงทุกๆท่านครับ
สวัสดี!!!