●● #แมนฯซิตี้กับพรรคอนาคตใหม่... สุรวิชช์ วีรวรรณ ●●

●● #แมนฯซิตี้กับพรรคอนาคตใหม่ ...สุรวิชช์ วีรวรรณ ●●
.
วันที่บทความชิ้นนี้ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน คือ วันที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินคดีพรรคอนาคตใหม่
กู้เงินหัวหน้าพรรค 191 ล้าน ว่าเข้าข่ายการกระทำผิดหรือไม่ ถ้าผิดจะมีถึงขั้นไหนยุบพรรคหรือไม่ หรือแค่ตัดสิทธิ์กรรมการบริหาร ซึ่งต้องรอดูว่าศาลจะหยิบเอามาตราไหนมาใช้
.
ถามว่าเห็นช่องทางที่ศาลจะยกคำร้องไหมในส่วนตัวผมยังมองไม่เห็นนะครับ ผมคิดว่า พรรคการเมืองกู้เงินได้
 น่าจะเข้าหัวข้อว่า เป็นประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องวงเงิน นี่เป็นเหตุผลว่าพรรคอื่นที่กู้ทำไมไม่มีความผิด 
ก็เพราะวงเงินเขาไม่เกินข้อกำหนดของกฎหมายนั่นเอง
.
การจำกัดวงเงินมีเหตุผลสำคัญคือ ป้องกันใครมาครอบงำพรรคการเมือง แล้วกฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะควบคุม
ที่มาของรายได้และรายจ่ายของพรรคในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แม้จะอ้างว่า เงินที่ยืมมาไม่ใช่รายได้
แต่เป็นรายจ่ายเพราะเป็นหนี้ที่กู้ยืมมา แต่ถามว่า เงินที่ยืมมาก็นำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองใช่ไหม
 คำตอบแน่ๆก็คือ ใช่ เท่ากับว่าเงินที่ใช้ไปเราก็ไปลงในจ่าย ถามว่าแล้วมันคือรายจ่ายของรายจ่ายหรืออย่างไร
.
เงินที่กู้มาเป็นรายจ่าย แต่เมื่อนำไปใช้ในกิจกรรมพรรคการเมืองก็ต้องถือเป็นทุนที่นำไปใช้จ่ายในการทำกิจกรรมหรือไม่
.
ในขณะที่เรื่องของอนาคตใหม่กำลังจะรู้ผลในบ่ายวันที่ 21 กุมภาพันธ์ มีเรื่องที่คล้ายกันมากอีกซีกโลกคือ
 เรื่องของแมนเชสเตอร์ซิตี้
.
เรื่องของอนาคตใหม่นั้นเป็นที่รู้กันว่ามีการยืมเงินนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค 191 ล้าน ดอกเบี้ยต่ำ
 และไม่มีหลักประกัน ถ้าไม่มีเงินจำนวนนี้มา พรรคก็ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ลำบาก แต่จะให้หัวหน้าพรรค
บริจาคเงินเข้ามาหรือหารรายได้เข้ามาก็มีข้อจำกัดในทางกฎหมาย เพราะธนาธรนั้นบริจาคให้พรรคเกินวงเงินแล้ว
 ก็เลยเลี่ยงไปใช้วิธีกู้เงิน โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายห้ามไว้
.
แต่กฎหมายกำหนดที่มาของรายได้เขาไว้ว่ามีที่มาได้อย่างไร จำกัดการระดมทุน แต่ฝั่งนี้ก็โต้แย้งว่า หนี้ไม่ใช่รายได้
จึงไม่เข้าข่ายข้อห้ามตามกฎหมาย เพียงแต่กกต.มองว่า หนี้นั้นเป็นประโยชน์อื่นใดในมาตรา 62 ซึ่งเป็นที่มาของรายได้
 ดังนั้นจึงเกินวงเงินที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 66 จึงมองว่า เงินนี้เป็นเงินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 72
.
ถ้าศาลบอกว่าผิดตามมาตรา 66 และมาตรา 72 ก็ไม่มีบทกำหนดโทษให้ยุบพรรค จะตัดสิทธิ์แค่กรรมการบริหาร
และมีโทษจำคุก แต่ยังมีมาตราคือ 91 ที่ให้ยุบพรรคได้ซึ่งผมยังมองว่ายากที่จะไปถึงขั้นนั้น
.
ทีนี้เหมือนและคล้ายกันอย่างไรกับกรณีของแมนเชสเตอร์ซิตี้ ที่ถูกตัดสิทธิ์ห้ามเล่นบอลยุโรป2ฤดูกาล
และอาจถึงขั้นถูกตัดแต้มริบแชมป์พรีเมียร์ลีก
.
เรื่องของเรื่องคือว่า หลังจากบรรดาเศรษฐีมากว้านซื้อทีมฟุตบอลในยุโรป ยูฟ่ามองเห็นถึงความเหลื่อมล้ำนั้น
อาจทำให้เกิดการผูกขาดแชมป์อยู่เฉพาะสโมสรที่เจ้าของร่ำรวยมีเงินกวาดซื้อนักเตะจึงออกกฎใหม่ขึ้นมาชื่อ 
Financial Fair Play (FFP) ก็เหมือนกฎหมายพรรคการเมืองกำหนดที่มาของพรรคการเมือง และควบคุมตั้งรายได้
และรายจ่ายนั่นแหละ
.
มาตรการ FFP วางกฎสโมสรต้องเปิดเผยข้อมูลทางการเงินทุกอย่างให้ยูฟ่ารู้ และเงินซื้อนักเตะต้องมาจากกำไร
ของสโมสรที่ตรวจสอบได้ ไม่ใช่เงินที่ควักจากกระเป๋าของนายทุน เงินที่มาของสโมสรเช่น บัตรเข้าชม ค่าสปอนเซอร์ 
ค่าถ่ายทอดสด ค่าของที่ระลึก และเงินที่ได้จากการขายนักเตะ รายได้ทั้งหมดนี้เท่านั้นที่เป็นเงินที่เอาไปซื้อนักเตะ
.
เมื่อมีข้อจำกัดนี้ทางออกของสโมสรส่วนใหญ่ก็คือ พยายามหาสปอนเซอร์ให้มากขึ้นทั้งสปอนเซอร์หลักและสปอนเซอร์ท้องถิ่นเพื่อหาเงินเข้าสโมสร แต่ถ้ามองแล้วจะเห็นว่า สโมสรใหญ่ๆก็มีโอกาสหาเงินจากส่วนนี้ได้มากกว่าสโมสรเล็กๆอยู่ดี เช่นเดียวกับพรรคการเมืองใหญ่ก็ย่อมมีนายทุนเข้ามาบริจาคเงินสนับสนุนตามที่กฎหมายกำหนดให้มากกว่า
.
หลายสโมสรที่ไม่ได้มีแฟนทั่วโลกหนาแน่นจึงต้องหาทางหลีกเลี่ยงเพื่อหาเงินมาใช้ซื้อนักเตะ โดยเฉพาะที่เจ้าของร่ำรวย
ก็คือ การย้ายเงินจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา
.
เจ้าของสโมสรแมนฯซิตี้อย่างชีค มันซูร์ มีเงินถุงเงินถังจากบ่อน้ำมันยิ่งกว่าธนาธรก็หาวิธีผ่องเงินอย่างที่ว่าไปให้สโมสร
ซื้อนักเตะ เขาก็ให้เอติฮัด แอร์เวย์ส สายการบินแห่งชาติซึ่งเป็นของพี่ชายตัวเองคือ ชีค ฮาเหม็ด บิน ซา เป็น
สปอนเซอร์ให้แมนฯซิตี้
.
เอติฮัด เป็นสปอนเซอร์ของแมนฯ ซิตี้ ในระยะเวลา 10 ปี ด้วยจำนวนเงิน 400 ล้านปอนด์ จากซิตี้ ออฟ แมนเชสเตอร์ 
สเตเดี้ยม เปลี่ยนชื่อเป็นเอติฮัด สเตเดี้ยม แต่เงินมาจากไหนอีกเรื่องหนึ่ง
.
ต่อมามีแอกเกอร์ชาวโปรตุเกสชื่อ รุย ปินโต แฮ็กข้อมูลเอกสารสำคัญจากทีมฟุตบอลชั้นนำทั่วยุโรป และก่อตั้งเว็บไซต์
ของตัวเองขึ้นมาชื่อ Football Leaks แล้วเอาข้อมูลลับๆของแต่ละสโมสรมาเปิดเผย รวมไปถึงขู่แบล็คเมย์จากสโมสรนั้นๆ สโมสรต่างๆจึงแจ้งความให้ตำรวจสากลจับตัวและมือแฮกเกอร์ก็ถูกจับในที่สุด
.
แต่ร่องรอยที่รุย ปินโต ทำไว้ ไปเข้าทางแดร์ สปีเกล นักข่าวสืบสวนสอบสวนชาวเยอรมัน สปีเกล ค้นพบเอกสาร 2 ชิ้นสำคัญ ที่ปินโตแฮ็กจากอีเมล์ของแมนฯซิตี้
.
ชิ้นแรกเป็นอีเมล์ ของไซม่อน เพียร์ซ บอร์ดบริหารของแมนฯซิตี้ คุยกับผู้บริหาร Aabar บริษัทลงทุนของยูเออี
 โดยระบุว่า Aabar จะเป็นสปอนเซอร์ให้แมนฯซิตี้ ปีละ 15 ล้านปอนด์ แต่ในรายละเอียดการจ่ายเงินจริง Aabar 
จะจ่ายแค่ 3 ล้านปอนด์ ส่วนอีก 12 ล้านปอนด์ที่เหลือ ซีค มันซูร์เจ้าของทีมจะจัดสรรมาให้เอง
.
จากนั้นพบอีเมล์ฉบับที่ 2 ว่า "เอติฮัด แอร์เวย์ส จะเป็นสปอนเซอร์ให้เราปีละ 67.5 ล้านปอนด์ แต่บันทึกไว้ด้วยว่า 
8 ล้านปอนด์จะเป็นเงินของเอติฮัด แอร์เวย์สจริงๆ ส่วนอีก 59.5 ล้านปอนด์ จะเป็นเงินของอาบูดาบี ยูไนเต็ด กรุ๊ป
 ที่เจ้าของคือชีค มันซูร์ เจ้าของทีมแมนฯซิตี้นั่นเอง
.
เอกสารมีลายเซ็นครบทุกอย่าง ชัดเจนว่าเป็นการโยกเงินจากกระเป๋าซ้ายเข้ากระเป๋าขวา เพราะถ้าไม่ทำเช่นนี้
แมนฯซิตี้จะเติบใหญ่อย่างก้าวกระโดดในเวลาไม่กี่ปีไม่ได้เพราะไม่มีเงินซื้อนักเตะดีๆด้วยราคาแพง
.
ยูฟ่าเริ่มกระบวนการสอบสวนเรื่องนี้ในเดือนมีนาคม 2019 โดยองค์กรที่ชื่อว่า CFCB (The Club Financial Control Body)แมนฯซิตี้ ยื่นเรื่องไปที่ศาลกีฬาโลก กระทั่ง 14 กุมภาพันธ์ ยูฟ่า
จึงประกาศบทลงโทษออกมาอย่างเป็นทางการว่า ได้พิจารณาหลักฐานทั้งหมดแล้วพบว่าระหว่างปี 2012 ถึง 2016 
แมนฯซิตี้จงใจฝ่าฝืนกฎไฟแนนเชียล แฟร์เพลย์ของยูฟ่า ด้วยการแสดงผลกำไรเกินจริงในบัญชีของสโมสร จึงถูก
ห้ามเข้าแข่งฟุตบอลยุโรป 2 ฤดูกาล รวมถึงรอลุ้นกันว่า จะถูกตัดแต้มในพรีเมียร์ลีกระหว่างปีนั้นหรือไม่ 
ถ้าถูกตัดสิทธิ์แชมป์พรีเมียร์ลีกในปีนั้นจะเปลี่ยนมือทันที
.
พรรคอนาคตใหม่ไม่มีเงินดำเนินกิจกรรม เพราะถูกควบคุมด้วยที่มาของรายได้ตามพรบ.พรรคการเมือง 
แมนฯซิตี้ไม่มีเงินซื้อนักเตะเพราะมาตรการ FFP จึงต้องหาช่องเอาเงินจากกระเป๋านายทุนมาใช้
.
นี่คือความเหมือนของพรรคอนาคตใหม่กับแมนฯซิตี้ที่ต่างก็มีเจ้าของเป็นมหาเศรษฐี

Cr.  :  https://www.facebook.com/1005037142/posts/10218692388033246/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่