สงสัยคำว่า อวกาศ ในพระไตรปิฎก

กระทู้คำถาม
ในพระไตรปิฎก บอกว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงสอน และไม่ตอบปัญญาเรื่องอวกาศ
แต่ลัทธิอื่น สนใจเรื่อง อวกาศมีที่สิ้นสุดหรือไม่

อวกาศ ในภาษาบาลี น่าจะหมายถึง no-air ไม่ใช่ space
ความรู้เรื่องท้องฟ้า (space) มีมาตั้งแต่ยุคหินแล้ว
แต่ no-air นักวิทยาศาสตร์ในสมัยพุทธกาลรู้แล้วหรือว่า เหนือท้องฟ้าขึ้นไปสูงๆ ไม่มีอากาศ

หรือว่า มีความหมายอื่น ???
หรือว่า เดิมใช้คำว่าท้องฟ้า แล้วเพิ่งจะเปลี่ยนเป็นอวกาศภายหลัง ???


แก้ไขเพิ่มเติม

จากความคิดเห็นที่ 2
เข้าใจว่า ในพระไตรปิฎก ไม่มีคำว่า "อวกาศ"

ผมคงจะจำผิด
กลับไป search คำว่า "อวกาศ" ในพระไตรปิฏก ก็ไม่เจอจริงๆ
ขออภัยทุกท่าน ที่ทำให้เกิดประเด็นไร้สาระ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ผมเข้าใจว่า ในพระไตรปิฎก ไม่มีคำว่า "อวกาศ"
ในพระไตรปิฏก ใช้คำว่า จักรวาล นะครับ
สุดขอบจักรวาล .... ตัวอย่างเช่น

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=115
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔
สมยสูตรที่ ๗
               อรรถกถาสมยสูตรที่ ๗               
......
....
..
               พวกเทวดาหมื่นจักรวาลประชุมกัน               
               พึงทราบลำดับแห่งเทวดาทั้งหลายที่มาประชุมกันในป่ามหาวัน ดังต่อไปนี้
               ได้ยินว่า พวกเทวดาผู้อาศัยอยู่รอบๆ ป่ามหาวัน ส่งเสียงดังว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราจงมา ชื่อว่าการเห็นพระพุทธเจ้ามีอุปการะมาก การฟังธรรมมีอุปการะมาก การเห็นพระสงฆ์ก็มีอุปการะมาก พวกเราทั้งหลายจงมาๆ เถิด ดังนี้ จึงมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระขีณาสพซึ่งบรรลุพระอรหัตในครู่นั้น แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.
               โดยอุบายนี้นั่นแหละ พวกเทวดาทั้งหลายฟังเสียงเทวดาเหล่านั้นสิ้นสามครั้งในหิมวันต์อันแผ่ออกไปสามพันโยชน์ด้วยสามารถแห่งเสียงมีเสียงระหว่างกึ่งคาวุต หนึ่งคาวุต กึ่งโยชน์ หนึ่งโยชน์เป็นต้น พวกเทวดาในชมพูทวีปทั้งสิ้น คือผู้อาศัยอยู่ในพระนคร ๖๓ พัน ที่ลำรางน้ำ ๙๙ แสน ที่เมืองท่า ๙๖ แสนและในที่เป็นที่เกิดแห่งรัตนะ คือทะเล ๕๖ แสน ในจักรวาลทั้งสิ้น คือในบุพวิเทหะ อมรโคยานะ อุตตรกุรุและในทวีปเล็ก ๒ พัน.
               ต่อจากนั้น เทวดาที่อยู่ในจักรวาลที่สอง โดยทำนองนี้แหละ บัณฑิตพึงทราบว่าพวกเทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาลมาประชุมกันแล้วด้วยประการฉะนี้.
               ก็หมื่นจักรวาลในที่นี้ ท่านประสงค์เอาโลกธาตุสิบ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทสหิ จ โลกธาตูหิ เทวตา เยภุยฺเยน สนฺนิปติกา โหนฺติ (แปลว่า ก็เทวดามาแต่โลกธาตุสิบแล้วประชุมกันโดยมาก)
               ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนี้ ห้องแห่งจักรวาลทั้งสิ้นก็เต็มไปด้วยเทวดาทั้งหลายผู้มาประชุมกันแล้วตั้งแต่พรหมโลกมา ราวกะเข็มที่บุคคลทะยอยใส่ในกล่องเข็มโดยไม่ขาดระยะฉะนั้น.
               ในที่นี้นั้น พึงทราบความสูงของพรหมโลก อย่างนี้ว่า
...
...
..
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่