สาเหตุและอาการโรคเซลิแอค รู้ได้อย่างไรว่าเป็น และรักษาอย่างไร (แชร์ประสบการณ์)

Celiac Disease (โรคเซลิแอค) 
คือหนึ่งโรคในกลุ่มโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง/ภูมิต้านตนเอง 
 (โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง/ภูมิต้านตนเอง  ภาษาอังกฤษคือ autoimmune diseases )


ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจกันก่อน ว่า
อมยิ้ม23โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง/ภูมิต้านตนเอง คืออะไร?

"ระบบภูมิคุ้มกัน" คือสิ่งที่ปกป้องร่างกายจากโรคและการติดเชื้อโดยการโจมตีเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น ไวรัสและแบคทีเรีย
ระบบภูมิคุ้มกันของคนปกติจะสามารถบอกได้ว่าเชื้อโรคไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเรา ดังนั้นมันจะทำลายเชื้อโรคเหล่านั้น
แต่สำหรับผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง/ภูมิต้านตนเอง ระบบภูมิคุ้มกันจะโจมตีเซลล์ที่แข็งแรงของอวัยวะและเนื้อเยื่อของผู้ป่วยโดยไม่ได้ตั้งใจ
ไม่ชัดเจนว่าทำไมระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยถึงทำเช่นนี้ สามารถส่งผลต่อร่างกายของคนเราได้เกือบทุกส่วน 
โรคในกลุ่มนี้ที่รู้จักมากกว่า 100 ชนิด โรคที่พบได้บ่อย ได้แก่ โรคลูปัส โรคเซลิแอค โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล
ในผู้ป่วยคนหนึ่ง อาจจะเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง/ภูมิต้านตนเองได้หลายโรค
แต่ในประเทศไทย มักจะเข้าใจผิดว่าหมายถึงโรคพุ่มพวง ( ลูปัส / เอสแอลอี Systemic Lupus Erythematosus) เพียงอย่างเดียว
โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง/ภูมิต้านตนเอง ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม


ซึ่งโรคเซลิแอคนี้ตอบสนองต่อกลูเตน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในพืชจำพวกข้าวบารเลย์ ข้าวสาลี และข้าวไรย์ 
เมื่อรับประทานโปรตีนกลูเตนนี่เข้าสู่ร่างกาย จะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยทำลายวิลลี่ที่ผนังลำไส้เล็ก
วิลลี่มีเส้นโครงคล้ายขนเล็ก ๆทำหน้าที่ดูดซึมวิตามินแร่ธาตุและสารอาหารอื่น ๆ จากอาหารที่กินเข้าไป 
เมื่อวิลลี่ถูกทำลายจะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตได้ 
จึงส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมายอย่างที่คาดไม่ถึง
และหากไม่ได้ทำการรักษา อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดโรคร้ายแรงอื่นๆ ขึ้นได้

ภาพประกอบจากhttps://www.beyondceliac.org/celiac-disease/
แสดงให้เห็นภายในของลำไส้เล็กของคนปกติกับของผู้ป่วยเป็นโรคเซลิแอค


..........................

อาการของโรคนี้มีอะไรบ้าง สังเกตุได้อย่างไร
เป็นแล้วรักษาได้หรือไม่ รักษาอย่างไร
จะเล่าจากประสบการณ์ของตัวเองที่เป็นค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่