คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
-ปัญหาเรื่องเข้าสู่สังคมสูงวัย ถ้าอัตราการเกิดน้อยกว่าการตายประชากรไทยก็จะลดลง ตอนนี้ 69 ล้าน ต่อไปก็จะลดลงเรื่อย แต่สิ่งที่สำคัญก็คือโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป คือคนสูงอายุที่ไม่ทำงานและไม่มีรายได้ก็จะเพิ่มขึ้นในขณะที่คนทำงานมีรายได้เสียภาษีก็จะน้อยลง แทนที่รัฐจะเอาทรัพยากรไปจัดการศึกษาหรืออะไรให้ดีขึ้นเพราะคนน้อยลงอย่างที่คุณว่า ก็จะต้องเอามาดูแลกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้แทนซะมากกว่า
การบริโภคในประเทศลดลงก็จะทำให้การผลิตในประเทศลดลงไปด้วย การจ้างงานก็จะลดลงเพราะหลายธุรกิจก็จะสนใจไปตั้งฐานการผลิตในประเทศที่การบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเวียดนามและอินโดนีเซียมากกว่า
รวมๆคือมีผลเสียเยอะแต่ในอนาคตผมคิดว่าอายุเกษียนเราโดนปรับขึ้นแน่เช่นจาก 60 เป็น 65 และคนวัยทำงานจากประเทศเพื่อนบ้านจะเข้ามาทำงานในบ้านเรามากขึ้นเพื่อแก้ปัญหา
-เรื่องรัฐสวัสดิการคุณชอบแต่เพื่อนคุณที่อยู่ในระบบจริงๆไม่ชอบ ผมก็ไม่ชอบ เอาจริงทุกวันนี้บ้านเราก็มีให้ไม่น้อยนะ เรียนฟรีถึง ม.6 ถ้าเรียนโรงเรียนรัฐจ่ายเพิ่มไม่เท่าไหร่เอง รักษาพยาบาลมีสิทธิบัตรทองให้อีก ช่วงทำงานใช้สิทธิประกันสังคม เกษียนแล้วใช้บัตรทองก็แทบจะไม่ต้องมีภาระเรื่องการรักษาพยาบาลเลย
โครงการช่วยเหลือคนรายได้น้อยอย่างบัตรประชารัฐก็มี แค่นี้คนยังด่ากันเยอะเลยว่าเอาเงินไปอุ้มคนไม่ทำมาหากิน ในขณะที่ประเทศรัฐสวัสดิการต้องแลกมาด้วยอัตราภาษีที่สูงแต่บ้านเราคนที่เสียภาษีเงินได้มีประมาณสี่ล้านคน ต้องเสียภาษีเพิ่มกันเท่าไหร่ละครับถึงจะเลี้ยงอีกหกสิบกว่าล้านคนให้ไม่มีความเหลื่อมล้ำไหว คนที่เหลือจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มกันปีละเท่าไหร่เชียวแต่จะเอาสวัสดิการแบบสวิตเซอร์แลนด์มันจะเป็นไปได้รึครับ
แล้วเอาจริงรัฐสวัสดิการเค้าก็เอาเงินคุณที่เค้าหักภาษีไว้นั่นล่ะมาเลี้ยงคุณ ตายก่อนก็ไม่ได้ใช้อีกต่างหาก เงินจำนวนนี้ถ้ารู้จักเก็บลงทุนเองตอนเกษียนคุณก็สบายได้เหมือนกัน ส่งต่อให้ลูกหลานได้ด้วยไม่ต้องมาเริ่มต้นใหม่ทำงานทั้งชีวิตรอให้รัฐบาลเลี้ยง
ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นทุกประเทศที่ใช้ระบบทุนนิยม อย่างหนังเรื่อง Parasite ที่ได้รางวัลเยอะๆก็สะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำของเกาหลีใต้!! ที่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ในประเทศต้นแบบประชาธิปไตยอย่างอเมริกาก็มีความเหลื่อมล้ำสูง เอาจริงคือเป็นกันทั้งโลก แล้วกฎหมายมันเอื้อนายทุนทุกประเทศในโลกแบบที่คุณสันนิษฐานจริงรึเปล่าลองพิจรณาดูครับ
ความเห็นผมก็ประมาณนี้ล่ะครับ
การบริโภคในประเทศลดลงก็จะทำให้การผลิตในประเทศลดลงไปด้วย การจ้างงานก็จะลดลงเพราะหลายธุรกิจก็จะสนใจไปตั้งฐานการผลิตในประเทศที่การบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเวียดนามและอินโดนีเซียมากกว่า
รวมๆคือมีผลเสียเยอะแต่ในอนาคตผมคิดว่าอายุเกษียนเราโดนปรับขึ้นแน่เช่นจาก 60 เป็น 65 และคนวัยทำงานจากประเทศเพื่อนบ้านจะเข้ามาทำงานในบ้านเรามากขึ้นเพื่อแก้ปัญหา
-เรื่องรัฐสวัสดิการคุณชอบแต่เพื่อนคุณที่อยู่ในระบบจริงๆไม่ชอบ ผมก็ไม่ชอบ เอาจริงทุกวันนี้บ้านเราก็มีให้ไม่น้อยนะ เรียนฟรีถึง ม.6 ถ้าเรียนโรงเรียนรัฐจ่ายเพิ่มไม่เท่าไหร่เอง รักษาพยาบาลมีสิทธิบัตรทองให้อีก ช่วงทำงานใช้สิทธิประกันสังคม เกษียนแล้วใช้บัตรทองก็แทบจะไม่ต้องมีภาระเรื่องการรักษาพยาบาลเลย
โครงการช่วยเหลือคนรายได้น้อยอย่างบัตรประชารัฐก็มี แค่นี้คนยังด่ากันเยอะเลยว่าเอาเงินไปอุ้มคนไม่ทำมาหากิน ในขณะที่ประเทศรัฐสวัสดิการต้องแลกมาด้วยอัตราภาษีที่สูงแต่บ้านเราคนที่เสียภาษีเงินได้มีประมาณสี่ล้านคน ต้องเสียภาษีเพิ่มกันเท่าไหร่ละครับถึงจะเลี้ยงอีกหกสิบกว่าล้านคนให้ไม่มีความเหลื่อมล้ำไหว คนที่เหลือจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มกันปีละเท่าไหร่เชียวแต่จะเอาสวัสดิการแบบสวิตเซอร์แลนด์มันจะเป็นไปได้รึครับ
แล้วเอาจริงรัฐสวัสดิการเค้าก็เอาเงินคุณที่เค้าหักภาษีไว้นั่นล่ะมาเลี้ยงคุณ ตายก่อนก็ไม่ได้ใช้อีกต่างหาก เงินจำนวนนี้ถ้ารู้จักเก็บลงทุนเองตอนเกษียนคุณก็สบายได้เหมือนกัน ส่งต่อให้ลูกหลานได้ด้วยไม่ต้องมาเริ่มต้นใหม่ทำงานทั้งชีวิตรอให้รัฐบาลเลี้ยง
ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นทุกประเทศที่ใช้ระบบทุนนิยม อย่างหนังเรื่อง Parasite ที่ได้รางวัลเยอะๆก็สะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำของเกาหลีใต้!! ที่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ในประเทศต้นแบบประชาธิปไตยอย่างอเมริกาก็มีความเหลื่อมล้ำสูง เอาจริงคือเป็นกันทั้งโลก แล้วกฎหมายมันเอื้อนายทุนทุกประเทศในโลกแบบที่คุณสันนิษฐานจริงรึเปล่าลองพิจรณาดูครับ
ความเห็นผมก็ประมาณนี้ล่ะครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมรัฐถึงอยากเพิ่มจำนวนประชากรในประเทศคะ
แต่ในขณะเดียวกัน เราก็เกิดคำถามอีกว่า ประชากรที่อยู่ภายในไทยในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 69 ล้านคน (อ้างอิงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ประชากรศาสตร์ไทย) โดยความคิดเห็นส่วนตัวของเราคือ 69 ล้านคน ก็มากแล้ว แล้วที่สำคัญคือรายได้ต่อหัวก็ลดลงเนื่องจาก เรามีจำนวนประชากรมาก รายได้ต่อหัวจึงเฉลี่ยๆกันไป
แล้วเราก็เลยเกิดคำถามอีกว่า ถ้าอย่างนั้น การเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นไปอีกนั้นส่งผลดีอย่างไร เพราะโดยความคิดเห็นส่วนตัวของเรา การที่มีจำนวนประชากรลดลง โอเคว่าดีมานด์ซัพพลายในประเทศก็อาจจะลดลงไปด้วย แต่ประชากรจำนวนน้อยนั้นไม่สู้ดีกว่าหรือ รัฐสามารถจัดสรรสิ่งต่างๆได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะด้านการศึกษา การที่คนในประเทศลดน้อยลง เรามองว่ามีผลกระทบในด้านเศรษฐกิจภายในประเทศแน่นอน แต่ในเรื่องการจัดสรรทรัพยากรต่างๆภายในประเทศก็จะง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านพื้นที่ภายในประเทศ ระบบการศึกษา ประมาณว่าถึงน้อยแต่มีคุณภาพ
เราเคยคุยกับเพื่อนต่างชาติชาวยุโรป เค้าพูดถึงระบบของเค้าว่า บางทีมันก็ไม่ดีตรงที่ว่า รัฐเอาเงินไปอุ้มคนขี้เกียจ มันไม่แฟร์สำหรับคนทำงาน เราสวนกลับไปว่า เชื่อฉันเถอะ รัฐสวัสดิการมันดีกว่า ฉันอยู่ในประเทศที่สวัสดิการไม่ได้เข้าถึงทุกคนอย่างเท่าเทียม แม้ฉันจะเป็นครอบครัวชนชั้นกลางไม่ได้เดือดร้อนอะไร แต่ฉันจะยอมเสียภาษีมาก เพื่อที่รัฐจะนำภาษีไปจัดการเป็นสวัสดิการที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล รายได้หลังเกษียณ สวัสดิการให้แม่และเด็ก หรือสถานที่ที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ควรมีใครได้อภิสิทธิ์เหนือใคร ฉันไม่อยากเห็นความเหลื่อมล้ำ ชีวิตที่คนไม่มีต้องปากกัดตีนถีบ คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม มันสร้างปัญหาระยะยาวจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาชญากรรม หรือด้านอื่นๆ
//*เราไม่แน่ใจนักว่าตอนนี้ปัญหามันอยู่ที่ประชากรในประเทศมีมาก หรือว่ากฎหมายที่เอื้อนายทุนที่ทำให้รวยกระจุก จนกระจาย*//
ป.ล.เราอยากฟังมุมมองของคนอื่นๆด้วยค่ะ เพราะบางทีมุมมองคนอื่นก็ทำให้เราได้เห็นภาพกว้างที่เราก็อาจจะไม่ได้คิดถึงมาก่อน
ป.ล.2 กระทู้นี้เป็นเพียงกระทู้คำถามนะคะ เราเห็นหลายความคิดเห็นบอกว่าเป็นเฟคนิวส์ เรื่องรัฐบาลไม่มีนโยบาย เราเองก็ไม่ทราบค่ะว่าเค้ามีนโยบายหรือไม่ เห็นเพียงแต่ข่าว
https://www.posttoday.com/politic/report/482560
https://www.matichon.co.th/local/news_467856
ซึ่งมันตั้งแต่ปี 2560 แล้ว ซึ่งเป็นรัฐบาลชุดเดียวกัน แล้วเราก็เข้าใจถึงปัญหาว่ามันก็เมคเซ้นส์ที่จะอยากได้คนเพิ่ม เพราะขาดตลาดแรงงาน แต่เราอยากรู้ว่ามันมีผลกระทบอะไรบ้างคะ ถ้าในเรื่องของเศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ คือเรามองในส่วนของ environmental เราก็เลยมองว่าคนมากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็มากขึ้น ดังนั้นเราจึงเน้นเรื่องของน้อยแต่มีคุณภาพ