กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย คือระหว่าง พ.ศ. 2310–2325 ระยะเวลา 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
อาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้เป็น "เจ้า" และตีจนได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310
ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น
ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนบุรี เนื่องจากทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกทำลายลงจนไม่อาจปฏิสังขรณ์ได้กลับคืนดังเดิม โดยเรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ส่วนสาเหตุที่ทรงเลือกนั้นเป็นเพราะว่าเมืองธนบุรีมีขนาดเล็กและชัยภูมิ มีปราการป้องกันเข้มแข็ง ทำให้ข้าศึกรุกรานได้ยาก และยังสามารถใช้เป็นสถานที่หลบหนีไปตั้งหลักยังเมืองจันทบุรีได้ทางเรือได้อีก
ครั้งเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง
ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311 เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองราม เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์โปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ
ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้
ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง โดยตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรีได้ และทรงประทับ ณ เมืองสวางคบุรี เพื่อสมโภชการสำเร็จศึก และจัดการการปกครองและคณะสงฆ์หัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ 2 เดือนเศษ ซึ่งนับเป็นชุมนุมอิสระสุดท้ายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝางได้นั้น นับเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญ ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 และทำให้สิ้นสุดสภาพจลาจลการแยกชุมนุมอิสระภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และนับเป็นการสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313
หลักฐานส่วนใหญ่กล่าวว่า เกิดเหตุจลาจลในปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ พระยาสรรค์ได้ตั้งตัวเป็นกบฏ ได้บุกมาแล้วบังคับให้พระองค์ผนวช ขณะนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงทำศึกอยู่ที่กัมพูชา ทรงทราบข่าวจึงได้เสด็จกลับมายังกรุง ได้ปราบปรามจลาจลแล้ว สืบสวนหารือควรสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และต่อมาสมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระราชโอรสพระองค์โตก็ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เช่นกัน
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และในต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ ส่งผลให้อาณาจักรธนบุรีสิ้นสุดลง
ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสมัยกรุงธนบุรี (2310–2325)
พ.ศ. 2310
พระเจ้าตากสิน ทรงกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2 ให้กับกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 33 พรรษา และสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่แทนกรุงศรีอยุธยา เกิดสงครามกับพม่าที่บางกุ้ง เมืองสมุทรสงคราม
พ.ศ. 2311 เริ่มปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก แต่ไม่สำเร็จ ปราบชุมนุมเจ้าพิมายสำเร็จเป็นชุมนุมแรก เกิดการระบาดของหนู
พ.ศ. 2312 ปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชสำเร็จ ยกทัพไปตีเขมรครั้งแรกแต่ไม่สำเร็จ
อัญเชิญพระไตรปิฎกจากเมืองนครศรีธรรมราชมายังกรุงธนบุรี
พ.ศ. 2313 เกิดสงครามกับพม่าที่เมืองสวางคบุรี และขับไล่ทหารพม่าเป็นผลสำเร็จ และยกทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 1 แต่ไม่สำเร็จ
ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์จำนวน 4 ตอน
พ.ศ. 2314 ยกทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2 และสามารถปราบเขมรไว้ในอำนาจ นายสวนมหาดเล็กแต่งโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี เริ่มการสร้างกำแพงเมืองกรุงธนบุรี
พ.ศ. 2315 พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1 โดยโปสุพลาแต่ไม่สำเร็จ
พ.ศ. 2316 รบชนะพม่าที่มาตีเชียงใหม่และเมืองพิชัยเป็นครั้งที่ 2 ทำให้เกิดวีรกรรมพระยาพิชัยดาบหัก
พ.ศ. 2317 รบชนะพม่าที่บางแก้ว ราชบุรี พม่าถูกจับและเสียชีวิตไปมากมาย ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ได้สำเร็จ
สมเด็จกรมพระเทพามาตย์ เสด็จสวรรคต
พระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละ เมืองเชียงใหม่ เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พ.ศ. 2318 พม่ายกทัพใหญ่มาตีหัวเมืองเหนือโดยการนำทับของอะแซหวุ่นกี้ ซึ่งถือเป็นสงครามที่ใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงธนบุรี แต่ไม่สำเร็จ ทหารพม่าถูกจับเป็นเชลยหลายหมื่นคน
พ.ศ. 2319 พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่แต่ไม่สำเร็จ
โปรดให้สร้างสมุดภาพไตรภูมิ
ทรงรับปืนนกสับจากฟรานซิส ไลท์ จำนวน 1,400 กระบอก
พ.ศ. 2321 โปรดเกล้าฯให้ เจ้าพระยาจักรีไปปราบเจ้าเมืองนางรอง เจ้าเมืองนางรองถูกจับประหารชีวิต และนำกองกำลังไปตีและยึดนครจำปาศักดิ์ ทำให้เมืองจำปาศักดิ์ เมืองอัตตะปือ และ ดินแดนตอนใต้ของประเทศลาวตกลงมาเป็นของไทย หลังจากจบศึก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรณาโปรดเกล้าฯให้ เจ้าพระยาจักรี เป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหึมา ทุกนัคราระเดช นเรศวรราชสุริยวงศ์ดำรงตำแหน่งสมุหนายก
พ.ศ. 2322 โปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีห์ไปตีเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาไว้ที่ กรุงธนบุรี พระแก้วมรกตประดิษฐ์ไว้ที่วัดอรุณฯ ส่วนพระบางคืนไปในสมัยรัชกาลที่ 1
เกิดกบฎมหาดา
พ.ศ. 2323 เกิดจลาจลในเขมร โปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ เจ้าพระยาสุรสีห์ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระองค์เจ้าจุ้ย ยกทัพไปตีกรุงกัมพูชา แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเสียก่อน หลวงสรวิชิต(หน) แต่งอิเหนาคำฉันท์
พ.ศ. 2324 ส่งทัพไปปราบจลาจลในเขมร
พระยาสรรค์เป็นกบฏ
พ.ศ. 2325 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
กรุงธนบุรีสิ้นสุดลง
อ้างอิง
1. ลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์, รศ. (2003). บรรพบุรุษไทย: สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 5. ISBN 974-13-2394-8.
2. จรรยา ประชิตโรมรัน (2005) [1997]. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (4 ed.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 55. ISBN 974-13-3394-3.
3. ภัทรธาดา (พฤษภาคม 1981). เอกสารบรรยายพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี. ชลบุรี. p. 9–10.
4. สุจิตต์ วงษ์เทศ, บ.ก. (26 มิถุนายน 2007). นิราศเมืองแกลง ของสุนทรภู่. กองทุนสุนทรภู่. pp. 123–124
เรียบเรียงโดย เพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2
กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย
อาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้เป็น "เจ้า" และตีจนได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310
ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น
ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนบุรี เนื่องจากทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกทำลายลงจนไม่อาจปฏิสังขรณ์ได้กลับคืนดังเดิม โดยเรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ส่วนสาเหตุที่ทรงเลือกนั้นเป็นเพราะว่าเมืองธนบุรีมีขนาดเล็กและชัยภูมิ มีปราการป้องกันเข้มแข็ง ทำให้ข้าศึกรุกรานได้ยาก และยังสามารถใช้เป็นสถานที่หลบหนีไปตั้งหลักยังเมืองจันทบุรีได้ทางเรือได้อีก
ครั้งเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง
ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311 เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองราม เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์โปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ
ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้
ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง โดยตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรีได้ และทรงประทับ ณ เมืองสวางคบุรี เพื่อสมโภชการสำเร็จศึก และจัดการการปกครองและคณะสงฆ์หัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ 2 เดือนเศษ ซึ่งนับเป็นชุมนุมอิสระสุดท้ายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝางได้นั้น นับเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญ ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 และทำให้สิ้นสุดสภาพจลาจลการแยกชุมนุมอิสระภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และนับเป็นการสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313
หลักฐานส่วนใหญ่กล่าวว่า เกิดเหตุจลาจลในปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ พระยาสรรค์ได้ตั้งตัวเป็นกบฏ ได้บุกมาแล้วบังคับให้พระองค์ผนวช ขณะนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงทำศึกอยู่ที่กัมพูชา ทรงทราบข่าวจึงได้เสด็จกลับมายังกรุง ได้ปราบปรามจลาจลแล้ว สืบสวนหารือควรสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และต่อมาสมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระราชโอรสพระองค์โตก็ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เช่นกัน
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และในต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ ส่งผลให้อาณาจักรธนบุรีสิ้นสุดลง
ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสมัยกรุงธนบุรี (2310–2325)
พ.ศ. 2310
พระเจ้าตากสิน ทรงกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2 ให้กับกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 33 พรรษา และสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่แทนกรุงศรีอยุธยา เกิดสงครามกับพม่าที่บางกุ้ง เมืองสมุทรสงคราม
พ.ศ. 2311 เริ่มปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก แต่ไม่สำเร็จ ปราบชุมนุมเจ้าพิมายสำเร็จเป็นชุมนุมแรก เกิดการระบาดของหนู
พ.ศ. 2312 ปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชสำเร็จ ยกทัพไปตีเขมรครั้งแรกแต่ไม่สำเร็จ
อัญเชิญพระไตรปิฎกจากเมืองนครศรีธรรมราชมายังกรุงธนบุรี
พ.ศ. 2313 เกิดสงครามกับพม่าที่เมืองสวางคบุรี และขับไล่ทหารพม่าเป็นผลสำเร็จ และยกทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 1 แต่ไม่สำเร็จ
ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์จำนวน 4 ตอน
พ.ศ. 2314 ยกทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2 และสามารถปราบเขมรไว้ในอำนาจ นายสวนมหาดเล็กแต่งโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี เริ่มการสร้างกำแพงเมืองกรุงธนบุรี
พ.ศ. 2315 พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1 โดยโปสุพลาแต่ไม่สำเร็จ
พ.ศ. 2316 รบชนะพม่าที่มาตีเชียงใหม่และเมืองพิชัยเป็นครั้งที่ 2 ทำให้เกิดวีรกรรมพระยาพิชัยดาบหัก
พ.ศ. 2317 รบชนะพม่าที่บางแก้ว ราชบุรี พม่าถูกจับและเสียชีวิตไปมากมาย ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ได้สำเร็จ
สมเด็จกรมพระเทพามาตย์ เสด็จสวรรคต
พระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละ เมืองเชียงใหม่ เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พ.ศ. 2318 พม่ายกทัพใหญ่มาตีหัวเมืองเหนือโดยการนำทับของอะแซหวุ่นกี้ ซึ่งถือเป็นสงครามที่ใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงธนบุรี แต่ไม่สำเร็จ ทหารพม่าถูกจับเป็นเชลยหลายหมื่นคน
พ.ศ. 2319 พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่แต่ไม่สำเร็จ
โปรดให้สร้างสมุดภาพไตรภูมิ
ทรงรับปืนนกสับจากฟรานซิส ไลท์ จำนวน 1,400 กระบอก
พ.ศ. 2321 โปรดเกล้าฯให้ เจ้าพระยาจักรีไปปราบเจ้าเมืองนางรอง เจ้าเมืองนางรองถูกจับประหารชีวิต และนำกองกำลังไปตีและยึดนครจำปาศักดิ์ ทำให้เมืองจำปาศักดิ์ เมืองอัตตะปือ และ ดินแดนตอนใต้ของประเทศลาวตกลงมาเป็นของไทย หลังจากจบศึก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรณาโปรดเกล้าฯให้ เจ้าพระยาจักรี เป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหึมา ทุกนัคราระเดช นเรศวรราชสุริยวงศ์ดำรงตำแหน่งสมุหนายก
พ.ศ. 2322 โปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีห์ไปตีเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาไว้ที่ กรุงธนบุรี พระแก้วมรกตประดิษฐ์ไว้ที่วัดอรุณฯ ส่วนพระบางคืนไปในสมัยรัชกาลที่ 1
เกิดกบฎมหาดา
พ.ศ. 2323 เกิดจลาจลในเขมร โปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ เจ้าพระยาสุรสีห์ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระองค์เจ้าจุ้ย ยกทัพไปตีกรุงกัมพูชา แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเสียก่อน หลวงสรวิชิต(หน) แต่งอิเหนาคำฉันท์
พ.ศ. 2324 ส่งทัพไปปราบจลาจลในเขมร
พระยาสรรค์เป็นกบฏ
พ.ศ. 2325 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
กรุงธนบุรีสิ้นสุดลง
อ้างอิง
1. ลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์, รศ. (2003). บรรพบุรุษไทย: สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 5. ISBN 974-13-2394-8.
2. จรรยา ประชิตโรมรัน (2005) [1997]. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (4 ed.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 55. ISBN 974-13-3394-3.
3. ภัทรธาดา (พฤษภาคม 1981). เอกสารบรรยายพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี. ชลบุรี. p. 9–10.
4. สุจิตต์ วงษ์เทศ, บ.ก. (26 มิถุนายน 2007). นิราศเมืองแกลง ของสุนทรภู่. กองทุนสุนทรภู่. pp. 123–124
เรียบเรียงโดย เพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2