ดิฉันได้อ่านข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดชัยนาท และมีข้อสงสัยว่าสรุปในปีพ.ศ.1914 ใครเป็นผู้ปกครองชัยนาทหรือเมืองแพรกกันแน่คะ พระยาลิไท หรือ ขุนพระงั่ว? ในข้อมูลบอกว่า
"เมืองชัยนาท เป็นเมืองโบราณ ตัวเมืองดั้งเดิมตั้งอยู่ตรงทางแยกฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่
ปากน้ำเมืองสรรค์(ปากคลองแพรกศรีราชาใต้ปากลำน้ำเก่า) เมืองนี้ตั้งขึ้นหลังเมือง พันธุมวดี (สุพรรณบุรี) เป็นเมืองหน้าด่านของเมืองสุโขทัย จากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีแต่ชื่อเมืองแพรกส่วนเมืองชัยนาทเพิ่งมาปรากฎในรัชกาลสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ 1 เมื่อ พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าเลอไท สวรรคตกรุงสุโขทัย
เกิดการแย่งชิงราชสมบัติพระรามาธิบดีที่ 1ทรงเห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงยกทัพเข้ายึดเมืองชัยนาท หลังจากพระยาลิไท ขึ้นครองราชย์ทางกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1ได้สถาปนาให้เป็นราชธานีมีกำลัง
เข้มแข็งมากจึงได้โปรดให้ขุนหลวงพระงั่วซึ่งครองเมืองสุพรรณบุรี ยกทัพมาตีเมืองชัยนาท ซึ่งเป็นเมือง
หน้าด่านของกรุงสุโขทัย เมืองชัยนาทจึงตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา โดยมีขุนหลวงพระงั่วเป็นผู้รักษาเมืองเมื่อกรุงสุโขทัยสงบแล้ว พระยาลิไทได ้ส่งทูตมายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อเจรจาขอเมืองชัยนาทคืนให้แก่กรุงศรีอยุธยา โดยมีขุนหลวงพระงั่ว เป็นผู้รักษาเมือง เมื่อกรุงสุโขทัยสงบแล้วพระยาลิไทได้ส่งทูตมายังกรุงศรีอยุธยา เพื่อเจรจาขอเมืองชัยนาทคืนให้แก่กรุงสุโขทัย โดยจะยอมให้เป็นอิสระ และมีสัมพันธไมตรีต่อกัน กล่าวคือต่างฝ่ายก็ต่างมีอิสระต่อกัน ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาได้คืนเมืองชัยนาทให้แก่ กรุงสุโขทัย นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า การที่แคว้นกัมพุช (ลพบุรี) เข้าร่วมมือในการรบ ประกอบกับกรุงศรีอยุธยากำลังสถาปนาได้ไม่นาน ถ้ามีศึกกระหนาบสองด้านจะสร้างปัญหาให้ไม่น้อย ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาคืนเมืองชัยนาทแก่กรุงสุโขทัยโดยดี
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องเมืองชัยนาทระหว่าง กรุงสุโขทัย กับ กรุงศรีอยุธยา ก็หายุติได้ไม่
เพราะในปี พ.ศ.1912 สมเด็จพระรามาธิบปีที่ 1 เสด็จสวรรคต ทำให้สถานการณ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยา
กับกรุงสุโขทัย กลับตึงเครียดขึ้นอีก เมื่อขุนหลวงพระงั่วขึ้นครองราชย์แล้ว ได้เสด็จยกทัพมาตี กรุงสุโขทัย
ในปี พ.ศ.1914 แต่ไม่มีผ่ายใดเป็นฝ่ายชนะ สงครามยืดเยื้อกันมาเป็นเวลานาน จนขุนหลวงพระงั่วเสด็จสวรรคต ประวัติศาสตร์เข้าใจว่าเมืองชัยนาท "
แต่ในอีกแหล่งหนึ่งบอก ดังนี้
"ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงปรากฏแต่ชื่อ "เมืองแพรก" ในหนังสือจามเทวีวงศ์ได้กล่าวถึงเมืองทวีสาขนคร ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ว่าน่าจะเป็น "เมืองแพรก" หรือ "เมืองสรรค์บุรี " อันเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ "เมืองชัยนาท" จนถึงกับจะเรียกว่าเป็นเมืองเดียวกันก็ได้ ส่วนหนังสือชินกาลมาลีนั้น มีข้อความกล่าวไว้ชัดเจนว่า "ชยนาทปุรม ทุพภิกภย ชาต" ซึ่งหมายถึง ทุพภิกขภัยได้บังเกิดมีในเมืองชัยนาทบุรี ซึ่งกล่าวว่าทางพระราชอาณาจักรอยุธยาได้ส่งอำมาตย์ หรือพระราชโอรสมีนามว่า "เดชะ" มาครอง "เมืองชัยนาท" ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท) แห่งอาณาจักรกรุงสุโขทัย ส่วนในตำนานพระพุทธสิหิงค์ ได้กล่าวถึงเมืองชัยนาทภายใต้การปกครองของกรุงสุโขทัย รัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) นั้น ครั้งหนึ่งเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง พระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงออกอุบายนำข้าวมาขายที่เมืองชัยนาทแล้วยึดเมืองได้จึงโปรดให้อำมาตย์ชื่อ วัตติเดช (ขุนหลวงพะงั่ว) ปกครองเมืองชัยนาท ซึ่งตรงกันกับพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวว่า "เมืองชัยนาทบุรี" ปรากฏชื่อในราวๆ รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิ-บดีที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๑๘๙๗ เป็นที่พญาเลอไทสวรรคต กรุงสุโขทัยเกิดการแย่งชิงราชสมบัติ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงเห็นโอกาสเหมาะ จึงโปรดให้ขุนหลวงพะงั่วซึ่งขณะนั้นครองเมืองสุพรรณบุรียกทัพขึ้นไปยึดครอง "เมืองชัยนาทบุรี" และอยู่รักษาเมืองไว้โดยขึ้นตรงต่อกรุงศรี-อยุธยา ต่อมากรุงสุโขทัยสงบลงแล้ว พญาลิไทขึ้นครองราชย์ ได้ส่งทูตมาเจรจาขอ "เมืองชัยนาทบุรี" คืนจากกรุงศรีอยุธยา โดยต่างฝ่ายจะเป็นอิสระ และมีความสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ในที่สุดกรุงศรี-อยุธยาก็ได้คืน "เมืองชัยนาทบุรี" ให้แก่กรุงสุโขทัย ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า ทางกรุงศรี-อยุธยาเกรงว่า ทางฝ่ายกรุงสุโขทัยจะชวนแคว้นกัมพุช (ลพบุรี) และอาณาจักรทางเหนือ ซึ่งเป็นมิตรกับกรุงสุโขทัยมาร่วมรบประกอบกับกรุงศรีอยุธยาเพิ่งจะสถาปนาได้ไม่นาน หากมีศึกกระหนาบข้างทั้งสองด้านจะสร้างปัญหาให้แก่กรุงศรีอยุธยาไม่น้อย ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้กรุงศรีอยุธยายอมคืน "เมืองชัยนาทบุรี" ให้แก่กรุงสุโขทัยโดยดี เมื่อพระมหาธรรมราชา ที่ ๑ (ลิไท) ทรงได้ "เมืองชัยนาทบุรี " คืนแล้ว ทรงโปรดให้พระกนิษฐภคินี ทรงพระนามว่า พระสุธรรมกัญญา ซึ่งทรงสถาปนาเป็นพระมหาเทวี ครองราชสมบัติในกรุงสุโขทัยแล้ว พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ทรงอัญเชิญ พระสิหล (พระพุทธสิหิงค์) พร้อมทั้งเสด็จมาครองเมืองชัยนาทจนกระทั่งสวรรคต ในปี พ.ศ. ๑๙๑๔ "
ขอผู้รู้ช่วยวิเคราะห์สรุปประวัติศาสตร์หน่อยค่ะ
"เมืองชัยนาท เป็นเมืองโบราณ ตัวเมืองดั้งเดิมตั้งอยู่ตรงทางแยกฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่
ปากน้ำเมืองสรรค์(ปากคลองแพรกศรีราชาใต้ปากลำน้ำเก่า) เมืองนี้ตั้งขึ้นหลังเมือง พันธุมวดี (สุพรรณบุรี) เป็นเมืองหน้าด่านของเมืองสุโขทัย จากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีแต่ชื่อเมืองแพรกส่วนเมืองชัยนาทเพิ่งมาปรากฎในรัชกาลสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ 1 เมื่อ พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าเลอไท สวรรคตกรุงสุโขทัย
เกิดการแย่งชิงราชสมบัติพระรามาธิบดีที่ 1ทรงเห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงยกทัพเข้ายึดเมืองชัยนาท หลังจากพระยาลิไท ขึ้นครองราชย์ทางกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1ได้สถาปนาให้เป็นราชธานีมีกำลัง
เข้มแข็งมากจึงได้โปรดให้ขุนหลวงพระงั่วซึ่งครองเมืองสุพรรณบุรี ยกทัพมาตีเมืองชัยนาท ซึ่งเป็นเมือง
หน้าด่านของกรุงสุโขทัย เมืองชัยนาทจึงตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา โดยมีขุนหลวงพระงั่วเป็นผู้รักษาเมืองเมื่อกรุงสุโขทัยสงบแล้ว พระยาลิไทได ้ส่งทูตมายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อเจรจาขอเมืองชัยนาทคืนให้แก่กรุงศรีอยุธยา โดยมีขุนหลวงพระงั่ว เป็นผู้รักษาเมือง เมื่อกรุงสุโขทัยสงบแล้วพระยาลิไทได้ส่งทูตมายังกรุงศรีอยุธยา เพื่อเจรจาขอเมืองชัยนาทคืนให้แก่กรุงสุโขทัย โดยจะยอมให้เป็นอิสระ และมีสัมพันธไมตรีต่อกัน กล่าวคือต่างฝ่ายก็ต่างมีอิสระต่อกัน ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาได้คืนเมืองชัยนาทให้แก่ กรุงสุโขทัย นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า การที่แคว้นกัมพุช (ลพบุรี) เข้าร่วมมือในการรบ ประกอบกับกรุงศรีอยุธยากำลังสถาปนาได้ไม่นาน ถ้ามีศึกกระหนาบสองด้านจะสร้างปัญหาให้ไม่น้อย ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาคืนเมืองชัยนาทแก่กรุงสุโขทัยโดยดี
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องเมืองชัยนาทระหว่าง กรุงสุโขทัย กับ กรุงศรีอยุธยา ก็หายุติได้ไม่
เพราะในปี พ.ศ.1912 สมเด็จพระรามาธิบปีที่ 1 เสด็จสวรรคต ทำให้สถานการณ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยา
กับกรุงสุโขทัย กลับตึงเครียดขึ้นอีก เมื่อขุนหลวงพระงั่วขึ้นครองราชย์แล้ว ได้เสด็จยกทัพมาตี กรุงสุโขทัย
ในปี พ.ศ.1914 แต่ไม่มีผ่ายใดเป็นฝ่ายชนะ สงครามยืดเยื้อกันมาเป็นเวลานาน จนขุนหลวงพระงั่วเสด็จสวรรคต ประวัติศาสตร์เข้าใจว่าเมืองชัยนาท "
แต่ในอีกแหล่งหนึ่งบอก ดังนี้
"ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงปรากฏแต่ชื่อ "เมืองแพรก" ในหนังสือจามเทวีวงศ์ได้กล่าวถึงเมืองทวีสาขนคร ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ว่าน่าจะเป็น "เมืองแพรก" หรือ "เมืองสรรค์บุรี " อันเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ "เมืองชัยนาท" จนถึงกับจะเรียกว่าเป็นเมืองเดียวกันก็ได้ ส่วนหนังสือชินกาลมาลีนั้น มีข้อความกล่าวไว้ชัดเจนว่า "ชยนาทปุรม ทุพภิกภย ชาต" ซึ่งหมายถึง ทุพภิกขภัยได้บังเกิดมีในเมืองชัยนาทบุรี ซึ่งกล่าวว่าทางพระราชอาณาจักรอยุธยาได้ส่งอำมาตย์ หรือพระราชโอรสมีนามว่า "เดชะ" มาครอง "เมืองชัยนาท" ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท) แห่งอาณาจักรกรุงสุโขทัย ส่วนในตำนานพระพุทธสิหิงค์ ได้กล่าวถึงเมืองชัยนาทภายใต้การปกครองของกรุงสุโขทัย รัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) นั้น ครั้งหนึ่งเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง พระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงออกอุบายนำข้าวมาขายที่เมืองชัยนาทแล้วยึดเมืองได้จึงโปรดให้อำมาตย์ชื่อ วัตติเดช (ขุนหลวงพะงั่ว) ปกครองเมืองชัยนาท ซึ่งตรงกันกับพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวว่า "เมืองชัยนาทบุรี" ปรากฏชื่อในราวๆ รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิ-บดีที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๑๘๙๗ เป็นที่พญาเลอไทสวรรคต กรุงสุโขทัยเกิดการแย่งชิงราชสมบัติ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงเห็นโอกาสเหมาะ จึงโปรดให้ขุนหลวงพะงั่วซึ่งขณะนั้นครองเมืองสุพรรณบุรียกทัพขึ้นไปยึดครอง "เมืองชัยนาทบุรี" และอยู่รักษาเมืองไว้โดยขึ้นตรงต่อกรุงศรี-อยุธยา ต่อมากรุงสุโขทัยสงบลงแล้ว พญาลิไทขึ้นครองราชย์ ได้ส่งทูตมาเจรจาขอ "เมืองชัยนาทบุรี" คืนจากกรุงศรีอยุธยา โดยต่างฝ่ายจะเป็นอิสระ และมีความสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ในที่สุดกรุงศรี-อยุธยาก็ได้คืน "เมืองชัยนาทบุรี" ให้แก่กรุงสุโขทัย ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า ทางกรุงศรี-อยุธยาเกรงว่า ทางฝ่ายกรุงสุโขทัยจะชวนแคว้นกัมพุช (ลพบุรี) และอาณาจักรทางเหนือ ซึ่งเป็นมิตรกับกรุงสุโขทัยมาร่วมรบประกอบกับกรุงศรีอยุธยาเพิ่งจะสถาปนาได้ไม่นาน หากมีศึกกระหนาบข้างทั้งสองด้านจะสร้างปัญหาให้แก่กรุงศรีอยุธยาไม่น้อย ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้กรุงศรีอยุธยายอมคืน "เมืองชัยนาทบุรี" ให้แก่กรุงสุโขทัยโดยดี เมื่อพระมหาธรรมราชา ที่ ๑ (ลิไท) ทรงได้ "เมืองชัยนาทบุรี " คืนแล้ว ทรงโปรดให้พระกนิษฐภคินี ทรงพระนามว่า พระสุธรรมกัญญา ซึ่งทรงสถาปนาเป็นพระมหาเทวี ครองราชสมบัติในกรุงสุโขทัยแล้ว พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ทรงอัญเชิญ พระสิหล (พระพุทธสิหิงค์) พร้อมทั้งเสด็จมาครองเมืองชัยนาทจนกระทั่งสวรรคต ในปี พ.ศ. ๑๙๑๔ "