เมื่อไม่นานมานี้ได้ดูคลิปสส. พรรคอนาคตใหม่ท่านหนึ่งอภิปรายเรื่องการจัดของบประมาณซื้อคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์และอื่นๆ ของแต่ละแผนกแต่ละกระทรวงแล้ว เสียดายที่คนฟังบางส่วนซึ่งอาจจะเป็นส่วนใหญ่อาจจะไม่เข้าใจกระจ่าง และถ้าเข้าใจกระจ่างก็จะเห็นว่าที่สส. ท่านนี้อภิปรายไปนั้น เป็นผลประโยชน์มากมายต่อประเทศไทยทีเดียวในด้านเทคโนโลยี่และการประหยัดงบประมาณมหาศาลต่อปี
จับประเด็นการอภิปรายของสส. ท่านนั้นอย่างคร่าวๆ ทำให้รู้ว่าแต่ละหน่วยงานของภาครัฐมีการใช้งบซื้อเซิฟเวอร์และฐานเก็บข้อมูลทุกปี!! ในราคาสูงด้วย โดยทั่วๆ ไปการจัดซื้อเซิฟเวอร์มักจะทำทุกๆ 3-5 ปี ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปี เพราะอายุการทำงานและบริษัทผู้ผลิตกำหนดมาว่าควรจะมีอายุการใช้งานอย่างน้อยๆ ก็ 5 ปี บางแห่งในประเทศที่ผมอยู่เห็นมาเขาใช้เซิฟเวอร์ตัวเดิมมา 20 ปีก็มี
ปัจจุบันนี้แค่เซิฟเวอร์ตัวเดียวเราสามารถสร้างเซิฟเวอร์เสมือน (virtualisation) ภายในตัวมันเองได้เป็นสิบๆ ซึ่งเซิฟเวอร์เสมือนเหล่านี้ทำงานได้เหมือนเซิฟเวอร์จริงได้ 99.99% ทำให้ประหยัดงบประมาณและค่าไฟฟ้าได้อย่างมหาศาล จึงไม่มีความจำเป็นซื้อมาเป็นสิบๆ ตัว ยกตัวอย่างเช่น ระบบเน็ตเวิร์กของพันทิปนี่ถือว่ายังไซส์เล็ก ซึ่งใช้เซิฟเวอร์ตัวเดียวก็ได้อย่างสบายๆ จากนั้นก็สร้างเซิฟเวอร์อื่นๆ ขึ้นในนั้น แต่จริงๆ หรือโดยทฤษฏีก็ใช้สองตัวขึ้นไปเพื่อป้องกันตัวหนึ่งล่ม (Failover Cluster) กระทรวงบางกระทรวง หรือหน่วยงานรัฐบางหน่วยอาจจะไม่ใหญ่เท่าระบบของพันทิปด้วยซ้ำ แต่ใช้งบประมาณเยอะไปไหม???
ที่น่าตกใจไปกว่านั้นก็คือ สส.ท่านนั้นอภิปรายต่อว่าพบระบบ cloud ยังไม่ได้ติดตั้งอย่างจริงจังเลย ทำให้การสื่อสารระหว่างระบบเน็ตเวิร์คต่อเน็ตเวิร์คยังคงเป็นไปอย่างเอกเทศ จึงไม่แปลกหรอกครับที่หน่วยงานแต่ละหน่วยงานยังคงสนุกสนานกับการใช้งบประมาณมาซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ มาไว้แผนกตน ภาครัฐควรจะศึกษาเทคโนโลยี Cloud ตามที่ส.ส ท่านนั้นแนะนำ หากนำระบบ Cloud มาใช้ ภาครัฐจะประหยัดงบประมาณได้อย่างมากมาย บริษัทที่ผมทำงานอยู่มีสาขาทั่วโลกและมีสตาฟ รวมทั้งหมดเกือบสองแสนเจ็ดหมื่นกว่าคน เขาใช้ระบบ Cloud ในเรื่องฐานเก็บ/ติดต่อ/และเข้าถึงฐานข้อมูล ซึ่งจะดีกว่าปล่อยให้แต่ละประเทศมีเน็ตเวิร์คเป็นของตัวเองเป็นอย่างมาก
เมื่อหากรัฐบาลติดตั้งระบบ Cloud แล้ว ก็สามารถแบ่งหรือจัดโควต้าพื้นที่ให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม หรือแม้แต่ละจังหวัดได้ ซึ่งพื้นที่ของแต่ละกระทรวงหรือจังหวัดสามารถโยงข้อมูลบางส่วนเข้ากันได้และง่ายกว่าปัจจุบันและบางส่วนก็สงวนเฉพาะกระทรวงนั้นๆ ก็ได้ ระบบCloud จะช่วยกันการเน็ตล่ม (down time) และการเข้าถึงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญจะประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นค่าไฟ ค่าแอร์ ฯลฯ ได้อย่างมากมายมหาศาลเลยทีเดียว ไม่ใช่เหมือนปัจจุบันที่ต่างคนต่างซื้ออุปกรณ์ของตัวเอง การเข้าถึงข้อมูลจากต้นทางที่อยู่คนละแผนกกับปลายทางก็ตะกุกตะกัก
...สีซอให้แมวฟัง...
จับประเด็นการอภิปรายของสส. ท่านนั้นอย่างคร่าวๆ ทำให้รู้ว่าแต่ละหน่วยงานของภาครัฐมีการใช้งบซื้อเซิฟเวอร์และฐานเก็บข้อมูลทุกปี!! ในราคาสูงด้วย โดยทั่วๆ ไปการจัดซื้อเซิฟเวอร์มักจะทำทุกๆ 3-5 ปี ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปี เพราะอายุการทำงานและบริษัทผู้ผลิตกำหนดมาว่าควรจะมีอายุการใช้งานอย่างน้อยๆ ก็ 5 ปี บางแห่งในประเทศที่ผมอยู่เห็นมาเขาใช้เซิฟเวอร์ตัวเดิมมา 20 ปีก็มี
ปัจจุบันนี้แค่เซิฟเวอร์ตัวเดียวเราสามารถสร้างเซิฟเวอร์เสมือน (virtualisation) ภายในตัวมันเองได้เป็นสิบๆ ซึ่งเซิฟเวอร์เสมือนเหล่านี้ทำงานได้เหมือนเซิฟเวอร์จริงได้ 99.99% ทำให้ประหยัดงบประมาณและค่าไฟฟ้าได้อย่างมหาศาล จึงไม่มีความจำเป็นซื้อมาเป็นสิบๆ ตัว ยกตัวอย่างเช่น ระบบเน็ตเวิร์กของพันทิปนี่ถือว่ายังไซส์เล็ก ซึ่งใช้เซิฟเวอร์ตัวเดียวก็ได้อย่างสบายๆ จากนั้นก็สร้างเซิฟเวอร์อื่นๆ ขึ้นในนั้น แต่จริงๆ หรือโดยทฤษฏีก็ใช้สองตัวขึ้นไปเพื่อป้องกันตัวหนึ่งล่ม (Failover Cluster) กระทรวงบางกระทรวง หรือหน่วยงานรัฐบางหน่วยอาจจะไม่ใหญ่เท่าระบบของพันทิปด้วยซ้ำ แต่ใช้งบประมาณเยอะไปไหม???
ที่น่าตกใจไปกว่านั้นก็คือ สส.ท่านนั้นอภิปรายต่อว่าพบระบบ cloud ยังไม่ได้ติดตั้งอย่างจริงจังเลย ทำให้การสื่อสารระหว่างระบบเน็ตเวิร์คต่อเน็ตเวิร์คยังคงเป็นไปอย่างเอกเทศ จึงไม่แปลกหรอกครับที่หน่วยงานแต่ละหน่วยงานยังคงสนุกสนานกับการใช้งบประมาณมาซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ มาไว้แผนกตน ภาครัฐควรจะศึกษาเทคโนโลยี Cloud ตามที่ส.ส ท่านนั้นแนะนำ หากนำระบบ Cloud มาใช้ ภาครัฐจะประหยัดงบประมาณได้อย่างมากมาย บริษัทที่ผมทำงานอยู่มีสาขาทั่วโลกและมีสตาฟ รวมทั้งหมดเกือบสองแสนเจ็ดหมื่นกว่าคน เขาใช้ระบบ Cloud ในเรื่องฐานเก็บ/ติดต่อ/และเข้าถึงฐานข้อมูล ซึ่งจะดีกว่าปล่อยให้แต่ละประเทศมีเน็ตเวิร์คเป็นของตัวเองเป็นอย่างมาก
เมื่อหากรัฐบาลติดตั้งระบบ Cloud แล้ว ก็สามารถแบ่งหรือจัดโควต้าพื้นที่ให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม หรือแม้แต่ละจังหวัดได้ ซึ่งพื้นที่ของแต่ละกระทรวงหรือจังหวัดสามารถโยงข้อมูลบางส่วนเข้ากันได้และง่ายกว่าปัจจุบันและบางส่วนก็สงวนเฉพาะกระทรวงนั้นๆ ก็ได้ ระบบCloud จะช่วยกันการเน็ตล่ม (down time) และการเข้าถึงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญจะประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นค่าไฟ ค่าแอร์ ฯลฯ ได้อย่างมากมายมหาศาลเลยทีเดียว ไม่ใช่เหมือนปัจจุบันที่ต่างคนต่างซื้ออุปกรณ์ของตัวเอง การเข้าถึงข้อมูลจากต้นทางที่อยู่คนละแผนกกับปลายทางก็ตะกุกตะกัก